สำหรับผู้ที่ชื่นชอบคอมพิวเตอร์พีซีแบบประกอบสมัยใหม่เพื่อตอบสนองกับความเร็ว แรง ความต้องการระบบระบายความร้อนถือเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง ไม่จะในรูปแบบของพัดลม หรือแม้แต่ระบบระบายความร้อนด้วยของเหลว ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าระบบเหล่านี้ล้วนมาพร้อมกับ ‘เสียงรบกวน’ ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ฉะนั้นแล้วคงจะดีไม่น้อย หากวันหนึ่งเราสามารถประกอบคอมพิวเตอร์ขึ้นมาสักเครื่องที่ให้ความเงียบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
เมื่อไม่นานนี้ หนุ่มนักประดิษฐ์รายหนึ่ง ประสบความสำเร็จในการประกอบคอมพิวเตอร์พีซีที่เงียบที่สุด โดยระดับค่าความดังที่วัดใดอยู่ที่ 0 เดซิเบล แม้จะเปิดหรือปิดเครื่องก็จะไม่ได้ยินเสียงการทำงานใดๆ
คอมพิวเตอร์พีซีนี้มีชื่อว่า ‘Streacom DB4’ หรือชื่อย่อว่า ‘DB4’ มีเอกลักษณ์เฉพาะด้วยรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสคล้ายลูกบาศก์ มีขนาด 26 x 26 x 27 cm ใช้อลูมิเนียมที่มีความหนา 13 mm เป็นส่วนประกอบหลัก ซึ่งการประกอบคอมพิวเตอร์พีซีนี้ หนุ่มนักประดิษฐ์ได้เลือกทดสอบด้วยเมนบอร์ดไว้ 4 รุ่นด้วยกัน ได้แก่
ซึ่งเมนบอร์ดแต่ละชุดจะมีจุดดี จุดด้อยที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจากการทดสอบเขาพบว่า ASRock เป็นเมนบอร์ดเพียงรุ่นเดียวที่สามารถติดตั้ง Heat Pipe พร้อมเพิ่มชุดอุปกรณ์ LH6 Cooling Kit ได้ด้วย
ภายในเครื่อง DB4 มาพร้อมฮาร์ดแวร์ที่สามารถเพิ่มชุดอุปกรณ์ LH6 Cooling Kit ที่สามารถเชื่อมต่อกับซีพียูผ่าน Heat Pipe ได้ถึง 6 ชุด และเครื่องกระจายความร้อน 3 ชุด รองรับอัตราการใช้พลังงานของซีพียูได้ถึง 105 วัตต์
ขณะเดียวกันการเลือกใช้ซีพียูยังมีผลต่อการระบายความร้อนและอัตราการใช้พลังงานที่แตกต่างกันด้วย โดยเขาเลือกทดสอบด้วยซีพียู AMD Ryzen ถึง 6 รุ่น ได้แก่
ในส่วนการใช้ Storage ที่สนับสนุนการประกอบคอมพิวเตอร์พีซีที่เงียบที่สุด เขาเลือกใช้ SSD รุ่น Samsung 960 Evo NVMe 1TB สำหรับไดร์ฟหลัก และ Samsung 1TB 860 Evo SATA สำหรับไดร์ฟสำรอง ประกอบเข้ากับเมนบอร์ดแบบ M.2
ฝั่งของการ์ดจอมีการเลือกใช้ ASUS Phoenix GeForce GTX 1050 Ti 4GB ที่มีพัดลมระบายความร้อนแค่เพียงตัวเดียว ซึ่งเขาได้มีการดัดแปลงโดยการถอดพัดลมและฮีทซิงค์ พร้อมแปะชุดอุปกรณ์ GPU Cooling Kit เข้าไปแทนที่
นอกจากนี้เขายังได้ทดสอบการทำงานของซีพียูว่ามีความร้อนเป็นอย่างไร ซึ่งจากการใช้ซีพียู AMD Ryzen 5 1600 กำหนดการโหลดของซีพียูที่ 100% ในเวลาประมาณ 1 ชั่วโมง พบว่าความร้อนเพิ่มขึ้นสูงสุดเป็น 61 องศาเซลเซียส และถัดมาหนึ่งชั่วโมงโดยประมาณความร้อนก็จะค่อยๆ ลดลงเหลือเพียง 34 องศาเซลเซียส
การทดสอบส่วนต่อมา (การทดสอบที่ 6) เป็นการกำหนดการโหลดของซีพียูที่ 100% เป็นเวลา 60 วินาที ในอุณหภูมิห้องที่ 20 องศาเซลเซียส ผลปรากฎว่าอุณหภูมิค่อยๆ เพิ่มขึ้นจาก 34 องศาเซลเซียส ก่อนพุ่งขึ้นสูงสุดที่ 61 องศาเซลเซียส
และการทดสอบที่ 7 เป็นการหยุดการโหลดของซีพียูจาก 100% เป็นเวลา 60 วินาที ในอุณหภูมิห้องที่ 20 องศาเซลเซียส ผลปรากฎว่าอุณหภูมิค่อยๆ ลดลงจาก 61 องศาเซลเซียส จนเหลือต่ำสุดที่ 34 องศาเซลเซียส
จากการทดสอบที่แตกต่างดังกล่าว เขาพบว่าระดับอุณหภูมิของซีพียูจะเพิ่มขึ้น 1 องศา ทุกๆ 1 วินาที เป็นระยะเวลาประมาณ 8-9 วินาที ก่อนจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงทุกๆ 16-24 วินาที ซึ่งเขาตั้งข้อสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงของวัสดุหรือสื่อนำไฟฟ้าที่เลือกใช้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ นอกจากนี้เขายังอธิบายเพิ่มเติมว่า ระบบระบายความร้อนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด หากมีสื่อนำที่ให้กระแสไฟฟ้าเพียงพอก็สามารถบรรเทาความร้อนของซีพียู โดยไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการทำงานแต่อย่างใด
สุดท้ายนี้ หนุ่มนักประดิษฐ์คนดังกล่าวระบุการประกอบคอมพิวเตอร์พีซี Streacom DB4 ครั้งนี้ เบ็ดเสร็จใช้งบประมาณไปทั้งสิ้น 3,000 ดอลลาร์สหรัฐ
Comments
อัตรการ -> อัตราการ หลายจุดครับ
ที่วัดใด => ที่วัดได้
จตุรัส => จัตุรัส
อลูมิเนียม => อะลูมิเนียม
อัตรการ => อัตราการ
ไดร์ฟ => ไดรฟ์
ปรากฎ => ปรากฏ
สงสัยครับ มันเงียบ 0db ขนาดนั้นได้จริงเหรอครับ ไม่มีเสียงประจุไฟฟ้าใดๆ เลย? หรือจริงๆ ถ้าเงียบกว่านั้นคือมันติดลบได้? (คุ้นๆ ว่าห้องที่เงียบที่สุดมันติดลบ)
แล้วในข่าวนี้ไม่มีพูดถึงแหล่งจ่ายไฟ?
หน่วยเดซิเบลมันเทียบกับระดับความดันเสียงต่ำสุดที่มนุษย์เริ่มได้ยินน่ะครับ
0 db นี่คิดว่าก็ยังได้ยินครับ แต่ต้องหูดีมาก ๆ เลย
ผิดถนัดครับ 0dB นี่หมายถึงไม่มีพลังงานของคลื่นเสียงอยู่เลยครับ ส่วน dB ติดลบนี่เขาเอาไว้วัดอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ดูดกลืนคลื่นเสียงเช่นพวก microphone หรือตัวซับการสั่นสะเทือนครับ
ถ้าจะเอาเชิงลึกจริงๆนี่ต้องวิชา Control และ Signal ครับ
เดี๋ยวนะครับ dB มันเป็นหน่วย log ฐาน 10 แล้ว 0dB จะไม่มีพลังงานได้ยังไงครับ
เสียง 0dB เป็นเสียงที่มีพลังงานครับ dB เวลาเอามาใช้วัดเสียง(วัด pressure) จะมีหน่วยเป็น dB SPL ส่วน 0dB SPL เป็นแค่ hearing threshold ครับ ซึ่ง 0dB SPL จะมีค่า P ในอากาศอยู่ที่ 20μPa(20 micro pascal=0.00002 N/m2) = P0 ครับ ตามสมการ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
จะใช้เมืองไทย แบบไม่อยู่ห้องแอร์ได้เปล่า
ผมชอบเคส แฮะ ไช้เป็นโต๊ะหัวเตียงได้ด้วย
เอา VGA ออกแล้ว CPU ก็ใช้ตัว APU ที่เป็นรุ่น g ต่อท้าย
จะได้ลดความร้อนจาก VGA ไปอีกเยอะ
PSU ก็คงต้องใช้ตัวเกรดสูงๆละมั้ง จะได้มีความร้อนสะสมน้อย พัดลมจะไม่ทำงาน
แต่สุดท้ายเลย ทำงานภายใต้อุณหภูมิห้อง 20c แล้วทุกอย่างต่อ heatpipe เอา case aluminium มันก็ไหวอยู่ละ แต่ถ้าห้องซัก 25-30c อาจจะไม่ไหวนะ
ใช้ APU อาจจะไม่ดีกว่านะครับ cpu gpu แยกกัน ความร้อนเกิดคนละจุด ต่อ heatpipe ระบายความร้อนได้เยอะกว่า ถ้าความร้อนไปรวมอยู่จุดเดียวระบายความร้อนยากกว่า
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
มันจะมีเสียง coil whine หรือเปล่าเนี่ยแหละ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
20 องศา... คอมอาจจะไหว แต่คนนั่งทำงานจะไหวหรือเปล่า ได้จามกันทั้งวันแน่ๆ 55
ถ้าคนที่ชินแล้วก็คงไม่มีปัญหาครับ เมื่อต้นปี (เอ หรือปลายปี) ผมยังนั่งทำงานตากลมนอกที่พักที่อุณหภูมิ 13-14 องศาสบายๆ อยู่เลย เสื้อยืดคอกลมกางเกงยีนส์นี่แหละครับ เป็นพวกชอบอากาศเย็นๆ
ผมก็เคยนั่งตากลมตากลมตอนเช้าๆ บนยอดดอยอินทนนท์ ตำกว่า 10 องศาเป็นอะไรที่ฟินมาก + ทรมานตัวเองมากกกก 555
เมื่อก่อนห้องที่ผมทำงานนี่ 17-18 องศาเองนะครับ ใหม่ ๆ นี่เสื้อกันหนาวอย่างหนา ทำงานมาได้สักปีเหลือแค่เสื้อเชิ้ตธรรมดาเนี่ยแหละครับ
อยู่ต่างประเทศ 20 องศานี่คือร้อนแล้วนะครับ
เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับประดิษฐ์ไม่ประดิษฐ์นี่ครับ
DB4 เป็นเคส mini-itx ที่ขายโดย Streacom ปกติ(ออกเมื่อต้นปี 2017) ตัว cooling part ตัวเคสเองก็แถมมาให้ หนุมรายนี้ก็แค่ประกอบและรีวิวเพิ่มเติมเท่านั้นครับ
จริงๆ Streacom มีเคส fanless ขายหลายรุ่นมากครับ รายนี้ขาย fanless เป็นหลักเลย
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ทำไมไม่ใช้ intel
อินเทลคงไม่ได้สปอนเซอร์ส่ง CPU มาให้รีวิว 5555
เป็น Passive Cooling แบบต่อ Heat Pipe เข้าเคสเลย
แบบนี้ถ้าไม่ห่วงหน้าตาก็ทำเคสเป็น HeatSink ใหญ่ๆ ไปได้เลยเหมือนกัน (คงจะตลกๆ)
อุณหภูมิ 20 องศาC ถ้าอยู่เมืองร้อนไม่เปิด AC ไม่ไหวแน่ๆ สะสมแน่นอน ดังนั้นจริงๆ สามารถมีเสียงได้เล็กน้อย (เพราะยังไงก็มีเสียงจาก AC อยู่แล้ว) แต่ถ้าอยู่เมืองหนาวอยู่แล้วก็ไม่ต้องเปิดอะไรเลยใช้สภาพอากาศได้คุ้มค่าดี เงียบกริบ
รู้สึกว่าเสี่ย linus จาก linus tech tip จะเคยเอาเครื่อง gaming PC ที่เป็น fanless แบบนี้มารีวิวอยู่ตอนนึง แต่เป็นเครื่องประกอบสำเร็จนะไม่ใช่ DIY case แบบนี้ อันนั้นเป็น tower มีซีกนึงเป็น heatsink หมดเลย ข้างในต่อ heatpipe หมด PSU เป็น fanless อะไรแบบนี้ ผมว่าความจริงมันก็ทำได้เป็นปกตินะครับเครื่องประเภทนี้ แต่ถ้าอุณหภูมิห้องมันร้อนบรรลัยแบบบ้านเราคงไม่รอดเหมือนกัน
อ่านแล้วงงเพราะหัวข้อบอกเกี่ยวกับเรื่องเสียง แต่เนื้อหามีแต่เรื่องอุณหภูมิ ทำยังไงเสียงถึงเหลือ 0db? วัสดุ การออกแบบอะไรงี้น่ะครับ
เสียงจากคอมมันก็มาจากพัดลมแหละครับ สมัยก่อนมีเสียงจาก hdd ด้วย เดี๋ยวนี้ใช้ ssd ไม่มีเสียง เลยไปเน้นเรื่องระบบระบายความร้อนที่ไม่มีเสียง
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
คือ ปกติแล้วคอมที่มันมีเสียงเพราะพัดลมมันทำงานอย่างที่ท่านบนว่าครับ การที่จะทำให้เครื่องคอมไม่มีเสียงคือเอาพัดลมออกให้หมด ทีนี้พอเวลาเอาพัดลมออกเราเลยต้องระบายความร้อนด้วยวิธีอื่นในที่นี้คือการใช้ Heatpipe ดูดความร้อนจาก CPU, GPU ไปปล่อยที่เคสที่เป็นอลูมิเนียม หรือเรียกง่าย ๆ ว่า เคสเนี่ยแหละเป็น Heatsink ขนาดใหญ่ ที่เค้ามีแต่การอธิบายเรื่องอุณหภูมิเพราะว่าการที่เอาพัดลมออกน่ะมันง่าย แต่การที่ไม่มีพัดลมแล้วทำยังไงจะทำให้คอมพิวเตอร์ยังทำงานได้เนี่ยแหละที่ต้องคิดครับ เค้าเลยทดสอบประสิทธิภาพการระบายความร้อนให้ดูครับว่า ไม่ม่ีพัดลมแต่ก็ยังทำงานได้นะ ประมาณนี้อ่ะครับ
จริง ๆ เคส Fanless ไม่ใช่ตัวนี้เป็นตัวแรกมีอีกเยอะ ทั้งก่อนหน้านี้
https://www.youtube.com/watch?v=9PJOrfpiVwE
https://www.youtube.com/watch?v=nhes8H__DlY
แล้วจริง ๆ จะว่าคนนี้ประดิษฐ์คอมเครื่องนี้ขึ้นมาก็ไม่เชิงเพราะเคสนี้ก็เป็นเคสที่มีคนทำขายอยู่แล้ว มีคนรีวิวเยอะอยู่
https://www.youtube.com/watch?v=t8oGmvA4dok
https://www.youtube.com/watch?v=qxHPdoHNRDM
แล้วพัดลม PSU ละครับ
แต่ปกติก็ไม่ค่อยได้ยินอยู่นะ
3,000 usd ก็ประมาณ 96,000 บาท เอง
ผมว่าที่ hardware canucks รีวิวเคสตัวนี้ก็ใช้วิธีเดียวกัน ชิ้นส่วนคล้าย ๆ กัน แล้วก็ไม่มี moving part ใด ๆ เลยเหมือนกัน ก็น่าจะได้ผลลัพท์เดียวกันนะ
ใส่การ์ดจอปุ๊บ เสียงดังปั๊บ เพราะการ์ดจอ มีพัดลมของตัวเอง