ข่าวคราวเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Tiangong-1 สถานีอวกาศร้างของจีนที่กำลังค่อยๆ ลดวงโคจรเข้าใกล้โลกทุกขณะ ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถระบุช่วงเวลาที่ Tiangong-1 จะเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้แน่ชัดยิ่งขึ้นว่าจะเป็นช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์นี้ ทว่ายังคงไม่อาจระบุตำแหน่งการเข้าสู่ชั้นบรรยากาศได้
ทั้งนี้จากการประเมินของนักวิทยาศาสตร์จาก ESA (European Space Agency) ระบุว่าเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นตอนไหนก็ได้ภายในช่วงเวลาตั้งแต่บ่ายวันเสาร์ที่ 31 มีนาคม ไปจนถึงตอนค่ำของคืนวันอาทิตย์ที่ 1 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย
สำหรับสถานการณ์ล่าสุด ณ วันที่ 28 มีนาคม นี้ Tiangong-1 ได้เคลื่อนเข้ามาอยู่ที่ระดับความสูงราว 200 กิโลเมตรเหนือพื้นโลกแล้ว ตัวสถานีอวกาศร้างนี้กำลังเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็ว 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และหมุนคว้างรอบตัวเองด้วยอัตราเร็วเชิงมุม 2.2 องศาต่อวินาที (ใช้เวลา 2 นาที 23 วินาทีต่อการหมุน 1 รอบ)
ทั้งนี้กล้องเรดาร์ของสถาบันวิจัยด้านเรดาร์และฟิสิกส์คลื่นความถี่สูง Fraunhofer FHR ซึ่งตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี สามารถบันทึกภาพของ Tiangong -1 ที่หมุนรอบตัวเองได้อย่างชัดเจนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
ในขณะที่ผู้คนที่สนใจติดตามข่าวในบางพื้นที่ก็เริ่มจะสามารถมองเห็น Tiangong-1 ด้วยตาเปล่าได้แล้ว โดยปรากฎเป็นเส้นตรงสว่างพาดบนท้องฟ้า ตัวอย่างเช่น ซึ่งผู้่ใช้ Twitter ชื่อ @picayama ได้โพสต์ภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นแนวการเคลื่อนที่ของ Tiangong-1 บนท้องฟ้าเมือง Yokosuka ประเทศญี่ปุ่น เมื่อประมาณ 16 ชั่วโมงที่ผ่านมา
Tiangong 1 before dawn in Japan. #Tiangong1 #天宮1号 #spacestation pic.twitter.com/KgkCFS9Rla
— Tomo (@picayama) March 29, 2018
สำหรับใครที่ต้องการติดตามสถานการณ์ของ Tiangong-1 แบบใกล้ชิด สามารถเข้าไปดูข้อมูลติดตาม Tiangong-1 แบบสดๆ ได้ทาง SATVIEW หรือ N2YO.com
Comments
คำถามละ สุดท้ายแล้วมันจะตกลงที่ไหน
ไม่เหมือนในหนัง ต้องมีคนคำนวนได้ในที่สุด ว่ามันจะตกที่ไหน ในขณะที่ทุกฝ่ายไม่เห็นด้วย จึงต้องเตรียมพร้อมรับมือด้วยตนเอง
มันหมุนตามวงโคจรโลกมาตลอดทำให้มุมที่ทำกับโลกน่าจะใกล้เคียงกันเลยค่อยๆ ลงมาทีละนิด ทำให้คำนวณได้ยาก
ต่างจากวัตถุจากนอกโลกที่มีมุมที่วิ่งเข้ามาโลกอย่างชัดเจนทำให้กะตำแหน่งได้ง่าย เช่น จะเข้ามาใกล้โลกตอนไหน และตอนนั้นโลกหมุนแล้วหันทวีปไหนเข้าหาวัตถุในจังหวะนั้น
ตกใส่ทำเนียบขาว บรึ๊มมมมมม!!
โดนัลทั้ม กอดคอ ปูติน เดินออกมาจากทะเลเพลิง
ทรัม ใส่สูท หวีผมเรียบแป้ ยืนเอียงๆ ดูดซิก้า
ปูติน ใส่ชุดวอร์ม ของอาดิดาส มือขวาถืออาก้า มือซ้ายถือขวดเหล้า
ตัดเข้ามิวสิกโอเพ่นนิ่ง
นี่ทั่นไปโดนอะไรมา จินตนาการถึงได้บรรเจิดเตลิดเปิดเปิงขนาดนี้
555555+
ต้องปรับอะไรกับเจ้าของไหมแบบนี้ หรือปล่อยเคว้งเหมือนเป็น ถุงพลาสติก ไม่ต้องมีใครสนใจ
ถ้าตกในป่า หรือที่รกร้าง ทะเล แล้วไม่โดนใครเข้าก็คงปล่อย ละมั้งครับ ถ้าที่ของรัฐเสียหาย ป่าไม้ไรงี้ หน่วยงานรัฐคงไปฟ้องกันง่ายกว่า
ไม่รู้จะไปฟ้องเรีนกค่าเสียหายกับจีนจะลำบากหรือเปล่าด้วย
ชิ้นส่วน Skylab เคยไปตกใน Australia เลยไปฟ้อง NASA แต่ยังไม่จ่ายจนถึงทุกวันนี้ครับ
Skylab ใหญ่ขนาดนั้นถึงพื้นโลกขนาดไหนบ้างครับเนี่ย เกิดไม่ทันสมัยนั้น ฮ่าๆ
การคำนวณมันยากมากครับเพราะปัจจัยมีเยอะแยะมากมาย
Atmosphere Drag เป็นปัจจัยหลักตัวหนึ่งที่ขึ้นกับความสูง (ยิ่งใกล้ผิวโลก แรงดันบรรยากาศยิ่งสูง)
รวมไปถึงมุมตกกระทบ การควงหมุนของวัตถุ รูปร่างของวัตถุ วัสดุของวัตถุ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศ พลังงานลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ที่ปลดปล่อยมาช่วงๆ หนึ่ง ฯลฯ
ถ้าใครสงสัยอ่านได้จาก Satellite Drag ของนาซ่าได้ครับ
ยิงทิ้งก่อนไม่ได้เหรอ
เอาอะไรยิงที่ความสูงขนาดนั้น
และถ้ายิงถึงได้ (และความเร็วถึง) ก็จะเกิดระเบิดชิ้นส่วนกระจายไปทุกทิศทาง เกิดขยะอวกาศโคจรที่ระดับต่ำไม่มีที่สิ้นสุดอีกน่ะครับ