ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยในประเทศเกาหลีใต้ นำโดย นาย Cho Jae-Phil ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ด้านเคมีประยุกต์ของมหาวิทยาลัยหานยาง (Hanyang) ได้ร่วมกันพัฒนาแบตเตอรี่ลิเธียม ที่สามารถให้พลังงานมากกว่าแบตเตอรี่ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ราว 90%
ดังนั้นเมื่อนำแบตเตอรี่ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ครั้งนี้ไปใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ laptop และเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วจะทำให้ใช้งานได้นานขึ้นกว่า 8 เท่า ทีเดียว
เทคโนโลยีดังกล่าว ใช้ตะกั่วดำ (graphite) เป็นวัสดุหลักในการทำอิเล็กโตรด (electrode) ลบ ร่วมกับ อนุภาค porous silicon ที่ทำขึ้นจากซิลิกาและไฮโดรเจน ฟลูออไรด์
ทั้งนี้ในอดีต ได้เคยทดลองใช้พวกซิลิกอนมาก่อนแล้ว แต่ปรากฏว่าวัสดุมักจะเกิดการขยายตัวเมื่อนำไปผนึกกับลิเธียม ซึ่งทำให้แบตเตอรี่ไม่เสถียร (unstable) หากนำไปบรรจุในตัวโครงแบตเตอรี่แบบปิด
อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยกล่าวว่า คงต้องใช้เวลาอีก 4 – 5 ปี จึงจะสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ได้
เรา (ผู้บริโภคที่แสนดี) คงต้องรออีกหน่อย กว่าจะได้เสียเงินซื้อมาใช้
ที่มา - cellular-news
Comments
หมายถึง cycle time มากขึ้นใช่ไหมครับ?
ผมเพิ่งรู้นะเนี่ยว่าแกรไฟต์เรียกว่าตะกั่วดำ
8 เท่า ใส่มือถือก็อยู่ได้เป็นเดือนเลยงี้เปล่า
7blogger.com
ถ้าใส่มือถือ Philips บางรุ่น
สงสัยชาร์ตปีละิ 2 ครั้ง...
นี่แหละที่ต้องการ แบตเตอรี่ที่ดีกว่า เล็กกว่า ใช้ได้นานกว่า
อีกหน่อยโครงการหุ่นยนต์ยักษ์คงอยู่ไม่ไกล
Kohsija
4 ปี เลยเหรอ !
มันผิดความหมายไปเยอะนะครับ ตะกั่วดำเนี่ยะ
Graphite มัน C นาาาา ไม่ใช่ Pb