อะไรทำให้มนุษย์เรามีความแตกต่างจากลิงชิมแปนซี ? นักวิจัยจาก European Molecular Biology Laboratory's European Bioinformatics Institute (EMBL-EBI) ได้เข้าใกล้คำตอบดังกล่าวมากยิ่งขึ้น หลังจากที่มีการค้นพบข้อผิดพลาด ของเครื่องมือที่ใช้ในการเปรียบเทียบลำดับของรหัสพันธุกรรม เพื่อหาความสัมพันธุ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน และได้พัฒนาเครื่องมือตัวใหม่ ซึ่งแก้ไขข้อผิดพลาด และเพิ่มความเข้าใจในทฤษฏีวิวัฒนาการมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากการวิวัฒนาการเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ไม่สามารถศึกษาโดยการสังเกตได้โดยตรง และก็เป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้ต้องเรียนรู้กลไกการวิวัฒนาการ และความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด โดยอาศัยการการเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรม
การเปลี่ยนของรหัสพันธุกรรมเพียงไม่กี่ตัว ก็สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ไปจนถึงรุ่นลูกหลานได้ รหัสพันธุกรรมสามารถถูกแทนที่, สูญหาย, หรือถูกเพิ่มลงไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ทำให้โครงสร้างและการทำงาน ของยีนและโปรตีนเปลี่ยนแปลงไป และก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ ขึ้นมาบนโลก การเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เป็นการเปิดเผยความเข้าใจในวิวัฒนาการ
การเปรียบเทียบหลายลำดับ เริ่มต้นโดยการเรียงตำแหน่งของลำดับพันธุกรรม ลำดับของรหัสพันธุกรรมที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน จะมีตัวอักษรเหมือนกัน ในขณะที่ลำดับที่มีการเพิ่มหรือสูญหาย จะถูกทำเครื่องหมายเป็นช่องว่าง กระบวนการเปรียบเทียบจะใช้พลังในการคำนวนสูงมาก การเปรียบเทียบจะเกิดข้อผิดพลาดขึ้น เมื่อมีลำดับพันธุกรรมที่ใช้เปรียบเทียบเกิดมีการเพิ่ม ในขณะที่ลำดับพันธุกรรมอีกอันเกิดมีการสูญหาย วิธีการแบบเดิมไม่สามารถแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ และำนำไปสู่ข้อบกพร่องในการเข้าใจทฤษฏีวิวัฒนาการ
วิธีการแก้ปัญหาดังกล่าว นักวิจัยได้ใช้วิธีการ นำรหัสพันธุกรรมที่มีปัญหา ไปเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตที่มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกัน เช่น ถ้ากำลังเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรมระหว่างมนุษย์กับลิงชิมแปนซีอยู่ แล้วเจอลำดับที่ไม่สามารถตัดสินได้ว่ามีการเพิ่มหรือสูญหาย เครื่องมือที่ได้รับการพัฒนามาใหม่ ก็จะไปเรียกข้อมูลที่เหมือนกันของสิ่งมีชีวิตที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น กอริลลาหรือค่าง ถ้าเกิดมีช่องว่างเหมือนกับลิงชิมแพนซี ก็แสดงว่ารหัสพันธุกรรมของมนุษย์มีการเพิ่มขึ้นมา
ผลจากวิธีการใหม่ ทำให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า การเพิมของรหัสพันธุกรรมมีโอกาสเกิดขึ้นได้มากกว่าที่เคยคิดไว้ ในขณะที่การสูญหายของรหัสพันธุกรรมก็มีค่ามากเกินไปจากวิธีแบบเก่า
ที่มา - EurekAlert via Jusci.net
Comments
ดูเหมือนว่าเมืองไทยเราคงจะยังไม่มีคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เอาไว้ทำเรื่องพวกนี้นะ ... คิดว่า
งั้นเปลี่ยนใหม่ดีกว่า ต้องบอกว่า ดูเหมือนว่าเมืองไทยเราให้ความสนใจในวิศวกรรมพันธุศาสตร์น้อยไปหน่อย อือม แต่ก็ต้องเห็นใจ เพราะแค่ต้องเจียดงบประมาณให้กับเรื่องอิเลกทรอนิกส์, คอมพิวเตอร์, นาโนเทคโนโลยี และนิวเคลียร์เทคโนโลยี ก็ยุ่งจะแย่อยู่แล้ว
Mr. PeeTai
BIOTEC ก็ไม่เล็กนะ
งบประมาณด้าน Bio เมืองไทยเยอะมากครับ ลองดูดีๆ
งานวิจัยเรื่อง Genetics เมืองไทยนี่ก็ไม่ใช่น้อยเลย อย่างพวก GMO นี่ผมเข้าใจว่าตามห้องแลปก็มีพันธุ์ข้าวเก็บไว้เป็นกระบุงกันแล้ว แต่กระแสต้าน GMO ตอนนี้ทำให้ต้องเก็บไว้เงียบๆ ก่อน
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
งานวิจัยในไทยเกี่ยวกับเรื่องนี้เยอะพอสมควรนะ
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
ชิมแปนซีกินกล้วยได้ทุกมือทุกวัน ผมอย่างเก่งก็วันละมื้อหลังข้าว นี่มั๊งที่ทำให้ต่าง
+555 \(@^_^@)/ M R T O M Y U M
วิวัฒนาการ จากทฤษฎีกลายเป็นความเชื่อ ที่ฝังรากจนยากจะถอน
ชาร์ล ดาร์วินเองยังพูดในที่ประชุมเลยว่าทฤษฏีนี้ยังมีช่องโหว่มหึมาอยู่มากมาย และ
เนื่องจากช่องโหว่เหล่านั้น ที่ประชุมจึงสรุปว่า"วิวัฒนาการ" เป็น"ความน่าจะเป็น"เท่านั้น
..แต่ในสมัยนั้นคนไทยที่ถูกส่งไปเรียนที่ยุโรป เพื่อเอาความรู้มาพัฒนาประเทศ
คงไปได้ยินมาคร่าว(อันนี้เดาเอา..แต่เดาจากข้อมูลจริง)กลับมาก็เลยเอาแผนผังรูป
ลิงค่อยกลายร่างมาเป็นคน กลับมาสอนคนไทย ว่าคน เมื่อก่อนเป็นลิง!!!
ก็ฮือฮาสิครับแบบนั้น (คง)ไม่ได้สอนให้แยกระหว่างTheory กับคำว่า Evolution
เพราะทราบมาว่าในสมัยนั้น นอกจาก Darwin's Theory Of Evolutionแล้ว
ยังมีTheory อีกหลากหลายTheory แต่ไม่โด่งดังเท่าของDarwin'sเท่านั้น
*สังเกตได้ว่ามนุษย์ที่ไม่ค่อยชอบคิดเองมักจะ"เชื่อ" ก่อน แล้วค่อยหาเหตุผลมาสนับสนุน
ความเชื่อของตัวเองจนกลายเป็นการ อ้างเหตุผล ไม่ได้ ใช้เหตุผล..
คุณไม่ได้อ่าน/ศึกษาเรื่องการพัฒนาของทฤษฎีทางวิทยาสตร์ รวมไปถึงเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการเลยอ่ะ
เมื่อคุณยังไม่ได้อ่านจริงๆจังๆ คุณไม่ควรที่จะวิจารณ์
ใช่ ชาร์ล ดาร์วิน อาจจะยอมรับเรื่องทฤษฎีวิวัฒนาการไม่ตอบ แต่ในเวลานั้น (ยุค 1860)
เพราะในเวลานั้นความรู้เรื่องพันธุ์ศาสตร์ยังตั้งไข่อยู่เลย
Mendel บิดาแห่งพันธุ์ศาสตร์ เริ่มทดลองถั่ว/และตีพิมพ์ผลงานในช่วง 1860 และ
DNA มาค้นพบในอีกร้อยปีให้หลัง
อย่างไรก็ตาม แต่นักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายในโลกนี้ ยอมรับแนวคิดนี้ เพราะสอดคล้องกับหลายๆหลักฐานที่เกิดในปัจจุบัน และเป็นแนวคิดที่ยอมรับได้มากที่สุดในการเกิดเผ่าพันธุ์ใหม่ๆ (ดีกว่า สวรรค์/พระเจ้า/มนุษย์ต่างดาว ส่งมา, ทุกอย่างเป็นอย่างนี้ ไม่มีเปลี่ยนแปลง, ฯลฯ)
See also
จิงอยู่ว่านักวิทยอมรับทั่วโลก แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะถูกเสมอไป ดูอย่างเรื่องหลุมดำนั่นปะไร ที่เชื่อกันมา 30 ปี ว่ามันดูดกระจาย แล้วเป็นไง สตีเว่น ฮอว์คิง ออกมายอมรับว่ามันไม่ได้เป็นอย่างนั้น เพราะเพิ่งตรวจพบว่ามีวัตถุสามารถกลับออกมาจากหลุมดำได้
แล้ว 30 ปีที่ผ่านมามันควรจะเรียกว่าอะไรคับ ? วิทยาศาสตร์ ? ความเชื่อ ? ความมั่ว ?
http://my.dek-d.com/katesnk/story/viewlongc.php?id=165318&chapter=5
นิทานยังมั่วน้อยกว่า
http://www.palungjit.com/smati/books/jurai/blackhole.htm
ถ้างั้น คุณจะไม่มีกรอบแนวคิดอะไรเลยชั่วชีวิต ไม่มีกรอบแนวคิดหรือทฤษฎีอะไรที่ถูกต้อง 100% ตั้งแต่วันแรก โดยไม่พึ่งพามาจากสิ่งก่อนหน้า และนั่นคือความสวยงามของวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีตั้งเพื่อเซ็ตกรอบความคิดโดยมีหลักฐานรองรับ ถ้ามีอะไรหักล้างได้ ก็สร้า้งทฤษฎีใหม่บนพื้นฐานทฤษฎีเก่าต่อยอดขึ้นไป Theory != Fact นะครับ และ Fact != True งงรึเปล่าครับ
โลกหมุนศูนย์กลางจักรวาล มีข้อมูลใหม่ โลกหมุนรอบดวงอาิทิตย์ หรือเมื่อก่อน
โลกแบน ข้อมูลใหม่ โลกกลม
ถ้ารอ perfectionist/idealist โลกเราก็ไม่มีพัฒนาการ อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมาก
เอาทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น เอามาทำประโยชน์
ถ้าตอบโจทย์หรืออธิบายปรากฎการณ์ต่างๆที่เจอได้ก็เชื่อ แต่ถ้าเมื่อไรตอบไม่ได้ ก็เตรียมตั้งแนวคิดใหม่ได้เลย นักวิทยาศาสตร์ทุกคนเรียนรู้จักเรื่องนี้เป็นอย่างดีครับ
อย่าได้อ่านข้อมูลจากแหล่งเดียว อ่านหลายๆแหล่ง ไทย, ต่างประเทศ
ข่าวเมื่อปี 3 ปีก่อนแบบนั้น ใช้ไม่ได้แล้วล่ะครับ นั่นคนเขียนเข้าไปฟังมากจากคำว่า Hawking radiation แล้วอนุภาคที่ออกมา ก็เปล่งมาใกล้ๆหลุมดำ ไม่ใช่หลุดจากหลุมดำ
ปล. ผมจะไม่ต่อความเห็นแล้วนะครับ
มันถูกเรียกว่ากฎไม่ใช่ทฤษฎี
แต่มันก็ยังเป็นวิทยาศาสตร์
ไม่ตายไม่เลิก
xserve cluster at BIOTEC
http://www.biotec.or.th/biotechnology-en/newsdetail.asp?id=2155
น่าจะเป็น : แก้ข้อผิดพลาดของทฤษฏีวิวัฒนาการทำให้คอมพิวเตอร์เปรียบเทียบรหัสพันธุกรรมได้ดีขึ้น
ไม่น่าจะใ่ช่ครับ เพราะว่าวิธีการ alignment แบบเดิมดูเหมือนจะมีปัญหา(เหมือนจะเป็น bug) เมื่อนักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการใหม่ในการคำนวน ก็ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ถูกต้องมากขึ้นครับ
Lastest Science News @Jusci.net
Lastest Science News @Jusci.net
เห็นด้วยครับ เป็นการเปลี่ยนแปลงวิธีการเปรียบเทียบ ไม่ได้ไปเปลี่ยนทฤษฎีแต่อย่างใด
ไม่ได้จะว่าอะไรนะ แต่รำคาญภาษาวิบัติ(พิมพ์ผิด) ชะมัด
คำว่า จิง คับ + ตรรกะแปลกๆ