เนื่องจากวันออกเสียงประชามติใกล้เข้ามาทุกขณะแล้ว และก็มีหลายแหล่งที่วิเคราะห์รัฐรรมนูญฉบับใหม่ ด้วยความเห็นที่แตกต่างกันออกไป แต่คราวนี้เราลองมาดูการวิเคราะห์แบบสนุกๆ โดยนักคอมพิวเตอร์กันดู
อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทดลองนำรัฐธรรมนูญฉบับปี 40 และปี 50 มานับคำและจำนวณครั้งที่ปรากฏ แล้วทำการเปรียบเทียบ ซึ่งได้ผลการคำนวณบางส่วนดังนี้
"ประชาชน" เพิ่มจาก 60 ครั้ง เป็น 123 ครั้ง "จริยธรรม" เพิ่มจาก 2 ครั้ง เป็น 27 ครั้ง "อำนาจ" เพิ่มจาก 103 ครั้ง เป็น 135 ครั้ง "รัฐสภา" ลดลงจาก 173 ครั้ง เป็น 156 ครั้ง "เลือกตั้ง" ลดลงจาก 330 ครั้ง เป็น 313 ครั้ง
ที่มา - สับรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550
ปล. เอามาดูกันสนุกๆ นะครับ อย่าคิดมาก
Comments
ฮาไม่เปลี่ยน -- My blog: poomk.blogspot.com
ประชาชนผู้มีจริยธรรมใช้อำนาจควบคุมการเลือกตั้งผ่านทางรัฐสภา
อืม ครบชุดเลยแฮะ
LCS บอกว่า มีส่วนที่เหมือนกันที่ยาวที่สุดเท่าไหร่ แต่ไม่ได้บอกนะครับ ว่าคำไหนเพิ่มขึ้นเท่าไหร่ คำไหนลดลงเท่าไหร่
ใช่มั้ยครับ?
อาจารย์ใช้คลาส BreakIterator ของ Java ในการแยกข้อความภาษาไทยออกเป็นคำและนับความถี่ที่ปรากฎ
ส่วน LCS ใช้หา Sequence ของคำร่วมกันที่ยาวที่สุดระหว่างเอกสารสองเอกสาร
ดังนั้นผมคิดว่า LCS ไม่เกี่ยวข้องกับผลการนับความถี่ของคำนะครับ
ครับ ผลที่เอามาเขียนนั้นก็เป็นเฉพาะส่วนของที่เกิดจากการตัดคำและนับความถี่ แล้วจึงเปรียบเทียบ(ด้วยตาคน) ส่วน LCS นั้นทำต่อหลังจากนี้ ซึ่งก็ได้แก้ไขออกแล้วครับ ขออภัยในความผิดพลาดด้วย
ส่วนผลของการคำนวณ LCS ก็ตามนี้ครับ
how about diff?
ดูจากผลโดยภาพรวมแล้ว ทุกคำมีจำนวนมากขึ้น เพราะเนื้อหาทั้งหมดมันมากขึ้น คิดว่าเป็นเรื่องปกติอ่ะครับ ^^
ปกป้อง | เฟสบุ๊ก | ทวิตเตอร์
รัฐธรรมนูญจับฉ่าย!!! :P
เอ่อ...
:D นอกเรื่อง :- คือผมสงสัยนิดนึง ว่าตรง โหวต เรทติ้งอ่ะครับ อันไหนมากอันไหนน้อย ด้านขวา หมายถึงได้คะแนนมากรึเปล่าครับ
คำที่ผมกลัวที่สุด "จริยธรรม"
เพราะมันไม่แน่นอนและเอาไปเป็นข้ออ้างในเรื่องต่าง ๆ ได้
@TonsTweetings
เห็นหัวข้อรัฐธรรมนูญไปเกี่ยวกับนักคอมพิวเตอร์ เลยเอาอันนี้มาฝากให้เฮฮาอีกอันครับ :-)
รัฐธรรมนูญฉบับโอเพนซอร์ส
ไม่สะดวกโพสต์ที่ oknation ขอตอบที่นี่ละกันครับ
ช่วยคิดเพิ่ม:
- release announcement = ราชกิจจานุเบกษา - release manager = พระมหากษัตริย์ - release team = กรรมาธิการรัฐสภา - developer = สมาชิกรัฐสภา
การที่จะดูแลรัฐธรรมนูญโดยชุมชน จำเป็นต้องแยกสิทธิ์ในการ commit เข้า repository ไม่ใช่ให้ใครก็แก้ได้ ผู้มีสิทธิ์ commit อาจเป็นกรรมาธิการรัฐสภา แต่ contributor ทั่วไป สามารถเสนอแก้ได้ผ่าน bug tracking system
bug แต่ละ bug สามารถรับ comment จากฝ่ายต่าง ๆ ซึ่งเปรียบเหมือนการอภิปรายในสภาผู้แทนราษฎรในระบบปัจจุบัน
patch ที่เสนอใน bug คือประเด็นการแก้กฎหมาย ซึ่งต้องผ่านการรับฟังความเห็น จนผู้เสนอคิดว่าพร้อมรับการวินิจฉัยแล้ว ก็ request ขอ review จากผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย ก่อนจะยื่นขอเสียง vote จากสภาหรือขอประชามติถ้าจำเป็นต่อไป
อย่างไรก็ดี patch ในซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สใหญ่ ๆ ตามปกติจะต้องมี super-review อีกชั้น โดยผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับ software architecture เพื่อให้แน่ใจว่า แม้มันจะแก้ bug นี้ได้ แต่มันไม่ได้ไปรบกวนโครงสร้างอื่นของระบบ หน้าที่นี้คงมอบให้วุฒิสภา ถ้าไม่ผ่าน ก็ต้องกลับมาปรับ patch กันใหม่
เมื่อผ่าน super-review แล้ว ก็ให้กรรมาธิการรัฐสภา commit เข้า repository ได้ กล่าวคือ แม้กรรมาธิการรัฐสภาจะได้สิทธิ์ขาดในการ commit แต่ก็ไม่มีสิทธิ์ commit patch ที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่นกรอง
commit ถึงระยะหนึ่ง เมื่อกรรมาธิการคิดว่าพร้อมประกาศใช้แล้ว จึงนำขึ้นทูลเกล้าฯ ให้ทรงลงพระปรมาภิไธยเพื่อ release ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
ผมอ่านต้นฉบับแล้วนึกถึงแนวคิด direct democracy โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ แต่พอมาอ่านของพี่เทพก็อืม แบบนี้เรียกว่าเป็น direct democracy รึเปล่านะ
direct democracy ผ่านอินเทอร์เน็ตเนี่ย.. ผมว่าเละนะ อะไรคือมนุษย์ อะไรคือ robot/spam มั่วกันไปหมด
ดูอย่าง blognone ซิ ยังต้องมี review ข่าวเลย
ปล. อย่างน้อย การใช้ bug tracking อย่างข้างต้น ก็ถือว่า direct กว่าระบบปัจจุบันน่ะ ประชาชนเข้าถึงประเด็นมาตราต่าง ๆ ที่โดยปกติเป็นการอภิปรายในสภาได้โดยตรง และอาจจะร่วมโหวตได้ด้วย หรือกระทั่งเสนอ patch เอง
อย่างนั้นภาคใต้นี่กำลัง fork project? ------ LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
+1
รู้สึกว่า ช่วยให้เห็นภาพของกระบวนการแพตช์โค้ดในโอเพนซอร์สได้ง่ายขึ้นเยอะ ตอนไปอ่านเอกสารกว่าจะเข้าใจตามนี้ได้นี่ดำน้ำไปหลายรอบ -_-" ——————— คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ
LinkedIn
:) คิดให้เต็มสูบแบบโอเพนซอร์สก็ต้องอาศัยมือโอเพนซอร์สมาช่วยคิดจริงๆ ด้วยแหละ :Dขอบคุณคุณเทพฯ ที่แวะไปอ่านครับ ถ้าไม่ว่าอะไรจะเอาที่คุณเทพฯ คอมเมนท์ไปแปะซะเองเลยดีกว่า ... ว่าแต่จะให้ลงชื่อเต็มๆ ของคุณเทพฯ ในฐานะผู้คอมเม้นท์มั้ยล่ะครับ? ;)
เห็นชื่อคนทำก็ไม่ประหลาดใจแล้ว
สุดยอดจริงๆ :-)
อาจารย์ผมครับ คิดถึงอาจารย์จัง :)
โห อ่านรอบแรกไม่ได้คลิกเข้าไปดู เพิ่งเห็นว่าใคร :-D ——————— คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ
LinkedIn
ที่ปรึกษาผมตอนทำ senior project :)
-------------------- suksit.com
suksit.com
ไม่น่าจะเรียกว่า "สับ" นะครับ คำนี้น่าจะหมายถึงการทำให้แหลกละเอียดเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เมื่อนำมาใช้กับข่าวจะหมายถึงการตีแผ่ที่ไม่ค่อยจะดี จากข่าวที่อ้างถึงเป็นการเปรียบเทียบจำนวนคำที่มากขึ้นหรือน้อยลง และยังไม่สามารถบอกได้ว่าการมากขึ้นหรือน้อยลงเป็นข้อเสียอย่างไร ก็เลยไม่เข้าใจว่าอาจารย์จุฬาทำเพื่ออะไร หรือแค่ฮา ถ้าเอาแค่ฮาแต่ถ้ามันมีผลต่อสังคมทำให้แปรปรวนคงไม่เหมาะ
สับ ~ hash :-)
อีกอย่าง เท่าที่อ่านดู เหมือนอาจารย์ตั้งใจให้เป็นโจทย์วิชาอัลกอริทึมสนุก ๆ คุณ F9h ก็เอามาโพสต์ให้อ่านขำ ๆ อย่าจริงจังนักเลยครับ
ข่าวนี้ต้องถือเป็น "มุขวงใน" นะครับ อาจารย์เองก็โพสต์แค่ที่บอร์ดภายใน ไม่ได้เผยแพร่เป็นเรื่องเป็นราว
สาระของข่าวนี้ไม่ได้อยู่ที่รัฐธรรมนูญ แต่อยู่ที่นี่ ——————— คิดๆ ขีดๆ เขียนๆ
LinkedIn
ลดอำนาจทางการเมืองแล้วจะให้เป็นประชาธิปไตย?. . . US ใช้รัฐธรรมนูญมาไม่เคยเปลี่ยนเป็นร้อย ๆ ปี เมืองไทยยังไม่ร้อยปีดีมีกี่ฉบับแล้วครับ มีบทเพิ่มเติมแค่เท่าไหร่ยี่สิบนิด ๆ เอง
เยี่ยม
วันนี้ไปโหวตโนมาแล้ว
Avaya J-Wing