คำพูดที่ผมมักได้ยินอยู่เสมอเวลาคุยกับผู้ประกอบกิจการด้านไอที คือ "เด็กจบใหม่ใช้งานไม่ค่อยได้ ต้องเทรนกันนาน" ผมคิดว่าต้นเหตุของปัญหานี้คือนักศึกษาที่อยู่ในสายไอทีเองก็ไม่เคยมีประสบการณ์ ไม่ทราบความต้องการของตลาดด้วยว่าอยากให้ตัวเองพัฒนาไปในทางไหน
อย่าให้ปัญหานี้มันติดลูปต่อไปเรื่อยๆ อีกเลยครับ ขอเชิญทั้งรุ่นพี่ที่ทำงานแล้ว เจ้าของบริษัทหรือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจจ้าง และตัวนิสิต นักศึกษา (รวมถึงนักเรียนเอง) เข้ามาแลกเปลี่ยนความเห็นกันว่า อยากให้แรงงานด้านไอทีที่กำลังศึกษาอยู่ และกำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานในเร็วๆ นี้ มีทักษะอะไรกันบ้าง
ผมขอวางกติกาไว้เล็กน้อยว่า ไม่ว่าจะเสนอทักษะอะไร ขอให้ระบุเจาะจงพอสมควร พวก "ทำงานเป็นทีมได้" "เรียนรู้เร็ว" อันนี้ขอความกรุณาอย่าเสนอนะครับ อยากได้พวกแบบ "ดีบั๊กโปรแกรมด้วยดีบั๊กเกอร์เป็น" "เขียนโปรแกรมในเชิง OOP ได้" "เขียนโปรแกรมได้อย่างน้อย 3 ภาษา" ทำนองนี้
ไม่จำกัดว่าต้องเป็นทักษะของสายโปรแกรมเมอร์เท่านั้น จะเป็นสายอื่นๆ เช่น ฮาร์ดแวร์ เน็ตเวิร์ค วางระบบ ฯลฯ ก็ได้ทั้งหมดครับ
Comments
ผมเสนอก่อนคนแรกว่า สายโปรแกรมเมอร์จบใหม่ ควรจะใช้โปรแกรมจำพวก VCS เป็น จะเป็นตัวไหนก็ได้ไม่ว่า CVS, SVN, BZR, Git แต่ขอให้รู้แนวคิดพื้นฐานว่ามันทำงานอย่างไร และรู้จักเก็บโค้ดของตัวเองผ่าน VCS
สำหรับต่างจังหวัดยังถือว่าใหม่มากๆ เลยค่ะ ตั้งแต่เรียนจบกลับมาทำงานอยู่แถวนี้ มีคนรู้จัก version control แค่คนเดียว คืออาจารย์ดร. ที่เป็นที่ปรึกษาไอที นอกนั้นไม่รู้จักเลย และไม่รู้ว่าีมีประโยชน์ยังงัย ทุกวันนนี้ก็สอนทุกคนให้ใช้ และพวกเ้ค้าก็เริ่มเห็นประโยชน์ด้วยตัวเองกันทีละเล็กละน้อย (บอกไปตอนแรกไม่มีใครเห็นภาพ ต้องลองเอง)
บลอกของ natty
บลอกของ natty
เป็นนิสิตครับ ขอเพิ่มว่าน่าจะรู้จักการใช้งานพวก Framework และ Library ต่างๆ มาบ้าง ตามแต่สายที่คิดจะไปทำงาน
Yume Nikki
ผมว่าหลายๆ อย่างพอเข้าไปทำงาน/ฝึกงาน นักศึกษาก็จะได้ซึมซับวิธีทำงาน/วัฒนธรรมขององค์กรไปเองซึ่งคิดว่าตรงส่วนนี้มันเตรียมตัวล่วงหน้าไม่ได้นอกจากการที่จะเป็นฟองน้ำแบบพี่โต๋ในโฆษณา
ezybzy.info blog
BioLawCom.De
ผมเป็น C C++ C#
ครบสามภาษาแล้วครับ XD
ประโยชน์มั้ยนี่ ฮาๆๆ
ผมว่าแค่นี้ก็น่าจะได้แล้วครับ เพราะได้สามภาษานี้ Java, JavaScript, PHP, Perl ก็ไม่น่าจะยากแล้ว Ruby, Python ก็แค่ตัดวงเล็บปีกกาออก แล้วเดี๋ยวเพื่อน ๆ มันจะตามมาอีกเพียบครับ
BioLawCom.De
จริงๆเขียน php กับ Java ก็พอเป็นครับ
ที่เรียงมาสามตัวนี้เพราะรู้สึกว่า ถึงเขียนเป็นทั้งสามตัว แต่ไอ้สามตัวนี้นี่มันแทบไม่ต่างกันเลยนะ จะได้ประโยชน์จริงรื้อ
(จริงๆไม่ค่อยได้ใช้ C หรอกครับ แต่เคยเขียน Hardware กับ 3D Shader)
ได้หมดทั้ง 3 อันเป็นเทพแล้วครับ
ผมเห็นด้วยกับข้อสอง, สี่ และห้ามากครับ ปัญหาที่พบบ่อยของพนักงานไอทีจบใหม่คือ
สำหรับภาษา ส่วนตัวผมแนะนำให้รู้สามภาษาเหมือนกันครับ
ส่วนเรื่อง IDE นี่เห็นด้วยครับ ให้ notepad กับ cl หรือ gcc ไปแล้วต้องเขียน hello world ได้
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ผมทำด้านสาย Web Application อยากได้พนักงานที่
เน้นตรง CMS
จะบอกเขาให้ลด e-ngo ลงใช่รึเปล่า (ฮา)
ezybzy.info blog
ใช่ครับ เผอิญเจอบ่อย พวกที่มีอคติกับ CMS หาว่าโง่บ้างล่ะ หาว่ามักง่ายบ้างล่ะ โดยที่ไม่ได้สนใจจศึกษาจริงๆ จังๆ เลย ทั้งที่ตัว CMS เอง มันมีอะไรที่น่าสนใจมาก ไหนจะเรื่องสถาปัตยกรรม, การบริหารจัดการให้คนเป็นหมื่นๆ คนทำงานโครงการเดียวกันได้ ผมว่ามันมหัศจรรย์ออก
มีคนคิดแบบนั้นด้วยหรือนี่ - -"
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ผมยอมรับว่าก็เคยคิดอะไรทำนองนี้นะครับ สมัย PHP-Nuke กำลัง ดังมากๆ :P (วัดอายุ)
แต่ผมคิดในทำนองอิจฉาริษยามากกว่า เราเขียนโค้ดตั้งนาน คนอื่นเอาโค้ดมาวางก็เสร็จแล้ว และในสมัยนั้นเว็บ PHP-Nuke ก็หน้าตาเหมือนๆกันหมด
ส่วนสมัยนี้ก็ยอมรับว่าหลายอย่างเปลี่ยนไปครับ :)
2 ใน 10 ครับ
ผมเคยเป็นเวลาเจอ CMS ที่มันเขียนห่วยๆ
ป.ล. นานแล้วนะ ตั้งแต่ยุคที่ PHP-Nuke กับ phpBB บูม - -'
แต่เรากลับคิดว่า ดีจังเลย ที่รู้จักพวก CMS ฟรีๆ ทั้งหลาย ที่จะได้เอาของที่มีอยู่มาใช้ และมีโอกาสพัฒนามันให้ดีขึ้น ดีกว่าเริ่มต้นจากศูนย์ หรือว่า from scratch กว่าจะทำได้เท่าที่มีอยู่ ก็อีกนาน เผลอๆ ทำดีได้ไม่เท่าอีก ถ้าได้้เอาของที่มีอยู่แล้ว มาัพัฒนาต่อ แน่นอนว่า มันต้องดีขึ้น หรือไม่ก็เท่าทุนค่ะ
ไม่เคยคิดว่าคนที่ใช้ โ่ง่เลยจริงๆ นะคะ ให้ตายสิ ^O^
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ปัจจุบัน CMS มันไม่ใช่เป็นเพียงซอฟต์แวร์อีกต่อไป แต่มันกำลังจะกลายเป็น Framework ที่จะเอามาช่วยงานของเราครับ :)
ผมเองก็เขียน CMS เป็นของตัวเองขึ้นมาตัวนึง เพื่อใช้เป็น Framework สำหรับงานเว็บต่างๆ ของผมด้วยครับ
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
ทักษะทางด้าน Security ครับ เนื่องจากว่าทุกวันนี้ Security เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นครับ
ทักษะทางด้าน Security และ FOSS ครับ เนื่องจากว่าทุกวันนี้ Security เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นครับ และทุกวันนี้องค์กรณ์ต่างๆ ก็เริ่มหันมาสนใจ Linux กันมากขึ้น
ผมมองอีกด้านว่าทักษะพื้นฐานด้านทฤษฎียังไม่แน่นพอครับ ส่วนหลักน่าจะเป็นการที่เรียนไม่ตรงกับตลาดงานที่ตัวเองต้องการจะทำ เช่นเรียนวิชาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์แต่กลับมาทำงานซอฟท์แวร์ เรียนจบทางวิทยาศาสตร์แต่ต้องมาทำงานดีไซน์ วิศวกรหลายๆสาขาจบออกมาโดยเขียนโปรแกรมไม่เป็นแต่ต้องไปใช้ในที่ทำงานหรืองานวิจัย
นิสิตหลายๆคนมาพบปัญหาเหล่านี้เมื่อใกล้ที่จะจบ (หรือเมื่อกลับตัวไม่ทันแล้ว) ซึ่งจะให้เตรียมตัวในช่วงเวลานั้นก็คงจะลำบากครับ
เนื่องจากปัญหาแบบนี้อาจเกิดขึ้นกับนิสิตทุกคน ทักษะที่ผมว่าสำคัญที่สุดที่จะใช้ตั้งแต่ก่อนเริ่มงานก็คือการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองครับ
นอกเหนือจากนี้ถ้าต้องการให้มีรูปแบบเป็นข้อชัดเจน ผมว่าทักษะ
น่าจะสำคัญที่สุด (เพราะเอาไว้ใช้ในการเรียนรู้ด้วยตัวเอง)
LongSpine.com
ถ้าสาย FOSS ก็ต้องเรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับ Framework ต่างๆให้มากหน่อย
เพราะปัจจุบันใช้กันเยอะมาก และพื้นฐานการคิดแบบ OO
ทักษะที่จำเป็นมากในงานสายไอ(ซี)ที คือ
ส่วน Skill ที่ควรเป็นนั้นแล้วแต่สายงานไอ(ซี)ทีที่เรียนมาครับ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามแต่สายอาชีำพและขอบเขตุงานของตนครับ ซึ่งอย่างน้อยควรจะมีทักษะใน Skill ข้างเคียงด้วยครับเพื่อที่จะเข้าใจในกระบวนการทำงานในองค์รวม เช่นเป็น Network Admin ก็ต้องเข้าใจว่าคนทำงานทั่วไปใช้ Network อย่างไร หรือคนทำ CMS จะต้องเข้าใจว่าผู้ใช้ CMS จะใช้อย่างไร หรือคนเขียน Web Developer จะต้องเข้าใจงาน CSS ว่าทำอย่างไรที่จะเข้ากันได้ ฯลฯ
ประมาณนี้ก่อนแล้วกันนะครับ : )
ปล.ขออีกอย่างครับ ..... ลดความยโส + อีโก้ ลงด้วยครับ
ขอบคุณครับ สวัสดีครับ
:: Take minimum, Give Maximum ::
+หมดใจ
โดนแย่งพูดไปหมด
ลดความอีโก้+ยโส นี่ค่อนข้างสำคัญครับ ถ้ารู้มากฉลาดมากจะเรียนรู้อะไรเพิ่มไม่ได้ รู้มากไปแกล้งโง่บ้างก็ดี ทำให้เราได้รับอะไรใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งต่างๆตลอดเวลา
ผมในฐานะผู้ประกอบการต้องการดังนี้
ความอดทน
ความมีระเบียบวินัย
ความใฝ่รู้
การแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ไม่กลัวที่จะถาม
ทำได้ในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบหรือไม่อยากทำได้
อันนี้คือสิ่งที่ต้องการ
ส่วนความรู้ทางด้านเทคนิคพวกภาษาหรือเฟรมเวิร์คสอนและเรียนรู้ได้หากมีข้างบน
เห็นด้วยกับคุณ Sand สุดๆ
ขอเพิ่ม
ึ7. ภาษาอังกฤษ
8. มารยามการสื่อสารผ่าน e-mail (ควร CC ใคร การตั้งชื่อ subject ใน mail) << ในข้อนี้นี่แอบสงสัยว่าป่านนี้หนังสือทักษะสัมพันธ์ที่เรียนตอนม.ต้น ม.ปลายเพิ่มการสื่อสารทาง email ให้ได้ฝึกกันในหลักสูตรไปแล้วหรือยัง
ไม่ตายไม่เลิก
ผมตกข้อแรกครับ
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
ถ้าใช้ perl compatible regex ได้ก็ไม่เกี่ยงครับ :P
ไม่ตายไม่เลิก
ตกข้อแรกเหมือนกันครับ
แต่มาเขียน Ruby ไม่เห็นเกีี่ยวกะ Perl เลย
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
ตกสนิท ข้อแรก เหมือนกัน
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ข้อแรกผม ตก สนิท
ข้อสาม จนป่านฉะนี้ผมก็ยังไม่ได้อยู่ดี
ผมตกข้อสุดท้ายครับ ไม่ค่อยได้เจอระบบอภิมหาอลังการ เท่าไหร่ครับ
regular expression เอาไปใช้ทำอะไรบ้างเหรอครับ เท่าที่ผมรู้ก็แค่เรื่อง compiler เท่านั้นเอง
เขียนเพื่อคำนวณเกี่ยวกับทางด้านตัวอักษรครับ
ยกตัวอย่างเช่น bbcode ที่ใช้กันในเว็บบอร์ดทั้งหลาย [b]ตัวหนา[/b] เราจะเขียนโปรแกรมอย่างไรให้ดึงตัวอักษรที่อยู่ในแท็ก [b]...[/b] ออกมา และแปลงให้เป็นรูปแบบ html ในลักษณะ ตัวหนา แทนครับ
ตัวอย่างเพิ่มเติมนอกจากนี้ก็พวกการตรวจสอบตัวอักษร เช่น ฟอร์มใส่ข้อมูลอีเมลที่เรารับเข้ามา เราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันเป็นอีเมลที่ถูกต้องที่อยู่ในรูปแบบ xxx@yyy.zzz ครับ โดยที่ xxx, yyy และ zzz จะเป็นตัวอักษรใดก็ได้ที่ถูกต้องตามรูปแบบของการตั้งชื่ออีเมลครับ
ยกตัวอย่าง regular expression ที่ใช้ในการเช็คอีเมลครับ
^[_a-z0-9-]+(.[_a-z0-9-]+)*@[a-z0-9-]+(.[a-z0-9-]+)*(.[a-z]{2,3})$
รายละเอียด Syntax สามารถค้นหาได้ทั่วไปจากกูเกิ้ลครับ
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
ไม่มีสักข้อเลยครับ -*-
จะใช้อะไรแต่ละอย่างในสี่ข้อนี้เปิดพี่เกิ้ลอย่างเดียวเลยครับ
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
ความเห็นส่วนตัวผมต่อ Regex นี่ผมว่ามันอันตรายมากครับ ถ้าไปเจอเซียนขั้นเทพ เราอาจจะได้โค้ดอัจริยะที่ไม่มีใคร debug ได้อีกตลอดกาล
แต่ต้องใช้เป็นครับ อย่างน้อยๆ ใช้ใน text editor นี่ช่วยร่นเวลาการทำงานไปได้มหาศาลเลย
LewCPE
lewcpe.com, @wasonliw
+1 ครับ เจอประจำเวลาหาข้อมูลจากพี่เกิ้ลนี่แหล่ะ แค่วิธีการเช็คอีเมลอย่างเดียว เจอเป็นสิบๆ รูปแบบเลยครับ ยิ่งเจอยิ่งเทพขึ้นเรื่อยๆ
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
สำหรับงาน text file processing นั้น regex มันเลี่ยงไม่ได้จริงๆ จะให้ใช้ rindex, strtok, strstr ก็อาจจะมึนกว่าเก่า ถึงมันจะ debug ง่ายกว่าก็เถอะ แต่พอเปลี่ยนรูปแบบนิดเดียว ก็ต้องแก้โค้ดกันอีกเยอะ (พอดีเคยต้องไปเขียน c บนระบบที่มันไม่มี regex ให้ใช้ กว่าจะแกะ http protocol ได้ ก็ต้อง loop กันหลายสิบรอบเลย)
พอดีงานผมมันอยู่กับ unix แทบทั้งวัน อะไรๆ ก็เป็นไฟล์ log ก็เป็น text file ถ้าใช้ regex คล่อง เขียน parser แป๋ปเดียว
ถ้าใช้ regex ของ perl คล่อง ไปใช้ภาษาอื่น ก็มี pcre ให้ใช้อีก ไม่ต้องเรียนรู้ systax ใหม่
ไม่ตายไม่เลิก
ผมว่าการ "รู้จักตัวเองและรู้จักโลก" เป็นทักษะที่สำคัญครับ คนจบใหม่ส่วนมากเดี๋ยวนี้ทำงานได้ในระดับล่างแต่หวังเงินเดือนสูงตั้งแต่แรก ควรรู้จักระดับ"โลก"ด้วยว่าเค้าอยู่กันตรงไหนบ้าง และเพื่อการนั้นจึงต้องมีเบสิคด้านภาษาอังกฤษที่ดีด้วย
+1
___________pawinpawin
ทั้งหมดนี้คงหมายถึง "รู้จักตัวเองและรู้จักโลก" นะครับ แต่บางคนก็ยังทำตัว "เกรียน" อยู่
ขอระบายนิด -*-
+1
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
อะไรก็ได้ ... แต่เขียน HTML หรือ XML ไม่เป็นนี่ ... ไม่ไหวนะครับ
ผมเขียน XML ไม่ได้นะครับ แต่ปัจจุบันก็พัฒนาเว็บได้มากมาย และคิดว่าถ้าต้องใช้ XML จริงๆ ก็สามารถศึกษาเองได้นะครับ
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
ในฐานะที่ทำงานกับเด็กจบใหม่มาเยอะ ผมขอ - อ่าน Help ของโปรแกรมที่ใช้ได้ - หาข้อมูล ศึกษาได้ด้วยตัวเอง - Debug เป็น ไม่ว่าจะวิธีไหน (เจอกับตัวจริงๆ นะครับ debug หาที่ผิดไม่เป็น ไม่รู้ทำไง)
ด้านเว็บแอป
ฝั่ง client
HTML -> CSS -> javascript -> dom -> ajax
ฝั่ง server
Java ,C# หรืออื่นๆแล้วแต่ถนัด ยิ่งหลายภาษาได้ยิ่งดี ทำให้ ความรู้สึกเวลาเรียนภาษาใหม่ๆ ไม่มีปัญหา syntax ไม่สำคัญ
ถ้าสนใจทางไหนขอให้ศึกษาให้ลึกก่อน
เช่น โครงสร้างของข้อมูล, โครงสร้างของภาษา ถ้าจะก้าวไปเป็นโปรแกรมเมอร์ ยิ่งถ้าเป็นโปรแกรมเมอร์ หรือ นักวิเคราะห์ ล่ะครับ logic สำคัญมาก อย่างภาษาการเขียน เราสามารถเปิด Book ได้ แต่ ขั้นตอน อัลกอริทึม ต้องขยันฝึกตอนเรียนเยอะ ๆ รับรองได้ใช้แน่ครับ
และอีกอย่างเด็กไอที อย่าทิ้งวิชาคณิตศาสตร์นะครับ มันควรจะคู่กันไปกับคอมพิวเตอร์ครับ
เล่าเรื่องราว-บล๊อกส่วนตัว
ขอเน้นแนว Unix C++ programming นะครับ ใครที่อยากพัฒนา application บน unix ต้องประมาณนี้เลยครับ
onedd.net
onedd.net
ภาษาอังกฤษครับ
กับอีก 4 ข้อ
อดทน เสียสละ รับปิดชอบ ตรงต่อเวลา
---
Khajochi Blog : It's not a Bug ... It's a Feature
แฟนพันธุ์แท้สตีฟจ็อบส์ | MacThai.com
ผมทำงานในสายงาน web development มา 3 ปีกว่า ขอเอาประสบการณ์ส่วนตัวมาแนะนำน้องๆ ที่สนใจมาทำงานด้านนี้ครับ
1. ทักษะการช่วยเหลือตัวเอง
อันดับแรกต้องเข้าใจก่อนว่าพนักงานทุกคนในองค์กรต่างมีภาระหน้าที่ การจะไปหวังพึ่งให้คนอื่นมาคอยช่วยเหลือเรานั้นเป็นไปไม่ได้ ต้องช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด
1.1 ใช้ search engine โดยเฉพาะ Google ให้เป็น เป็นในที่นี้คือต้องรู้วิธีการใส่ keyword เพื่อหาสิ่งที่ต้องการได้ ต้องรู้ว่าลำดับ keyword ให้ผลลัพธ์ต่างกัน และ Google ภาคภาษาอังกฤษมีความแตกต่างกับภาคภาษาไทย อย่างน้อยก็ SafeSearch Filtering อย่างหนึ่งล่ะ (เอ๊ะ ไม่เกี่ยวนี่ lol)
1.2 ภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะทักษะการอ่านสำคัญมาก ถ้าโง่ภาษาอังกฤษชีวิตจะรันทดมากๆ (ผมเป็นตัวอย่าง)
1.3 ตรรกะศาสตร์และคณิตศาสตร์ ตรรกะสำคัญอย่างไรไม่ต้องบอก ส่วนคณิตศาสตร์ถ้าได้จะดีมาก แม้ไม่ได้ใช้ตรงๆ แต่ผมว่ามันมีผลต่อระบบความคิดนะ (ซึ่งผมเองค่อนข้างโง่ในเรื่องนี้)
2. ทักษะการเขียนโปรแกรม
ต้องเขียนโปรแกรมได้อย่างน้อย 1 ภาษา คุณสมบัติอย่างน้อย 2 ข้อที่ต้องทำได้ คือ (1) ต้องใช้มัน อ่าน/เขียน ข้อมูลจากไฟล์ได้ และ (2) ต้องใช้มัน อ่าน/เขียน ข้อมูลจากฐานข้อมูลได้
3. ทักษะการเขียนเว็บ
4. พิมพ์สัมผัส
ขอบคุณที่อ่านมาจนถึงบรรทัดนี้ ขอให้ได้งานกันทุกๆ คน ยินดีต้อนรับสู่ PAW66
เห็นด้วยกับหลายๆ ข้อครับ ถึงแม้ผมจะเป็น น.ศ. อยู่ก็เถอะ เอิ๊กๆ
ปล. ข้อ ๔ ผมตกครับ พิมพ์ไม่ได้ นิ้วไม่วางแป้นเหย้า แต่ว่ามันพิมพ์ได้เร็วของมันเอง - -"
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
ข้อ 4 นี่ผมไม่ได้เลยครับ ไม่เคยจะวางนิ้วถูกวิธีแต่มันก็ไวของมันเอง
วางนิ้วไม่ถูก แต่พิมพ์ไวก็โอเคครับ แต่ผมเคยเจอบางคนนั่งจิ้มพิมพ์ก็ไม่ไหวครับ
เสริมอีกนิดคือควรจะพิมพ์สัมผัสได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้วย เด็กไทยส่วนมากพิมพ์สัมผัสไทยได้เพราะเล่นแชท แต่ภาษาอังกฤษมักจะไม่ได้เลยครับ -*-
สุดท้ายเรื่องการวางนิ้วพิมพ์สัมผัส จากประสบการณ์ผมจะพบว่า ถ้าคุณวางนิ้วสัมผัสไม่ถูก คุณก็สามารถพิมพ์ไวได้ แต่ความไวนั้นจะตันเมื่อถึงจุดหนึ่ง แต่ถ้าเทียบกับการวางนิ้วได้ถูกต้อง ความเร็วที่คุณจะสามารถพัฒนาได้จะมากกว่าการวางนิ้วที่ไม่ถูกต้องแน่นอนครับ
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
ภาษาอังกฤษพิมพ์ได้ก่อนเพราะต้องใข้ vi ทำการบ้าน -*-
vi นะ ไม่ใช่ vim
อย่าเข้าไปอ่านนะ บทความของ Rookie
+10 ไปเลยครับ โดยเฉพาะถ้าไปเขียนภาษาอื่นๆ แล้วจะไม่กลับมาหา Java อีก 555+
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
ไป Ruby ไปแล้วไปลับ ไม่กลับมา ..
ไม่กินแล้วกาแฟ นั่งลูบคลำทับทิมดีกว่า
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
เริ่มแล้วครับ เริ่มไป Groovy กะ Grails แล้ว
หลายท่านเล่าไปเกือบหมดแล้ว
สำหรับผม "ใจรัก" ต้องมาก่อน มีใจ เดี่ยวอย่างอื่นตามมาเองครับ
สำหรับภาษานี่ เอาที่ถนัดสักตัวเป็นกำลังใจตัวเองก่อนครับ จะยากจะง่าย เอาสักตัวก่อน แล้วค่อยว่ากัน
สำหรับผมคือ อย่ามองข้ามพื้นฐานต่าง ๆ ในสายงานนั้น ๆอย่าคิดว่าพื้นฐานไม่สำคัญ สำหรับผมการใช้ framework เป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าไม่เข้าใจภาษานั้น ๆ การยากที่จะประยุกต์ใช้ framework ได้เต็มประสิทธิภาพ
การเรียนลัดอาจจะดี แต่พอเข้าสู่ขั้นสูง ๆ พื้นฐานต่าง ๆ จะถูกขุดมาใช้เพียบเลยในตอนนั้น คนพื้นไม่แน่นนี่ลำบากหน่อย เพราะต้องย้อนกลับไปหาพื้นเก่า
ต่อมาคือเรื่องการตามข่าวสารวงการไอที ที่ควรจะตามข่าวคราวอย่างน้อย ๆ สัปดาห์ละครั้งเป็นอย่างน้อย (ที่สุด จริง ๆ แนะนำไม่เกิน 2 วันครับ แต่สำหรับผมคือ ไม่เกิน 12 ชั่วโมง)
ภาษาอังกฤษต้องพยายามอ่านให้ได้ อันนี้สำคัญ ผมมักพูดเสมอกับรุ่นน้องว่า ถ้าอยากทันโลกต้องอ่านให้ได้ อย่ารอให้คนอื่นแปลให้อ่านอย่างเดียว
สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง อันนี้ผมมักบอกกับคนที่จะเข้าสู่วงการว่า ถ้าคิดจะทำงานด้านนี้ "ก็ขอต้อนรับงาน 24 ชั่วโมง" ได้เลย
ใช้ Google ให้เป็น และประกอบกับ Search Engine เฉพาะทางอื่น ๆ ด้วย เพื่อเสริมสร้างความรู้ตัวเอง หาเองก่อนถามคนอื่น เพราะทุกคนก็มีหน้าที่ของตัวเองทั้งนั้น
เข้าร่วมกิจกรรมของชุมชนนักพัฒนาต่าง ๆ มีงานไหน ไปได้ให้ไป เพราะจะได้แนวคิดใหม่ ๆ ได้คุยกับคนที่เข้าใจหัวอกเดียวกันมากขึ้น เราอาจจะได้มุมมองใหม่ ๆ เอามาปรับใช้ในการทำงานต่าง ๆ ได้ และเข้าร่วมตามเว็บบอร์ด หรือชุมชนต่าง ๆ โดยเข้าไปอ่าน เข้าไปถาม(ตามสมควร) เพื่อหาแนวคิดใหม่ ๆ จะได้ไม่อยู่ในกะลา
ฟังให้มาก แบ่งปันให้เยอะ เพราะความรู้ที่มี ต้องส่งกลับคืนสังคม มีคนเก่งเยอะ ๆ จะได้พัฒนาสังคมได้มาก ๆ คิดอยู่เสมอว่า เราต้องสร้างคนให้เก่งกว่าเราให้ได้
จริง ๆ มีอีกมากครับ เอาแค่นี้ก่อนดีกว่า
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
+1
เรื่องใจรักนี่ เห็นด้วยเลยค่ะ แม้งานทุกประเภทถูกจูงด้วยเงินได้ก็จริง แต่งานไอทีถ้าเงินเยอะแ่ต่ทำงานไม่มีความสุข พวกเราก็ทำไม่ได้ดีหรอกค่ะ งานพวกเรามันเป็นงานแนว Art (เลยกลายเป็น Art ตัวพ่อตัวแม่กันไปหมด)
ในการทำงานแต่ละวัน ควรเน้นผลของงานมากกว่าคิดถึงเวลาทำงาน เพราะงานสายเราไม่ใช่งาน routine ที่ทำจบไปวันๆ นึง แต่เป็นงานต่อเนื่อง เป็นโปรเจค มีแผนใหญ่ แผนย่อย schedule ดังนั้นสิ่งสำคัญจึง ต้องเป็นคนที่รู้จักวางแผนการทำงานของตัวเองในส่วนหนึ่งด้วย แม้ว่าแต่ละ project จะมี project manager มาควบคุม แ่ต่บางทีงานของเราอาจจะไม่ได้มีแค่ project เดียว จึงต้องรู้จักจัดการตัวเอง อย่างน้อยเวลาที่เราได้รับงานเยอะเกินไป โหลดเกินไป ก็สามารถต่อรองได้เพราะเราทำงานตลอดเรามีหลักฐาน ดีกว่าพูดลอยๆ เพราะงานด้านนี้เป็นงานที่เห็นผลจับต้องได้ยากหากมันไม่เสร็จซะทีเดียว
ซือสัตย์กับตัวเอง บางคราวที่ทำงานเหนื่อย ก็พักได้ แต่ต้องเป็นอะไรที่เหมาะสม ตามแผนงานที่วางเอาไว้ เพราะปกติงานด้านไอที หัวหน้าจะให้อิสระกับพนักงานอยู่แล้ว เพราะเข้าใจว่าเป็นงานที่ต้องคิดเยอะ คนด้านไอทีบางทีดูเหมือนจะได้สิทธิพิเศษเยอะกว่าปกติ เพราะต้องใ้ช้แรงจูงใจในการทำโปรเจคให้สำเร็จ และถ้าเค้าใจดีแบบนี้ เราก็ไม่ควรหักหลังเค้าเช่นกัน
เป็นคนไม่หยุดนิ่ง เรียนรู้สิ่งใหม่ตลอดเวลา
ไม่เป็นคน stubborn ต้องรู้จักฟังคนอื่นเยอะๆ คิดเยอะๆ เพราะต้องไม่ลืมว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนทุกวัน สิ่งที่เรารู้ มันอาจจะไม่เป็นอย่างที่เราคิดก็ได้ หรือแม้แต่เด็กใหม่ๆ ไม่ว่าจะเก่งกาจมาจากไหนก็ตาม เรื่อง business process ก็ไม่มีทางเก่งไปกว่าคนที่ทำงานในองค์กรมาก่อนแน่นอน เพราะฉะนั้น จงจำไว้ว่าเราไม่ได้เก่งทุกเรื่อง ทำตัวโอหัง พี่เก่ง มากไป ก็ทำให้คนที่อยู่ด้วยเกลียดเปล่าๆ และคนไอทีหลายๆ คนก็เป็นอย่างที่บอกนี่แหละค่ะ ส่วนใหญ่จะคิดว่าตัวเองสุดยอดเสมอแหละ (แหม ตัวเองก็เ็ป็นค่ะบางทีน่ะ ไม่งั้นพูดไม่ได้หรอก ซึ่งก็พยายามเตือนตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่าเราไม่ใช่ไ้อ้สุดยอด)
และสำคัญมาก รู้จักบันทึกสิ่งที่ตัวเองทำ รู้จักการเขียน Wiki blog แบบสามารถทำได้โดยธรรมชาติ ไม่คิดว่าเป็นเรื่องเสียเวลา
เขียนแล้วก็ไม่รู้ว่าเกี่ยวกับทักษะที่เด็กใหม่ควรมีตรงไหนนะคะ มันเกี่ยวกับตอนทำงานแล้วมากกว่า แต่ไม่เป็นไรค่ะ อยากให้เรียนรู้ไว้ว่า จะต้องเจออะไร และควรทำตัวอย่างไร อะไรที่องค์กรอยากได้
บลอกของ natty
บลอกของ natty
ผมแย่ตรงที่ตามข่าวไอทีเยอะเกินไป จนเสียการเสียงานนี่แหล่ะครับ 0
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
"พูดกับคนได้ มากกว่าพูดใน blog เป็นอย่างเดียว"
"มีใจและศรัทธาคนสิ่งที่ตนเองทำ" (รู้สึกว่ากว้างจัง :)
"เข้าใจคนทำงาน เข้าใจประสบการณ์ของตนเอง เข้าใจคนทำงานข้างล่าง"
มีคนเคยกล่าวไว้ว่า องค์กรและผู้บริหารต้องการได้คนดีมีฝีมือมาทำงาน แต่พอทำได้และอยู่ได้สักพักก็ไม่รู้จักรักษาสิ่งเหล่านี้ไว้ จนพนักงานต้องลาออกและหางานใหม่ คงลืมไปแล้วว่า คนทุกคนต้องการความก้าวหน้าในตำแหน่งและหน้าที่ของตน ไม่ใช่รับเงินเดือนไปเพียงอย่างเดียวแล้วทุกอย่างจะจบ
skill ต่างๆฝึกได้ไม่ยากครับ ถ้ามีวิธีการเรียนรู้ที่ดี โดยส่วนตัวคิดว่า "การมองโลกและศิลปะการดำเินินชีวิต" มันสอนกันได้ยากลำบากกว่าการให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มากทีเดียว
System (ขอเน้นไปทาง Linux)
- อย่างน้อยๆ ก็ต้องมี Command อยู่ในหัว ประมาณ 15 command เป็นอย่างต่ำ
- เข้าใจ ความหมายของ Option พื้นฐานของแต่ละ Command เช่น -l คือ list เป็นต้น
- vi ต้องได้
- man ก็ต้องพอรู้เรื่อง
Network
- พอคุยกันเรื่อง Layer2 หรือ Layer 3 ต้องเข้าใจว่าเค้าหมายถึงอะไร
- ใช้ command พื้นฐานบน Switch/Router (ขอเน้นเป็น Cisco) ได้ show นั่น show นี่ต้องพอได้
aoddy
คิดเหมือน Ford
"ถ้าต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมวันละอย่างต่ำ 8 ชม. ทุกวัน คิดว่าทำได้ไหม"
เด็กทำหน้าเหวอ... แล้วถามว่า "ต้องขนาดนั้นเลยเหรอคะพี่" ก็เอ่อ... น้องมาสมัครเป็นดาราเหรอครับ ถึงถามอะไรแบบนั้น
อย่ายอมเป็นคนกระจอก เบื่อมากคือพวกที่เข้ามาแล้วเห็นคนอื่นเก่งกว่า แทนที่จะคิดว่าเรามันไม่เก่ง ต้องขวนขวาย กับคิดว่าเออ... ก็เค้าเก่งกันอ่ะ เรามันไม่เก่ง ก็อยู่ในโลกคนไม่เก่งไป ทำงานไปเรื่อยๆ เดี๋ยวเขาคงมาสอนเราเอง Debug อะไรเองไม่เป็นหรอก ติดอะไรหาเองไม่เป็นหรอก รอแต่คนคาบอะไรมาป้อน
อย่าอวดเก่ง เพราะที่ไหนก็ตาม มีคนเก่งกว่าคุณเสมอ เชื่อเถอะว่าตอนที่คุณเข้าไปทำงานใหม่ คุณกระจอกเสมอ
ส่วนเรื่องอื่นๆ ผมไม่สนเท่าไหร่ ถ้าใจรัก พยายามผลักดันตัวเอง เป็นฟองน้ำ ดูดซึมคนอื่นเรื่อยๆ ที่ไหนก็อยากได้มาทำงาน และคนแบบนี้มันก็จะเก่งมาอยู่แล้ว
ผมยังไม่เคยเจอคนที่ไม่รักงานสายนี้ที่ทำงานไม่เก่งเลย
ที่เห็นเก่งๆ ก็เพราะรักงานสายนี้ทั้งนั้น
+ for(i=0;;i++);
เห็นด้วยอย่างรุนแรงครับ แต่ทำไม ผมก็เจอแต่คนเรียนเก่งแล้วไม่มีใจรักเหมือนกัน
-เขียนภาษาพื้นฐานที่ ไม่เรียนด้านคอม คนทั่วไปก็ศึกษาเองได้ไม่ซํบซ้อน เช่น html,php (ไม่รู้จะนิยามยังไง)
-จะรู้ภาษากี่ภาษาก็ช่าง พูดภาษา "คน" ให้เป็นก็พอ
-ทุกท่านกล่าวมาเยอะแล้ว
เรียนอยู่แต่อยากออกความเห็นครับ
สำหรับงานสาย Web Programming
สำคัญมากๆ
นอกนั้นก็ทั่วๆไป
เอาด้วยๆ
รู้ว่าเมื่อไรจะใช้ POST และเมื่อไรควรจะใช้ GET ครับ ;)
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
ตั้งแต่เกิดมาผมไม่เคยเขียนเว็บโดยใช้ Cookie เลยอ่ะครับ -*-
แต่คิดว่าถ้าต้องเขียนจริงๆ ก็เปิด Manual เขียนเอาได้ครับ
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
เอาจริงๆผมว่าเข้าใจ concept มันก็พอครับ เรื่องเขียนถ้าเปิดคู่มือเป็น อะไรก็เขียนได้ทั้งนั้นแหละ :D
“ถ้าต้องนั่งทำงานอยู่หน้าคอมวันละอย่างต่ำ 8 ชม. ทุกวัน คิดว่าทำได้ไหม”
ทำได้ครับ แต่ระวังสุขภาพให้ดี ผมเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกึ่งหนึ่งครับ แต่ถ้าจะแนะนำน้องๆ ที่เข้ามาอ่าน blognone โดยส่วนตัวอยากฝากไว้ว่า "ทำงานโดยใช้เวลาให้น้อยที่สุดในแต่ละวัน แต่ให้ได้ปริมาณงานมากที่สุด" จะมีอะไรที่เป็นส่วนประกอบบ้างก็ลองเอาไปคิดคิดดูครับ :)
Apirak.com panatkool
แล้วถ้า สมมุติผมบอกว่า ผมเป็น Rails Developer อยู่ แล้วผมชอบที่จะใช้ Rails ในการพัฒนาเว็บ เพราะมันสะดวกกว่าการใช้ Framework อื่นๆ และผมคล่องกับการใช้งานอันนี้ แต่ก็คือว่าถ้าจะให้ใช้ตัวอื่นทำก็โอเค แต่ผมก็ยังชอบ Rails อยู่ดี
ถือว่าผมตกข้อ ๕ ไหมครับ? :)
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
อันนี้ที่เคยเห็นเองนะครับ นอกเหนือจากที่คนอื่นๆเค้าเขียนไปแล้ว
อย่าติด MSN: คุณเคยเดินเข้าห้องน้ำ เดินผ่านหลังทีมงาน คุณเคยเห็นบ้างไหมว่า กี่คนที่ไม่มี MSN เป็น active! ผู้ใหญ่จะไม่ทราบหรอกนะครับว่าคุณ chat ปรึกษางาน หรือ chitchat ทั่วไป แต่ถ้างานเสร็จไม่ทัน เค้าไม่ฟังคำแก้ตัวหรอกนะครับ
ภาษาอังกฤษ: ต้องยอมรับว่า ประเทศเราไม่ใช่ประเทศต้นน้ำเรื่องเหล่านี้ ข้อมูลที่เป็นภาษาไทยแล้ว ไม่ว่าจะเป็นหนังสือ, บทความ, วารสาร, กระดานข่าว เทียบปริมาณแล้ว น้อยกว่าต่างประเทศมากมายนัก ดังนั้น อย่างน้อยที่สุด ควรจะอ่านเท็กซ์บุ๊คได้
การค้นหาข้อมูล: ถ้าคุณศึกษาภาษาโปรแกรมในภาษาอังกฤษ คำสำคัญต่างๆในภาษาอังกฤษคุณก็จะได้มา เวลาใช้กูเกิ้ล คุณจะเลือกคำสำคัญไ้ดง่ายขึ้น
MSN นี่ขึ้นอยู่กับนโยบายด้วยครับ ที่ทำงานผมค้องใช้งานกันทุกคน ใครไม่ออนนี่จะต้องถามแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น คำแนะนำง่ายๆคือแยก Account ที่ทำงานกับที่บ้านแยกกัน จะได้ไม่เสียเวลามาคุยกับเพื่อนตอนทำงาน
อีกเรื่องนึงคือเวลางาน เมื่อวานคุยกับเจ้านายว่า งานที่ออกแบบไปมันไม่ค่อยเข้าท่าเลย เค้าตอบกลับมาว่า ผมให้เวลาคุณ 7 วัน นี่เพิ่งสามวัน คุณส่งงานห่วยนั้นมาก่อน และไปหาวิธีทำให้มันสวยขึ้น ผมไม่เสียดายเวลาหากคุณได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ แหล่มเลย อยากให้เจ้านายคนอื่นคิดแบบนี้บ้าง มันเกิดผลดีต่อองค์กรในระยะยาวนะครับ
ผมมองว่าที่เค้าสอน ก็ดีแล้วน่ะคับ เค้าสอน กลางๆให้เราคิด การศึกษาไทยมันสอนคน it กลางๆมากกว่า ไม่เหมือนการสอนของอินเดีย เค้าจะเน้นไปเลย ว่าเป็นสายไหนๆ
ผมมองว่าเด็กที่จบใหม่ บางคนก็แทบไม่ต้องเทรนอะไรเลย และก็มีบางคนที่ต้องเทรนนิดหน่อย แต่ก็มีอีกบางคนที่ต้องเทรนกันมาก ทั้งหมดนี้ไม่ได้ขึ้นกับมหาลัย แต่ขึ้นกับตัวบุคคล และลักษณะองกรของแต่ละบริษัทมากกว่า
การที่เด็กแต่ละคนมีพื้นฐานต่างกันมาก ผมมองว่าไม่ได้เป็นเพราะการสอนของมหาลัยครับ ผมมองว่าเป็นเพราะตัวเด็กมากกว่า ส่วนมากที่เจอเด็กเก่ง ก็คือพวกที่ลองเล่นอะไร ไม่ได้เอาแต่เรียนแล้วกลับไปเล่น แต่เรียนแล้วก็คิดต่อยอด ลองโน่นลองนี่ ไม่ก็พวกเด็กที่ทำโครงงานวิจัย ที่โดนอาจารย์ใช้แหละ มันก็เป็นทางอ้อมให้เด็กได้ทำงาน ระหว่างที่เรียน
ส่วนบริษัทเอง ก็เหมือนกัน เพราะว่า แต่ละที่ต่างมีสภาพแวดล้อมเฉพาะตัว เช่น SAP คงหาประสบการณ์สำหรับเด็กจบใหม่ได้ยาก, หรือ Java j2ee ผมก็มองว่าเจ้าตัว web framework มันก็เยอะ เด็กอาจจะเคยใช้ jsf แต่บริษัทเค้าทำ strust2 มันก็ต้องเทรนปรับกันนิดหน่อย แต่ถ้าม่พื้นฐานมาดี ก็ง่าย
สรุป ผมว่าน้องๆควรจะอ่านความเห็นข้างบนนี้ เพื่อที่จะได้รู้ว่าเวลาทำงาน เค้าทำอะไรบ้าง ถ้ามีโอกาส อยากให้ลองทำงานบ้างระหว่างเรียน อาจจะทำงานวิจัยกับอาจารย์ หรือไม่ถ้ามีโอกาสลองรวมกลุ่มกับเพื่อนสัก 2 3 คนหางานนอกมาทำ เอาเป็น project เล็กๆ จ็อบข้างนอก จะทำให้น้องๆเจอกับการทำงานจริงๆ ความรู้สึกมันต่างกับการเรียนมากมาย หรือ ลงแข่งขันรายการต่างๆเช่น NSC, Robocup, RFID Contest ...(สำหรับผมนี่คือสิ่งที่ผมใช้หาประสบการณ์)
http://jiramot.info
ี่ที่สำคัญที่สุดที่ผมว่าน้องๆควรมีที่สุด
รักการเขียนโปรแกรม หรือไม่ก็รักในการดูแลระบบ หรืออะไรก็ได้ในสายนี้
และกระหายที่จะเก่ง ถ้ามีไอนี่ ก็ไม่ว่าจะที่ไหนก็ทำงานได้ชัวร์
http://jiramot.info
ทักษะที่ "ควรมี" สำหรับ Programmer คือ
"Logic" นั่นคือต้องคิดอะไรเป็นเหตุเป็นผล
ฟังดูเหมือนจะง่ายแต่จริง ๆ แล้วไม่ง่ายเท่าไหร่
เพราะเท่าที่ผมสอนงานน้อง ๆ มา
พบว่าหลายคนที่ Logic ในการคิดยังแปลก ๆ อยู่
ยังใช้การจำสิ่งที่ผ่านมามากกว่าความเข้าใจแล้วนำไปต่อยอด
ซึ่งถ้า Logic ได้แล้วการขวนขวายหาทักษะอื่น ๆ นั้นก็ไม่ใช่เรื่องยากครับ
ส่วนถ้าจะให้ลงลึกว่าทักษะอื่น ๆ ที่ผมคิดว่า "ควรมี" สำหรับ Web Programmer ได้แก่
ทักษะการอ่านหนังสือโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ
เพราะโลกนี้มีคำตอบให้แทบจะทุกคำตอบ
เพียงแต่อาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบภาษาไทย
ทักษะการเขียน JavaScript แบบลึกซึ้ง ไม่ใช่แค่เอาไว้ตรวจสอบ Form
เพราะในปัจจุบันมี Ajax, Mash-up, ...
และเทคโนโลยีมากมายอิงกับ JavaScript
ความเข้าใจใน HTTP ทั้งกระบวนการ
"รู้ไหมว่า CGI ต่างกับ Server Page ตรงไหน?"
Version Control ถ้าเคยใช้มาก่อนก็ดี
แต่ไม่เคยใช้... ก็หัดใช้ซะจะดีกว่าครับ
blog.semicolon.in.th
คือตอนนี้ผมอยู่ปี1ครับ
อยากทราบว่าถ้าจะมุ่งไปทาง web development
จำเป็นต้องศึกษา Java EE เผื่อพวก cloud ในอนาคตรึเปล่าครับ?
ถามว่าจำเป็นหรือเปล่า คงไม่จำเป็นครับ แต่รู้ไว้ดีแน่ ๆ
BioLawCom.De
วิธีการพัฒนา Java EE หรือแม้แต่ภาษา เฟรมเวิร์ค เครื่องมือตัวอื่นๆ จะเอาไปใช้บน Cloud หรือไม่ใช่ Cloud ก็ไม่ได้ต่างกันเลยครับ ยกเว้นจะพูดถึงพวก Platform-as-a-Service (PaaS) แต่โดยรวม ก็ยังเป็นการใช้พื้นฐานของภาษาคอมพิวเตอร์ทั่วไปอยู่แล้วครับ มีเพียงแค่ Library เสริมและวิธีการติดตั้งหรือ deploy โปรแกรม ที่มีความแตกต่างกันไปตามผลิตภัณฑ์ครับ
Cloud เป็นเพียงสภาพแวดล้อมสำหรับเอาระบบสารสนเทศไปติดตั้งไว้นอกองค์กร ดังนั้น การพัฒนาโปรแกรมก็ยังคงเดิมเสมือนพัฒนาระบบไปติดตั้งหรือโฮสต์บนอินเทอร์เน็ต ส่วนการดูแลระบบเซิร์ฟเวอร์ ศูนย์ข้อมูล การรักษาความปลอดภัย ส่วนนี้เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับวิธีการพัฒนาหรือผู้พัฒนาโปรแกรมครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
-UNIX commands (cd, mkdir, rm, rmdir, ... ) และ tools (wget, ssh, telnet, nc, socket, ...) และหลักการพื้นฐานพวก STDIN/STDOUT/ STDERROR
-RegEx + (Perl หรือ PHP หรือ Ruby หรือ scripting languages อื่นๆ ก็ได้ เอาให้ถนัดสักตัว เขียนประมวลผล text files ได้โดยเร็ว)
เขียน Webapplication โดยใช้ Dreamwever มันไม่ดีตรงไหนหรอครับ? คือผมก็ Coding ผ่าน Dreamwever อ่ะครับ เขียนให้เข้ามาตรฐาน XHTML 1.0 ทำ SEO ง่ายและเร็วดี คือช่วยอธิบายเพิ่มเติมหน่อยครับ ผมจะได้นำปรับใช้บ้าง
สำหรับความคิดผมนะครับ
1.ด้าน Coding ควรเป็นอย่างน้อย 1 ภาษา อะไรก็แล้วแต่ถนัด เพราะอย่างน้อยมีพื้นฐานในการเขียนมาบ้าง ภาษาอื่นๆมาศึกษากันได้ ยกตัวอย่างผมเขียน C เป็นก็ขยับมาเป็น PHP VB6 JSP Adobe Flex ผมจะพยายามไม่จับหลายตัว จับปลาหลายมือกลัวจะได้แค่หางปลา จะบอกว่าตั้งแต่ทำงานมาไม่เคยจับ .NET เลย
ตอนที่ทำงานอยู่ ตอนนั้นโดนเปลี่ยนให้ไปใช้ JSP Framework ก็ต้องมาศึกษาเรียนกันทั้งๆที่ไม่เป็น Java เลย แต่ก็สามารถทำได้
2.ด้าน Network อย่างน้อยต้องรู้การวางระบบไว้บ้าง มีพื้นฐานมาบ้างพวกนี้เรียนรู้กันได้
3.กระหายที่จะเรียนรู้เพิ่มเติม ไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง ไม่ยึดติดในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าดีแล้ว(เหนือฟ้ายังมีฟ้า) ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นบ้าง Ego ลดๆลงหน่อย
4.ภาษาอังกฤษ ถ้าเชี่ยวชาญจะดีมากเลยครับ ตอนเรียนผมไม่ค่อยสนใจเลย คิดว่าทำไมมันยากจัง ทั้งอ่าน ฟัง เขียน พูด พอทำงานก็รู้ว่ามันจำเป็นมากในการหาข้อมูล อ่าน Help การติดต่อพูดคุยกับฝรั่ง แต่สำหรับคนที่ไม่เชี่ยวชาญ ใช้บ่อยๆครับ จะดีขึ้นเอง
ข้อเสียที่เห็น
ส่วนเรื่อง SEO ผมสงสัยว่าช่วยยังไงบ้างครับ?
ปกติ Dreamweaver ถ้าผมใช้แล้วต้องการให้มันเป็น XHTML Strict ผมก็คิดว่าคงต้องเปิดโหมด Code อย่างเดียว ถ้าเกิดไปทำอะไรที่โหมด Design นี่เสียไปแน่ๆ ซึ่งถ้าผมใช้แต่โหมด Code อย่างเดียวแล้ว ผมก็เลยคิดว่าผมไปใช้ Editor ตัวอื่นที่ทำเพียงแค่ Syntax Highlight กับ Auto Complete ดีกว่าครับ อย่างน้อยก็ประหยัดค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ไปได้โข
ส่วนอีกอย่างนึงคือ อันนี้ผมไม่ทราบจริงๆ ว่า Dreamweaver สามารถดีไซน์เว็บในรูปแบบ Tableless แล้วแสดงผลในโหมด Design ได้อย่างถูกต้อง และเป็น XHTML Strict ด้วยหรือเปล่าครับ
ส่วนเรื่อง SEO no comment ครับ ไม่เคยเห็นฟีเจอร์ตัวนี้บน Dreamweaver เลย
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
สำหรับผม ไม่ขออะไรมากครับ ขอคนที่
แค่นี้แหล่ะครับ ขอแค่นี้เอง...
เวบของเค้า...และเพินที่เค้ารัก
www.mooling.com
ต้องใช้หลาย ๆ เบราเซอร์ครับ
ใช้แต่ IE อย่างเดียวก็ไม่ไหวนะ ...
ผมขอคนที่รู้จักคำว่า Development Environment ว่ามันมีอะไรบ้าง จะได้สามารถปรับเปลี่ยนเครื่องมือการทำงานได้ ผมเห็นว่าหลายคนยังยึด IDE มากเกินไป แล้วไม่รู้ด้วยว่า IDE คืออะไร ถ้าไม่มี IDE จะเขียนโปรแกรมด้วยอะไรได้บ้าง ตอนเรียนภาษาซียังใช้ turbo c++ อยู่เลย
ที่สำคัญคือใช้ google หาความรู้และตามโลกภายนอกด้วยว่าเค้าทำอะไรกันอยู่
Freedom Initiative
Bentino.me
โอ ประเด็นนี้ดีมาก
มันอาจจะต้องกลับไปแก้ที่อาจารย์เลยนะเนี่ย เพราะแบบ อาจารย์บางท่าน สมมุติเริ่มสอนจาวางี้
เริ่มมาเลย .. "อะ นักเรียนลง Netbeans" เอ๊า! แล้วเด็กจะรู้ไม๊ว่า Java != Netbeans ละเนี่ย?
มีคนอีกหลายคนที่คิดว่า ถ้าทำเว็บเขียน PHP ต้อง Dreamweaver .. เพราะเขาโดนปลูกฝังมาอย่างนั้นครับ
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
ผมว่าคงไม่ใช่บางท่านหรอกครับ :P
การไม่รู้เรื่องพวกนี้ผมถือว่าขาดพื้นฐานอย่างรุนแรง ที่จริงน่าจะเรียนวิชา programming platform ตอนปี 1 ด้วยซ้ำไปก่อนที่จะมานั่งหัดจำโค้ดภาษานู้นนี้
เคยมีคนมาขอคำปรึกษาเรื่อง OpenGL หลังจากเล่าให้ฟังซะยืดยาวก็ถามมาว่าใช้โปรแกรมอะไรเขียน OpenGL - -"
Freedom Initiative
Bentino.me
ทำงานด้าน Network ก็ขอให้ใช้คำสั่งพื้นฐานเป็นเช่น Ping Telnet Netstat tracert เป็นไม่ใช้ว่า บอกว่า Connect ไม่ได้ก็มั่วแต่นั่งหาเพราะบ้างครั้ง(บ่อยเลยแหละ)มันไม่ได้เกิดจาก Network แต่มาจาก application ไม่ได้ LISTENING ให้ตายยังไงมันก็ Connect ไม่ได้
อยากให้ศึกษาบริษัทที่จะไปทำงานด้วยให้ละเอียด เค้าทำอะไรกัน ใช้อะไรเป็นหลัก
ย้อนกลับมาดูตัวเองว่าพร้อมมั๊ย แล้วค่อยไปสมัคร ถ้าไม่พร้อมต้องใช้เวลาเท่าไรในการเตรียมตัวให้ขึ้นไปอยู่ในระดับที่ทำงานได้ด้วยตนเอง
ผมเจอบ่อย ๆ ที่เด็กมักจะคิดว่าเข้าไปก่อนแล้วค่อยไปดิ้นรนเอาข้างหน้า บางครั้งมันไม่ทัน จบไม่สวย เสียเวลาทั้งตัวเด็กเองและบริษัท บริษัทส่วนใหญ่ (คิดว่าทั้งหมด) รับคนเข้า "ทำงาน" ไม่ใช่เข้ามา "เรียนรู้งาน" บางอย่างเช่นวัฒนธรรมองค์กรหรือเทคโนโลยีพิเศษนั้นต้องใช้เวลาเรียนรู้ในช่วงที่ทำงานอยู่แล้ว แต่ถ้าเราเตรียมตัวมาดี ทำสิ่งพื้นฐานที่เราต้องทำ และทำได้อย่างคล่องแคล่ว ก็จะทำให้ชีวิตการทำงานราบรื่นขึ้นนะครับ
บริษัทผม ทำด้าน Web application อยากได้ Skill แบบ
ส่วนที่รู้ไว้จะมีประโยชน์
ดีครับ ผมคงไม่มีอะไรพูดมากเพราะทุกคนพูดไปหมดแล้ว แต่จะแนะว่าน้องๆ จบใหม่ ควรจะเริ่มอะไรดีจึงจะได้งานไวๆ แต่อย่างว่าแหละครับถึงจะเป็นแต่ไม่รู้ที่จ้างงาน มันก็เท่าเดิม แต่ผมจะเล่าจากประสบการณ์ของผมให้ฟังนะครับ และความรู้สึกส่วนตัว
ถามว่าภาษาอะไรควรศึกษาภาษาแรก ตอบ ตามลำดับจากประสบการณ์นะครับ
0.รู้ว่าคอมฯ คืออะไร ติดตั้งยังไง ทำงานยังไง แก้ปัญหายังไงเมื่อมีปัญหา รู้จักอ่าน help และแปลภาษาอังกฤษได้บ้าง
1.ภาษาแบบ Visual สักตัวเพื่อพัฒนา Application ธรรมดา แนะนำ VB.net(ทำให้เรามองภาพเรื่อง class ได้ง่ายขึ้น) และทำให้รู้ว่าการเขียนโปรแกรมคืออะไร เพราะตลาดหรือบริษัทส่วนใหญ่จะต้องการให้เราพัฒนา App นี้มาก และมันจะทำให้เรามีอาชีพหลักหรืองานประจำทำก่อนอันดับแรก
2.ภาษาแบบ web ด้วย PHP,xhtml,css,database(แนะำนำ mysql),javascript เหตุผลที่อยากให้ทุกคนเริ่มต้นจาก web ก่อนเพราะถ้าเป็นแล้วรับรองมีงาน แน่นอนเพราะอนาคตโปรแำกรมส่วนใหญ่เริ่มจะไปเป็น web มากขึ้นและ ตลาดงาน php เมืองไทยเยอะมากและเริ่มจะเยอะไปทุกวันแล้ว - php หางานง่าย - php หา job ภายนอกหรือเป็นอาชีพเสริมได้เลยนอกจากงานประจำ - php ไม่ยึดติดกับ platform โปรแกรมที่เราพัฒนาจะมี long term นานกว่า Application ธรรมดาถ้าเขียนให้เก่งเหมือน web google ที่ผมเจอรู้สึกว่าความสามารถมันแทบจะเท่า app ธรรมดาเลย - ฯลฯ ** ลอง cms จะทำให้เราสร้่าง web ได้ไวและรู้ว่าเว็บคืออะไร
3. ศึกษาระบบงานแล้วสร้าง product ตัวอย่างให้กับตัวเองสักระบบให้ สมบูรณ์ในระดับหนึ่งด้วยข้อ 1 และ 2 ก็ไม่ต้องห่วงเพราะคุณจะชำนาญ ทั้งภาษาและระบบงานอัตโนมัติรวมทั้งรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ปัญหาคืออะไร แน่นอน ข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ สำหรับผม
4.หลังจากว่างๆ ก็หาภาษาอื่นๆ ที่จะทำให้เราเห็นข้อแตกต่างข้อดีข้อเสีย ในแต่ละภาษาหรือหา tool ที่เราจะทำงานได้ไวยิ่งขึ้น ไม่ยากให้ยึดติดว่าภาษาอะไรแต่อยากให้ทุกคนมองว่าต้องมีงานหลักทำก่อน ส่วนตัวแล้วผมว่า web จะเริ่มเข้ามาแทนที่ app ธรรมดาขึ้นทุกวันจึงลำดับให้ความสำคัญเป็น สิ่งที่ควรศึกษาคู่กับข้อแรกโดยแบ่งเวลาเอาครับ ภาษาอื่นๆ ที่แนะนำคือ python เพราะมันสามารถทำได้ทั้ง web และ app และที่ำสำคัญมันรันได้หลาย platform ไม่ต้องยึดติดกับ windows อันนี้เจอปัญหามาเยอะจากการทำงานจริงครับ 5.หากคุณทำ 0-3 ได้แล้วคุณจะรู้สึกดีกับตัวเองและรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร
เหตุผลที่ผมตอบอย่างนี้เพราะผมเจอกับตัวเองและเริ่มรู้ท่องแท้ในการทำงาน และผมตกม้าตายเพราะ web (php) มัวแต่สนใจเรื่อง app อย่างเดียว ส่วนภาษาที่ผมศึกษาและลองทำจริงๆ จังๆ มีดังนี้ครับ
ภาษาที่ใช้ทำเป็นอาชีพ ตอนนี้ delphi vb6
ภาษาที่ศึกษาเพื่อหาอาชีพเสริม php+JavaScript+css+xhtml (ตัวที่ตกม้าตาย ตอนมีงานมาอยู่ตรงหน้า) vb.net c#.net java python (เป็นภาษาที่ชอบมาก แก้ปัญหาให้ผมได้หลายอย่างและ Free) VFP fox for dos
** ไม่รู้ว่าข้อความนี้พิมพ์ผิดหรือเปล่า หรือไม่ถูกใจใครก็ขออภัยไว้ล่วงหน้านะครับ สุดท้ายและท้ายสุด เมื่อคิดว่าอยากจะเป็นโปรแกรมเมอร์จง 1.อย่ายึดติดหรือหลงตัวเป็นสาวกภาษาใดภาษาหนึ่ง 2.สร้าง product จากภาษาที่ตัวเองถนัดให้ได้มากที่สุด(ตามที่คนจ้างงานต้องการ) 3.อย่าอวดเก่งเมื่อทำงานเป็นทีม จงปรองดองกันไว้และเป็นทั้งผู้ฟังและผู้พูดที่ดี 3.ใช้ opensource สบายใจที่สุด
ขอบคุณมากๆเลยครับ
เป็บอะไรที่ดีมากๆเลย เป็นแนวทางในการเรียนได้เต็มๆเลยครับ
もういい
สวัสดีครับ ผมเป็นน้องใหม่ของเว็บน้ แต่ก็ได้ ติดตามข่าวมาสักพักแล้ว
แต่ เพิ่งจะสมัครเป็นสมาชิก เพราะ บทความนี้เลยครับ
ส่วนตัวนะครับ ผมไม่ได้เรียนมาทางสายคอมครับ ผมเรียนด้านบริหารมา
จากคำถามด้านบนนั่นผมคิดว่า สิ่งที่ เด็กสายคอมจบใหม่ควรจะรู้ หรือควรจะมีนั่น
น่าจะเป็น "ความรู้เกี่ยวด้านการบริหารบ้างครับ"(อาจจะไม่ตรงสายซะทีเดียว)
เพราะ องค์กรเล็กๆที่อยากได้ Computer เข้าไปช่วยเหลือกระบวนการทำงาน
ของเขานั่น เขาไม่ได้ต้องการความรู้ลึกด้านภาษาอย่างเดียว แต่เขาต้องการคนที่
เข้าใจ Work Process ของเขาด้วย
เช่น
กระบวนการขาย เปิดบิลขายแล้ว ข้อมูลต้องไปที่ฝ่ายใดบ้างในเบื้องต้น
การคลังสินค้า จำนวนชนิดสินค้าระดับนี้ สมควรนำระบบใด เข้ามาจัดการ
มีความเข้าใจใน ERP/EDI(Enterprise Resource Planing/Electronic Data Interchange)
ที่เป็นระบบงานด้านบริหารบ้าง
สิ่งเหล่านี้ ผมว่าจะช่วยให้ ผู้จบใหม่สามารถทำงานใน หลายสาขาได้มากขึ้น
และสามารถเติบโตในสายอาชีพของตนได้ แน่นอน
ความรู้ด้านการบริหาร "สำหรับเด็กจบใหม่" นั้นอาจจะไม่จำเป็นมากสำหรับคนที่ไปทำงานกับบริษัทใหญ่ เพราะบริษัทใหญ่ส่วนมากมักจะมีการบริหารจัดการของบริษัทที่ลงตัวอยู่แล้ว สิ่งที่เด็กจบใหม่ควรทำสำหรับการไปทำงานกับบริษัทใหญ่คือ เรียนรู้ถึงวิธีการบริหารของบริษัทเหล่านั้นครับ
แต่สำหรับผมที่เคยมีประสบการณ์ทำงานแต่กับบริษัทเล็กๆ การมีความรู้ด้านบริหารก็เป็นสิ่งสำคัญครับ เพราะบริษัทเล็กๆ ที่ตั้งมาไม่นานส่วนมากมักจะมีการบริหารที่ยังไม่ลงตัว และผู้บริหารส่วนมากจะไม่มีความรู้ทางด้านไอที สิ่งที่เด็กจบใหม่สามารถทำได้ก็จะเป็นการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร โดยอาจจะไม่ต้องถึงกับเข้าไปยุ่งกับส่วนของนโยบายของบริษัท แต่เข้าไปช่วยในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานที่ตัวเองทำอยู่ เช่น กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ เป็นต้นครับ
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
ผมว่า การกระตือรือร้นในสิ่งใหม่ๆ และเปิดรับ ก็สำคัญครับ
อ่อ ตอนนี้ก็ต้องมี "สามารถทำงานภายแรงกดดัน และสถาณการณ์ที่ไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้"
ไม่รู้จะช่วยไงครับ เรียนด้านวิทย์ T_T
molecularck โม-เล-กุล่า-ซี-เค
sci news on foosci.com
http://www.digimolek.com
เรียนวิทย์เหมือนกันครับ
ทุกคอมเมนต์ ผมว่าตรงกับจุดประสงค์ของกระทู้เลย
แต่จะทำอย่างไรที่จะถ่ายทอด ความคิดเห็นของแต่ละท่านไปให้กับ
คนที่ไม่ได้อ่าน Blognone ล่ะน่าคิด
+1
อย่ายึดติดว่าจบวิทย์ จบศิลป์ จบบริหารเลยครับ เดี๋ยวนี้การทำงานต้องอาศัยความรู้หลาย ๆ ทางผสมกัน มีเยอะไปครับที่โปรแกรมเมอร์มาเรียนบัญชีเพิ่ม เพราะต้องทำโปรแกรมบัญชี หรือเรียนด้านการบริหารเพิ่ม เพราะได้เลื่อนตำแหน่งขึ้นไป หรือต้องทำโปรแกรมสำหรับผู้บริหาร
การเพิ่มทักษะที่จำเป็นสำหรับงาน และการเพิ่มความรู้ใหม่ ๆ นอกเหนือจากที่เรียนมาจากมหาวิทยาลัยจะช่วยได้มากครับ
ถ้าคิดจะเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะโปรแกรมอะไรก็ตาม ต้องมีอย่างน้อย 2 วิชาที่ยังระลึกอยู่เสมอ
อย่างน้อย 2 วิชานี้ควรมีไว้ประจำใจ ที่ขาดไม่ได้คือ "Common Sense"
ว่าจะยกขึ้นมากล่าวเหมือนพี่ sugree ครับ
สำหรับท่านที่คิดว่าปริญญาเป็นแค่กระดาษหนึ่งใบ ความรู้ที่ร่ำเรียนมานั้นแทบเอาไปใช้ตอนทำงานไม่ได้เลย ขอให้คิดใหม่อีกที ตอนที่เราทำงาน ความรู้เหล่านั้นอาจจะไม่ได้ใช้ตรงๆ เหมือนกับที่เรียนมาเลยทีเดียว แต่จำเป็นต้องพึ่งพาความรู้ที่เรียนมาครับ ไม่มากก็น้อย หลายทีที่เราได้ใช้ความรู้ที่เรียนมาโดยไม่รู้ตัว และที่ต้องมีร่วมกันด้วยคือ Common Sense อย่างที่พี่ sugree กล่าว ส่วนนี้ผมขอรวมไปถึงคำว่า "กึ๋น" ด้วยครับ
ถ้าตำแหน่งคือ System Architect, System Engineer หรือตำแหน่งที่เกี่ยวข้อง หรือว่าตำแหน่งที่ผมเคยทำมาอย่าง Consultant (ด้าน server farm) จำเป็นต้องพึ่งพาความรู้เรื่องสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ไมโครเซสเซอร์ เครือข่าย และก็ระบบปฏิบัติการเป็นอย่างมากครับ การจะออกแบบ solution สักอย่างให้ขายได้ ใช่ว่าจะเอาแค่ไอ้โน้นเอาไอ้นี่มาประกอบกันแล้วใช้ได้ แต่เราต้องเลือกที่ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า และให้ผลตอบแทนคุ้มค่าแก่บริษัทของเราด้วย
ตำแหน่งทางสายที่ผมกล่าวด้านบน ยังต้องอาศัยทักษะการติดต่อสื่อสารด้วยภาษาคน (จริงๆก็ทุกอาชีพทุกตำแหน่งนะ) ทั้งภาษาพูด ฟัง อ่าน เขียน ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้อาจจะต้องใกล้ชิดกับตัวแทนขายและพนักงานหลากหลายตำแหน่ง ปัจจัยหนึ่งในการสร้างทีมเวิร์คให้มีประสิทธิภาพ คือ การติดต่อสื่อสาร
หลายทีที่เราต้องเป็นฝ่ายสื่อสารกับลูกค้าเอง หรือพูดกับคู่แข่งของเรา เราจะเลือกคำพูดไหนที่ทำให้บริษัทเราขายได้ พูดอย่างไรให้ลูกค้าประทับใจและมั่นใจว่าสิ่งที่เราเสนอมานั้นเหมาะกับลูกค้าจริงๆ
ทักษะการติดต่อสื่อสาร ยังหมายถึงอวัจนภาษา การสื่อสารด้วยสายตา ภาษามือ ใบหน้า น้ำเสียง อวัจนภาษาที่สื่อถึงอารมณ์ ทั้งหมดนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในขั้นตอนการตีความหมายของผู้รับสาร ดังนั้น แนะนำให้ฝึกการควบคุมหรือแสดงอวัจนภาษาด้วยครับ
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
ผมเขียนเว็บ ไม่เคยรู้เรื่องพวกนี้เลยอ่าครับ ><
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
php? javascript? พวกนี้ก็ยังต้องสนสถาปัตยกรรมกับระบบปฏิบัติการนะ แต่ถ้าพวก html css xml ก็คงไม่ต้อง
อย่างน้อยที่สุดตอนนี้ต้องเตรียมตัวรับ concurrency ไว้บ้าง
ตายและ ตั้งแต่เขียนโปรแกรมมาไม่เคยสนใจเรื่องพวกนี้เลย สงสัยต้องไปศึกษาเพิมสักหน่อยแล้ว
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
ผมว่า common sense คงไม่พอครับ น่าจะบวก engineering sense เข้าไปด้วย
ทัศนคติส่วนตัวคิดว่า การไม่รู้ php, JavaScript, oracle, SAP, framework สารพัดสารเพ คงไม่ใช่เรื่องลำบาก เพราะมหาวิทยาลัยเองไม่ได้ผลิตบัณฑิตโดยให้ยึดติดกับผลิตภัณฑ์หรือให้ยึดติดกับภาษาใดภาษาหนึ่ง แต่ให้รู้จักแก้ปัญหา "ให้คนอื่น" โดยใช้ระเบียบวิธีการที่ตรงประเด็น ศาสตร์และศิลป์ที่ได้ร่ำเรียนมามากกว่า
การที่จะให้นิสิต ป.ตรี ฝึกฝนทุกอย่างที่ผู้ประกอบการต้องการ โดยส่วนตัวคิดว่าเอาเปรียบกันเกินไปครับ บัณฑิตคนนึงจบมาเค้าควรทำงานได้หลากหลายตราบใดที่เค้าและองค์กรมีความต้องการ มากกว่าการป้อนอย่างใดอย่างหนึ่งมากเกินไป อาทิ เป็นนักวิจัย เป็นอาจารย์ เป็นสถาปนิกระบบ เป็นโปรแกรมเมอร์ เป็นวิศวกรระบบ วิศวกรซอฟต์แวร์ ครับ
เห็นด้วยครับ ผมเรียก engineering sense ว่า "กึ๋น" ครับ เป็นการใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์จริงๆ
ตามที่เอี้ยก้วยได้ฝึกฝนเคล็ดวิชาการใช้อาวุธทั้ง 3 แบบ ดาบหนัก, กระบี่เบา, และกระบี่ไม้ ทำให้ได้บทเรียนบทหนึ่งมาว่า ต้องรู้จักเลือกอาวุธที่ถูก ว่าจะใช้หนักหรือเบา และเคล็ดวิชาขั้นสุดยอดอยู่ที่การต่อสู้โดยใช้เพียงกระบี่ไม้ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าอาวุธเป็นเพียงตัวประกอบของการต่อสู้นั่นเอง เฉกเช่น เทคโนโลยีหรือภาษาคอม ฉันใดฉันนั้น ... การประยุกต์ศาสตร์และศิลป์ได้ คือหัวใจสำคัญกว่า
JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com
My Blog
เพิ่มให้อีก 2 คำ
หน่วยงานที่รับต้องสอน และrotate งานให้บ้าง ไม่ใช่ใช้วิธีแอบดูพฤติกรรม แล้วก็บอกว่าใช้ไม่ได้ ต้องฝึกเขาบ่อยๆ อย่างเช่นการใช้ ms office คนไอทีต้องเก่งทุกโปรแกรมของ ms office นี้ถ้าเขาเขียนโปรแกรม และทำคู่มือไปด้วย เวลา debug ก็ทำเอกสารชี้แจงการเปลี่ยนแปลง จะทำให้งานไม่สะดุด เขาเองก็ไปทำอย่างอื่นได้รวดเร็ว ทำpresent ก็ชี้แจงเนื้องานคุณได้ ไม่ต้องเกิด Gap เวลาในการทำงาน
แย่ล่ะ ผมใช้ spreadsheet ไม่เป็น
แย่ล่ะผมใช้ excel กับ access แทบไม่เป็นเลย
ผมก็ใช้ excel ไม่เป็นเหมือนกันครับ >< เห็นตำแหน่งบัญชีที่สร้างเอกสารแบบเทพๆ นี่แล้วอึ้งเหมือนกัน ด้วยคำพูดที่ว่า
"Word สร้างเอกสารได้ห่วยจะตาย ใช้ Excel ดีกว่า สร้างได้หมดทุกอย่างแน่นอน"
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
Excel นี่จริงๆ แล้วเก่งสมชื่อครับ จะเอามาำคำนวณสถิติง่ายๆ (เช่นพวก t-test, ANOVA, simple linear regression) ก็ยังไหว
แถมยังมีคนเขียน Add-In เชื่อม R อีกตะหาก (RExcel)
___________pawinpawin
ตายล่ะว๊า ต้องเก่ง Microsoft Office แทบทุกตัวด้วย ย้ายสายงานดีกว่าครับ.. เราไม่ใช่พนักงานธุรการทำเอกสารอะไรน่ะครับ แต่รู้พื้นฐานก็พอแล้วครับ บางโปรแกรมก็พอ แล้วทำไม่ต้อง Microsoft Office ด้วยหรือครับ?
</mOkin™>มีความสุขที่พอดี กับชีวิตที่พอเพียง</mOkin™>
จะมีการเอา comment ไปสรุปหรือเปล่าเนี่ย
จะได้อ่านง่ายหลังจากได้ ถกกันไปแล้ว
คนที่เข้ามาหลังจากนี้ซักปี จะได้มีโอกาสได้อ่านบ้าง
บาง node มันน่าเสียดายนะที่มันหลุดไปอยู่หน้าหลังๆ เรื่อยๆ
อย่าเข้าไปอ่านนะ บทความของ Rookie
ผมคิดว่าไม่น่าจะสรุปนะ น่าจะให้คนที่เข้ามาอ่านแล้ว "สรุปด้วยตนเอง" เพราะว่าแต่ละคนต่างประสบการณ์ แต่ละคนนานาจิตตัง อาจจะมีหลายๆ ส่วนที่เป็นความคิดเห็นตามประสบการณ์ของแต่ละท่าน ถ้ามีคนสรุปแล้วอาจจะทำให้เกิดข้อโต้แย้ง ว่าข้อนี้ไม่จริง ข้อนั้นไม่จริงขึ้นมาได้ ตามที่เห็น reply กันครับ
ว่าแต่ถ้าจะสรุป ใครล่ะจะเป็นผู้กล้าคนนั้น (อยากลองเหมือนกัน)
I will change the world, to the better day.
I will change the world, to the better day.
จริงๆ ทำมาคนละเวอร์ชัน ผมก็ไม่มีปัญหาอะไรนะครับ
อาจจะไม่ถึงสรุปแต่ เสียดาย node ที่ไหลไปอยู่หลังๆ มากกว่า
เพราะว่าแต่ละ node ที่น่าสนใจนี่ reply กันย้าวว ยาว
อ่านให้ครบนี่ต้องใช้เวลา เหมือนกันนะ
อย่าเข้าไปอ่านนะ บทความของ Rookie
ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เพื่อนร่วมงาน และองค์กรครับ
ผมว่า ถ้าเขียนโปรแกรมไม่เป็น จะมี IDE หรือไม่มี มันก็เขียนไม่ได้ทั้งนั้นล่ะ ตรงกันข้าม การใช้ IDE ยิ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ต้องกังวลกับการนั่งจำสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องจำ อย่าบอกนะครับ ว่าควรจำโน่น จำนี่ให้ได้ เพราะถ้ามันสำคัญและต้องใช้จริงๆ ถึงคุณจะใช้ IDE คุณก็จำมันได้ และถ้ามันไม่จำเป็น ไม่ได้ใช้บ่อย คุณก็จำมันไม่ได้อยู่ดี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับ IDE ซักหน่อย และหากคุณ IDE คุณก็แค่เปิด Help เปิด Reference ขึ้นมาก็บูม เป็นโกโก้ครันซ์แล้ว
Framework ศึกษาหลายๆ ตัว เลือกตัวที่เหมาะสมที่สุดไม่ใช่ตัวที่ดีที่สุดมาใช้ อย่าพยายามสร้างล้อใหม่ ถ้าไม่มั่นใจว่าจะสร้างล้อที่ดีกว่าที่คนอื่นสร้างไว้อยู่แล้ว คุณสามารถเรียนรู้งานพื้นฐานที่ต้องทำเป็นประจำได้จาก Framework ที่คนอื่นสร้างไว้ และเอาเวลาไปทุ่มเทกับอัลกอริทึมและคุณสมบัติสำคัญๆ ของโครงการคุณดีกว่า
Collaboration (Teamwork) คุณสามารถสร้างอะไรหลายอย่างด้วยตัวคนเดียวได้ แต่คุณไม่มีทางสร้างอะไรที่ยิ่งใหญ่ได้ด้วยตัวคุณคนเดียว เรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับคนอื่น ใช้เครื่องมือที่ช่วยในการทำงานร่วมกันได้ เช่น Wiki, Bug Tracking, Forum, ปฏิทิน, อีเมล์, Project Management, Project Schedule เลือกเอามาใช้ และจะรู้ว่ามันช่วยดันงานคุณไปได้เร็วขึ้นขนาดไหน
ศึกษาจากตัวอย่างและหาข้อมูลด้วยตัวเอง จะศึกษาจากโครงการ Opensource หรือ Framework ก็ดี ช่วยเหลือตัวเองให้มากที่สุด ก่อนที่จะเริ่มหาตัวช่วย การช่วยเหลือตัวเองจะทำให้คุณไปได้เร็วกว่าคนอื่นเยอะ
ภาษาเขียนโปรแกรม จะภาษาอะไรก็ได้ ขอให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก็พอ อย่างน้อยที่สุดก็ต้องรู้ข้อจำกัดของภาษาที่ตัวเองเลือก และที่สำึคัญก็คือเข้าใจการเขียนโปรแกรม จำไว้ว่า "learning a new programming language is just about learning a new syntax" ส่วนหลักในการโปรแกรมก็อยู่ที่อัลกอริทึ่ม ส่วนจะต้องการตัวช่วยเช่น OOP ไหม ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของงานของคุณ บางทีคุณอาจไม่ต้องการ design pattern เจ๋งๆ เพราะเพียงแค่ถึกไปแบบ Test-driven ก็เพียงพอแล้ว
ทันสมัยอยู่้เสมอ เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงเร็วและตลอดเวลา ตามข่าวอยู่เสมอ อย่ายึดติด... ทักษะที่ควรมีในวันนี้ อีกหนึ่งปีอาจจะใช้ไม่ได้เลยซักข้อก็ได้ สิ่งสำคัญคือยอมรับการเปลี่ยนแปลงและเปลี่ยนตัวคุณไปพร้อมๆ กับเทคโนโลยี ถ้าเมื่อไหร่ที่คุณรู้สึกเหนื่อยกับการตามเทคโนโลยีแล้ว ก็หยุด .. เกษียณแล้วไปพักซะ ไปหาอย่างอื่นทำ คุณไม่เหมาะกับงานด้านเทคโนโลยีอีกแล้ว
สุดท้าย และสำคัญที่สุด -- ภาษาอังกฤษ อย่าไปกลัว แล้วจะดีเอง คุณไม่ได้อยู่คนเดียวในโลก และโลกไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก เรียนภาษาอังกฤษ และออกไปลุยกับชาวโลกกันดีกว่า
ปล. ผมจบจิตวิทยา
รู้สึกว่า Entry นี้จะทำให้พี่ๆ Programmer ตกม้าตายกันหลายคนนะเนี่ย เหอะๆ
Yume Nikki
จากประสบการณ์ของผมที่ทำงานมา ผมไม่ค่อยจะยึดติดกับภาษาหรือเทคโนโลยีมากนัก เพราะว่าแต่ละองค์กรมีภาษาที่ต่างกัน และระบบการทำงานที่ต่างกัน ฉะนั้นยังไง เราก็ต้องเรียนรู้ใหม่ แต่สิ่งที่เป็นปัจจัยสำคัญน่าจะเป็นพื้นฐาน และระบบความคิดมากกว่า เข้าเรื่องเป็นหัวข้อเลยดีกว่า
มีใจรักในงานที่ทำ แต่ก่อนผมไม่เคยรู้สึกว่าข้อนี้สำคัญมากเลย แต่หลังจากที่ผมได้รู้จักกับเพื่อนคนนึงที่ทำอาชีพ ออกแบบเสื้อผ้า เค้าสามารถทำงานได้ตลอด แถมทำงานหนักมาก และก็ยังรู้สึกว่าสนุกกับงานที่ทำ แถมยังบอกผมอีกว่าชอบทำงาน ผมก็งง เอ่อ.. เรานี่นั่งนับเวลาเมื่อไหร่จะเลิก เลยรู้สึกว่าเราใช้เวลาในการทำงานสัปดาห์ละ สี่สิบชั่วโมง มากกว่า ทำอย่างอื่นตั้งเยอะ ถ้าเราไม่มีใจรัก มันก็เหมือนทำร้ายตัวเอง คนถ้ามีใจรัก งานที่เราทำก็จะดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตาเลยทีเดียว แล้วอีกอย่างที่ทำให้ผมเชื่อว่าสำคัญ คือ บริษัทผมสัมภาษณ์ ข้อแรกที่เค้าดูคือเรื่องนี้!!!
อัลกอริทึม และ ระบบโครงสร้างข้อมูล อันนี้แต่ละองค์กรเค้าคงไม่มาสอนหรอก มันใช้ในทุกโปรแกรม ฉะนั้นต้องเลือกใช้ให้ถูก
Attitude ของการทำงาน บางครั้งเราต้องรับฟังความคิดเห็นคนอื่น ไม่มีใครเก่งไปหมดทุกอย่าง ทำงานเป็นทีม พยายามให้ความคิดเห็นในแง่สร้างสรรค์ อย่ามัวแต่ตินู่นตินี่ ควรจะคิดว่าแก้ปัญหาทางไหนดี และดีเพราะอะไร
ทำความรู้จักคน อันนี้สำคัญสำหรับการที่เราจะเจริญเติบโตในองค์กร เราต้องรู้จักว่าคนอื่นทำอะไร อย่างน้อยเราก็จะได้ไปถามได้ในส่วนที่เราไม่รู้ และรู้ว่าถ้าเรามีปัญหาที่เราไม่รู้ว่าจะเลือกทางไหน เราก็สามารถหาคนแนะนำได้ นอกจากเราจะได้รับมุมมองการแก้ไขปัญหาในหลาย ๆ ด้าน เปิดโลกทรรศน์ตัวเองแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เราได้ ก็คือ ทำให้คนอื่นในองค์กรรู้จักเราด้วย
การค้นหา ไม่ว่าจะเป็น Live search หรือ google เพราะบางครั้งเรารู้ว่าสิ่งที่เราถามมันง่ายในการค้นหาก็ไม่ควรจะไปถามคนอื่น ควรจะศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองบ้าง ไม่ใช่ถามไปหมด นอกจากการค้นหาแล้วก็ยังควบคู่กับภาษาอังกฤษเหมือนที่หลาย ๆ ความคิดเห็นได้พูดไว้ ว่ายังไงคนไทยมันก็ยังไม่เยอะพอที่จะสามารถหาอ่านเนื้อหาเฉพาะภาษาไทย ถ้าเป็นคนจีนก็ว่าไปอย่าง เพื่อนคนจีนบอกว่ามันแทบไม่เคยอ่านภาษาอังกฤษเลย เพราะว่ามันสามารถค้นหาด้วยภาษาจีนแล้วเจอ อิจฉามันเหมือนกัน :(
เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เสมอ ข้อนี้มีความสัมพันธ์กับข้อแรก ถ้าเรารักงาน เราก็อยากจะรู้เรื่องมากขึ้น ๆ ก็ทำให้เราเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เพื่อมาทำงานเอง
หกข้อที่ผ่านมาจะสังเกตว่าไม่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโปรแกรม หรือเฟรมเวิร์คมากนัก คงมีแค่อัลกอริทึม เพราะเค้าไม่สอนในบริษัทหรอก พวกโปรแกรมนี้มันเปลี่ยนอยู่เสมอ และแต่ละบริษัทก็มีเทคโนโลยีของตัวเอง ถ้าเก่งพวกโปรแกรมหรือเฟรมเวิร์ค อย่างมากก็ช่วยในช่วงแรกของการทำงาน จะดูเหมือนเราเก่งมาก แต่ว่าถ้าไม่มีหกข้อดังกล่าวมา ในระยะยาวก็ยากที่เราจะประสบความสำเร็จได้
ปล. นี่เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผม อ่านแล้วอาจจะรู้สึกเห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยก็แล้วแต่ แต่ว่าอย่างน้อยขอให้ได้ประโยชน์ หรือเก็บกลับไปคิดไม่มากก็น้อย
ท้อเลยคับผม
ผมว่าปัญหาของเราจริงๆมีดังนี้ครับ
ผู้ผลิตไม่เข้าใจตลาดและผู้บริโภค พูดง่ายๆ ก็คือว่าเหล่าบรรดาอาจารย์ต่างๆตามมหาวิทยาลัย ยังไม่เข้าใจว่าตลาดแรงงาน IT ต้องการอะไร ผมจำได้ครับ ตอนผมเรียนยังไม่มีอาจารย์ท่านใดพูดถึง Source code control หรือว่า tools สำหรับ debugging เลยครับ มีแต่นั่งหา big O หรือ โอเมก้า กับนั่ง prove sql query ต่างๆด้วย สมการทาง math (ซึ่งผมก็ยังไม่เคยได้ใช้เลย... กับงานจริงๆ) เพราะฉนั้นน่าจะจับ ผู้ผลิตมาพบผู้บริโภคนะครับ
คนที่จบมาไม่สามารถมองเทคโนโลยีภาพรวมและ trend ของมันได้ ก็ตอนผมเป็นนักศึกษาก็จะรู้แค่ว่าเขียนโปรแกรมนะ เขียนๆไปเหอะ ให้มันทำงานได้ ซึ่งผมไม่เคยรู้เลยว่า scalability คืออะไร performance tuning คืออะไร virtualization คืออะไร SOA คืออะไร Web1.0แตกต่างกับ Web2.0 ยังไง ซึ่งนี่แหละครับ คือเรามองเห็นภาพของ Architecture ทั้งหมดไม่ครบ พูดง่ายๆ แค่มองเฉพาะมุมแหละครับ แล้วก็อีกอย่างนึงคือ ทุกคนถูกปลูกฝังให้เป็นโปรแกรมเมอร์ ไม่ได้ถูกสอนให้เป็น server admin หรือ database admin เลย
โดยส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับการที่เขียนโปรแกรมได้หลายภาษา ผมคิดว่าควรเขียนให้รู้ลึกและรู้จริงในภาษาใดภาษาหนึ่ง และเข้าใจในสิ่งที่ภาษานั่นเป็น แล้วรู้จุดอ่อนจุดแข็งของภาษาที่เราเข้าใจเมือเทียบกับภาษาอื่น...
champillon,เพลงยุทธแห่งต้นไม้.
Sun Certified Java Programmer.
website => http://champillon.multiply.com/
ตอบกันไปเยอะมาก ๆ แล้ว
เอาเท่าที่เจอมากับตัวละกัน นิสิตฝึกงาน กำหนดให้พัฒนา Web App ตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่ง (เล็กจริง ๆ แค่ CRUD -*-) ข้อกำหนดคือ
ข้อแรก เด็กทำหน้ามึนเล็กน้อย เลยถามว่าเคยเขียน PHP มาหรือเปล่า เด็กก็ตอบว่าเคย
ข้อสอง เด็กทำหน้าเหวออย่างแรง..."ขอใช้ Dreamweaver ไม่ได้หรือครับ" ... "ไม่ได้ เพราะต้องการให้ฝึก ถ้ามัวแต่ใช้ Dreamweaver จะทำให้ติด พี่ต้องการให้น้องมาฝึกทักษะการเขียนโปรแกรม ไม่ใช่ให้มาใช้โปรแกรมสำเร็จรูป"
ต่อมา... ผมลองแอบ ๆ ดูหน้าจอ พบว่ามี Dreamweaver อยู่ที่ Taskbar -*- สรุปมันก็กลับไปใช้ Dreamweaver กันเหมือนเดิม
เท่านั้นไม่พอ เวลาติดต่อฐานข้อมูล ไปก๊อปโค้ดจากในเว็บมาใช้เฉยเลย แล้วก็งงว่าทำไมรันไม่ผ่าน -*-
เลยถามไปว่า น้องเรียนสายนี้อยากทำงานอะไร? Programmer? WebDesign? System Analysis? Graphic? blah blah blah...
10 วินาทีผ่านไป อยากเป็น Software Engineer ครับ -*-
แต่ใจมันไม่รักเลยพับผ่าซี เลยสอนไปอีกหลายเรื่องว่าคนเป็น SE ต้องเรียนรู้อะไรบ้าง และต้องมี "ใจรัก" จริง ๆ ไม่ใช่สักแต่ว่าอยากเป็นแต่ใจไม่รัก
รวมฟรีแวร์: dFreeware
อันนี้กำลังหาแนวร่วมอยู่: ThaiiPhoneDev
ผมก็เคยเจอเหมือนกันครับตอนเรียนอยู่ (แอบเอาเพื่อนมาเผาหน่อยละกัน)
เคยถามแต่ละคนว่ามาเรียนโปรแกรมวิชานี้เพราะอะไรกัน ก็มีหลายคำตอบน๊ะคับ
- ไม่รู้เหมือนกัน (คำตอบยอดฮิต อันดับ 1)
- เรียนตามเพื่อน (อันดับที่สองครับ แล้วมันจะตามทันหรือป่าว~~)
- อยากทำงานด้านคอมพ์ (แล้วอะไรละ)
พอเรียนๆไป จนถึงปีสี่ ก็เจออะไรหลายๆอย่างครับ
คนเรียนได้เกรดเฉลี่ยสูงมาก แต่... เขียนโปรแกรมไม่ได้ ไม่รู้เรื่อง อ่านหนังสือแล้วไปสอบเอา น่าน....
คนที่เขียน(แก้)โปรแกรมได้ คือคนที่เรียนเพิ่มอีกหนึ่งสาขา ซึ่งก็คือสาขาก๊อปปี้คับ
ที่มาบ่นให้ฟังก็ไม่ใช่อะไรหรอกคับ เป็นห่วงน้องๆที่เรียนมาทางด้านคอมพ์ สาขาไหนก็ตาม ควรที่จะมีการพัฒนาตนเองตั้งแต่ตอนเรียนแล้วละคับ ถามใจตัวเองก่อนตัดสินใจเรียนปีหนึ่ง ว่าใจเรารักหรือเปล่า แล้วตอนเรียนอาจารย์เค้าสั่งงานอะไรก็ควรทำให้ได้อย่างน้อยตามที่เค้าสั่ง แต่ถ้าจะให้ดีควรที่จะทำให้กว่า หรือมีอะไรที่มันสร้างสรรค์กว่าเดิม และพยายามคนคว้าหาความรู้เกี่ยวกับที่เรียนอยู่เสมอ สรุปก็คือนิสิตที่จบออกมาควรจะมี
...
เหมือนที่เค้าตอบกันมาหมดนะคับ (^^) แต่จะขอเสริมว่า
ให้มีความพยายาม กระตือรือร้นที่จะค้นคว้าหาความรู้ต่อสิ่งใหม่ๆเสมอ พยายามเอาใจใส่ด้วยใจรักจริงๆ แล้วก็เปิดรับความคิดเห็นคนอื่นด้วย อย่าหยิ่งผยองว่าตัวเองเก่ง และที่สำคัญภาษาอังกฤษต้องดีด้วยคับ (แหะ แต่คนเขียนก็เห่ยน๊ะ ^^')
ยังไงก็น้องๆ ที่มาอ่านก็พยายามน๊ะคับ สู้ๆ
เขียนโปรแกรมได้ เขียนโปรแกรมเป็น
http://www.thdiy.com