มาตรฐานด้านเอกสาร เป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ได้เห็นผลอยู่เฉพาะหน้า
เมื่อวันที่ 1 พ.ค.2548 OASIS ได้เสนอร่างเอกสาร ODF (OpenDocument Format) ซึ่งเป็นฟอร์แมตที่ใช้ใน OpenOffice software suite ให้ ISO/IEC Joint Technical Committee 1 (JTC1) พิจารณาตามกระบวนการ ซึ่ง JTC1 ได้อนุมัติเป็นมาตรฐาน ISO/IEC 26300:2006 ในปลายปี 2549
ในขณะนี้ ไมโครซอฟท์ และ ECMA/TC45 ได้เสนอร่างเอกสาร OOXML (Office Open XML) ซึ่งเป็นฟอร์แมตที่ใช้ใน Microsoft Office 2007 และกำลังจะผลักดันเป็นมาตรฐาน ISO เช่นเดียวกับ ODF
สงครามเรื่องมาตรฐาน เป็นคล้ายกับสงครามศาสนา ต่างฝ่ายต่างยึดถือว่าของตนถูกต้องและดีที่สุด แต่ประเด็นสำคัญคือเมืองไทยควรกำหนดท่าทีอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด
ขอความเห็นด้วยครับ แม้ว่าร่างมาตรฐานนี้อาจจะไม่สำคัญเท่ากับร่างรัฐธรรมนูญ และเสียงของเมืองไทยจะเป็นเพียงเสียงเล็กๆ แต่ก็ควรมีท่าทีพร้อมเหตุผลที่ชัดเจน
Comments
โดยส่วนตัวแล้ว ถ้ามีมาตรฐานไหน define กระบวนการตัดคำไทย และเปิดโอกาสให้ผู้ใช้เข้า override การตัดคำอัตโนมัติได้นี่ผมโหวตให้เลยครับ ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
เข้าใจว่าทั้งสองฟอร์แมตสนับสนุนวิธีนี้ สำหรับ OOXML อยู่ในส่วนที่ 3 ข้อ 2.4.3 หน้า 7 บรรทัดที่ 17 ซึ่ง ODF ก็มีครับ อยู่ใน sect 5.1.1
โอ้ ขอบคุณมากครับ เดี๋ยวขอไปอ่านดูก่อนจะมาคอมเมนต์อีกที ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ในส่วนของ soft break ซึ่งตัดมาขึ้นบรรทัดใหม่ถ้าอยู่ที่ขอบบรรทัด ที่มีความหมายเดียวกับ ZWNJ (Zero-width non-joiner) นั้น เป็นส่วนของ text ซึ่งไม่อยู่ในขอบเขตของการบรรยายลักษณะเอกสารตาม OOXML ODF หรือ coumpound document อื่นๆ ครับ นอกจากนั้นโปรแกรมประยุกต์จะต้องตีความ ZWNJ เอาเอง
แต่ความหมายของ ZWNJ นี้ มาตรฐาน Unicode อธิบายไว้ชัดแล้ว ซึ่งไม่ได้มีความหมายเป็นตัวตัดคำเฉพาะภาษาไทย และใช้ตัดคำได้ในภาษาที่เขียนจากขวาไปซ้ายได้ด้วย
ถ้าตาม ooxml แล้วไม่ติด patent ก็คงไม่ค่อยมีอะไรน่ากลัว. software patent ในเมืองไทยยังไม่มี แต่ก็มีคนที่อยากให้มี. แต่ก่อนนี้ (เดี๋ยวนี้ไม่ทราบว่าเป็นอย่างไร) mp3 ใน fedora core ก็ติดตั้งลำบาก เพราะติดปัญหา patent. กรณีนี้ก็สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบได้พอสมควร. --- http://openil.wordpress.com/
ยังไม่ได้อ่านละเอียด แต่ได้ยินว่า ODF มีความสามารถเรื่องการเขียนสมการทางคณิตศาสตร์ที่ดีกว่า (ใช้ MathML มั้ง) ใครรู้ข้อมูลละเอียดช่วยแก้ให้ด้วยครับ
---------- Don't think, Just read
pittaya.com
แนวทางของ ODF คือใช้มาตรฐานที่มีอยู่แล้วเป็นฐาน เช่น MathML, SVG, XLink (Wikipedia)
ซึ่งจุดนี้ทางฝั่ง ODF ใช้อัด OOXML ว่าสร้างมาตรฐานขึ้นมาใหม่ทำไม
อาจจะอยากให้ implement ตามได้ช้าๆ หน่อยหรือเปล่า? ถ้าใช้ของที่มีอยู่แล้ว KOffice ก็อาจจะเอา KSVG มาใช้เลย. หรือถ้าใช้ MathML ก็อาจจะดึงมาจาก Mozilla ได้.
--- http://openil.wordpress.com/
โดยส่วนตัวคิดว่า เพื่อเพิ่มอิทธิพลต่อการเพิ่มและปรับปรุงมาตรฐาน และประหยัดเวลาในการรอประกาศเป็นมาตรฐาน เพราะกว่าที่มาตรฐานกลางจะกลั่นกรองออกมาได้แต่ละเวอร์ชัน ต้องผ่านสมาชิกและคณะกรรมการกลางมากมาย ซึ่งถือว่าเสียเวลามาก ด้วยลักษณะนิสัยของไมโครซอฟท์เองนั้นคงรอไม่ได้ ก็เลยไปสร้างมาตรฐานใหม่ที่มีลักษณะการใช้งานใกล้เคียงกันแทน
เหมือนอย่างกรณี OpenGL ที่ไมโครซอฟท์ก็เป็นหนึ่งในคณะกรรมการก่อตั้ง แต่สุดท้ายก็มาออก DirectX เอง แล้วก็ถอนตัวจากคณะกรรมการของ OpenGL ในเวลาต่อมา ——————— คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ
LinkedIn
ประมาณ one standard to rule them all ปะครับ? --- http://openil.wordpress.com/
ไม่ทราบว่ากระบวนการของ ECMA นี่เหมือน IEEE รึเปล่าครับ เขียนข้อกำหนดเสร็จต้องรอให้มีการนำไปใช้จริงอย่างน้อย 3 แหล่งแบบไม่เกี่ยวข้องกัน และห้ามดูโค้ดคนอื่นด้วย
เท่าที่อ่านคร่าวๆ OOXML ก็ออกแบบมาดีใช้ได้ แต่ว่าอธิบายไม่ละเอียด เกรงว่าตอนเขียนโปรแกรมจริงๆ จะมีปัญหาหยุมหยิม ประเด็นนี้ถ้าไม่ลองนำไปพัฒนาคงยากที่จะพบจุดบกพร่อง
ไม่เหมือนกันครับ ฝั่ง ECMA นั้น เดิมเป็นสมาคมผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ของยุโรป เขาก็ให้สมาชิกโหวตเลยและโหวตผ่านไปแล้วครับ เรียกว่า ECMA-376 (ข่าวอื่นใน blognone เกี่ยวกับ OOXML)
ที่มาถึงเมืองไทยก็เพราะ ECMA เสนอ OOXML เป็นมาตรฐาน ISO ทางไมโครซอฟท์เสนอเองไม่ได้เพราะไม่ใช่องค์กรที่เกี่ยวกับมาตรฐาน
มึนอยู่นาน เริ่มกระจ่างมากขึ้น ODF ได้เป็น ISO-26300 เรียบร้อยแล้ว OOXML พยายามจะเป็น ISO-29500 ศึกนี้ใหญ่หลวงนัก ผมเริ่มงงอีกรอบ เมื่อมี ISO-26300 แล้ว ECMA ใช้อะไรเป็นเหตุผลเพื่อขอเสนอ ISO-29500 ในเมื่อมันใช้แทนกันได้อย่างสมบูรณ์ในทางทฤษฎี
ผมลองกลับไปอ่านอีกรอบ OOXML มีข้อดีอยู่ที่ สั้น กระชับ ยืดหยุ่น ซึ่งเป็นข้อเสียในตัวเอง ข้อเสียรุนแรงมากด้วย เราสามารถใส่ค่าอะไรก็ได้เพิ่มลงไปใน OOXML ซึ่งโปรแกรมอื่นอาจจะไม่เข้าใจเลยซักนิดจึงไม่นำไปใช้แต่จะวางไว้ที่เดิมไปเรื่อยๆ ตรงนี้เป็นดาบสองคม อาจมีใครใช้หมกเม็ดทำให้หน้าตาของเอกสารไม่เหมือนกันในแต่ละโปรแกรมที่เปิดขึ้นมา
อีกจุดที่น่าสนใจคือการสนับสนุนระบบปฏิบัติการอื่น ดูเหมือนว่า OOXML จะมีการใช้ EMF WMF เป็นฟอร์แมตการเก็บข้อมูลภายใน แค่เห็นก็สยองแล้ว
อ่านแล้วไม่ต้องตกใจ ไม่ได้วิเคราะห์เองครับ อ่านสรุปมาอีกที ยังมีอีกหลายประเด็นแต่ไม่เด่นมาก(สำหรับผม)
ผมไม่รับครับ
foss and open standard http://ready2e.com/nectec/7thopensource/MainSeminar/openstds-foss-TOSSFest2007.zip <-- มีหลายข้อที่อ่านแล้วไม่เข้าใจครับ.
หน้า 22, ข้อ 1.2 กับ ข้อ 2 อ่านเข้าใจไหมครับ? อ่านแล้วไม่ทราบว่าต้องการจะบอกอะไร.
หน้า 17, "Term RAND misleading as without non-royalty free terms it discriminates against certain FOSS licenses" หมายความว่าไง?
หน้า 21, open standard ช่วยให้ง่ายต่อการ localisation อย่างไร?
BTW, http://ready2e.com/nectec/7thopensource/MainSeminar/openstds-foss-TOSSFest2007.zip <-- ไฟล์นี้เปิดด้วย oo.o 2.2 บน winxp ก็แสดงผลได้ดี. แต่พอมาเปิดด้วย oo.o 2.2 บน ubuntu, มันแสดงผลล้นจอหลายหน้าเลย. เหมือน font มันใหญ่เกิน. ตกลง open standard มันดีต่อ interoperability แน่เหรอ?
แต่ว่าไป office document ก็ไม่ควร รับประกัน การแสดงผลปะ? รับประกัน การแสดงผล มันหน้าที่ของ pdf นิ.
---- อานนท์