Tags:

สาเหตุที่ทำให้ อัล กอร์ และ คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกากาศ หรือ ไอพีซีซี ได้รับรางวัลโนเบลในสาขาสันติภาพในปีนี้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะการที่ออกมาชี้ใช้ชาวโลกเห็นถึงความสำคัญของภาวะที่โลกร้อนในปัจจุบัน ซึ่งปัจจัยที่ อัล กอร์ สามารถสรุปได้ว่าโลกของเราร้อนขึ้น ก็เนื่องมาจากการเก็บข้อมูลและแบบจำลองสภาพภูมิกาอาศที่สามารถทำนายการเกิดภาวะโลกร้อนได้

แต่งานวิจัยล่าสุดจากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย (Virginia University) ร่วมมือกับ UHA ได้ทำการเปรียบเทียบความถูกต้องของแบบจำลองสภาพภูมิอากาศ จำนวน 22 แบบจำลอง และรวมถึงแบบจำลองที่ อัล กอร์ ใช้ในการทำนายสภาวะโลกร้อนด้วย พบว่าในแบบจำลองทั้งหลายเหล่านั้น ยังมีความน่าเคลือบแคลงในด้านความถูกต้องแม่นยำในการทำนายอยู่พอสมควร

นักวิจัยได้ใช้การทำนายแนวโน้มของอุณหภูมิบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ (Troposphere) และ แนวโน้มของอุณหภูมิในชั้นพื้นผิว ซึ่งแบบจำลองต่างๆ ต่างทำนายว่า อุณหภูมิในชั้นโทรโพสเฟียร์มีแนวโน้มที่จะสูงกว่า ซึ่งเมื่อนักวิจัยไปดูข้อมูลที่ได้จากการเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ต่างๆ พบว่า ไม่มีแนวโน้มที่จะเกิดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิชั้นโทรโพสเฟียร์แต่อย่างไร โดยที่อุณหภูมิในชั้นนี้ มีแนวโน้มที่จะต่ำกว่าหรือเท่ากับอุณหภูมิชั้นพื้นผิวซะด้วยซ้ำ

ถึงอย่างไรก็ตาม งานวิจัยชิ้นนี้ให้ผลที่แตกต่างจากการศึกษาก่อนหน้าอย่างสิ้นเชิง ซึ่งในการศึกษาก่อนหน้านี้ ต่างระบุว่า ความแตกต่างของผลลัพธ์ระหว่างแบบจำลองต่างๆ เกิดจากความผิดพลาดของข้อมูลที่ใช้ป้อนเข้าไป ไม่ใช่ข้อผิดพลาดของแบบจำลอง

สงสัยงานนี้ต้องดูกันยาวๆ ซะแล้ว

ที่มา - EurekAlert

Get latest news from Blognone

Comments

By: ABZee on 13 December 2007 - 02:49 #37210

ผมว่าผลวิจัยที่อัลกอยกมานั้นมันมีเป้าหมายทางการเมืองค่อนข้างมากนะครับ โดยส่วนตัวผมเองยังไม่เชื่อว่าภาวะภูมิอากาศในปัจจุบันนั้นเป็นผลจากฝีมือมนุษย์ซะทีเดียว มันมีทั้งผมวิจัยที่ส่งเสริมและขัดแย้ง แต่สื่อและผู้คนก็มักพูดกันแค่ด้านเดียว

PoomK

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 13 December 2007 - 10:00 #37222
Ford AntiTrust's picture

มันจะผิดจะถูก จะขัดแย้งหรือไม่ ไม่สำคัญเท่ากับว่า "จะไม่รับผิดชอบต่อการทำลายสิ่งแวดล้อมหรือยังไง สำนึกน่ะมีไหม -_-' "

Ford AntiTrust’s Blog

By: Mr.JoH
Writer
on 13 December 2007 - 10:41 #37232 Reply to:37222

ผมว่าคนส่วนใหญ่รวมถึงเจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้คงจะเห็นด้วยว่าประเด็นเรื่องปัญหาโลกร้อน ส่วนใหญ่นั้นเกิดมาจากฝีมือมนุษย์
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าที่ อัล กอร์ พูดมาทั้งหมดจะถูกต้องซะทีเดียว มีหลายจุดหลายประเด็นที่ถ้าหากลองดูดีๆแล้ว พบว่า อัล กอร์ เข้าใจผิดหรือพูดความจริงไม่หมด ซึ่งตรงนี้ควรจะต้องตั้งข้อสงสัยและรู้เท่าทัน ไม่เช่นนั้นเรื่องโลกร้อนจะไม่เป็นประเด็นทางวิทยาศาสตร์อีกต่อไป แต่จะกลายเป็นกระแสไปแทน
ระหว่างวิทยาศาสตร์กับกระแส หลายคนก็รู้ๆ กันอยู่ ว่าอันไหนมันยั่งยืนมากกว่ากัน

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net

By: Ford AntiTrust
ContributorAndroidBlackberryUbuntu
on 13 December 2007 - 12:42 #37249 Reply to:37232
Ford AntiTrust's picture

แล้วทำไม ไม่ใช้กระแสให้เกิดประโยชน์ต่อสวนรวมหล่ะครับ ?
จะให้มันเป็นลมพัดแรงผ่านมาแล้วผ่านไปเหรอครับ ?

ใช้กระแสต่าง ๆ ให้เกิดผลดีกว่า ช่วยกันรักษาธรรมชาติ ไม่ได้เสียหายอะไรนิครับ ใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาก็เยอะ ไม่คิดจะรักษาหรือคืนสภาพมันบ้างหรือไงครับ ?

แล้วลูกหลานเราจะอยู่กันยังไงครับ ?

เรื่องด้านวิทยาศาสตร์ก็ให้เค้าจัดการความถูกต้องของข้อมูลต่อไป แย้งกันได้ แต่อยูบนข้อมูลที่ถูกต้อง ตามข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ครับ อันนี้มันมีขั้นตอนอยู่

แต่ผลต่าง ๆ ที่เรารู้สึกได้ และทุกคนก็คงทราบกันดีว่าโลกมันร้อนขึ้น พายุฝนรุนแรงขึ้น ธรรมชาติให้ผลของภัยพิบัติเพิ่มขึ้น นั้นอาจจะเพียงพอแล้วมั้งต่อการที่เราต้องตื่นตัวน่ะครับ

ความรู้สึกที่เห็น ๆ กันอยู่คงถกเถียงกันไม่ได้มั้งครับ

Ford AntiTrust’s Blog

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 December 2007 - 13:06 #37250 Reply to:37249
lew's picture

ผมชอบนะที่เราตื่นตัวกันเรื่องของสิ่งแวดล้อมในองค์รวมกันมากขึ้น ต่างจากเมื่อก่อนที่เรามองสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องของกองขยะหน้าบ้าน

แต่ขณะเดียวกันผมมองว่าความตื่นตัวที่มาจากข้อเท็จจริง น่าจะเป็นผลดีในระยะยาวมากกว่าที่เราจะไปอาศัยโหนกระแสไปกับความรู้สึก เพราะถ้าเราไปโหมกระแสจากตรงนั้นแล้วข้อเท็จจริงออกมาไม่ตรงกัน สุดท้ายแล้วความน่าเชื่อถือจะหมดไป และจะกลายเป็นนิทานเด็กเลี้ยงแกะระดับโลกไปเลยก็ได้

ตรงนั้นผมว่ามันเสียหายนะครับ และเป็นความเสียหายในระยะยาวอีกด้วย

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: Mr.JoH
Writer
on 13 December 2007 - 13:21 #37252 Reply to:37250

เห็นด้วยกับที่พี่ lew พูดครับ การโหนกระแสหรือทำตามกระแสโดยไม่มองดูความเป็นจริง ความน่าเชื่อถือก็จะไม่มี แล้วที่ร้ายที่สุดก็คือ อาจจะทำให้เกิดผลกระทบที่เราอาจจะคาดเดาไม่ได้อีกด้วย

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net

By: smilelovehappiness on 13 December 2007 - 10:40 #37231

ยังไงซะการพยายามเปลี่ยนมาใช้พลังงานทดแทนและใส่ใจสิ่งแวดล้อมก็ไม่เสียหายเลยซักนิดเดียว ส่วนตัวชอบงานของอัลกอร์ เพราะว่ามันทำให้พวกคนใหญ่คนโตหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันอย่างจริงจังเสียที ไม่งั้นก็ไม่เคลื่อนไหวอะไรเลย

By: kisstuna
iPhoneAndroid
on 13 December 2007 - 11:03 #37237

จะถูกหรือจะผิด ผมคิดว่าไม่สำคัญ แต่ตอนนี้หน้าหนาว แต่ร้อนมาก

ถ้าเค้าบอกว่าทาง อัล กอร์ ผิด แล้ว อีก 10 ที่ผิด แล้วมี 1 ที่บอกว่าถูก ผมเคารพประชาธิปไตย ในฐานะ ที่ไม่รู้วิธีการวิจัย ผมว่า อัลกอร์ ถูก :D จากข้อมูลด้านบนที่ผมประสบ

ผมเคยดูหนัง เกี่ยวกับ พายุ เค้าว่า ตอนนี้พายุมีความรุนแรงขึ้นทุกวัน และเกิดถึ่ขึ้น ( ข้อมูล อัล กอร์ อาจจะผิด :P )
แล้วมีคนถามว่า ชื่อพายุนี่ มีกี่ชื่อ ... อืม แล้วเมื่อชื่อหมดแล้ว ก็วนใหม่ใช่มั้ย .... อืม แล้วถ้า ในปีนึงชื่อที่ตั่งให้มันหมดละทำงัย ( ไม่แน่จัยเรื่องข้อมูล )
นักวิจัยก็ตอบว่า เมื่อถึงตอนนั้น เราไม่ต้องกังวล เรื่อง ชื่อของพายุ แล้วหละ เราต้องมากังวลเรื่อง พายุ แทน :D

แล้วถ้าทาง อัล กอร์ มีการเมือง
อีกทางก็น่าจะมีเหมือนกันนะผมว่า เพราะ เค้าผลิตก๊าซเป็นอันดับหนึ่งแล้วเริ่มสูญเสีย ออสเตรเลีย ไปอีก 1 ก็ต้องหาข้อมูลมาหักล้าง เพื่อจะได้ไม่ต้อง เซ็นสัญญาอีกต่อไปซัก 50ปี

meare.spatc.net

By: z2
Windows PhoneAndroidUbuntuWindows
on 13 December 2007 - 11:59 #37244

หน้าหนาวปีนี้ ไม่หนาวเลย
- -''
ขนาดเดือนธันวาแล้ว

By: bhattee on 13 December 2007 - 12:33 #37248

คนไม่เชื่อเรื่องโลกร้อนมีเยอะแยะครับ

ผมเห็นด้วยกับการประหยัดพลังงาน ไม่สนใจหรอกครับว่าจริงๆแล้วโลกจะร้อนขึ้นหรือไม่ หรือว่าประหยัดพลังงานแล้วจะทำให้โลกเย็นลงได้หรือไม่ แต่ผมเห็นว่าการใช้พลังงานอย่าง 'พอเพียง' สมเหตุสมผลในตัวเองอยู่แล้ว

ส่วนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ คงอีกนานกว่าจะได้ข้อสรุปที่แท้จริงมั้งครับ

By: metalmx on 13 December 2007 - 13:13 #37251 Reply to:37248

เห็นด้วยครับ "การใช้พลังงานอย่าง ‘พอเพียง’ สมเหตุสมผลในตัวเองอยู่แล้ว"

ส่วนจะไปว่า อัล กอร์ ผิดหรือไม่ มันไม่ควรนำมาเป็นประเด็นเลย ถึงเขาจะชี้ข้อมูลที่ผิด แต่กลอุบายที่ทำให้คนทำดี มันดีกว่ารู้ความจริงแล้วทำชั่วต่อไป มิใช้หรือ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 December 2007 - 13:54 #37258 Reply to:37251
lew's picture

แต่สุดท้ายความจริงก็ต้องปรากฏอยู่ดีล่ะครับ

แล้วถึงตอนนั้นผลสุดท้ายมันจะเป็นยังไงล่ะครับ?

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: chaow
Android
on 13 December 2007 - 15:47 #37267 Reply to:37258
chaow's picture

ความจริงก็คือ เราก็จะจ่่าย ค่า พลังงาน น้อยลงยังไงละครับ อิอิ
โดยเฉพาะค่าน้ำมัน ตอนนี้ แทบจะเอาไม่อยู่แล้ว

By: ABZee on 14 December 2007 - 03:58 #37311 Reply to:37251

ผมว่าการหลอกคนทั้งโลกให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยการอ้างเหตุผลแบบผิดๆนั้นมันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องนะครับ

สักวันเราอาจได้ยินอะไรแปลกๆว่า การแปรงฟันวันละสามครั้ง ทำให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น เพราะขี้่ปากคนนั้นเป็นมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

อาจดูเหมือนพ่อแม่หลอกเด็ก แต่ว่าเด็กคนนั้นไม่มีวันโต

PoomK

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 December 2007 - 13:53 #37257 Reply to:37248
lew's picture

แล้วตรงไหนคือพอเพียงหรือครับ?

ถ้าผมเป็นโรงงานแล้วกิจการเติบโต ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 10% จะถือว่าไม่พอเพียงรึเปล่าครับ?

ในกรณีนี้ผมไม่เห็นว่าการอ้างว่าเราได้ใช้พลังงานอย่างพอเพียงจะช่วยแก้ปัญหาอะไรได้ ถ้าแนวคิดโลกร้อนเป็นจริง แล้วเรายังคงผลิตคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศในปริมาณที่เราอ้างว่า "พอเพียง" (ไม่ต้องพูดถึงว่าเมื่อเศรษฐกิจมันเติบโต ปริมาณการใช้พลังงานก็โตตาม) สิ่งแวดล้อมก็คงพินาศอยู่ดีล่ะครับ

ถ้านำไปสู่การปฏิบัติจริง เราคงต้องนิยามกันออกมาในเชิงปริมาณนะครับว่า "การใช้พลังงานอย่างพอเพียง" ที่พูดถึงนั้นเป็นอย่างไร

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: chaow
Android
on 13 December 2007 - 15:57 #37268 Reply to:37257
chaow's picture

"ถ้าผมเป็นโรงงานแล้วกิจการเติบโต ใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นปีละ 10% จะถือว่าไม่พอเพียงรึเปล่าครับ?"

ผมมองว่า หาก ใช้ไฟฟ้าเพิ่มปี ละ 10 % นะครับ ก็จะมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อย่าง มีนัยสำคัญ จำเป็นต้องมีการสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และไอ้ โรงไฟฟ้า มันตั้งอยู่ในเมืองที่ไหนละครับ มันไปตั้งในป่า และหากสร้างโดยไ่ม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม แล้ว ผลกระทบจะตกอยู่กับชาวบ้าน บริเวณ นั้น ไม่ใช่ คนที่อยู่ในเมืองอย่างเราๆ นะครับ

"Thinks Globally, act locally" - คำขวัญการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 13 December 2007 - 16:05 #37270 Reply to:37268
lew's picture

นั่นคือคุณจะบอกว่าเราไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม?

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: chaow
Android
on 13 December 2007 - 17:05 #37273 Reply to:37270
chaow's picture

และหากสร้างโดยไ่ม่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (เวลาสร้างก็ควรคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ตัดป่าไม้ มากเกินไป ทำลายแหล่งต้นน้ำ ทำลายแหล่งอาหารของชาวบ้านบริเวณนั้นครับ)
ผมบอกตรงนี้แ้ล้วนะครับ

สรุปคือ เราจะทำอะไรก็ควรคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยนะครับ

By: mk
FounderAndroid
on 13 December 2007 - 18:54 #37280 Reply to:37273
mk's picture

ผมคิดว่าทุกคนเห็นตรงกันเรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว เพียงแต่แค่ไหนถึงเรียกว่า "คำนึง" เช่น ตัดต้นไม้ 5 ต้นมากเกินไปหรือเปล่า? หรือต้อง 10 ต้นถึงจะเรียกว่ามากเกิน

By: tee on 14 December 2007 - 12:18 #37326 Reply to:37280

ถ้าตัด 5 ต้นเพื่อสร้างบ้านอยู่คนเดียวได้ขนาด 1 คนอยู่ก็น่าจะถือว่าคำนึง ถ้าอยู่คนเดียวแล้วตัด 10 ต้น ยังงี้มากเกิน ถูกไหมครับ คำตอบเดียวกันถ้าใช้คำว่าพอเพียง

By: Kerberos
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 16 December 2007 - 07:53 #37409 Reply to:37273
Kerberos's picture

แล้วถ้าตัดต้นไม่ 20 ต้นเพื่อสร้างตึกให้ 100 คนอยู่นี่เรียกว่าทำลายธรรมชาติจนไม่พอเพียงไหมครับ

By: Mr.JoH
Writer
on 13 December 2007 - 18:07 #37277 Reply to:37270

การแก้ปัญหาเรื่องพลังงานสามารถแก้ได้หลายวิธีครับ ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเสมอไป
แต่ถ้าหากถึงคราวจำเป็นจริงๆ เช่น optimize ทุกอย่างแล้ว แต่การประมาณก็ยังบอกว่าต้องใช้ไฟเพิ่ม นั่นแหละจึงสมควรสร้างเพิ่ม ครับ โดยในการสร้าง ควรคิดต้นทุนอื่นๆ นอกจากต้นทุนทางธุรกิจด้วย เช่น ต้นทุนด้านสิ่งแวดล้ม, ต้นทุนทางสังคม

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net

By: iake on 13 December 2007 - 15:12 #37264

ความจริงอย่างหนึ่งที่ไม่ค่อยเห็นใครกล่าวถึงก็คือ อารมณ์ของคนเราร้อนขึ้นทุกวัน

--------- iake;

By: plynoi
WriterAndroidUbuntu
on 13 December 2007 - 16:57 #37272 Reply to:37264

และเราก็ไม่สนที่แก้ปัญหานี้ (พร้อมๆ กับปัญหาสิ่งแวดล้อม)

By: eszhang
AndroidUbuntu
on 14 December 2007 - 17:58 #37351 Reply to:37272

+1

Some one behind the scenes

By: DuRiAn on 13 December 2007 - 18:21 #37278

'พอเพียง' เป็นจำนวนที่ไม่มีปริมาณใดๆเลย...
พอเพียงของคนจนก็อย่างหนึ่ง พอเพียงคนรวยก็อีกอย่างหนึ่ง พูดไปก็ไม่เข้าใจกันป่าวๆ

พูดว่าประหยัด ช่วยกันใช้พลังงานอย่้างประหยัด อย่างนี้จะดีกว่า

เรื่องโลกร้อน อัล กอร์ อาจจะพูดไม่ถูกต้องทั้งหมดก็ได้
แต่ถ้ามองกันจริงๆ มนุษย์โลกเราก็สมควรจะหยุดการทำร้ายให้น้อยลงอยู่แล้ว
ไม่ใช่ว่าให้ปิดโรงงาน,หยุดผลิตเหล็ก ฯลฯ...เหมือนบางคนพูด คิดสั้นๆ
แต่ต้องพัฒนาเทคโนโลยีให้ ผลิตได้มากขึ้น ในขณะที่ลดปริมาณมลพิษลงอีก

By: tee on 13 December 2007 - 21:19 #37288 Reply to:37278

พอเพียงก็คือน้อยสุดที่จำเป็นหรือประหยัดนั่นแหละ ชอบถามหาปริมาณกันจริง ไอ้จำพวกหยุดพัฒนาทุกอย่างนี่เรียกประชด

By: stargate on 13 December 2007 - 22:50 #37302 Reply to:37288

วิธีคิดคุณ tee นี่แปลกๆ นะครับ คนอื่นเค้าคุยกันค่อนข้างสร้างสรร คุณเข้ามาโวยวาย ไม่รู้เคืองใครมาจากไหนหรือเปล่า

ผมถามคุณ tee หน่อยว่าผมต้องขับรถไปทำงานวันละ 10 กิโล อันนี้จำเป็น แต่ถ้าวันไหนผมเกิดอยากเดินห้างขึ้นมา ต้องขับเพิ่มอีกวันละ 0.5 กิโล ไอ้ที่เพิ่มมาเรียกพอเพียงไหมครับ

By: tee on 14 December 2007 - 11:44 #37322 Reply to:37302

ป่าวหรอกครับ ปกติเรื่องคำว่าพอเพียงนี่เราหาจุดสรุปไม่ค่อยจะได้ที่ผมตอบหลังคุณ DuRiAn นี่ ผมสนับสนุนเรื่องประหยัดครับ

เอาเป็นว่าผมตอบประเด็นเดินห้างนี้ให้ละกัน จะได้ตรงๆ เปรียบเทียบเช่น การกินเยอะจนอ้วนเกิน อย่างนี้เรียกไม่พอเพียง, การเล่นเกมส์จนเสียงานเสียการเรียนยังงี้ไม่พอเพียง, การเดินห้างเที่ยวเล่นซะจนไม่มีเวลาให้กับอย่างอื่นอย่างนี้ก็เรียกไม่พอเพียงเช่นกัน ถ้าการเดินห้างเป็นการพักผ่อน พักมากไปหน่อยก็เสียดายอากาศไว้หายใจและอาหารที่กินเข้าไปนะครับ จะตอบไม่ตรงคำถามก็ตรงที่ว่าคุณ stargate บอกมาไม่หมดว่าเดินห้างแล้วไม่ได้ทำให้อย่างอื่นเสียหาย แต่ถ้ามาพูดเรื่องการทำให้อย่างอื่นเสียหายหรือว่าไม่เสียหายหรือเปล่านี่ก็ยาวแฮะ เพราะเวลาที่เราเสียไปจากการเดินห้างอาจเอาไปช่วยเหลือหรือปรับเปลี่ยนโครงสร้างอยุติธรรมที่เราชนชั้นกลางกดทับชนชั้นล่างเอาไว้อยู่ให้เสียหายน้อยลงได้เหมือนกัน

สรุปว่าผมก็ตอบให้เคลียร์ไม่ได้เหมือนกันแฮะ ขอโทษด้วยครับ

By: pt on 13 December 2007 - 19:41 #37282

ธรรมชาติมันวิปริตจริง ๆ นะ ตอนเด็ก ๆ หนาวเป็นหนาว ฝนเป็นฝน
หน้าร้อนก็ไม่ได้ร้อนแทบไหม้อย่างทุกวันนี้

By: AdmOd
iPhoneWindows
on 13 December 2007 - 23:02 #37303

รู้สึกว่าสิบปีก่อนกับทุกวันนี้ก็ไม่เห็นจะต่างอะไรกันมากมาย
สิบปีก่อนวิ่งเตะบอลกับเพื่อน ก้ร้อนพอๆกับหน้าร้อนปีนี้

..แต่เหลียวมองแล้วเห็นน้ำมันลิตรละ 7 บาทกลายเป็น 32 บาทแล้วสะเทือนใจเล็กๆ

By: Kanitchet
iPhoneAndroidSUSEUbuntu
on 14 December 2007 - 14:24 #37336

หลายๆคนที่ช่วยกันสนับสนุน เรื่องการแก้ปัญหาภาวะโลกร้อน
ไม่ว่าจะจริงหรือไม่ ...

อล่าลืมสิครับว่า'ที่นี่'เค้าจำกัดสิทธิในการแสดงความคิดเห็น ถ้าไม่ตรง
และขัดแย้งจะโดนด่า ถกเถียงไปมาไม่มีวันจบ เงียบๆของเราดีกว่าผมว่านะ
ไม่มีประโยชน์ที่จะเปลี่ยนความคิดคนที่ไม่ยอมรับฟังคนอื่น

By: raining on 14 December 2007 - 15:42 #37343

ผมกลับไม่ได้รู้สึกว่าวิธีการคิดของคุณ tee จะแปลกตรงไหน การที่ใครจะรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างไรหรือมองว่าแค่ไหนคือ ประหยัดมันก็แล้วแต่คนละครับแต่ละคนมีลิมิตไม่เหมือนกัน ส่วนเรื่องคำถามเดินห้างไม่ขอตอบ แล้วแต่คุณจะคิด
ปล. ไม่ได้รู้จักคุณ tee เป็นการส่วนตัวนะครับ บอกไว้

By: ABZee on 15 December 2007 - 17:45 #37399

คิดถึง South Park ตอนนี้เลย

PoomK

By: pras on 17 December 2007 - 15:18 #37473

มนุษย์คือสิ่งแปลกปลอมในธรรมชาติ

By: b39ppr on 4 January 2008 - 12:58 #38498

ลองเปรียบเทียบว่า อัล กอร์กำลังรณรงค์ให้คนหันมาใช้ Firefox ขณะที่คนแทบทั้งโลกใช้ IE
เผื่อคุณอาจจะเข้าใจและรักสิ่งที่เค้าทำมากขึ้น

By: Mr.JoH
Writer
on 10 January 2008 - 11:08 #38948 Reply to:38498

ไม่รู้คุณ b39ppr จะได้มาอ่านคอมเม้นต์ผมอีกหรือเปล่านะ ?
ผมเข้าใจว่าอัลกอร์กำลังทำอะไร และมีประโยชน์ต่อโลกอย่างไร แต่ที่ผมคิดก็คือ ถ้าแบบจำลองมันไม่ถูกต้อง ยังมีข้อบกพร่องอยู่ ก็ควรนำไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อที่จะได้อุดช่องโหว่ของทฤษฏีโลกร้อน คนอื่นจะได้หาจุดโจมตียากขึ้น
ส่วนถ้านำไปเปรียบเทียบกับเรื่อง Firefox ผมเองก็ไม่ชอบใจ คนที่ไปโฆษณาว่า firefox ไม่มีวันcrash ไม่มีไวรัส เพราะจริงๆ โอกาสที่จะเกิดมันมี

Lastest Science News @Jusci.net


Lastest Science News @Jusci.net

By: b39ppr on 14 January 2008 - 05:38 #39320 Reply to:38948

ผมไม่ได้มองรายละเอียดเรื่องแบบจำลองครับ ผมมองปฏิกิริยาตอบรับของคนส่วนใหญ่ ถ้ามันเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น ผมก็รู้สึกว่าที่เขาทำเป็นสิ่งที่น่าสรรเสริญเลยล่ะ
อย่างตอนใช้ Firefox ผมไม่ได้มองแค่มันดียังไงหรือดีจริงไหม แต่มองว่าถ้าคนหันมาใช้เยอะๆแล้วมันจะเกิด
การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีไหมด้วย
สรุปแนวคิดตื้นๆของผมก็แค่ ใครมีแนวคิดที่เมื่อนำไปปฏิบัติแล้วน่าจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่มีประโยชน์ในวงกว้าง ผมก็มองว่าน่าสนับสนุนแล้วครับ
ปล.ตั้งแต่ความเห็นแรกของผมไม่ได้มีเจตนาตอบโต้หรือเจาะจงพูดถึงเนื้อหาในข่าวเท่าไหร่ครับ จริงๆแค่อยากจะแสดงความสนับสนุนสิ่งที่อัล กอร์ ทำครับ