เนื่องจากในระยะหลัง Blognone มีสมาชิกเพิ่มขึ้นมาก และมีสมาชิกหลายท่านเขียนข่าวส่งเข้ามา ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ายินดี อย่างไรก็ตามมีข่าวที่ยังไม่ผ่านมาตรฐานอยู่จำนวนหนึ่งเสมอๆ ซึ่งอาจเกิดจากสมาชิกที่ส่งข่าวเข้ามาเป็นสมาชิกหน้าใหม่ ที่ยังไม่รู้ธรรมเนียมปฏิบัติของ Blognone ดีนัก
ก่อนหน้านี้ผมใช้วิธีแก้ไขข่าวให้ผ่านกฎเกณฑ์ และเผยแพร่ข่าวขึ้นในหน้าแรก ซึ่งผมพบว่าเป็นวิธีที่ไม่ยั่งยืนเท่าไร เพราะคนเขียนจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองเขียนผิดตรงไหนบ้าง ดังนั้นต่อจากนี้ไป ผมจะใช้วิธีสุดโหด ตรวจความถูกต้องในการเขียนลงในคอมเมนต์ของข่าวนั้นๆ (จริงๆ เราเคยใช้วิธีนี้มาแล้ว แต่ถอดไปเพราะมีเสียงบ่นมาว่าเป็นการประจานคนเขียน)
ผมหวังว่าผู้เขียนข่าวคงจะเข้าใจ และมองการณ์ไกลว่านี่เป็นการ "ฝึกตน" เรื่องการเขียนในระยะยาว (ถ้าใครที่ติดตามมานาน จะเห็นพัฒนาการที่ชัดเจนของนักเขียนหลายๆ คน)
เพื่อเป็นการลดโอกาสที่จะโดนประจานแบบสุดโหด ผมขอให้สมาชิกทุกท่านอ่านหลักเกณฑ์การเขียนที่ถูกต้อง ดังต่อไปนี้
หมายเหตุ: จริงๆ เรามี News Submission Guideline มาตั้งนานแล้ว แต่รู้สึกว่าไม่ค่อยจะมีใครอ่าน
Blognone เป็นเว็บไซต์ข่าวสารทางด้านไอที (หลังๆ เริ่มมีวิทยาศาสตร์งอกมาด้วย) การเขียนข่าวให้กระทำผ่าน Blog เท่านั้น ถ้าอยากถามคำถาม คุยเล่น หรือโฆษณาผลงาน/กิจกรรมของตนเอง ให้เขียนลงใน Forum
ปัจจุบันเรามี 2 Forum คือ คุยทั่วไป และประกาศรับสมัครงาน ก่อนโพสต์ก็ดูให้ละเอียดก่อนว่าถูกที่หรือไม่
Blognone เข้มงวดกับลิขสิทธิ์ของข่าวมาก (มากๆ) ข่าวที่ใช้วิธีก็อปแปะจากที่อื่นมาตรงๆ จะถูกลบทิ้งในทันทีถ้าจับได้ คุณต้องเล่าข่าวในสำนวนของตัวเอง ถ้าอยากอ้างอิงประโยคแบบตรงๆ ให้ใช้แท็ก <blockquote> ซึ่งดูตัวอย่างได้ในข่าวเก่าๆ
ข่าวที่ไม่มีที่มาจะไม่มีทางได้ขึ้นหน้าแรก การใส่ลิงก์ที่มาให้ชี้ไปที่ตัวข่าวโดยตรง (full path) ไม่ใช่ใส่เฉพาะโดเมนเนมของเว็บไซต์นั้น
Topic/Tag/Keyword/Label เป็นสิ่งเดียวกันแล้วแต่คุณจะเรียก การใส่ tag มีไว้เพื่อแยกแยะประเภทของเนื้อหา และช่วยให้การค้นหาเนื้อหาประเภทเดียวกันทำได้ง่ายขึ้น ดังนั้นก่อนใส่ tag ทุกครั้ง คุณควรตรวจสอบ tag ที่ใกล้เคียงกันก่อนว่ามีในระบบหรือไม่ ซึ่งมี 2 ทางดังนี้
เงื่อนไขอื่นๆ ในการใส่ tag
การเลือก tag ที่เหมาะสมขึ้นกับแต่ละคน แนวทางคร่าวๆ คือดูจากข่าวเก่าๆ ว่าหัวข้อประมาณนี้เค้าใส่ tag อะไรกันบ้าง (อย่าขี้เกียจ!) ถ้าไม่มั่นใจก็เว้นว่างเอาไว้ก็ได้
ผมเข้มงวดกับการสะกดคำ และการใช้เครื่องหมายวรรคตอนมาก เรามีหน้ารวมคำศัพท์หรือ Glossary ไว้ให้เทียบวิธีการสะกดชื่อเฉพาะหรือศัพท์เทคนิคที่ใช้บ่อย การเรียกชื่อต้องมีความสม่ำเสมอ (consistency) คือเรียกอย่างไรก็อย่างนั้นให้เหมือนกันทุกครั้งที่ศัพท์คำนั้นปรากฎในเนื้อความ
อ่านเรื่องการสะกดคำที่ถูกต้อง และคำที่มักเขียนผิดได้จากหน้า News Submission Guideline
สุดท้ายก็ขอความร่วมมือผู้อ่านทุกท่าน ถ้าเจอข่าวที่ไม่ตรงตามหลักเกณฑ์เหล่านี้ ก็ช่วยกันคอมเมนต์ลงในข่าว เพื่อที่ผู้เขียนข่าวจะได้ปรับปรุง และเราจะได้มีข่าวคุณภาพให้อ่านกันเยอะๆ ครับผม
Comments
ผมว่าวิธีสุดโหด ก็ยังไม่โหดเท่าไหร่นะคับ (ในความคิดผม 55)
พึ่งเคยเห็น guideline ครับ เคยเปิดแต่ glossary
ผมยังงงๆ การใส่ tag ว่าใส่ยังไงครับ พิมพ์ลงไปใน Topic เลย ใช่ไหมครับ (ผมไม่เคยใส่เลย เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไร ช่อง Topic เนี่ยครับ จริงๆก็สงสัยมานานอยู่ว่า Topic คืออะไร มันต่างกับ Title ยังไง แฮ่ะๆ)
----------------------------- http://www.theryo.com
guideline มีอยู่ใน footer ของทุกหน้าครับ "คำแนะนำในการเขียนข่าว"
เรื่องดุหรือไม่ ก็แล้วแต่คนครับ คนไหนหน้าบางหน่อยก็อาจมองว่าผมโหดไป
ส่วนเรื่องการใช้คำ (และข้อความกำกับ text box) จะดำเนินการแก้ไขให้ครับ
ละเอียดดี น่าจะเพิ่มลิงก์ node นี้ลงกรอบแดงในหน้าเขียนข่าวด้วยเลยนะคะ
ไหนๆ ก็เป็นประเด็นนี้ ขอรีเควส Markdown อีกทีครับ น่าจะทำให้การจัดรูปแบบในข่าว ทั้งเรื่องการลิงค์ การทำลิสท์ หรือการโควทง่ายขึ้นได้บ้าง
เพิ่มให้ตามคำขอแล้วนะครับ ไม่ได้ตั้งเป็น default แต่ต้องเลือก input format ในตอนเขียนด้วย
ขอบคุณครับ :D
ทดสอบ Markdown แล้วตอนนี้ก็ยังใช้ไม่ได้ครับ (เลือก Input format แล้ว)
ลองบ้าง
โอเคแก้แล้วครับ เผอิญเอา linebreak ไปใส่ไว้ก่อน markdown
ปรับมาใช้ markdown extra ตามรีเควสของคุณ sugree
ลัลล้า Markdown Extra
ทำง่ายๆ ด้วย markdown
ย่อหน้าต่อกันได้อีกต่างหาก
ที่สำคัญอ่านออก
ใส่ลิงค์ก็ง่าย โค้ดทั้งหมดก็เป็นเช่นนี้แล
คือผมมาขอความรู้หน่อยครับ ว่า Markdown คืออะไร ใช้ยังไงครับ เพราะผมไม่มีความรู้ด้านเว็บเลย มีแต่ความรู้ด้านที่เรียนครับ
http://www.digimolek.com
Markdown เป็นรูปแบบการเขียนข้อความแบบหนึ่งครับ จุดประสงค์ของมันก็คือเขียนง่าย
อ่านรู้เรื่อง ถ้าเราเขียนตามรูปแบบแล้ว มันจะถูกแปลงให้เป็น HTML ได้แบบอัตโนมัติ
ใน Drupal เลือกได้ตรง Input format ด้านบนของปุ่ม Preview comment
เนื่องจากมันเป็นรูปแบบที่ช่วยให้เราเขียนง่าย เราก็สามารถจะใส่ HTML ลงไปผสมได้เหมือนปกติ
ยกตัวอย่างเช่นข้อความนี้มีหน้าตาแบบข้างล่าง อย่างสุดท้ายคือ Extra ซึ่งเป็นรุ่นปรับปรุงพิเศษ
เพิ่มความสามารถอีกนิดหน่อย
ขอบคุณครับ เห็นภาพชัดเจนเลยครับ
http://www.digimolek.com
เรียกง่ายๆ ก็คือ มันคล้ายๆ กับ BBCode แต่รูปแบบวิธีเขียนของมันดูเป็นธรรมชาติมากกว่า ตามการเขียนปกติแล้ว การ "เน้นข้อความ" (emphasize) มักจะใช้รูปแบบ * ครอบข้อความ (
*ข้อความ*
) กัน รูปแบบการเขียนทั่วไปของ Markdown ก็มาจากประเภทนี้ที่สำคัญคือ พวก
""
จะถูกแปลงเป็น curly quote ("") ให้ด้วย--
ก็กลายเป็น -- (emdash) ซึ่งเป็นเรื่องที่สมควรจะฝึกให้ชิน เวลาเขียนอะไรบางอย่าง (สำหรับผมนะ)หุๆ นึกถึงสมัยส่งมาทาง mail T_T
คุณ plynoi เป็นอีกคนหนึ่งที่พัฒนาการเห็นชัดเจนมากๆ ตอนแรกนี่แบบว่า @#$%! สุดๆ
หล่อสุดๆ
เห็นด้วยที่จะเขียนลงไปในคอมเมนต์ครับ แต่อยากให้เป็นการเขียนที่เป็นการแนะนำการเขียนมากกว่าที่จะมาประจานนะครับ
http://www.digimolek.com
อืม ... รูปแบบการเขียนนี่เห็นคุยกันมานาน คงต้องหาวิธีเข้าใจง่ายๆกันต่อไป
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
กระทู้ดาวตก...
อยากเห็นคนไม่มีดาวโพสต์ตอบเรื่องนี้เยอะ ๆ จัง ตอนนี้มีแค่สอง ^^" ——————— คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ
LinkedIn
ผมไม่ค่อยเห็นด้วยเรื่อง การคอมเมนต์เรื่องการเขียนข่าว ลงในข่าวนะครับ เพราะ อยากทราบความเห็นของคนอื่นๆเกี่ยวกับข่าวนั้นๆว่าเห็นด้วย หรือมีอะไรเพิ่มเติมขึ้นมา เพราะบางอันตอบกันเยอะมาก แต่กลายเป็นพูดถึงการเขียนข่าวผิดถูกซะมากกว่า
เช่น http://www.blognone.com/node/5376
แต่เห็นด้วยที่ทำ Guideline ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางครับ ------------------- meddlesome.tech.blog
อันนี้ผมแย้งว่า การคอมเมนต์เรื่องการเขียนข่าวผิดถูก ไม่เกี่ยวอะไรกับความเห็นต่อข่าว (เป็น mutual exclusion)
ไม่ใช่ว่ามีคอมเมนต์แบบแรกเยอะ คอมเมนต์แบบที่สองจะน้อยลง มันก็สามารถมีเยอะได้เหมือนกัน ถ้าอยากให้มีอะไรเยอะก็ต้องสร้างมันขึ้นมาเองครับ
-_-" ผมเป็นบุคคลในข่าวครับ 555
อย่างที่คุณ Mk บอกมั๊งครับ ว่าแท้จริงๆ เราสามารถแสดงความคิดเห็นต่อข่าวได้ไม่ว่าจะเป็น - ข่าวโคมลอย ที่มาไม่ชัดเจน - เรียบเรียงไม่ดี อ่านแล้วงง - เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคนในข่าว - เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับผู้นำเสนอข่าว - เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคนที่มาแสดงความคิดเห็นต่อข่าว หรือแม่แต้ใช้ภาษาไม่ถูกต้อง ก็สร้าง พาติซิเพลตต่อข่าวได้แล้วแหละครับ
ผมเคยนั่งขำเวลาเพื่อนมันพูดเรื่องตลกแล้วเรื่องมันดันไม่ตลก แต่ไอ้การไม่ตลก บางทีมันก็สร้างร้อยยิ้มให้เรา ไม่รู้ว่าคุณๆ เคยกับบ้างเปล่า..
เป็นกฎเกณฑ์ที่ดีสำหรับคนที่เอาแต่อ่านข่าวที่คนอื่นเขียนอย่างผม ผมในฐานะคนอ่านข่าวจะได้ประโยชน์อย่างมหาศาล
คนที่เขียนข่าวที่นี่ก็จะได้ประโยชน์ เพราะถูกฝึกฝนทักษะจนสามารถเล่าข่าวได้อย่างถูกต้องแม่นยำตาม guideline ที่กำหนด แต่กว่าจะถึงขั้นนั้นได้ คงต้องเจ็บมากทีเดียวเชียวแหล่ะ เพราะเท่าที่อ่านดู guideline ก็พบว่ามีรายละเอียดที่ต้องทำตามเยอะเหมือนกัน โอกาสพลาดในตอนแรก ๆ น่าจะมีสูง
บรรณาธิการเองก็เลยจำเป็นต้องเข้มงวดมาก ๆ กับ guideline ที่ตนเองกำหนดขึ้น ผนวกกับบทกำหนดโทษที่ตนเองประกาศออกมา คงไม่ต่างจากคุณครูที่เข้มงวดกับนักเรียน ซึ่งอาจจะทำให้นักเรียนไม่ชอบเอาได้เหมือนกัน ถือได้ว่าต้องแบกต้นทุนทางสังคมสูงกว่าใคร ๆ ----- Mr. PeeTai
น่าดีใจมากที่คุณพี่ไท้มองเห็นเป้าหมายของผม ว่าสุดท้ายแล้วผลประโยชน์จะตกไปอยู่กับผู้อ่าน
โดยส่วนตัวแล้วผมไม่สนใจว่าใครจะชอบผมหรือเปล่าอยู่แล้วครับ (ชอบไปก็ไม่เห็นจะมีประโยชน์อะไรกับชีวิตเพิ่มขึ้น) ให้ผลงานเป็นสิ่งพิสูจน์จะดีกว่า
มีอุดมการณ์สมควรเป็นครู
วันที่ 2-3 นี้มีสอนพอดี โฆษณาเสียเลย
ข้อบังคับมีไว้ให้เราทำตามดีค่ะ แต่ถ้าสมาชิกใหม่ ทำผิด ยกตัวอย่างดิฉันเป็นต้น. ควรเตือนหรือแนะนำว่าอันใดควรหรือไม่ควรเพราะอาจเป็นการกระทำที่ใม่ได้ตั้งใจให้เสียหาย การทำผิดและการขอโทษ เป็นสิ่งที่ดีค่ะ
EDEN-FX
ดีมากค่ะ เพราะเห็นบ่อยๆทำให้เราจำได้ เช่น เมล เมื่อก่อนชอบเขียนผิด ตอนนี้จำได้แล้ว
แล้วเรื่องการใช้ภาษา ต้องเขียนให้เหมือนข่าวรึเปล่าคะ
SE7ENize
@NiceThai