KT ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) รายใหญ่ที่สุดของประเทศเกาหลีใต้ ได้ออกมาแสดงท่าที่เดียวกันกับที่ ISP ใหญ่หลายรายในสหรัฐเคยทำมาก่อน ผ่านการบอกว่าผู้ให้บริการที่ใช้การรับส่งข้อมูลมากอย่าง YouTube และบริการสตรีมมิ่งประเภทต่าง ๆ ทำนาบนหลังคนอื่น (free-riding) มามากพอแล้ว
นาย Kim Taehwan รองประธานของ KT ได้ออกมากล่าวว่าบริษัทต้องการที่จะออกกฎสำหรับกลุ่มบริการที่ใช้แบนด์วิธมากกว่าคนอื่น และอาจทำให้เครือข่ายของพวกเขาทั้งหมดล่มได้ และผู้ให้บริการประเภทนี้ควรที่จะจ่ายเงินให้แก่ ISP
ทั้งหมดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ตอนนี้บริการประเภทวีดีโอสตรีมมิ่งกำลังเป็นที่นิยมอย่างมาก และยังมีความเป็นไปได้ว่าซักวันเรื่องนี้อาจจะเป็นปัญหาใหญ่ขึ้นมา เมื่อคนเราเริ่มหันไปใช้ Internet TV กันมากขึ้นอย่างในประเภทเกาหลีใต้ ที่ KT เริ่มทำการบล็อคการโหลดวีดีโอสตรีมมิ่งผ่านทีวีของซัมซุงเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานี้
ที่มา - Cnet
Comments
ส่วนตัวผมเห็นว่าปัญหานี้จะ "หมดไป" หาก ISP เริ่มเก็บค่าบริการตามจำนวนข้อมูลที่ดาวน์โหลดไป (โหลดมากจ่ายมาก โหลดน้อยจ่ายน้อย) จำกัดเป็น GB ต่อเดือนไปเลย เหมือนกับบริการ 3G หลายๆ ประเทศทำแล้วและก็ประสบความสำเร็จดีโดยเฉพาะเรื่องคุณภาพและความเร็วของบริการ ไม่ใช่เสนอขายสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ (unlimited) แล้วให้บริการคุณภาพต่ำ ๆ เหมือนทุกวันนี้
และหมดปัญหาเน็ตแถวบ้านอืดเพราะเพื่อนบ้านปล่อย torrent ไปได้เยอะ
@TonsTweetings
ปัญหาคือทำไม่ได้เพราะลูกค้าจะหายไปจำนวนมากทันที คนจำนวนมากไม่ยอมทนกับคุณภาพที่ด้อยกว่าแต่ไม่ต้องกังวลค่าใช้จ่ายรายเดือน
ISP พวกนี้พูดโดยไม่ตระหนักว่าความลำบาก (ในด้านค่าใช้จ่าย) ของตัวเองไม่ได้เกิดเพราะมีบริการอะไรมาก abuse ตัวเอง แต่ตัวเองถูกกดดันด้วยการแข่งขันจำนวนมาก
ในแง่ของ mobile คลื่นความถี่เป็นของที่มีจำกัด ไม่สามารถขยายได้เรื่อยๆ เหมือน adsl ทุกเจ้าเลยเกิดแรงกดดันเดียวกันคือไม่สามารถรับลูกค้าไปเรื่อยๆ แล้วขยายเครือข่ายรองรับได้ (ไม่รู้จะเอาคลื่นมาจากไหน) พอทุกเจ้าจำกัด data เหมือนกัน เลยทำได้พร้อมๆ กัน
lewcpe.com, @wasonliw
ผมว่ากรณีเช่นนี้เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไมไ่ด้ครับ เพราะว่า bandwidth อย่างไรก็มีจำกัดอยู่ดี เมื่อเรากำลังเริ่มใกล้เข้าถึงเวลาที่ last mile ไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาเปลี่ยนไปอยู่ที่คอขวดตรง exchange ทั้งระดับ national และ international ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็นอะไรที่ "มีจำกัด" การที่ ISP เอาของที่ "มีจำกัด" มาขายเป็น "ไม่จำกัด" ย่อมจะเกิดการลดต้นทุนด้วยวิธีอื่นที่ลูกค้าอาจจะไม่มีทางทราบได้อยู่ดี (เช่นการแอบลิมิตจุดโน้น นี้) ซึ่งในส่วนนี้การขยายคอขวดระดับ backbone แม้จะทำได้ แต่ระดับราคาที่ให้บริการในลักษณะ unlimited แบบนี้ ก็ไม่สามารถที่จะทำให้เครือข่ายสามารถมีเงินพอในการลงทุนเพิ่มเช่นกันครับ ว่าง่าย ๆ ทำให้ผู้ใช้ต้องจมกับการใช้บริการคุณภาพเอาแน่นอนไม่ได้ในบ้านเราทุกวันนี้ เพราะไม่มีใครสามารถสร้างความแตกต่างระหว่างบริการได้ และไม่สามารถสร้างกำไรมากพอที่จะพัฒนาต่อไปได้
ประเทศเราอาจจะยังห่างไกลในจุดนี้ครับ เพราะว่าเราเป็นประเทศที่การเชื่อมต่อ last mile ยังไม่ค่อยดี internet penetration เองก็แย่ แต่สำหรับประเทศที่ถึงจุดที่ผู้ใช้ไม่มีวันสามารถใช้งานได้ถึงครึ่งของความเร็วที่สัญญาไว้ (เช่นสมัคร 100mbps โหลดได้แค่ 30mbps) มันเริ่มเป็นทางเลือกที่ฟังดูเหมาะสม
เมื่อถึงจุดที่เรามีชีวิตทีต้องขึ้นอยู่กับ "ความทันทีของอินเทอร์เน็ต" อย่างมาก มาตรฐานการให้บริการของประเทศเราคงไม่ไหวครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอนาคตที่เราอาจจะต้องใช้บริการประเภท "ข้อมูลมาก ๆ" แต่ไม่ต้องการใช้บ่อยครั้งเท่าไหร่ แต่หากต้องการที ก็ต้องการให้มันสามารถรับส่งได้อย่างรวดเร็วมาก ๆ (เช่นการ Backup กับ Restore อะไรบน Cloud ซึ่งเรียกได้ว่าใช้เวลาเป็นวัน ๆ แน่ด้วยเน็ตบ้านแบบบ้านเรา ที่ต่อให้สมัคร 50Mbps ก็ใช้ได้แค่ 15-20Mbps)
ผมเคยยืนอยู่ฝั่งไม่สนับสนุนการคิดค่าบริการแบบ metered เหมือนกัน แต่พอเรียนวิชาหนึ่งที่มหาลัยครัั้งหนึ่ง โต้วาทีกันนานพอสมควร เลยเปลี่ยนความคิดได้เลย
คนโหลดมากอาจจะไม่พอใจ แต่คนที่ใช้เน็ตทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ geek อาจจะเลือกอีกแบบก็ได้
@TonsTweetings
แต่ราคาที่ยกมานี่ 570 บาท 20GB นี่ราคาแพงกว่า HDD ตอนราคาปรกติซะอีกนะครับ ^^;
เดี๋ยวเกิดมุขประมาณว่า สั่ง HDD พร้อม ไส้มา แล้วโยนท HD ทิ้งยังคุ้มกว่าโหลดจากเน็ตซะอีกอีก
อันนี้มุขเดียวกับที่ ตปท
ถ้าทำแบบ metered คุณภาพก็ควรต้องสมราคาด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่าง 3G บ้านเรา metered แต่สัญญาณไม่นิ่ง การบริการแย่ เหมือนการเอาเปรียบผู้บริโภค
@fb.me/frozenology@
บริการที่ผู้ใช้ต้องโหลดข้อมูลมากๆ อย่างสตรีมมิ่ง จะเกิดยากไปเลย หรือดับไปเลยจากที่เคยรุ่งๆ
^
^
that's just my two cents.
คำถามคือ ... คุณรับเงื่อนไขแบบนี้ได้หรือครับ ในขณะที่ ISP เองโฆษณาปาวๆ ว่าบริการของตัวเองเร็วแบบนั้นแบบนี้ แต่กลับมาโอดครวญว่า "โอย ... เว็บนั้นเว็บนี้กินแบนวิดธ์เหลือเกิน"
ก็ตัวเองโฆษณาว่ามันเร็ว แล้วถ้ามันเร็วจริง ลูกค้าก็ต้องเยอะตาม แบนวิดธ์ก็ต้องเยอะตาม กำไรก็ต้องเยอะตามไปด้วย ซึ่งก็ต้องเอากำไรตรงนั้นมาลงทุนเพื่อเพิ่มแบนด์วิธต่อไปเพื่อเป็นการรองรับการใช้งาน และลูกค้าที่จะเพิ่มมากขึ้น
แล้วมันใช่ที่เหรอครับที่จะไปเก็บเงินกับ YouTube? ผมสมมติว่า YouTube ปิดตัวไป แล้วแบนด์วิธมันจะลดลงมั้ยครับ? เพราะมันไปหนักจริงๆ ที่พวกเว็บ BitTorrent มากกว่า แล้วถ้าถึงเวลานั้น ISP จะยังบ่นอีกหรือเปล่า?
ถ้าอยากรู้ก็ลองให้ ISP เจ้านึงบล็อค YouTube ก็ได้ครับ แล้วมาดูกันว่ากำไรใครกันแน่ที่ลด
อ้อ .. อีกอย่างคือเหมือนกับว่าคุณพูดถึงเรื่อง mobile network ... แต่ข่าวนี้ไม่น่าจะเจาะจงไปถึงเรื่องนั้นนะครับ
ADSL: 570 บาท เล่นได้ 20GB? โหลดหนังเรื่องนึงก็ 570 บาทแล้วครับ
ไม่ทุกคนโหลดหนังครับ ต้องไม่เอา geek ไปปนกับคนทั่วไป จุดนี้สำคัญมาก
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับ mobile network ครับ แต่ผมแนะนำวิธีแก้ปัญหาลักษณะนี้ ก็คือใช้วิธีการคิดเงิน pay-as-you-go แบบ mobile network ไงครับ ... ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้วในโลกตะวันตก แต่สำหรับเรา ๆ ก็คงไม่เกิดเร็ว ๆ นี้แน่นอน เพราะ ISP เราดูเหมือนจะพอใจการบีบกำไรจากเราในรูปแบบโฆษณาไม่เป็นจริงมากกว่าพูดตรง ๆ ว่าเรา backbone ไม่พอให้บริการกับทุกคนอย่างเต็มที่
ผมว่าเมืองไทยที่น่าลงคือปรับ unlimited สำหรับเน็ตภายในประเทศ แต่การเชื่อมต่อต่างประเทศ "ที่มีจำกัดมาก" ควรกำหนดลิมิต GB แต่ให้ความเร็วเต็มที่กับลูกค้า
@TonsTweetings
ต่างจังหวัด อย่างแถวผมเด็กมันรู้จัก HD แล้วครับ เปิด Youtube แป๊บๆ data วิ่งไป 2 - 3 G แล้วครับ
ไม่ได้โลด แต่เขาก็ดูเป็นนะครับ ประเด็นคือ
ส่วนทุกคนไม่ได้ load หนัง แต่เขา load MV หรือ เพลงเอามาใส่มือถือกันเป็นครับ
คนทั่วไปไม่ geek แต่เขามีโอกาสใช้ แบนวิทเยอะ ได้เหมือนกันครับ
Ton-Or
international ก็ virtually unlimited ครับ สายแต่ละเส้นที่ลงไปในทะเล มีจำนวน fiber core จำนวนมาก ใช้กันยังไม่หมด interface รุ่นใหม่ๆ ก็ให้ bandwidth เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ถ้ามีเงินซื้อ)
lewcpe.com, @wasonliw
มันคือ "ถ้ามีเงินซื้อ" ไงครับ มันก็เหมือนถนนกับสายการบินนั่นล่ะ ทำไมไม่ทำถนนไปทุกที่ทั่วทุกตารางนิ้วของประเทศ ไปทุกหมู่บ้านให้หมดไปเลย...
argument หลักคือ QoS นั่นล่ะ (ไม่ต่างกับ mobile broadband) ถ้าทุกวันนี้ QoS มันทำไม่ได้จริง ๆ ด้วย cost structure ที่ไม่อำนวยเช่นต่อการพัฒนาเพิ่มเติมเช่นกัน จึงต้องถามว่าทำไมทุกวันนี้เน็ตบ้านเรามันยังมีปัญหาอยู่ทุกวันนี้
ถ้าไม่มีปัญหาคอขวด ก็ไม่จำเป็นต้องจำกัด data แน่นอนครับ แต่ถ้ามี แปลว่าการขายแบบ "ไม่จำกัด" และสัญญาความเร็วไปด้วยมันเป็นจริงไม่ได้เช่นกัน
@TonsTweetings
Internet จำกัด data เพราะถูกคิดเงินตามขนาดของ Link นะครับ เรื่อง QoS นี่ผมว่าไม่เกี่ยวกัน ส่วนเรื่อง Domestic Net นี่ขึ้นอยู่กับคุณภาพเครือข่ายและขนาดของเครือข่ายมากกว่า คือ QoS มันก็มีส่วนสำคัญ แต่มันไม่ได้สำคัญขนาดนั้น คุณออกโปรนี้ ลูกค้าเลือก คุณได้เงิน คุณเอาเงินไปพัฒนาต่อสิ ความต้องการเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เอาไปขยายเครือข่ายสิ กลายเป็นว่าคุณได้เงินแล้วจะไม่ทำอะไรต่อเลยงั้นเหรอ?
ผมว่ามันเป็นข้ออ้างเพื่อจะแข่งขันและทำให้การ block streaming ของทีวีซัมซุงให้ดูถูกต้องมากกว่า เพราะ KT ก็มีบริการ streaming "เป็นของตัวเอง" แถมยังมี บริการ mobile TV อีก
ปล. KT มีทั้ง wired และ mobile ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ถ้าผู้ใช้ BW มาก แสดงว่ารายได้ต้องมากตาม ถ้ารายได้ที่มากแล้วยังไม่พอให้ขยาย BW นั่นแสดงว่าผิดที่ตัวผู้ให้บริการเองที่คิดค่าใช้บริการต่อความเร็วไม่ถูกต้องครับ
ต่อให้แบ่ง Package แบบจำกัดกับไม่จำกัด สุดท้ายแล้ว ISP มันก็คงยังบ่นเหมือนเดิมนั่นแหละ เพราะจำนวนคนเลือกใช้แบบไม่จำกัดมันเยอะกว่ามาก
แบบแคนาดานี่ ไม่รู้จะเรียก "ประสบความสำเร็จ" มั้ย
ใช้มากจ่ายมาก คิดตาม Data ไปเลย จะได้เลิกบ่น
ใช่มายองไทยเสียวใช่ป่าวครับ เพิ่วสังเกตว่าอยู่เว็บนี้ด้วย
ISP ก็น่าจะแบ่งให้ YouTube หรือ streaming มั่งเนอะฐานที่ผู้ใช้ internet ไป upload ไฟล์จนต้องขยาย server ทุกวัน
ตอนนี้เข้าใจทุกอย่างดีเลยแปรพักตร์แล้ว (ฮา)
ผมเองก็เห็นด้วยครับ แค่กำจัดโปรโมชั่น Unlimited ที่เป็นตัวปัญหาออกไป แล้วคิดค่าบริการตามปริมาณการใช้งาน เท่านี้ก็ลดปัญหาไปได้เยอะแล้ว
เก็บดาต้ากับ User บน ADSL ผมไม่เห็นด้วยนะเนี่ย Upload ไฟล์ใหญ่ๆ วีดีโอแชร์กัน คงหลายตังค์เลย
แก้ปัญหาโดยการเอา cdn ไปตั้ง
ตามความเห็นของผม ควรจะเก็บเงินตาม QoS ครับ ใช้ระบบ bidding เอา เพื่อให้ผู้ใช้จ่ายตาม true value ของเค้า แล้วให้ทุกอย่างเป็นไปตาม supply & demand
“ชีวิตไม่ใช่การค้นหาตัวเอง แต่ชีวิตคือการสร้างตัวเองขึ้นมา” ~ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์
อาจจะใช้เฉพาะช่วงที่มี congestion ครับ ถ้าไม่มี congestion ก็เป็น fair queue เอา
“ชีวิตไม่ใช่การค้นหาตัวเอง แต่ชีวิตคือการสร้างตัวเองขึ้นมา” ~ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์
ผมไม่รู้ผมใช้ Lease Line กลางวันใช้งานปรกติถ้าจะโหลดไฟล์ใหญ่ๆก็ตั้งเวลาให้โหลดช่วงกลางคืนจ่ายแพงแล้วต้องใช่ให้คุ้ม
พูดยังงี้บล๊อก Youtube ไปเลยครับ ;-)
รับรองเจ้าอื่นออกโปรโมชั่นตอกตะปูปิดฝาโลงแถม
ใช่ครับ พูดทำนองนี้ เหมือนตัวเองมีถนน แล้วมีอยู่เจ้านึงใช้งานหนักวิ่งบ่อย ๆ ทุกวัน แล้วจะขอเก็บเงินเพราะใช้เยอะกว่าเจ้าอื่น -*- ผมว่ามันไม่ใช่นะ
เปรียบเทียบกับถนนคงไม่ได้
ต้องเป็นท่อน้ำจะเหมาะกว่านะครับ
ถ้าจำกัดผมคงลงแดงตาย ดูหนัง full HD คงต้องติดหนัก
เหมือนว่าการแข่งขันทำให้ต้องกดราคา แต่ดันไปโทษ 3rd party ที่ทำให้เกิดการใช้งานสูงซะนี่
คุณออกแบบ package มาแล้ว โดยคิดว่ามันคุ้มกับคุณ ภายหลังเกิดการใช้งานมากขึ้น ซึ่งก็อยู่ใน package ของคุณ ลูกค้าไม่ได้ไปโหลดเกินที่คุณกำหนดมา คุณจะบอกว่าเฮ้ย ไม่เป็นธรรมกับผม นั่นแปลว่าคนที่ผิดพลาด ไม่ใช่ทั้งลูกค้า ไม่ใช่ผู้ให้บริการ streaming แต่เป็นการบริหารงานของคุณต่างหาก การคำนวนที่ผิดพลาดและต้องการลูกค้าจำนวนมากของคุณเองไม่ใช่หรือที่ต้องกดราคาระดับนั้น
ถ้าคุณจะแก้โดยการทำ metered ก็ทำ มันอาจจะดีและคู่แข่งเห็นชอบด้วยก็ได้ แต่สุดท้ายมันก็อยู่ที่ผู้ใช้เองว่าจะเลือกใช้อะไร อย่าลืมว่าเราไม่ได้อยู่ในสังคมแบบ monopoly เราอยู่ในสังคมที่มีทางเลือกและการแข่งขัน
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ค่าเช่าบริการเครือข่ายคุณก็เก็บไปแล้ว ยังมีหน้าจะมาคิดจำนวนค่าไฟที่ไหลไปตามสายอีก..
ความสามารถในการรองรับแบนด์วิดธ์มันเป็นเรื่องของคุณ คุณคือผู้ลงทุนให้บริการเช่าเครือข่าย ลูกค้าจะใช้อะไรก็เรื่องของของเขา ไม่จำเป็นต้องมีส่วนมารับผิดชอบความขี้เหนียวในการขยายเครือข่ายของคุณ
ps. ขืนทำไปเรื่อยๆ เด๋วลูกค้าก็ลงดาบให้เอง
ผมไม่รู้ แต่ผมมาเก็บเอาความรู้ตามเม้นนี่แหล่ะ
ถ้า ISP บริการเชื่อมสัญญาณไม่จำกัดเวลาในราคาเดียวหรือคิดเป็นชั่วโมง ทั้งหมดในระดับความเร็วเท่ากัน ก็คงยอมรับได้ แต่ถ้าให้บริการแบบไม่จำกัดเวลาใช้งาน แต่ต่างตรงความเร็วที่แตกต่างกัน (เหมือนบ้านเรา) เช่น ช้าราคาถูก เร็วราคาแพง เป็นต้น ก็ไม่ควรจำกัดการใช้งานครับลูกค้าจ่ายค่าเชื่อมสัญญาณไปแล้ว เช่น ลูกค้าซื้อ 20Mbps ลูกค้าก็ต้องการ 20Mbps สิครับเพราะลูกค้ายอมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายแล้ว แต่ถ้าลูกค้าจ่ายแพงกว่าแต่ดู youtube ไม่ได้ โหลดหนังไม่ได้ เค้าจะซื้อแพ๊กเก็จราคาแพงทำไม ถ้าคิดว่าเราใช้มากจะเก็บเพิ่ม แล้วถ้าเราไม่ได้ใช้ ใช้ไม่เต็ม หรือเน็ตช้าในบางช่วง ISP จะจ่ายคืนหรือเปล่า
ถ้า ISP เก็บเงินกับผู้ให้บริการเว็บจริง ผู้ให้บริการเว็บจะเอาเงินที่ไหนจ่ายล่ะ ก็คงเก็บเงินจากสมาชิกที่ใช้บริการ คลิกทีเสียตัง
เรื่องเงิน ถ้าคิดแบบนั้นแสดงว่าทุกวันนี้เค้าก็เปิดให้ดูฟรี โดยไม่มีรายได้อะไรเลยสิครับ? (แล้วเค้าจะทำไปทำไม) ผมว่าความหมายของ ISP บอกว่าให้แบ่งรายได้จากตรงนั้นมาให้เค้าบ้างน่ะ
ตรงนี้ถ้าใช้หลักเดียวกันจริงๆ ISP ก็ต้องแบ่งรายได้ไปให้ video streaming เช่นกันครับ เพราะผู้ใช้ของ ISP นั้นๆ ทำให้เกิดโหลดของบริการ video streaming เมื่อโหลดมากขึ้น ก็ต้องรับภาระทั้งขยายเครือข่าย ขยายจำนวน server และอะไรอีกหลายๆอย่าง อ้างว่าบริการ video streaming ก็ได้เงินจากบริการโฆษณา แต่ตัวเองก็ได้เงินจากลูกค้าของคุณเองด้วย
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ใจผมเองก็คิดเหมือนที่ข้างบน ๆ เค้าว่ากันมาว่า ถ้าคุณเลือกที่จะเปิดโปรฯ แบบนี้ จะมาบ่นเรื่องนี้ไม่ได้หรอก แต่พอดีเห็นเค้าทักเรื่อง youtube จะเอาเงินที่ไหนมาจ่าย ก็เลยอธิบายไปว่า ธุรกิจเค้านี่มูลค่ามหาศาลเลยด้วยซ้ำนะ ไม่งั้นทุกวันนี้เค้าจะเปิด server มาให้เรานั่งดูกันโดยที่ตัวเองก็ไม่ได้อะไรเลยน่ะเหรอ?
ถูกต้องครับ - -" ลองอ่านข้อความผมใหม่ดีๆสิครับ
"อ้างว่าบริการ video streaming ก็ได้เงินจากบริการโฆษณา แต่ตัวเองก็ได้เงินจากลูกค้าของคุณเองด้วย" แปลว่า Youtube ได้เงินจากบริการโฆษณาไงครับ
ส่วนประเด็นสำคัญที่ผมจะสื่อคือ ถ้า KT จะให้ Youtube จ่ายเพราะ Youtube ทำให้ KT โหลดหนัก KT ก็สมควรจ่าย Youtube เพราะผู้ใช้ของ KT ก็ทำให้ Youtube โหลดหนักเช่นกัน
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ทำไมผมต้องอ่านใหม่ล่ะครับ? (งง) ก็เห็นคุณมาตอบต่อจากข้อความผม ผมก็เลยอธิบายว่า ที่ผมพิมพ์ข้างบนน่ะ เพราะผมเห็นคนที่เค้าไม่เข้าใจว่า "เอาเงินที่ไหนมาจ่าย" ก็เลยอธิบายที่มาและเจตนาของ ISP ให้เค้าฟังเฉย ๆ (แต่ผมไม่ได้เห็นด้วยกับ ISP นะ) ผมก็ไม่ได้พูดถึงว่าที่คุณพิมพ์มันผิดหรือถูกสักหน่อย???
ครับผม
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
นับวันภาระยิ่งตกที่ ISP เพราะข้อมูลยิ่งมหาศาลขึ้น
แต่ถ้าตามการใช้งานจริง คนใช้ก็หายหมด
หรือเก็บจากเว็บสตรีม เขาจะหาเงินที่ไหนมาจ่าย ก็ต้องนำเงินจากสมาชิกหรือโฆษณา
สุดท้ายมาลงที่ผู้ใช้อยู่ดี
เก็บค่าแพ็คเกจให้สะท้อนต้นทุนสิเพ่
+95535
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
+1
ถ้าคิดเก็บ data สงสัยคงต้องเลิกซื้อเกมแบบ digital downlaod (เสียตังซื้อเกมแล้วต้องมาเสียตังค่าโหลดอีก)
เวลาเนทช้า เนทล่ม ขอเงินคืนจาก isp ได้หรือเปล่า
ในเมื่อ lock ความเร็วตามราคาอยู่แล้ว(แถมยังเร็วไม่สม่ำเสมออีก) ยังจะมาบ่นหา'ไรอีก
คำถามคือ เก็บทำอะไร ในเมื่อเขาเปิดบริการดูให้ฟรี ๆ อยู่้แล้ว ทำไมต้องเก็บด้วย ไม่เข้าใจ ในเมืองไทยไม่ได้โวยกันแบบนี้ สงสัยว่าคนดู YT ที่เกาหลีเยอะ คงอยากได้ตังประมาณนั้น
นี่จะดราม่าหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นดรามา ขอบายเรื่องนี้ละกันนะ 555
Coder | Designer | Thinker | Blogger
คือแบบนี้ครับ
ISP บอกว่า YouTube นั้นมีรายได้จากโฆษณาบนเว็บ แต่ว่า YouTube นั้นทำให้แบนด์วิธของ ISP เต็ม
ISP จึงจะขอส่วนแบ่งที่ YouTube โฆษณาได้
เห็นใครรายได้ดีก็มาขอส่วนแบ่งสินะ ถ้าไปท้ามากๆ Youtube แกล้งปิดไม่ให้ ISP รายใดรายหนึ่งเชื่อมต่อได้ลูกค้าหนีบานแน่ๆ
มันเป็นปัญหาของ ISP ไม่ใช้ผู้ใช้อย่างเรา ๆ ที่เราซื้อไม่ใช่เพราะเขาขายหรอกเรอะ อยากเก็บตาม Data ก็ออกโปรมา เดี๋ยวลูกค้าเค้าก็เลือกเอง
youtube มันขาดทุนไม่ใช่เหรอ
ISP ก็อยาำกจัดโปรแบบที่ทำกำไรได้เยอะที่สุดนั่นแหละ แต่ในทางกลับกัน การจ่ายตามที่ใช้จริง จะเป็นการจำกัดธุรกิจใน internet จำนวนมาก ไม่ว่า streaming หรือการซื้อสื่อ online ไม่ว่าจะเป็นเพลง เกม หนัง กลายเป็นทำให้ internet ถดถอยไปเสียอีก เพราะทำให้ผู้ใช้ไม่อยากจ่ายเพิ่ม และลดการใช้ลง
อ้อ ต้นทุน network แบบ landline คนละเรื่องกับแบบ wireless เลยนะครับ ถูกกว่าเยอะ เอาง่ายๆลากสายโทรศัพท์บ้านเขาเก็บค่าบริการเดือนละแค่ 100 บาทเขาก็ยังอยู่ได้ ต้นทุนการลากสาย ADSL/Cable มันก็ไม่ต่างกันมากหรอก แต่ที่ ISP ไม่อยากทำคือการลงทุนขยาย international bandwidth เพราะมันมีค่าใช้จ่ายสูง ส่วน bandwidth ในประเทศเหลือเฟือครับ
และยิ่งเทคโนโลยีใหม่ๆ ทำให้สายเดิมแต่ได้ bandwidth ที่มากขึ้น รังแต่จะทำให้ต้นทุนของ ISP ลดลงเท่านั้น ผมเลยมองไม่เห็นความจำเป็น ที่ต้องยอมให้ ISP มาบังคับเก็บค่าเช่าแบบตามข้อมูลจริงสักเท่าไร ไม่งั้นสุดท้ายก็ต้องมีโปรแบบ ซื้อวงจรขาด คล้ายกับ leased line หรือไม่ก็เอกชนอื่นๆลากสายเองมันซะเลย
ป.ล. DOCSIS 20Mbps ผมก็ได้ความเร็วในประเทศเต็มๆนะครับ(ส่วนออกนอกขึ้นกับบุญและกรรม) เป็นระบบที่ได้ความเร็วเสถียรดีกว่า ADSL เสียอีก แต่ข้อเสียคือเวลามันพัง แล้วช่างไม่ค่อยรีบมาซ่อม(พังทีกว่าจะซ่อมใช้เวลาเป็นสัปดาห์)สงสัยทำกำไรได้น้อยเลยไม่ค่อยสนใจ
/เพิ่มเติม/ อีกนิดนึง ผมคิดคล้ายๆข้างบน คือผู้ใช้จำนวนมาก อยากได้เวลา(online time)มากกว่าความเร็ว(Speed) ดังจะเห็นคนส่วนใหญ่เลือกโปรขั้นต่ำสุดเท่าที่จะมีให้เลือกมากกว่า ส่วนโปรแรงๆสำหรับ hardcore gamer และสิงห์นักบิทเท่านั้น(กลุ่มที่เอาไปใช้ทำงาน ยิ่งปริมาณน้อยกว่าีิีอีก)ถ้ามองในแง่นี้แล้วการจ่าย pay as you go อาจทำให้รายได้ของISP ลดลงด้วยซ้ำ เพราะคนส่วนใหญ่ใช้มันไม่มากอยู่แล้ว ทำให้จ่ายได้น้อยลงไปอีก แทนที่จะได้จากคนโหลดเยอะๆมาชดเชย กลายเป็นรวมแล้วรายได้ลดลงซะอีก
ดังที่เราจะเห็นการคิดค่าบริการเป็น MB ของค่ายมือถือ นั้นแพงกว่าค่าใช้บริการแบบเป็นชั่วโมง เพราะคนส่วนใหญ่เล่นเนทมือถือกันไม่มากอะไร ถ้าแค่ chat ก็ไม่กี่ MB เท่านั้นเอง(จริงๆเรื่องกลัวว่าจะโหลดมากไป มันเพิ่งเป็นตอนมี 3G แต่ราคาตอน 2G ก่อนหน้านั้นก็เป็นแบบนี้มานานแล้ว คือMB แพงกว่าชั่วโมง)
งี้ถ้าผมเปิดหอพักข้างมหาลัย ผมต้องไปเก็บเงินมหาลัยด้วยป่ะครับ เพราะทำให้ผมมีลูกค้าเยอะมาก
อิอิกำ
twitter.com/djnoly
เรื่องการคิดค่าบริการของ ISP ส่วนตัวผมขอสั้นๆ นะครับ
ทุกวันนี้ผมพอใจกับ ADSL ที่ผมใช้อยู่มากแล้วครับ unlimited แต่คุณภาพไม่ต่ำนะครับ 6mbpsของ TOT ผมได้สปีดเต็มๆ ครับ ทั้งในและนอก แถมเสถียรมาก ดู youtube Full HD ไม่กระตุก ส่วน Bittorrent ก็ได้สปีดที่น่าประทับใจ ที่มันดีมากก็น่าจะเพราะชุมสายใหม่เอี่ยม อยู่ใกล้ชุมสายมาก และคนแชร์ใช้ด้วยมีน้อยครับ (เป็นชุมสายที่ตั้งให้เฉพาะคอนโดนี้เลย)
ยังขอยืนยันสั้นๆ เหมือนที่เคยพูดมาคือ ปัญหาเน็ตบ้านเราที่ยังให้บริการได้ไม่เต็มที่ตามที่สัญญาไว้ เพราะอาจเป็นที่ชุมสายเก่า / สายเก่าเป็นปัจจัยด้วยครับ ก็คงต้องลงทุนทยอยเปลี่ยนตรงนี้กันไปเรื่อยๆ น่าจะดีขึ้น อันนี้หมายถึงเน็ตบ้านๆ ที่ความเร็วไม่สูงมากนะครับ
แต่บางท่านที่ใช้เน็ตความเร็วสูงๆ พวก 20mbps 100mbps อันนี้อาจจะเห็นปัญหาคอขวด และการที่ไม่ได้ความเร็วตามที่ผู้ให้บริการสัญญาไว้จริง อันนี้ก็คงเป็นปัญหาจริงๆ และต้องโทษว่าผู้ให้บริการโฆษณาเกินจริงจริงครับ เพราะโครงสร้างเครือข่ายบ้านเรามันยังคงยากที่จะให้ความเร็วไปถึงขั้นนั้นในระดับเสถียรจริงๆ
ผมยังคิดว่าคนส่วนใหญ่ยังอยากได้อินเทอร์เน็ตมีสายที่คิดราคาแบบ unlimited มากกว่าครับ ส่วนฝั่งมือถือนั้นเข้าใจได้ เพราะคลื่นมีจำกัด มันเลยเป็นตัวบีบให้ต้องคิดค่าบริการแบบนั้นด้วย และบางประเทศอย่างออสเตรเลียก็เข้าใจ เพราะภูมิศาสตร์เขาเป็นเกาะที่ตั้งอยู่ห่างไกลอย่างนั้น เขาเลยต้องลงทุนเรื่องสายไฟเบอร์สูงมากๆ กว่าใคร ถ้าฝั่งออสเตรเลียจะมีมุมมองเรื่องการคิดค่าบริการอินเทอร์เน็ตที่ต่างจากภูมิภาคอื่นๆ ของโลกก็คงไม่แปลก
แต่ถ้าวันดีคืนดี ISP ของเมืองไทยลุกขึ้นออกมาเก็บค่าใช้จ่ายตามที่ใช้จริง ผมคนนึงแหละที่จะออกมาต่อต้านครับ
เป็นอีกคนนึงที่จะออกมาต่อต้านเหมือนกัน
ถ้าเก็บตาม Data นี้ ไม่มีอะไรยืนยันว่าระหว่าง Download ข้อมูล สายจะไม่หลุดเลยซักนิด
จะขอส่วนแบ่งทำไม
ไม่พอใจก็ block youtube ไปเลยซิ
block ให้พร้อมกันทุก ISP ด้วยนะ
หลังจากนั้น เรื่องนี้ต้องขึ้นศาลชัวร์เพราะคนไม่ยอม
แล้วศาลจะเป็นผู้ออกคำสั่งเอง สู้คดีให้ถึงที่สุด
ผลคดีออกมายังไงยึดตามนั้น จะได้รู้กันไปเลย
เพราะผมมองไม่ออกจริงๆ ว่าควรจะจ่ายหรือไม่