อาจจะต้องย้อนความทรงจำกันหน่อย ว่าผู้อ่าน Blognone ได้เริ่มเรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ในหลักสูตรการศึกษาพื้นฐานภาคบังคับ (ป. 1 - ม. 6) ในตอนไหน? ความทรงจำวิชาด้านคอมพิวเตอร์ของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน
เดิมวิชาด้านคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศนั้น เป็นวิชาหนึ่งในกลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ แต่ด้วยกระแสดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงในช่วงที่ผ่านมา จนเรียกได้ว่าดิจิทัลเข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้น Computer Science กลายเป็นวิชาพื้นฐานที่จำเป็น กระทรวงศึกษาธิการ และความร่วมมือในการปรับปรุงหลักสูตรจาก สสวท. (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ได้ประกาศให้หัวข้อด้านคอมพิวเตอร์ในชื่อวิชา วิทยาการคำนวณ ย้ายมาเป็นวิชาในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) โดยเริ่มเรียนกันตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ไปจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีผลกับนักเรียน ป. 1, ป. 4, ม. 1 และ ม. 4 รุ่นนี้เป็นรุ่นแรก
เชื่อว่าหลายคนอาจตั้งคำถามเมื่อพูดถึงเรื่องนี้ก็คือ เร็วไปหรือไม่? ที่จะเรียนวิชาแบบนี้ตั้งแต่ประถม 1 ก็ต้องย้อนมาดูหลักการและที่มาก่อน
วิชาคอมพิวเตอร์และการเขียนโปรแกรมไม่ใช่ของใหม่ในหลักสูตรการศึกษาไทย หลายคนอาจเคยเรียนภาษาเต่าโลโก้ แต่ไม่ใช่ทุกโรงเรียนที่มีการสอน เนื้อหาหลักสูตรคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีเดิมนั้น เน้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในฐานะผู้ใช้ รู้จักซอฟต์แวร์ต่างๆ ตัวเนื้อหาวิชาเองก็มีความเสี่ยงต่อความล้าสมัย แต่ในหลักสูตรใหม่วิทยาการคำนวณนี้ จะสอนให้นักเรียนเป็นผู้เขียน ผู้พัฒนา และได้ฝึกหัดคิดอย่างเป็นระบบแบบคอมพิวเตอร์มากขึ้น
เดิมหัวข้อคอมพิวเตอร์ อยู่ในวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศฯ กลุ่มสาระการงานพื้นฐานอาชีพ
เป้าหมายของวิชานี้ไม่ได้ต้องการให้ทุกคนที่เรียนจะต้องไปเป็นคนเขียนโปรแกรม หรือโปรแกรมเมอร์ แต่ต้องการเพิ่มทักษะคิดเชิงคำนวณสำหรับแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน, สามารถมองได้ว่าปัญหาใดแก้ด้วยระบบอัตโนมัติได้, ทำความเข้าใจว่าระบบอัตโนมัติเพิ่มประสิทธิภาพงานได้ และที่สุดคือมีความรู้ที่จะควบคุมระบบอัตโนมัติได้ในเบื้องต้น ซึ่งทักษะที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งจำเป็นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ ไม่ว่าจะไปเป็นคนในสายวิทยาศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี หรือแม้แต่วรรณกรรม
เนื้อหาวิชาวิทยาการคำนวณ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักคือ
ถึงตรงนี้อาจมีคำถามว่านักเรียนในระดับ ป. 1 จะเรียนเขียนโปรแกรมอะไรได้ ในหลักสูตรวิทยาการคำนวณนี้ ก็มีการปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงระดับ โดยจะยกตัวอย่างเนื้อหาส่วนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม ซึ่งจะแตกต่างในแต่ละระดับ โดยในระดับ ป. 1 จะเป็นการเขียนโปรแกรมแบบไม่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ (Unplugged) เป็นการฝึกใช้บัตรคำสั่งเดินขึ้น-ลง-ซ้าย-ขวา
ตัวอย่างบัตรคำสั่ง จากหนังสือเรียน ป. 1
ในระดับ ป. 4 การเขียนโปรแกรมก็ยังเน้นแบบ Unplugged แต่พื้นที่ในการใช้คำสั่งจะใหญ่มากขึ้น ซับซ้อนมากขึ้น และต้องจัดลำดับความคิดที่ยากขึ้น โดยเริ่มมีการเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์แบบ Block Programming ใช้วิธีลากบล็อกคำสั่งบนจอ ไม่มีการเขียนโค้ด ใช้โปรแกรม Scratch ของ MIT ประกอบการสอน
โปรแกรม Scratch ใช้เรียนรู้การเขียนโปรแกรม ผ่านการต่อบล็อกคำสั่ง
มาถึงในระดับมัธยมศึกษา จะเริ่มเขียนโปรแกรมแล้วตั้งแต่ชั้น ม. 1 โดยภาษาที่แนะนำในการเรียนการสอนคือ Python ส่วนในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ ม. 4 จะเน้นไปที่การบูรณาการองค์ความรู้เพื่อทำโครงงาน ตัวอย่างที่พูดถึงในหนังสือเรียน เช่น โครงงานอุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติ, การเขียน sort, โปรแกรมคำนวณค่าที่จอดรถยนต์ ฯลฯ
ในระดับ ม. 4 จะพูดถึงการทำโครงงานมากขึ้น
อีกหนึ่งประเด็นที่น่าจะมีหลายคนสงสัยเมื่ออ่านถึงตรงนี้ ก็คือแล้วเรามีบุคลากรครูที่เป็นผู้สอนในโรงเรียนที่พอและพร้อมหรือยัง? ในช่วงปี 2560 ที่ผ่านมา สสวท. ได้จัดอบรมครูแกนนำคอมพิวเตอร์ไปแล้ว มีการทดลองทำกิจกรรมในหลักสูตร เพื่อให้นำไปเผยแพร่กับเพื่อนครูคนอื่นต่อไปได้ จากนั้นก็มีอบรมต่อเนื่องผ่านช่องทางทั้งออฟไลน์ และออนไลน์ (สามารถดูเพิ่มเติมได้ที่ Facebook: สาขาคอมพิวเตอร์ สสวท.)
การจัดอบรมและวิจัยนั้น สสวท. ได้มีการลงพื้นที่ร่วมกับครูเครือข่าย นำวิชาไปทดลองสอนในโรงเรียนจริงๆ ตามจังหวัดต่างๆ รวมทั้งในพื้นที่ทุรกันดาร ไม่มีคอมพิวเตอร์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อดูว่ากิจกรรมแบบ Unplugged นั้นได้เป็นอย่างไร ซึ่งผลตอบรับออกมาดี นักเรียนมีความสนุก ได้ฝึกหัดคิดแบบเป็นขั้นตอน
ที่น่าสนใจมาก คือการเรียนการสอนด้านวิชาเขียนโปรแกรมนี้ ประเทศไทยถือเป็นประเทศกลุ่มแรกๆ ในโลก ที่มีการเรียนสอนในหลักสูตรพื้นฐาน อังกฤษเริ่มการสอนเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ส่วนสิงคโปร์เพิ่งเริ่มสอนมา 2 ปี จึงอาจมองได้ว่าเป็นโอกาสในการต่อยอดพัฒนาความพร้อมบุคลากรสำหรับอนาคตในระยะ 10 ปีข้างหน้าของประเทศไทยได้
เนื้อหาเรียบเรียงจาก Dek-d Live สอนเขียนโปรแกรมตั้งแต่ป. 1 เหมาะสมหรือยังกับประเทศไทย 4.0 (ได้รับอนุญาตแล้ว), และหนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (การคำนวณ) ระดับชั้น ป. 1, ป. 4, ม. 1 และ ม. 4 ของ สสวท.
Comments
ก็ดีนะ ... แต่ผมว่า สอนให้เด็กมีจริยธรรม ควบคู่ไปกับการทำมาค้าขายให้เก่ง ๆ น่าจะดีกว่า ... ไอที ไม่ใช่ทุกสิ่ง มันไม่ใช่เสาหลัก
วิชาพวกนั้นมันก็มีอยู่ในหลักสูตรมาตั้งนานแล้วนี่ครับ
หลักสูตรเดิมมันเก่าคร่ำครึ ก็ไปว่าเขาว่าเป็นไดโนเสาร์ไม่ยอมพัฒนา พอเขาพัฒนาหลักสูตรเพิ่มวิชาที่ทันสมัยขึ้น ให้เด็กรุ่นใหม่ของไทยพัฒนาได้เทียบเท่าชาติอื่นก็ยังมาแขวะเรื่องอื่นอีก
ความพอดีมันอยู่ตรงไหนหว่า
จริยธรรมมันมีสอนมาตั้งนานนมแล้วครับ
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่หลักสูตร แต่อยู่ที่ครอบครัวมากกว่า
ผู้ใหญ่สมัยนี้ “ขอโทษ” กับ “ขอบคุณ” ยังไม่เป็นเลย แล้วจะให้ครูสอนยังไงล่ะ ในเมื่อ พ่อกับแม่เป็นแบบอย่างที่แย่แบบนี้ (ขึ้น lift มาบอกกดชั้นให้หน่อย แล้วก็เงียบ)
ทำมาค้าขายเก่ง ก็ไม่ใช่ผู้ผลิตเทคโนโลยี ถ้าผู้ผลิตไม่ขายให้แล้ว จะขายเอง (Apple / MS Surface) ผู้ค้าคนกลางนี่ไร้ค่าเลยทีเดียว โลกเดิมการค้าขายผ่านคนกลางมันเจริญ แบบที่คนจีน คนแขกชอบทำเพราะการเดินทางมันยากลำบาก แต่ไม่ใช่กับโลกทุกวันนี้ ที่ทุกคนเข้าถึงแหล่งผลิตผ่าน Alibaba / Aliexpress
จริยธรรมก็มีสอนมาตั้งนานแล้ว แล้วดูประเทศตอนนี้สิว่าได้ผลมั้ย
ไอทีไม่ใช่ทุกสิ่งแต่ให้ไปสอนค้าขาย แล้วต่างกันอย่างไร
ผมว่าอยากให้สอนพวก Games Theory มากกว่าจริยธรรมแล้ว เพราะจริยธรรมมันพิสูจน์ลำบาก พวก Game Theory มันเน้น "ผลที่ตามมา" ซึ่งสุดท้ายจะบอกได้ว่าเราควรทำอะไร
เรื่องให้ค้าขายเก่งๆ วิชานี้ผมไม่เจอนะ ถ้าได้สอนสัก 1 ภาคก็น่าจะดี ส่วน IT ผมว่าให้ลองเล่นสัก 1 ภาคเรียน ให้พอรู้ว่าเป็นอะไร ทำงานยังไง ทำอะไรได้ และอะไรที่ทำไม่ได้ ถ้าชอบค่อยเลือกเรียนเพิ่มน่าจะดีกว่า
โลกนี้มันมีอาชีพมากกว่า "ค้าขาย" เยอะนะครับ และอาชีพที่ใช้ความสามารถการเขียนโปรแกรมมันเยอะขึ้นเรื่อยๆ
ผมได้ยุ่งเกี่ยวกับการทำธุรกิจอยู่บ้าง ถ้าไม่ใช่แบบองค์กรใหญ่ๆ ที่มีคนทำให้ทุกอย่าง ก็ต้องเขียนโปรแกรมเล็กๆ น้อยๆ เองนี่ล่ะ พวกจะสรุปบัญชี ประมาณการกำไร-ต้นทุน ฯลฯ ก็ต้องเขียนเล็กๆ น้อยๆ ใน Excel/Google Sheet
lewcpe.com, @wasonliw
เหมาะมากเลยครับ
เด็กที่เรียนวิชานี้อย่างน้อยก็มีความคิดเป็นตรรกะเชิงลำดับวิธีการได้
ไม่ใช่คนตรรกะป่วยๆโยงมโนแบบไม่มีเส้นที่ให้เห็นว่ามันเกี่ยวข้องกัน
การที่จะให้คนมีจริยธรรมหรือสิ่งใดถูกผิดนั้น
มันเกิดจากการที่คนมีกระบวนการคิดที่สมเหตุผล เป็นขั้นตอน (ตรรกะ)
ถ้าอยากมีตรรกะให้เรียนแค่ วิชาแบบนี้ก็พอ
ไม่จำเป็นต้องไปเรียนหลักธรรม หรือศาสนาด้วยซ้ำครับ
================
เสียดายมันบรรจุวิชาแบบนี้ช้าไป ถ้าบรรจุสัก 20 ปีที่แล้ว เราคงได้ ชื่นชมเด็กๆ สมัยนี้มากขึ้น
หลายคนยังไม่เข้าใจว่าเรียนเขียนโปรแกรม มันไม่ได้แค่เขียนโปรแกรมเป็น มันได้อย่างอื่นด้วย
เรื่องจริยธรรมที่ดูแล้วค่อนข้างเป็นนามธรรม ตรงนี้ผมว่าหลักสูตรเดิมก็น่าจะครอบคลุมดีแล้ว สิ่งที่ต้องเน้นย้ำเพิ่มเติมจริงๆ คือการสอนให้คารพกฎหมายครับ
จะเลือกทำไมระหว่างจริยธรรมกับวิทยาการคำนวณ? แท้จริงแล้วถ้าผู้แสดงความคิดเห็นได้อ่านหลักสูตร จะทราบว่าในส่วนของ DL (Digital Literacy) มีเรื่องของความปลอดภัยและจริยธรรมบนโลกออนไลน์ เด็กจะต้องรู้กฎหมาย รู้มารยาท ไม่เบียดเบียนคนอื่น และปกป้องสิทธิของตนเอง การจะเป็นคนมีจริยธรรมในโลกยุคดิติทับได้ จำเป็นต้องเข้าใจโลกดิจิทัลด้วย การมองว่าจริยธรรมและวิทยาการคำนวณเป็นของที่แยกกัน ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นตรรกะวิบัติ (logical fallacy) อย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า false dilemma เป็นสิ่งที่พบได้บ่อยแม้ว่าผู้พูดจะไม่ตั้งใจ หลักสูตรวิทยาการคำนวณจึงครอบคลุมเรื่องตรรกะวิบัติด้วย
murderedbywords
อันนี้เห็นด้วยเป็นอย่างมาก การเรียนเขียนโปรแกรมควรเริ่มตั้งแต่เด็ก ไม่ต้องยากเกินไป แต่... จะเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำขนาดใหญ่สำหรับเด็กบ้านนอกและเด็กในเมืองเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากชนบทจะขาดแคลนเครื่องคอมพิวเตอร์แช้ว ครูผู้สอนก็ขาดแคลนด้วยเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นวิชาบังคับ เราก็อาจจะเห็นผอ.สั่งให้ครูวิทย์ไปสอนคอมพิวเตอร์ (ซึ่งมันไม่ใช่)
พูดตามตรง เป็นหน้าที่พ่อแม่นะครับ รู้ว่าไม่พร้อมอย่ามีลูก
เกี่ยวอะไรกับการเรื่องคลาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในชนบทครับ?
The Dream hacker..
หน้าที่โรงเรียนเค้าจัดทำให้เต็มความสามารถของเค้าอยู่แล้ว ขาดแคลนมีไม่มีมันก็มาตามงบประมาณ หรือความเก่งของผู้บริหาร แต่การศึกษาของลูกเราเอง ทำไมถึงฝากความหวังไว้กับโรงเรียนครับ ? ถ้าเราอยากเลือกให้ลูกเราถูกเติมเต็มในส่วนนนั้นก็จัดให้ลูกไปสิครับ
ถ้าพ่อแม่ ไม่สามารถเติมเต็มส่วนนี้ให้ได้ ควรพิจารณาก่อนไหมครับว่าเค้าทั้งคู่พร้อมจริงๆ ไหมที่จะมีลูก
ผู้ออกแบบหลักสูตร คิดถึง รร. ในชนบทอยู่ตลอดเวลา ผม (ผนวกเดช) เพิ่งกลับมาจากการเยี่ยมโรงเรียนชายขอบที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต มีไฟฟ้าที่ติดๆ ดับๆ มีคอมพิวเตอร์ไม่พอใช้ ยิ่งพบว่าหลักสูตรและหนังสือวิทยาการคำนวณ ของ สสวท. ถูกออกแบบมาได้เหมาะสมยิ่งนัก นักเรียนเหล่านี้มีศักยภาพที่จะคิดเป็นเหตุเป็นผล เป็นระบบได้ ไม่แพ้คนที่อื่น ควรได้โอกาสเรียนรู้ผ่านกิจกรรม unplugged (เขียนโปรแกรมโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์) เพื่อฝึกกระบวนการคิด อย่างที่หนังสือ สสวท. ยกตัวอย่างทุกชั้นปีในระดับประถม และในช่วงเวลาที่มีไฟฟ้าใช้ เด็กประถมปลาย ควรได้ลองขีดเส้นเล่นลายผ่าน block programming เพื่อกระตุ้นจินตนาการ นอกจากนี้ เด็กควรมีหนังสือเรียนที่คำนึงถึงบริบทของชนบทและสังคมเกษตร ที่ผสานเทคโนโลยีอย่างลงตัว ดังที่ได้เห็นในครอบครัวของ #โป้งก้อยอิ่ม แท้จริงแล้วครูและนักเรียนในชนบทกลับมองเทคโนโลยีว่าเป็นหนทางหนึ่งในการหลุดพ้นจากกับดักของความยากจน กว่า 20 ปีแล้วที่ NECTEC เคยมีโครงการ IT Valley เพื่อฝึกอาชีพให้เด็กบนดอย ได้เรียนรู้การซ่อมคอมพิวเตอร์ การเขียนเว็บ การเขียนภาษา C บางคนเข้ามาทำงานในเมืองมีรายได้ดี ส่งเงินกลับมาเลี้ยงครอบครัว อย่างไรก็ดีโครงการดังกล่าวเน้นการสร้างอาชีพทางคอมพิวเตอร์ ในขณะที่หลักสูตรวิทยาการคำนวณเน้นการสร้างทักษะที่จำเป็นที่บูรณาการไปกับทุกสาขาอาชีพ เด็กที่มีพื้นฐานการคิดเชิงคำนวณที่ดี ย่อมจะต่อยอดได้ทั้งในอาชีพสายไอทีและอาชีพอื่นๆ แม้ว่าเขาจะยังคงอยู่ในชุมชมต่อไป ก็สามารถวางแผนงานโรงเพาะเห็ด ทุ่งนา โรงเลี้ยงสัตว์ แผงโซล่าร์เซล ระบบรดน้ำ ฯลฯ ได้อย่างเป็นระบบโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
สงสารเด็ก ไม่มีสิทธิเลือกสิ่งที่ชอบด้วยตัวเอง
(คนเคยเป็นครู)
เค้าถึงควรต้องรู้จักหรือได้ลองแม้แต่สิ่งที่อาจไม่ชอบตั้งแต่วัยเด็กไงล่ะครับ ;)
my blog
ผมก็สงสารตัวเองมาก ที่ต้องเสียเวลาเรียนคณิตศาสตร์ สปช สลน กพอ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษแบบที่ไม่สามารถใช้งานได้จริง สมัยประถมนานถึง 6 ปี ผมตื่นเต้นทุกครั้งที่ใกล้จะเปิดเทอมแล้วต้องไปซื้อหนังสือประจำเทอมใหม่ แล้วก็ใช้เวลาอีก 1-2 สัปดาห์ก่อนเปิดเทอม ทำแบบฝึกหัด + อ่านหนังสือในแต่ละเล่มจนจบ อันไหนทำไม่ได้ ถามพ่อ น้า หรือแม่ ก็รู้เรื่องแล้วทำต่อได้ (เพิ่งรู้ตอน ม.ต้นว่า พ่อ แม่ น้า จบ ป.ตรี เกษตร, ครุ Eng, วิศวะไฟฟ้า)
เปิดเทอมมาจำได้ว่าเจอครูท่านใหม่สั่งงานให้ทำในห้อง ผมก็นั่งอ่านหนังสือเงียบๆ พอให้ส่งงาน โดนด่ากลางห้องว่า ให้ไปลบที่เขียนไว้ออกให้หมด แล้วครูจะสอนให้ใหม่ (ทั้งที่ก็ไม่ได้ผิดซักข้อ) ข้อสอบก็เหมือน copy โจทย์ในหนังสือเรียนมาแปะในกระดาษ แทบไม่ต้องอ่านโจทย์ อ่านแต่ choices ก็จำได้แล้วว่าจะต้องตอบข้อไหน
ผมบ่นทุกครั้งที่ไปโรงเรียนและกลับบ้านว่า ทำไมเรียนช้า "วิชาที่เรียนผมก็ไม่ได้สนใจ" ผมให้น้ามาสอนพันสายไฟ ต่อวงจร แกะของเล่นมันสนุกกว่ามาก แต่ครูที่โรงเรียนสอนสิ่งพวกนี้ได้แค่คนเดียวซึ่งก็เป็นครูที่สนิทกัน นั่งคำนวณกำลังขยายของเลนส์ทำกล้องส่องดาว ตัดท่อทำลำกล้อง ทำขาตั้ง พวกนี้สนุกกว่าเยอะ
ไม่เข้าใจจนทุกวันนี้ว่าทำไมไม่ให้เรียนตามที่เด็กอยากเรียน
ผมก็เป็นแบบนั้นครับ เบื่อมากต้องเขียนแสดงวิธีทำ ทั้งๆที่เราเข้าใจและหาคำตอบด้วยตัวเองได้
จริงๆแล้วเด็กมีศักยภาพมากกว่าที่คิดนะ หรือโรงเรียนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากความแตกต่างของเด็กได้
สุดท้าย ผมไม่เชื่อการศึกษาบ้านเรานะ มันใช้เวลาเยอะแต่ไม่ได้ให้ในสิ่งที่ใช้สักเท่าไหร่ แต่ทำให้เด็กมีความคล้ายกันเฉยๆ (ไม่ค่อยเจอพวก Extreme ทั้งด้านที่ดีและไม่ดี) ไม่ได้ส่งเสริมทักษะ Skill พิเศษของแต่ละคนเท่าไหร่ ทุกวันนี้มันดีขึ้นก็จริง แต่ยังไม่เชื่อดีกว่า
คุณต้องเรียนสลน.เพราะไม่งั้นคุณจะกวาดบ้านไม่เป็นครับ
เหรอ?
จากใจคนที่ไม่ชอบอยู่ในห้องเรียน ตั้งแต่อนุบาลยันปริญญาตรี การสอนแบบที่ห้ามเด็กคิดนอกกรอบ เอาแค่เรียนพุทธศาสนายังน่ารำคาญเลย เพราะคนสอนสอนแต่อิทธิฤทธิ์ อภินิหาร ไม่รู้คัดคนแบบนี้มาสอนได้อย่างไร ทั้งๆ ที่แก่นพุทธศาสนาคือวิชาปรัชญาแท้ๆ
ถ้าอยากให้เด็กมีจริยธรรม และคิดเป็น ควรสอนวิชาปรัชญาแบบมีการถกเถียงมากกว่า
ก็เพราะแบบนี้ไง ผมถึงเกลียดระบบการศึกษาไทยไงครับ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน แม้จะมีการพัฒนาแล้ว แต่แนวคิดและกฎเดิมก็ยังอยู่หรือไม่พัฒนาแก้ไขเลยด้วยซ้ำ ผมเคยเรียนมาไ่ม่กี่ปีก็ยังมีปัญหาอยู่เลยครับ
มีของดีมาเพิ่มก็ดีครับ แต่ต้องปรับให้ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้ด้วย ไม่ใช้สักแต่จะออกหลักสูตรที่เข้าได้กับคนบางส่วน แต่คนบางส่วนไม่สามารถเข้าถึงการศึกษาได้ เช่น เด็กต่างจังหวัด และควรเปิดอิสระในการเรียนรู้ สามารถถกเถียงแบบมีสาระได้ และทุกคนกล้าที่จะแสดงออกและถกเถียงได้ ต้องไม่โดนเป็นจุดที่ให้คนแกล้งหรือกระทำความรุนแรง และไม่ใช่สักแต่ทำตามขั้นตอน คำสอน หรือตามที่ ego ของอาจารย์สั่ง ที่อะไรให้ไม่ถูกใจก็ด่านักเรียนและสั่งทำใหม่ตามใจตัวเอง และควนจะเปิดระบบการเรียนที่นักเรียนสามารถเลือกเรียนได้ตามต้องการและความสนใจตั้งแต่ต้น เหมือนระบบมหาวิทยาลัย
และที่สำคัญ ต้องจัดการเด็กแกล้งหรือความรุนแรงในเด็กด้วย เดี๋ยวนี้มีเยอะมากตั้งแต่อนุบาลจนถึงมหาวิทยาลัย ต้องใช้วิธีขั้นเด็ดขาด เช่น blacklist ตัดสิทธิ์และโอกาสของเด็กและครอบครับที่มีปัญหาอย่างถาวนพร้อมการอบรมอย่างเข้มงวดจนกว่าเด็กจะมีนิสัยที่ดีขึ้นถาวร หรือใช้วิธีธรรมชาติคัดสรร ใครก่ออะไรไว้ ต้องได้รับผลการกระทำเสมอ หรือโดนลงโทษสถานผู้ใหญ่ เพราะว่าการแกล้งเด็กไม่ว่าด้วยอะไรก็ตาม เป็นการทำลายเด็กผู้เป็นเหยือทั้งร่างกายและจิตใจ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ผมคนนึงที่เป็นเหยื่อโดนเด็กแกล้ง ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย พอจบไป คนแกล้งก็ลืม ไม่จำหรือเรียนรู้อะไรเลย มีความสุข แต่ผมต้องเก็บและแบกรับความกดดันและอารมณ์จนจบและหลุดพ้นโดนโต้ตอบอะไรไม่ได้เลยเนี่ยนะ ครูหรือแม้แต่ครอบครัวก็ช่วยอะไรไม่ได้ มันใช่ไหม ผมสนับสนุนให้เหยื่อโต้ตอบการกระทำกลับผู้ก่อกวนอย่างเต็มที่ แม้ต้องแลกด้วยชีวิตก็ตาม ดีกว่าเก็บเงียบความกดดัน และความเครียดเอาไว้คนเดียวจนเป็นปัญหาใหญ่ในอนาคต
แต่ถ้าต้องการเรียนรู้จริงๆ แต่ไม่อย่ากเจอปัญหาข้างต้นและต้องการผลการศึกษาที่ดี ผมว่าการเรียนโดยจ้างคุณครูมาสอนที่บ้านพร้อมพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง เป็นทางเลือกที่ดีกว่า แพงกว่าแต่ได้ผล สำหรับผม
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
+1 ตอนเด็กผมก็โดนบบนั้น คนแกล้งครูไม่เห็นลงโทษอะไรได้แต่เก็บไว้เงียบๆ คนเดียว
มาๆ ไฮไฟว์ครับ
อ่านแล้วนึกถึงตัวเองเหมือนกันเลยครับ 555
โลกดิจิทัลจะเข้ามาสู่ชีวิตของเด็กโดยที่เด็กไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้เรียนเพื่อให้มีทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ จึงจัดเป็นวิชาพื้นฐานที่ประชากรทุกคนจะต้องมี เฉกเช่นการอ่านออกเขียนได้ การรู้กฎจราจร สุขอนามัย และจริยธรรม เป็นต้น
ไปลองเล่น Scratch ดู พบว่าใช้ Flash (= ='
จริงๆ น่าจะให้ใช้ code.org ...
ตัวนี้ไม่ต้องใช้ flash
ที่เลือก scratch น่าจะเตรียมหัดไช้ raspberry pi มั้งครับ
edit : เช่น โครงงานอุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติ -> gpio ของ raspberry pi
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แล้วก็กลายเป็นอีกหนึ่งความยัดเยียดให้เด็กเป็นเจ้าแห่งทฤษฎี นับวันยิ่งยัดเยียดหลักสูตรต่างๆ ให้เด็กเรียน แล้วอ้างว่าปูพื้นฐานเพื่อให้เด็กรู้ว่าตัวเองชอบอะไร หรืออ้างว่าเพื่อให้เด็กมีพื้นฐานไปเรียนสิ่งอื่น
ถ้าคนไทยยังบ่นเรื่องการศึกษาของกระเทศที่มีแต่ถอยหลัง ก็ควรต้องเปลี่ยนวิธีคิดกันบ้างแล้วครับ ไปดูการศึกษาต่างประเทศกันปีละกี่รอบ มีบทความกล่าวถึงการศึกษาอันดับต้นๆ ของโลกกี่บทความ ว่าเค้าเรียนกันอย่างไร
ก็อ้างแต่ว่าบุคลากรไม่พร้อม พ่อแม่ไม่พร้อม คิดแบบนี้ก็วนกันไปสิครับ
ปัจจุบัน โดยทั่วไปแล้วสายครุศาสตร์เป็นตัวเลือกท้ายๆ เอาไว้เพื่อป้องกันการไม่มีปริญญาตรี อันนี้ก็จต้องยอมรับความจริง อาชีพครูก็ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากความไม่คุ้มครองของกฎหมาย และระบบบริหารการศึกษา
แล้วจะให้การศึกษาไทยก้าวหน้าเหรอครับ
กระบวนการออกแบบหลักสูตรเริ่มตั้งแต่ปี 2559 ผ่านการพิจารณายกร่างโดยนักวิชาการหลายสถาบัน จากนั้นในกระบวนการพิจารณาร่าง ก็ได้เชิญคุณครูทั้งระดับประถมและมัธยมศึกษาจากโรงเรียนในจังหวัดต่าง ๆ หลายจังหวัด หลายภูมิภาค มาให้คำแนะนำและปรับแก้ให้เหมาะสม จากนั้นจึงมีการทำประชาพิจารณ์โดยเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งในภาครัฐและเอกชน เมื่อผ่านแล้วจึงได้ชี้แจงให้สำนักพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อเตรียมผลิตสื่อการเรียนรู้ ก่อนที่จะประกาศใช้โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในระหว่างนั้น สสวท. ได้เริ่มเขียนหนังสือแบบเรียน และทดลองใช้ในโรงเรียนที่เป็นเครือข่ายวิจัย มีการเก็บข้อมูล ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ทั้งแบบไม่เป็นทางการผ่านสื่อออนไลน์ และแบบที่เป็นทางการผ่านการทำวิจัยในห้องเรียน คำแนะนำที่ได้รับก็นำมาปรับปรุงหนังสือให้ดีขึ้นต่อไป และโดยรวมก็พบว่าผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจ รวมถึงทั้งโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ทั้งนักเรียนทั่วไปและนักเรียนที่เป็นเด็กพิเศษก็สนุกสนานและได้ประโยชน์จากวิชานี้
อนึ่ง นี่ไม่ใช่การเพิ่มวิชา แต่เป็นการย้ายกลุ่มสาระ และปรับให้มีเนื้อหาน้อยลง เน้นการคิดวิเคราะห์มากกว่าท่องจำ
จริงๆ หลักสูตรในไทยที่ได้รับการเรียนมาหลายสิบปีก็ได้รับการพิจารณาร่าง และปรับปรุงมาตลอดด้วยวิธีการที่คุณกล่าวมานะครับ แต่ผมเห็นว่าการศึกษาไทยก็ถอยหลังลงตลอด และที่สำคัญคือสิ่งที่คุณกล่าวมาทั้งหมด ยังไม่มีตรงไหนที่ปรับปรุงให้เด็กไทยสามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ชอบได้เลยครับ ก็ยังเป็นการศึกษาแบบเดิมๆ ตามที่ผมบอก
เป้าหมายอ่ะดีครับ แต่ที่ผมหนักใจคือวิธีการมากกว่า ถ้าแค่มีเป้าหมายดีแล้วทุกอย่างจะดีตาม ผมว่าป่านนี้ไทยเป็นที่หนึ่งในทุกด้านแล้วครับ
ถ้านี่เป็นของใหม่ ลองให้โอกาสเขาได้พิสูจน์ก่อนครับ ตอนนี้แค่เริ่มมาได้ไม่กี่ปี เทียบกับหลายสิบปีที่คุณว่ามาก็ดูจะตัดสินเร็วไปหน่อย
เราวนกับ pattern เดิมมาหลายปีแล้วครับ หลักสูตรเปลี่ยน แต่บุคลากรไม่เปลี่ยน วิธีคิดของคนมีสิทธิในการร่างหลักสูตรก็ไม่เปลี่ยน วิธีการดำเนินการไม่เปลี่ยน แล้วหวังจะให้ได้ outcome ที่เปลี่ยน ผมคงรับไม่ได้ครับ
อันนี้ไม่ได้บอกว่าหลักสูตรใหม่นี้ไม่ดี หรือใช้ไม่ได้นะครับ เพราะที่ผมตำหนิ ผมตำหนิที่ภาพรวมเลยครับ
ขอตอบผ่าน Live video ครับ
https://www.facebook.com/iammock/videos/10101878602372629/
จะให้เด็กเรียนอะไรก็ได้
เรียนหลากหลายอย่างไงก็ได้
แต่ต้องเปลี่ยนวิธีคิด วิธีสอน
ให้เด็กรู้จักคิด รุ้จักค้นพบด้วยตัวเอง
และศีลธรรมกับความรู้ต้องคู่กัน
ศีลธรรมต้องปฏิบัติ ไม่ใช่ท่องจำ
การเริ่มสอนศีลธรรมด้วยคำว่า "ต้อง" นี่ก็ผิดแล้วครับ เริ่มต้นด้วยวคำนี้ แปลว่าทุกคนต้องมีศีลธรรม ต้องเรียนศีลธรรม ต้องมีมาตรฐานทางศีลธรรม
ศีลธรรมที่เริ่มต้นด้วยการเอาไม้บรรทัดไปวัดคนอื่น มันไม่ใช่ศีลธรรมครับ
การสอนที่ดี ควรสอนให้รู้จักการมองไปถึงผลแห่งการกระทำ และผลกระทบต่อตัวเอง และคนอื่น ไม่ต้องเป็นศีลธรรมก็ได้ครับ อะไรก็ได้
ศีลธรรม ธรรมแห่งความอดกลั้น สอนให้อดกลั้น แต่ไม่ได้สอนว่าอดกลั้นไปทำไม ถ้าไม่อดกลั้นแล้วจะเป็นยังไง ก็เหมือนกับสอนให้เด็กเรียนปีทาโกรัสหรือหา ครน. โดยบังคับให้เรียนตามหนังสือ โดยที่เด็กไม่รู้ว่าเรียนไปทำไมอ่ะแหละครับ
สิ่งเหล่านี้มีสอนในหลักสูตรขั้นพื้นฐานอยู่แล้วครับ เพียงแต่ว่าจะสอนยังไงให้เข้าใจนั้นผมว่ามันยาก
เอาเวลาไปแก้ไขหลักสูตรพวก คณิต วิทย์ ดีกว่ามั้ง ทุกวันนี้ยังไม่เข้าใจกันเลย
กว่าผมจะรู้ว่าปีทาโกรัส sin cos tan calculus บลาๆ จะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้างในชีวิตจริง ก็ตอนผมเรียนจบป.ตรีแล้วครับ
ไม่ได้จะบอกว่าการศึกษาไม่ได้สอนว่าให้เอาไปทำอะไรนะครับ แต่จะบอกว่ามันไม่ใช่ทุกคนที่ถูกบังคับให้เรียนสิ่งดังกล่าว จะมีโอกาสมาพานพบว่าสิ่งที่ตัวเองเรียนมาเอาไปใช้อะไรได้บ้าง
แต่พอรู้แล้วว่าจะได้ใช้อะไร ผมก็ต้องไปเรียนใหม่อยู่ดี เพราะตอนเรียนมันจำไว้สอบอย่างเดียว ทำอะไรแทบไม่ได้เลย ที่จำเป็นสำหรับผมจริงๆ เพื่อมาศึกษาเรื่อง trigonometry กับ calculus มีแค่ basic math operation ครับ บวก ลบ คูณ หาร ยกกำลัง
+1 ครับ ทั้งคณิต ของผมเพิ่มฟิสิกส์ไปด้วยอีกตัว
แต่ฝั่งของฟิสิสก์นี่ผมค่อนข้างโบ้ยไปทางเทคนิคการสอนของครูมากกว่า
อยากให้อ่าน Facebook ของ mk ประกอบว่าถ้าไม่มีพื้นฐานไว้ในหัวเลย การจะกลับมาเรียน machine learning ที่ต้องการใช้ความรู้ linear algebra อย่างมาก การจะศึกษาเรื่องพวกนี้ใหม่ เป็นเรื่องที่อาจจะต้องทิ้งชีวิตอีกด้านเลยทีเดียว ผิดกับการที่เรามีอะไรในหัวบ้าง การศึกษาเรื่องที่มันเกี่ยวเนื่องกันยังพอขุดขึ้นมาได้ง่ายกว่า
การศึกษาวิชาพื้นฐานถึงแม้ไม่ได้ใช้ แต่มันเป็นการสะสมอาวุธครับ วันดีคืนดีต้องใช้ขึ้นมาม มันจะกลับมาได้เร็วกว่า อันนี้ผมนั่งคุยกับ ieee life fellow มาท่านบอกแบบนี้
ไม่ครับ ผมเห็นว่าวิชาที่สอนนี่สมควรสอนแล้วแต่วิธีสอนและชักจูงมันไม่ดีพอ
พอออกมาเปิดโลกหลังเรียนแล้วทำให้ผมเข้าใจที่เรียนๆ ไป กระทั่งส่วนของวิชาที่ไม่ได้ใช้ไม่ได้แตะผมก็ยังเข้าใจได้ดีกว่าสมัยเรียนเสียด้วยซ้ำ
machine learning ไม่ใช่คณิตศาสตร์พื้นฐานครับ มาเจอตอนเรียนในลำดับชั้นสูงๆ กันแล้ว
มันใช้ linear algebra เป็นฐานน่ะครับ ซึ่งไม่รู้เรื่องนี้ ซึ่งเรียนปีสอง จะไปทำ machine learning ได้อย่างไรครับ
ปีสองที่ว่านี่คือเป็นการศึกษาระดับประถม หรือมัธยมครับ? คือปัจจุบันต้องเรียนพีชคณิตเชิงเส้นกันต้องระดับประถมหรือมัธยมเหรอครับ? อันนี้ไม่ทราบจริงๆ
อย่างที่ผมว่าแหละครับ ชีวิตคนๆ นึงมันอาจไม่มีโอกาสได้ใช้วิชาบางวิชาที่เรียนมาเลย ไอ้ที่ต้องเรียนจริงๆ ก็ไม่รู้ว่าจะเรียนไปทำไม
การเรียนมันไม่สนุกเอาซะเลย (ซึ่งจะโทษให้เป็นความผิดของเด็กก็ได้ เราจะได้วนอยู่ที่เดิม) ฟิสิกส์เป็นวิชาที่ไม่ยาก แต่การเรียนทฤษฎีล้วนๆ มันใช้แต่สมองส่วนความจำกับเหตุผล เด็กส่วนนึงต้องมีการใช้ส่วนจินตนาการเพื่อให้การเรียนรู้ง่ายขึ้นด้วย
เรื่องรอก คานดีดคานงัด ผมว่าน่าจะสอนไม่ยาก แต่เรียนแล้วงงชะมัดครับ ให้จำแต่สูตร
คือนักปฏิบัติ ก็ต้องคิดเผื่อนักทฤษฎีด้วยครับ ก็ต้องแบ่ง ๆ กัน ไม่มีการสอนไหนในเวลาที่จำกัดได้ครบถ้วน ประเด็นที่จะพูดคือผมว่าโทษคนเรียน โทษผู้ปกครอง โทษครู ไม่ได้ครับ ทุกภาคส่วนต้องเรียนรู้ที่จะเรียนรู้กัน
นักปฏิบัติคิดเผื่อนักทฤษฎี? รบกวนอธิบายอีกนิดได้มั้ยครับ ผมอ่านแล้วงงๆ
สสวท. ทำเช่นนั้นอยู่แล้ว นั่นคือ ปรับปรุงหลักสูตร และหนังสือแบบเรียน วิทย์ คณิต ให้เข้าใจง่ายขึ้น น่าสนใจขึ้น เน้นการคิดมากกว่าการท่องจำ
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://www.ipst.ac.th/index.php/news-and-announcements/training-seminar/item/2776-4-0
ลองดูงานแถลงข่าวหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สสวท. ฉบับปรับปรุงใหม่
https://www.facebook.com/ipst.thai/videos/1604030639633318/
เอาปลามาวิ่งแข่งกับแมวบนบก ยังไงมันก็สู้แมวไม่ได้ แถมถูกจับแดกซะอีก ส่วนตัวอยากให้การศึกษาทำให้เด็กรู้ตัวให้เร็วว่าชอบอะไรก่อนจบ ม.3 แล้วเขาจะตอบตัวเองแหล่ะว่าควรทำไงต่อ
แล้วพอมอปลายก็จัดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพที่สนใจไปเลย ลดวิชาพื้นฐานลง เข้ามหาวิทยาลัยก็เน้นร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจให้เด็กได้ลองปฏิบัติจริง อาจให้เด็กได้ทำงานในฐานะเด็กฝึกงานในปี 3-4 เต็มเวลา แล้วส่งเป็นสรุปผลการปฎิบัติงานให้มหาวิยาลัย กับบริษัทประเมินว่าควรจบหรือไม่ อาจดูเว่อร์ไปหน่อยแต่เบื่อมากเลยเวลาเจอเด็กจบมาแล้วทำอะไรไม่เป็นซักอย่าง ถามว่าเพราะอะไร ส่วนใหญ่ก็บอกว่าไม่ชอบแต่ดันสอบติดมาแล้ว
ผมดูว่ามันก็ ok นะ
ประถมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเตรียมตัว คอมเบื่องต้น การป้องกันตัวเองบนเน็ต ปนๆไปกับเลข / ฟิสิกเบื่องต้น
พอขึ้นมัธยมก็ให้เลือก(ในวิชานี้ก็มีสาย โปรแกรมเมอร์ม เครือข่าย อีเล็โทรนิก ฯลฯ)
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
เรื่องที่ไปทำงานในบริษัท 4-6 เดือน กินเวลาปิดเทอมกับ 1 ภาคการศึกษา มีการทำมาได้ซักระยะแล้วนะครับ ก็ 5 รุ่นแล้ว มีสองแบบคือแบบสหกิจ กับ WIL ข้อแตกต่างคืออย่างแรกคือฝึกงานระยะยาว แบบที่สองคือต้องเอาโจทย์ปัญหาในโรงงานมาแก้ ทำจนถึงได้ชิ้นงานหรือแก้ปัญหาได้ เด็กกลุ่มนี้เน้นออกไปทำงานในภาคอุตสหกรรม
ในสายวิศว วิทยาศาสตร์ ที่ทำกันระดับหลักสูตร ก็มีหลายที่แล้ว ทั้งเอกชนและรัฐบาลครับ
จริง ๆ เกือบทุกที่ทำกันในระดับบางส่วน ส่วนที่ทำในระดับหลักสูตรเลย ที่ มจธ สจล สุรนารี ไทย-ญี่ปุ่น เป็นต้นครับ กรณีนี้ผมพูดเฉพาะสายวิศวะนะครับ
เด็กหนีไม่พ้นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการดำรงชีวิต ต้องเลือกโปรโมชั่นมือถือต้องทำตามกฎหมายไซเบอร์ ต้องหลีกเลี่ยงการโดนหลอกออนไลน์ ต้องตั้งพาสเวิร์ดให้ปลอดภัย ต้องสร้างอีเวนต์เชิญชวนคนมาชมงานเปิดแกเลอรี่ ต้องรับข่าวสารบ้านเมืองซึ่งจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกผู้นำ (ซึ่งมีกระทบต่อคนอื่น) ดังนั้นจะต้องแยกแยกให้ได้ว่าข่าวใดจริงหรือลวง ฯลฯ
มีผู้แสดงความคิดเห็นบ่อยครั้งว่าหลักสูตรนี้เป็นการสอนปลาให้ปีนต้นไม้ บังคับนกให้ว่ายน้ำ
ผู้แสดงความคิดเห็นคงไม่ได้อ่านหลักสูตร จึงไม่ทราบว่า แท้จริงแล้วผู้ออกแบบหลักสูตรเห็นด้วยกับหลักคิดนี้ หลักสูตรเดิมเป็นการฝึกพื้นฐานทางอาชีพคอมพิวเตอร์ แต่หลักสูตรนี้เป็นการฝึกพื้นฐานการคิดวิเคราะห์สำหรับทุกอาชีพ ไม่ว่าเด็กจะโตขึ้นไปปีนต้นไม้ หรือว่ายน้ำ ล้วนหนีไม่พ้นการสัมผัสกับโลกดิจิทัล
ปัญหาที่เราเจอคือ ครูที่สอนวิชานั้นๆ ไม่ได้เก่ง ไม่ได้รู้จริง ก็สอนๆไปตามตำรา ซึ่งบางทีมันไม่รู้เรื่องจนทำให้พาลเกลียดวิชานั้นไปเลย (เพิ่งจะรู้ตัวว่าไม่เกลียดวิชาเลขก็ตอนเรียน ป ตรี แล้วเจออาจารย์ที่เข้าใจเนื้อหาจริงๆมาสอน)
การที่คนสอนไม่พร้อม มิใช่เหตุผลที่จะไม่สอน เมื่อคนสอนไม่พร้อมก็ต้องช่วยกันทำให้พร้อม หรือหาคนใหม่ที่พร้อม อนาคตของประเทศสำคัญเกินกว่าที่จะมัวอ้างว่า “ไม่พร้อม” แล้วไม่ทำอะไรเลย หากผู้แสดงความคิดเห็นมองว่าควรรอให้พร้อมกว่านี้ ก็ควรพิจารณาว่าเรา “รอให้พร้อม” มากว่า 20 ปีแล้ว หากรอต่อไปก็ไม่มีแนวโน้มที่จะพร้อมมากขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของครู
http://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/pr4cs2017/
การจัดหลักสูตรและสอนคน..ง่ายมาก..แต่ยากตรงที่..การเข้าใจนิสัยคน..แล้วสอนให้รู้เรื่องอย่างแตกฉานและใช้งานประกอบอาชีพ..
ถ้าจะยกตัวอย่างในชั้นมหาวิทยาลัย ผมเรียนวิศวกรรมเคมี ยังมีภาษา C เลยครับ แต่ผมเชื่อว่า การที่หลักสูตรที่ผมเรียนตัวนี้ ไม่ใช่เพราะจะให้ผมเขียนภาษานี้เป็น ใช้ตอนทำงานหรอกครับ แต่หลักสูตรต้องการจะให้ผม "คิดอย่างเป็นระบบ" และรู้จักการ "วางแผน" ให้ได้
ถ้าวิทยาการคำนวณได้อยู่ในหลักสูตร ประถม - มัธยม จริง ผมก็เชื่อว่า เขามีความต้องการแบบที่ให้เด็กมหาวิทยาลัยเรียนแบบนี้เช่นกันครับ
ขอบคุณครับที่ช่วยอธิบาย หลักการเป็นเช่นนั้นจริงๆ และเขียนอธิบายในหลักสูตรแล้วครับ
สอนตั้งแต่เด็กก็ดีอยู่นะครับ แต่ผมไม่อยากให้มันอยู่ในหลักสูตรหลัก
ผมว่าน่าจะให้ลงเป็นวิชาเลือกที่ไม่มีผลกับเกรดแทนนะครับ
เพราะถ้าลงเป็นหลักสูตรหลักแล้วไม่มีตัวเลือกอื่น ถ้าเกิดว่าในอนาคต แรงงานตลาดนี้มันล้นตลาด มันจะแย่เอานะครับ
ประมาณว่าให้มันเป็นชั่วโมงกิจกรรม เด็กสนใจตัวไหนก็ไปเลือกลงตัวนั้น ไม่ต้องกังวลว่าจะเซฟไม่เซฟ จะโดนกดเกรดหรือปล่อยเกรด
โดยแบ่งเป็น4ระดับ คือ ป.1-3 , ป.4-6 , ม.1-3 , ม.4-6 เพิ่มความเข้มข้นเข้าไปในแต่ละระดับเอาครับ
เผื่อเค้าเรียนแล้วไม่ชอบ จะได้หันไปลงตัวอื่นที่ชอบแทน
ส่วนวิชาที่เปิด ก็ดูๆเอาจากพวกหลักสูตร ป.ตรีนี่แหละ เอามาปรับให้เข้ากับแต่ละช่วงวัย จะได้เป็นการสำรวจอนาคตสำหรับเด็กไปในตัว
ผู้แสดงความคิดเห็นคงไม่ได้อ่านหลักสูตร จึงไม่ทราบว่าจุดประสงค์ไม่ใช่เพื่อสร้างโปรแกรมเมอร์ แต่เพื่อสร้างเด็กให้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นขั้นตอน เป็นเหตุเป็นผล หากในกระบวนการดังกล่าวจะมีโปรแกรมเมอร์เกิดขึ้นก็เป็นผลพลอยได้ที่พึงประสงค์
เด็กบางคนอาจไม่อยากเรียนวาดเขียน ไม่อยากเรียนว่ายน้ำ พละศึกษา ดนตรี เย็บปักถักร้อย หรือศาสนา เราก็ควรบังคับให้เขาเรียนอยู่ดี เพราะเป็นทักษะสำคัญของชีวิต (เช่น พละศึกษา ในระดับหนึ่ง) อาจมีผลต่อาการเอาชีวิตรอด (เช่น การว่ายน้ำ) มีผลต่อการเข้าใจสุนทรียภาพของชีวิต (เช่นศิลปะ ดนตรี) และเป็นเครื่องมือสำคัญของการเป็นพลเมืองที่ดี (เช่น ศาสนา จริยธรรม) ทั้งนี้ อาจถกเถียงกันได้ว่าควรบังคับมากเพียงใด เนื้อหาเข้มข้นระดับใด แต่ความเห็นที่ว่าไม่ควรบังคับเลยถ้าเด็กไม่ชอบเรียน อาจจะเป็นแนวทางที่สุดโต่งเกินไป
ฮา เก่งกันจัง ให้ไปเขียนหลักสูตรเองไม่รู้จะทำออกมายังไง
คุณวิจารณ์อาหาร คุณทำอาหารเป็นรึเปล่า ง่อววววววว
เรื่องหลักสูตรนี่ก็เรื่องนึง เรื่องปัญหาการศึกษาไทยก็เรื่องนึง ไม่อยากให้เอามาปนกันเท่าไหร่
ผมว่าหลักสูตรและจุดประสงค์นี่มันเป็นเรื่องดีนะ สนับสนุนด้วย แต่ปัญหาการศึกษาไทยที่เรื้อรังมานานอาจเปลี่ยนให้ดีเป็นร้ายได้ ก็ต้องแยกเป็นเรื่องๆไป
ผมว่าเกือบทุกอย่างในโลก เกิดขึ้นมาเพราะวัตถุประสงค์ที่ดีครับ แต่วิธีการนี่แหละที่เป็นตัวบอกผลลัพท์
ผมว่าเราเห็นผลลัพท์ ของวัตถุประสงค์ที่ดี แต่วิธีการห่วยกันจนชินตาแล้วครับ
ปัญหาของระบบ tcas,การสอบ ONET, ANET ปัญหาคนไร้ระเบียบวินัยของคนในชาติ ล้วนเกิดจากวัตถุประสงค์ที่ดี แต่วิธีการห่วยทั้งนั้นครับ
Good idea but terrble execution....
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
วิธีการแต่ละวิธี ผมว่ามันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกันไป
เหมือนข้อสอบที่บอกว่าข้อกาเป็นข้อสอบที่ไม่ดี ข้อเขียนดีกว่าเพราะได้แสดงความคิดของผู้ทำออกมา แต่ว่าจะเอามาใช้กับจำนวนหลักแสนก็คงไม่ไหว
ไม่ไหวเพราะเป็นนะบบคัดกรองที่ไม่มีคุณภาพ หรือไม่ไหวเพราะขี้เกียจเขียน หรือไม่ไหวเพราะคนตรวจไม่พอครับ?
มันก็หลายๆด้านประกอบกันครับ มันจึงต้องใช้วิธีที่สามารถจำแนกได้ รวดเร็ว ใช้งานได้จริง แต่ก่อนก็มีรอบรับตรงที่สามารถไปสอบตามเงื่อนไขได้อยู่
เด็กในเมืองอ่ะไม่เท่าไหร่ เพราะมีทรัพยากรพร้อมเต็มที่ แต่เด็กบ้านนอกนี่สิน่าห่วง อุปกรณ์ไม่มีครูไม่พร้อม แต่ยังเอามาเป็นวิชาบังคับแบบนี้ จะทำให้เด็กพาลเกลียดวิชานี้เพราะเรียนไม่รู้เรื่องแต่ก็ยังโดนบังคับให้เรียนอย่างหนักไหม? (ที่บอกว่าไปลองสอนแล้วเด็กสนุกเพราะมันไม่ใช่ของบังคับไง ถ้าเป็นวิชาบังคับแล้วมันจะคนละเรื่องกันทันที)
ถ้าหากจะรอทุกที่มีความพร้อมก่อนเริ่มทำคงได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาหลังจากนี้อีก 20 ปีมั้งครับ ก่อนจะออกหลักสูตรได้คงต้องมีการประชุมวางแผนร่วมมือกันระหว่างหลายหน่วยงานแล้ว เพราะกว่าหลักสูตรจะออกมาได้ต้องผ่านการวางแผนและลงมือทำมาเป็นเวลานาน หลังจากนี้ก็คงจะมีนโยบายพัฒนาโรงเรียนตามพื้นที่ต่างจังหวัดอะไรก็ว่ากันไป รวมทั้งอบรมครูเพื่อให้เข้าใจและสามารถสอนหลักสูตรใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วย ซึ่งส่วนหลังนี้เท่าที่ผมดูก็เริ่มทำไปบ้างแล้ว
ผมพูดถึงการบังคับเรียนครับ ไม่ได้พูดถึงการทำหลักสูตร คนละเรื่องเลย
ผู้ออกแบบหลักสูตร คิดถึง รร. ในชนบทอยู่ตลอดเวลา ผม (ผนวกเดช) เพิ่งกลับมาจากการเยี่ยมโรงเรียนชายขอบที่ไม่มีอินเทอร์เน็ต มีไฟฟ้าที่ติดๆ ดับๆ มีคอมพิวเตอร์ไม่พอใช้ ยิ่งพบว่าหลักสูตรและหนังสือวิทยาการคำนวณ ของ สสวท. ถูกออกแบบมาได้เหมาะสมยิ่งนัก นักเรียนเหล่านี้มีศักยภาพที่จะคิดเป็นเหตุเป็นผล เป็นระบบได้ ไม่แพ้คนที่อื่น ควรได้โอกาสเรียนรู้ผ่านกิจกรรม unplugged (เขียนโปรแกรมโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์) เพื่อฝึกกระบวนการคิด อย่างที่หนังสือ สสวท. ยกตัวอย่างทุกชั้นปีในระดับประถม และในช่วงเวลาที่มีไฟฟ้าใช้ เด็กประถมปลาย ควรได้ลองขีดเส้นเล่นลายผ่าน block programming เพื่อกระตุ้นจินตนาการ นอกจากนี้ เด็กควรมีหนังสือเรียนที่คำนึงถึงบริบทของชนบทและสังคมเกษตร ที่ผสานเทคโนโลยีอย่างลงตัว ดังที่ได้เห็นในครอบครัวของ #โป้งก้อยอิ่ม แท้จริงแล้วครูและนักเรียนในชนบทกลับมองเทคโนโลยีว่าเป็นหนทางหนึ่งในการหลุดพ้นจากกับดักของความยากจน กว่า 20 ปีแล้วที่ NECTEC เคยมีโครงการ IT Valley เพื่อฝึกอาชีพให้เด็กบนดอย ได้เรียนรู้การซ่อมคอมพิวเตอร์ การเขียนเว็บ การเขียนภาษา C บางคนเข้ามาทำงานในเมืองมีรายได้ดี ส่งเงินกลับมาเลี้ยงครอบครัว อย่างไรก็ดีโครงการดังกล่าวเน้นการสร้างอาชีพทางคอมพิวเตอร์ ในขณะที่หลักสูตรวิทยาการคำนวณเน้นการสร้างทักษะที่จำเป็นที่บูรณาการไปกับทุกสาขาอาชีพ เด็กที่มีพื้นฐานการคิดเชิงคำนวณที่ดี ย่อมจะต่อยอดได้ทั้งในอาชีพสายไอทีและอาชีพอื่นๆ แม้ว่าเขาจะยังคงอยู่ในชุมชมต่อไป ก็สามารถวางแผนงานโรงเพาะเห็ด ทุ่งนา โรงเลี้ยงสัตว์ แผงโซล่าร์เซล ระบบรดน้ำ ฯลฯ ได้อย่างเป็นระบบโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
คอมพิวเตอร๋ => คอมพิวเตอร์
ธุรกันดาร => ทุรกันดาร
เรื่องควรเรียนตอน ป. 1 มีเป็นร้อยที่ไม่ได้เรียนหรือไม่มีสอน ดันมาสอน Programming แล้วบังคับสอนยัน ม.6 เนี่ย เอาจริงๆ เรียนแค่ ม.ปลายก็พอรึเปล่า
บ้าไปแล้ว
คนประเทศอื่นเขาสอยพื้นฐานการใช้ชีวิต เด็กโตขึ้นก็เลือกทำกิจกรรมเรียนรู้ในสิ่งที่ตัวเองสนใจ เด็กก็เจริญเติบโตก้าวหน้าตามทางที่ชอบ งานก็ออกมาดี
ประเทศนี้ ตัวเองชอบคอมพิวเตอร์เลยยัดเยียดให้เด็กเรียน อาชีพอื่นไร้ค่า ดูถูกอาชีพอื่น
ผมไม่ได้เห็นด้วยกับการบังคับเรียนระยะยาวขนาดนั้น แต่ผมไม่คิดว่ามันสื่อถึงอาชีพอื่นไร้ค่านะครับ แทบทุกอาชีพตอนนี้สามารถเขียนโปรแกรมมาช่วยงานได้หมดแล้วเราก็เห็นๆ กันอยู่ จะแค่ร้านขายของ ทำสวน ฯลฯ
ผมว่ามัน make sense นะ กับการปรับหลักสูตรให้ทันกับโลก ในยุคที่ความรู้ด้านนี้เป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยสัดส่วนโปรแกรมเมอร์และนักวิจัยน้อยมากนะครับเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้นถ้ามองระดับมหภาค การส่งเสริมทรัพยากรคนด้านนี้ก็ควรทำไม่ใช่หรือครับ
หากคุณบอกว่ามันเป็นสิ่งที่ยัดเยียด งั้นวิชาอื่นๆที่เคยมีมา ศิลปะ พลศึกษา คณิตศาสตร์ ในหลักสูตรนี่ไม่ได้ยัดเยียดหรอครับ ไม่มีใครชอบไปทุกวิชา แต่ที่ใส่มาเพราะมันมีความจำเป็นในยุคนั้นๆ ตอนนี้ถึงวันที่โลกต้องปรับตัว พวกคุณก็ควรแขวะกันแต่พอดี และแขวะให้ถูกเรื่องมั้ยครับ เคสนี้ถ้าจะแขวะ ควรไปโฟกัสเรื่องที่จะปรับหลักสูตรการสอนยังไงให้เด็กเอาไปใช้ได้จริงและเห็นความสำคัญของมันดีกว่า ส่วนเด็กที่ไม่ชอบจริงๆ อย่างน้อยก็ต้องพอรู้จักเทคโนโลยี รู้ว่ามันเอาไปใช้ยังไง รับมือกับมันได้ ไม่ถูกล่อลวงหรือเอาเปรียบ
ไม่ใช่มาต่อต้านบอกว่าไม่ควรใส่หลักสูตรนี้เข้ามาครับ
ยุคนี้ ผู้ชนะกินรวบครับ ผมไม่ได้ดูถูกความรู้ด้านอื่น แต่เปิดตามองให้กว้างครับ แค่ความรู้เฉพาะสายมันไม่พอ คุณเปิดร้านกาแฟแต่คุณวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าเชิงลึกไม่เป็น คุณก็แค่โดนเจ้าใหญ่กินรวบไปก็แค่นั้น
ศิลปผมเห็นเป็นการผ่อนคลาย ไม่เรียนเอาจริงจัง
พละ ผมมองว่าเป็นการเสริมสร้างร่างกาย ช่วยเรื่องโรคภัย เป็นสิ่สิ่งจำเป็นสำหรับทุกคนโดยเฉพาะเด็ก
เลข ขั้นพื้นฐานบวกลบคูณหารจำเป็นในการดำรงค์ชีวิต เกินกว่านั้นไม่ควรให้เด็กประถมเรียน
ไอ้การมองเรียนเขียนโปรแกรมโคตรสำคัญต้องให้เด็กประถมเรียน มันงี่เง่า เพราะมันไม่จำเป็นที่ทุกคนต้องรู้
เช่น การใช้โปรแกรมตามที่ต่างๆ ทุกคนที่ใช้เขียนโปรแกรมเป็น ทุกคนที่ใช้เข้าใจว่าเครื่องทำงานยังไงหรือเปล่า แล้วชีวิตพวกเขาถูกล่อถูกหลอก ตกอับ
เกาหลีใต้ผลิตโทรศัพท์มือถือมากมาย คนเกาหลีใต้ส่วนใหญ่รู้ว่าโทรศัพท์สร้างยังไงหรือเปล่าครับ ส่วนใหญ่เขียนโปรแกรมเป็นหรือเปล่า หรือแค่ใช้เป็น
คนรวยๆ ทุกคนรู้เรื่องการเขียนโปรแกรมเหรอ หรือแค่ฉลาดเก่งด้านอื่นแล้วใช้คนที่เขียนโปรแกรมเป็นทำงานนี้แทน
ผมเรียนศิลปะตั้งแต่ป.1 ยัน ม.6 ไม่เคยผ่อนคลายเลยครับ ถ้าเป็นวิชาผ่อนคลายจริงทำไมต้องมีเกรดล่ะวิชา พละ ดนตรี นาฏศิลป์ก็มีเกรด
ก็พอเข้าใจครับว่าศิลปะมันมีหลักเกณฑ์ความสวยงามตามทฤษฎีอยู่ แต่การมาบอกเด็กว่าให้ลงสีนี้เท่านั้น วาดแบบนี้ ไม่งั้นผิด มันไม่เหมาะกับการสร้างความคิดสร้างสรรค์เลย
ศิลปะได้ ศูนย์ โคตรผ่อนคลายเลย เกลียดสุดๆ
ผมนี่ไม่มีศิลปะอยู่ในหัวเลย จะดนตรีจะวาดภาพก็เถอะ
อ้อ แต่ได้พวกวิชาเขียนแบบ วาดภาพฉายมุมนั้นมุมนี้นี่เป๊ะมากครับ ให้วาดภาพที่มองแบบสามมิติไขว้ตามาให้ดูออกว่าอันไหนอยู่หน้า-หลังอะไรพวกนี้ได้เป๊ะหมด แบบไม่ต้องคิดสร้างสรรค์เองแต่ใช้ทฤษฎีเอาออกมาตรงๆ อะไรแบบนี้ไม่มีปัญหา
วิชาศิลปะมีคะแนนจริงจังด้วยหรือครับ
แปลว่าคุณเจอครูห่วยๆ
ตอนเด็กผมวาดแย่วาดมั่วแค่ไหน ก็ไม่เคยต่ำกว่า b ทั้งห้องไม่มีใครได้ต่ำกว่า b
วิชาศิลปะมีคะแนนจริงจังด้วยหรือครับ
แปลว่าคุณเจอครูห่วยๆ
ตอนเด็กผมวาดแย่วาดมั่วแค่ไหน ก็ไม่เคยต่ำกว่า b ทั้งห้องไม่มีใครได้ต่ำกว่า b
เอาประโยคนี้ เปลี่ยนคอมพิวเตอร์เป็นพุทธศาสนา ก็จะได้ใจความเดียวกัน
"ประเทศนี้นับถือศาสนาพุทธก็เลยยัดเยียดให้เด็กเรียน"
หรือเปลี่ยนเป็นเลข วิชางานช่าง เย็บผ้า ตัดกางเกง
โรงเรียนผมสอนไฟฟ้าต่อสวิทช์ไฟ ก็ไม่มีใครมาบอกนะว่าดูถูกช่างไม้ ช่างประปา
ครับเรียนพุทธศาสนาเป็นการยัดเยียด ผมเห็นด้วย ถ้าคุณแค่ประชดผมก็ขอโทษ
เรื่องการดูถูก ไม่มีใครรู้ตัวไม่มีใครรับหรอกครับ ถามไปบอกเปล่าทุกคน
ไม่ได้ประชดครับ แต่อยากชี้ให้เห็นว่า มันมีอยู่แล้ววิชาที่บังคับยัดเยียดเรียนโดยบอกว่าเป็นประโยชน์แก่เด็ก
เมนท์บนคุณแจกแจงว่าแต่ละวิชาที่บังคับเรียนมันมีประโยชน์อย่างไร คอมพิวเตอร์ประโยชน์ที่ไม่ใช่ 'เขียนโปรแกรมเป็น' คือการฝึกคิดแบบเป็นตรรกะไง
ก็เหมือนกับโรงเรียนที่สอนงานช่าง หรือการตัดกางเกงที่ผมยก (ที่ไม่ใช่วิชาเลือก) เพราะมันช่วยสร้างสกิลพื้นฐาน ถ้าชอบก็ไปต่อยอด
เพียงแต่ปัจจุบันมันไม่ใช่งานช่าง งานตัดเย็บ แต่เป็นคอมพิวเตอร์ ก็แค่นั้น
ผมว่าคุณเข้าใจผิดไปว่าการเรียนคอมคือเรียนไปเพื่อเขียนโปรแกรมอย่างเดียว
ในเนื้อข่าวเองก็มีแยกไว้ว่าข้อ 1 เรียนการคิดเป็นขั้นตอน ข้อ 2 เรียนการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะต่างจากการท่องจำเพื่อไปสอบที่มีปัญหาในทุกวันนี้
โลกดิจิทัลจะเข้ามาสู่ชีวิตของเด็กโดยที่เด็กไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้เรียนเพื่อให้มีทั้งความรู้ ทักษะ และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับเทคโนโลยีนี้ จึงจัดเป็นวิชาพื้นฐานที่ประชากรทุกคนจะต้องมี เฉกเช่นการอ่านออกเขียนได้ การรู้กฎจราจร สุขอนามัย และจริยธรรม เป็นต้น
หลักสูตรนี้ไม่ได้ดูถูกอาชีพอื่น แต่มองว่าทุกอาชีพมีค่าและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นได้ด้วยความรู้เท่าทันดิจิทัล
กลัวอย่างเดียว คุณภาพครูที่สอนนี่แหละ ความพร้อมบุคลากรมีแค่ไหน ต้องมีการเตรียมความพร้อมบุคลากรกันเรอะเปล่า
อย่างอื่นผมว่าก็ปกติ เดี๋ยวนี้เขาก็เริ่มกันประมาณนี้ทั้งนั้น อย่าพึ่งตกใจว่า ป 1 - ป 2 ก็นั่ง Coding กันแล้วเรอะ? ผมเข้าใจไม่ผิด ช่วงต้นๆ คงกึ่งๆ Scripting แล้วใช้ตัวการ์ตูนล่อมากกว่าครับ โรงเรียนเอกชนหลายๆ ที่เขาก็เริ่มกันประมาณนี้แหละ จำได้สมัยรุ่นน้องชายผมนั่นเริ่มกัน ป. 2 ด้วยภาษา Logo นึกสภาพเอานะครับ สมัยนั้น ประมาณปี 1996
สำคัญอีกข้อคือความคาดหวังอะครับ เราให้เด็กเรียน Coding ไปทำไม? ต้องเข้าใจว่าเราไม่ได้ต้องการให้เขาทุกคนเป็น Programmer แต่เราต้องการให้เขาได้หลักการวิธีแนวคิดที่ได้จาก Coding ถ้าไม่หลุดเป้าผมว่าวิชานี้มีประโยชน์
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
อุ้ย ผมก็ได้เรียน Logo ตอนป.2 ครับ
แต่ดันมารู้ว่าเรียนเขียนโปรแกรมเอาจริงๆ ตอนเรียนจบมหาลัยแล้วเพราะข่าวเว็บนี้ว่าเต่านั่นมันคือเขียนโค้ดภาษา Logo ?
เอาเข้าจริงๆ ก็ถูกต้องตามจุดมุ่งหมายของเขาแหละครับ ไม่ต้องการให้เด็กรู้สึกว่ามันยัดเยียดเป็นการ Coding มากเกินไป
เพียงแต่ของไทย เท่าที่เห็นคือขาดการต่อเติมระหว่างกลาง... เด็กได้เรียน Logo ตอนนั้นแล้วหลังจากนั้นก็ตามมีตามเกิดเลย ไปโผล่อีกที ม ปลาย ในโรงเรียนหรูๆ หน่อยหรือไม่ก็นู่นมหาวิทยาลัย
ผมว่ามีบรรจุในหลักสูตรอะดีแล้วครับจะได้พัฒนาต่อเนื่อง เด็กๆ ก็เล่นของเล่นอะไรไปก่อน แล้วพอมัธยมค่อยเริ่มของจริงจัง แล้วปรับไปเป็นวิชาเลือกเอา
Shut up and ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ raise your dongers ヽ༼ຈل͜ຈ༽ノ
มีผู้ตั้งคำถามว่า สสวท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการประชาสัมพันธ์และการเตรียมความพร้อมครูอย่างไร เพื่อรองรับหลักสูตรใหม่ วิทยาการคำนวณ ผม (ผนวกเดช) จึงได้รวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ มาไว้ในนี้ เพื่อให้เป็นประโยชน์กับครูผู้สอนและผู้ปกครอง
นักเรียนอาจได้รับประโยชน์ด้วย แต่จุดประสงค์หลักนี้คือเพื่อครูที่จะสอนวิชานี้ครับ
รายการนี้ผมจะอัพเดตเรื่อยๆ เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 บางทีข้อมูลอาจจะยังไม่ครบถ้วน หรืออาจมีข้อผิดพลาด ท่านใดมีข้อแนะนำขอความกรุณาทิ้งคอมเมนต์ไว้หรือติดต่อผมที่ mocksk@gmail.com ครับ ขอบคุณครับ
http://celt.li.kmutt.ac.th/km/index.php/pr4cs2017/
ถามจริงๆ ไม่แซะ ไม่แขวะ นะครับ
ทุกโรงเรียนในไทย มีคอมพิวเตอร์ใช้งานแล้วหรอครับ?
กล้าพูดได้ว่า "ต้องมี" เพราะรบ.จัดงบให้ตั้งแต่สมัยทักษิณ ยุคแรกๆแล้วล่ะครับ ตอนนั้นมีดราม่าว่าบางโรงเรียนยังไม่มีไฟฟ้าใช้ แล้วมีงบคอมพิวเตอร์มาทำไม แต่จริงๆในอีกแง่ ทำให้โรงเรียนที่บ่นแบบนั้น ได้งบจัดหาระบบไฟฟ้าห่างไกลเพิ่มเติมมาด้วย เพื่อให้ใช้กับคอมฯได้
โลกยุคใหม่แล้วนะครับ โรงเรียนตจว.ขนาดเล็กยุบ ควบ รวมกันไปเยอะแล้ว ที่ยังเหลือก็ได้งบมารวมๆกันสบายเลย(แบบนักเรียนไม่ถึงร้อยคน แต่ได้งบพื้นฐานเท่า1โรงเรียนปกติ) โรงเรียนบนดอยที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึงก็เหลือน้อยมากๆ ก็ยังมีไฟฟ้าจากระบบอื่นทดแทนบางส่วน(เพื่อนผมไปบรรจุที่อ.อมก๋อย แรกๆก็บ่นเรื่องสัญญาณมือถือไม่ค่อยมี มีแค่บางจุด แต่ไม่ใช่ไม่มีระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเลย แต่ผ่านไปหลายปีมีสัญญาณกันเยอะแล้ว เล่นเนท4Gได้ด้วย) อาจจะไม่100% แต่คนละเรื่องกับยี่สิบปีที่แล้ว
จะว่าไป 4G นี่ทำให้ internet เข้าถึงทุกพื้นที่ห่างไกลง่ายกว่าเดิมจริงๆ
ขนาดบ้านผมที่ตจว.ห่างจากอ.เมืองเกือบร้อยกิโลเมตร มีinternet fiber 100Mbps ใช้แล้วครับ
ขอบคุณครับ
คำว่า "ต้องมี" งั้นก็แสดงว่า ยังมีที่ "ไม่มี" สินะครับ
ในคำถามที่ผมถามคือ "เครื่องพีซี"
ที่ควรจะประจำในโรงเรียนทุกโรงเรียนที่เปิดสอนวิชาบังคับนี้
และคงต้องมีจำนวนมากพอสมควรที่จะใช้สอนและให้นักเรียนเรียนได้
4G หรือ Internet ต่อให้เข้าถึงทุกพื้นที่ได้
แต่ถ้าไม่มีพีซีไว้ใช้สอนตามหลักสูตรนี้
จะเกิดประโยชน์อะไร?
คงไม่ใช่ให้เด็กเขียนโปรแกรมบนมือถือนะครับ?
มันเลยเป็นที่มาของคำถามครับ
ว่ามีพีซีในทุกโรงเรียนแล้วหรือ?
ถ้าไม่มี ก็แปลกแล้วไงครับ เพราะงบประมาณไปนานแล้วเป็นสิบปี ถ้ามีโรงเรียนไหนยังไม่มี ต้องมีคำตอบกับกระทรวงว่าทำไมมันไม่มีครับ ถ้าโรงเรียนไหนตกหล่น หรือมีข้อจำกัดจริงๆเช่นไม่มีไฟฟ้าใช้ ก็ต้องจัดหางบประมาณเพิ่มครับ(เครื่องปั่นไฟ หรือพลังงานแสงอาทิตย์ จริงๆใช้ notebook เครื่องหลักพันก็ยังได้)แต่ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะไม่สอน หรือบอกไม่ให้โรงเรียนอื่นสอนวิชานี้
อีกอย่างด้วยเนื้อหาวิชา จริงๆเน้นหลักการคิดอย่างเป็นกระบวนการ แม้แต่การใช้สื่อการสอนอื่นๆก็ทำได้ แต่อาจไม่ง่ายเท่าใช้โปรแกรมจริงๆเท่านั้นเอง
หลักสูตรมันควรจะเขียนตามสิ่งที่มัน "ควรจะมี" อยู่แล้วนะครับ โรงเรียนไหนไม่มีพีซีก็ต้องบริหารจัดการเอา รัฐบาลจะช่วยสนับสนุนในวิธีไหนก็ว่ากันไป แต่ถ้าจะให้รอว่าทุกโรงเรียนมีพีซีครบ 100% แล้วค่อยออกหลักสูตร เด็กๆในโรงเรียนที่เค้าพร้อมแล้วเค้าก็เสียโอกาสตรงนี้ไปเหมือนกันนะครับ
ขอบคุณทั้งสองท่านข้างบนครับผม
แต่ผมเข้าใจคุณนะ ประเด็นมันไม่ใช่ว่าต้องมีหรืออะไร ประเด็นคือในความเป็นจริงในทางปฏิบัติ แม้จะ "ต้องมี" แต่มันก็ยังไม่มีไง
เด็กไทยต้องมีหลายอย่าง ออกแบบกันไว้เยอะ วางแผนกันไว้เยอะ แต่พอเอาเข้าจริงมันไม่มี
รถไฟฟ้าในกรุงเทพที่บอกว่าให้เอกชนประมูลแล้วราคาจะถูกลง ลดการกีดกัน ลดการผูกขาด เกิดการแข่งขันอย่างเสรี บำรุงรักษาดีกว่ารัฐบาล ... ไปดูความจริงกันสิครับ
แต่มันไม่ใช่ว่าทางปฏิบัติห่วยแล้วจึงไม่ควรทำไงครับ ยิ่งในทางปฏิบัติห่วยยิ่งต้องผลักดัน แต่ต้องเป็นการกระทำอย่างรัดกุม รอบคอบ เป็นระบบ
เข้าใจว่ามันเป็นคนละปัญหากัน แต่มันเกี่ยวเนื่องกัน และมันส่งผลกระทบต่อกัน อีกเรื่องคือการขาดผู้สอน แบบที่ลงข่าวกันว่าครูในโรงเรียนต้องลงขันกันจ้างครูเพิ่มอีกคนในราคาสี่พันถึงห้าพันบาท กรณีแบบนี้ก็ "ต้องมี" เช่นกัน แต่ในทางปฎิบัติมันไม่มี
ถ้าแก้ปัญหาแยกกันแบบดันทีละเรื่อง ไม่แก้แบบบูรณาการ ผลที่ออกมาก็จะเรื้อรังแบบนี้แหละ
รถไฟฟ้าในกรุงเทพที่บอกว่าให้เอกชนประมูลแล้วราคาจะถูกลง ลดการกีดกัน ลดการผูกขาด เกิดการแข่งขันอย่างเสรี บำรุงรักษาดีกว่ารัฐบาล ... ไปดูความจริงกันสิครับ
ผมเห็นว่า bts ดีกว่า arl มากนะครับ ฮ่า
เป็นจริงตามนั้นครับ ถึงบีทีเอสจะไม่ได้ดีมาก แต่ก็ดีกว่า ARL แน่ๆ ครับ เริ่มตั้งแต่แนวคิดการแยกเป็นสองสายตั้งแต่แรกที่ดูเหมือนไม่ได้มีการ research มาก่อน หรือการที่เป็นจุดเชื่อมต่อไปสนามบินแต่ไม่มีบันไดเลื่อนให้ใช้นี่ก็ด้วย
การเอาของที่ห่วยกว่ามาเทียบกับของที่ห่วย ไม่ได้ทำให้ของที่ห่วยกลายเป็นของดีขึ้นมาครับ คือเราต้องใช้ mentality แบบที่ต้องเอาสิ่งห่วยๆ สิ่งหนึ่งไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่ด้อยกว่าในความรู้สึกของเรา เพื่อให้ตัวเองรู็สึกดีเหรอครับ?
ผมว่าเราควรมีเป้าหมายนะ ว่าสิ่งดีๆ ที่เราต้องการมันควรเป็นยังไง แล้วก็ benchmark กับเป้าหมายที่เราวางไว้ ถ้าต้องเปรียบเทียบ BTS กับ ARL ผมว่ามันเหมือนปลอบใจตัวเองครับ เพราะ BTS สามารถดีได้มากกว่านี้ แม้จะมี ARL หรือไม่ก็ตาม
งงว่าทำไมไม่เทียบกับญี่ปุ่นที่มันเป็นตัวอย่างที่ดี แต่เอาไปเทียบกับ ARL ฮ่าๆๆๆๆๆ บ้านเราเจริญดีนะครับ
พอจะเอาแอปเปิ้ลมาเทียบกับแอปเปิ้ล คุณก็ดันเอาส้มมาเปลี่ยนซะงั้น ถ้าจะวิจารณ์อะไรสักอย่างที่มันอยู่ในบริบทเดียวกันมันก็น่าจะถูกต้องแล้วนะครับ การตั้งเป้าหมายหรือ benchmark เป็นเรื่องที่ดี แต่การคุยกันก็ต้องดูด้วยว่าในบริบทอะไร
เรื่อง BTS กับ ARL มันเป็นตัวอย่างที่ค่อนข้างชัดเจน แม้ว่า BTS มันจะยังดีไม่สุดหรือยังแย่อยู่ แต่จากการเปรียบเทียบในสภาพแวดล้อมที่ใกล้เคียงกันก็พอทำให้เห็นความต่างได้แล้วนะครับ
ผมไม่รู้จะเทียบกับของห่วยๆ ทำไมอ่ะครับ?
ผมให้ตั้งเป้าหมาย คุณก็จะย้อนไปเทียบกับของที่มีอยู่ ถ้าจะเทียบกับของห่วยๆ ให้รู้สึกดี ผมมีตัวอย่างอีกเยอะครับ
ทำไมเวลาจะทำอะไรให้ดี ถึงต้องมีคนคอยปลอบใจด้วยการบอกว่า "ก็ยังดีกว่าของที่ห่วยกว่า" ด้วยอ่ะครับ
ประเทศเราไม่ไปไหนเพราะคิดว่าทุกอย่างต้องเป็นบริบทสังคมไทยนี่แหละ มันเป็นความคิดที่ค่อนข้างอนุรักษ์นิยมมากเลยครับ
ผมว่าที่คุยกันก็คุยกันจากประเด็นที่คุณยกขึ้นมาเองนะครับ
"รถไฟฟ้าในกรุงเทพที่บอกว่าให้เอกชนประมูลแล้วราคาจะถูกลง ลดการกีดกัน ลดการผูกขาด เกิดการแข่งขันอย่างเสรี บำรุงรักษาดีกว่ารัฐบาล ... ไปดูความจริงกันสิครับ" ซึ่งพอมีการเอา ARL มาเทียบคุณก็ชิ่งไปที่ประเด็นอื่น
ถ้าจะพูดเรื่องที่ว่ารถไฟไทยมันยังต้องพัฒนาให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ตรงนั้นผมก็เห็นด้วยและมองไปในแบบที่คุณมอง ไม่ได้รู้สึกดีในหลายๆ อย่างแบบที่มันเป็นอยู่ ซึ่งถ้าหากคุณยังไม่เข้าใจประเด็นที่ผมกับคุณ Nozomi กำลังคุยกับคุณอยู่ ก็ขอจบการสนทนาไว้เพียงเท่านี้ครับ
วิชาคอมควรสอน โรงเรียนจะมีคอมไม่มีคอม จบไปทำงานพนักงานออฟฟิศเงินเดือนหมื่นต้นๆก็ต้องนั่งทำใช้คอมแล้ว บางบริษัทให้พนักงานในไลน์คีย์ใบงานด้วยคอมด้วยซ้ำ ตอนนี้สายอาชีพในห้องแอร์่่โง่คอมสุดที่ได้สัมผัสมาคือข้าราชการครูับ เอกชนอยู่ในห้องแอร์นิแทบไม่มีใครใช้ word excel ไม่เป็นละ ถ้าหลักสูตรมันบังคับให้มีคอมเดี๋ยวมีคนหาคอมมาให้ได้ เขียนโปรแกรมมันดีครับต่อให้เรียนแบบโง่ๆไปไม่ได้ภาษาคอมเลยได้วิธีคิดแบบคอมก็เอามาต่อยอดวิชาคณิต วิชาฟิสิกส์ หรือวิชาภาษาอังกฤษยังได้เลย งานนี้จะล้มเหลวอย่างเดียว อาจจะเพราะศักยภาพของครูนี้แหละครับ ลงทุนจ่ายตั้งเดือนละ 4000 แหละ จะหวังอาจารน์เก่งไปมารับเงินสอนนักเรียนจริงหรอ เป็นผมยังไม่ไหวเลยไม่พอจ่ายค่าบ้านเลย =∆=
ฝึกกระบวนการคิดดีออก ไม่เห็นต้องพึ่งคอมฯเลยด้วยซ้ำ ทำเป็นการ์ดเกมก็ยังได้ เหมือนพวกเกมแก้ปริศนา แต่ต้องแก้อย่างเป็นระบบ
ใช่ครับ แบบเรียนสำหรับประถมต้น เป็นเช่นนั้นเลย เขียนโปรแกรมโดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่ากิจกรรม unplugged
REVIEW หนังสือ วิทยาการคำนวณ ชั้น ป.1 ของ สสวท. โดย ครูน้ำ สอนลูกเขียนโปรแกรม by Dek-D.com
https://school.dek-d.com/blog/วิทยาการคำนวณ/review-หนังสือ-วิทยาการคำนวณ/
ผมไม่ห่วงเด็ก เพราะผมมั่นใจว่าเด็กรับได้อยู่แล้ว
มันเป็นแค่กระบวนการคิด มันเป็นคณิตศาสตร์อย่างนึง
มองบางมุมมันก็เหมือนเล่นเกมส์ด้วย
ผมเป็นห่วงแค่บุคลากรผู้สอนเท่านั้นแหละ ยังมีไม่เพียงพอต่อจำนวนโรงเรียนทั่วประเทศ
รวมถึงต้องเข้าใจหลักสูตรและวิธีอธิบายให้เด็กเล็กๆเข้าใจ
อยากให้มีเพิ่มวิขาจิตวิทยา อยู่ในหมวดคอมพิวเตอร์จัง เพราะจากที่สัมผัสวงการนี้มา ถ้า AI สมบูรณ์เมื่อไหร่ อาชีพ Coding จะถูกลดลง แทนที่ด้วยนักวิเคราะห์ความสัมพันธ์ข้อมูล แล้วให้ AI สร้างหน้าจอให้อัตโนมัติ ซึ่งอาชีพนี้ต้องใช้จิตวิทยาสูงในการทำอย่างไรให้ผู้ใช้สื่อสารกับ AI โดยไม่ติดขัดและต่อเนื่อง แต่อย่างว่าสุดท้าย AI ก็จะเรียนรู้เรื่องพวกนี้ได้เอง แล้วก็ตกงานกันทั้งวงการ 555
ไกน ๆ จะสอนเด็กเขียนโปรแกรมแล้ว อยากให้เด็กนักเรียนได้ใช้เครื่องคิดเลขทั้งตอนเรียนและตอนสอบได้แบบเด็กตะวันตกสักที ผมเกลียดวิชาเคมีคำนวนเพราะตัวเลขมันเยอะนี่แหละ แต่ฟิสิกส์นี่ชอบเพราะส่วนมากเลขลงตัว
ว่าแต่วิชาที่บังคับให้เด็กเรียนจะเยอะไปไหม
ไม่รู้จะดีใจหรือเสียใจที่ทำให้เด็กแว๊นเพิ่มขึ้นรึเปล่า (ไม่อยากเรียน)
ขอบคุณ blognone ที่ช่วยเป็นกระบอกเสียงเรื่องนี้นะครับ ผมได้รวบรวมความคิดเห็นจากในนี้และในที่อื่นไว้ในเอกสาร Google Doc พร้อมข้อสังเกต และเขียนแนวทางการชี้แจงไว้แล้ว ตัดสินใจเผยแพร่เป็นสาธารณะครับ
https://docs.google.com/document/d/1aRhHPWO7BxLtaV8V0OHfGKXAsohZsqofIlgJewMKFG8/edit?usp=sharing
หมายเหตุ: ผมเป็นหนึ่งในผู้ร่วมยกร่างหลักสูตรและร่วมเขียนแบบเรียนชั้นประถมศึกษา แต่ข้อความในนี้เป็นความคิดเห็นของผมคนเดียว และไม่ใช่ของสถาบันใดทั้งสิ้นครับ
การเรียนแต่ละอย่างมันก็มีช่วงที่เหมาะสมของมัน
ช่วง ป.1-ป.3 ควรเป็นเรื่องของภาษาและสังคม อ่านหนังสือยังไม่ออกจะเรียนได้ไง? รอไม่เป็นรึไง?
หรือจะให้ครูคอมอ่านให้เด็กฟัง? แย่งเวลาครูภาษาไทยแล้วได้อะไร
เอาเวลาไปฝึกอ่านเขียนฟังพูดให้แตกฉานก่อนเถอะ
ช่วง ป.4-ป.6 ควรเริ่มวางฐานคณิตศาสตร์ คำนวนพื้นฐานยังไม่ได้ จะรีบเขียนโปรแกรมไปเพื่อ?
หรือจะให้ครูคอมสอนเลขไปด้วย
ช่วง ม.1-ม.3 จะใส่วิทยาการคำนวณเป็นวิชาบังคับก็ใส่ตอนนี้ เออพร้อมแล้ว อ่านออก คิดเลขเป็น จัดมาแรงๆ
ช่วง ม.4-ม.6 เด็กที่ไม่สนใจการเขียนโปรแกรม อย่าไปบังคับเขา และฝั่งผู้งานใช้ก็สำคัญไม่แพ้กัน
แทนที่จะบังคับปลาให้บินได้ ให้เขาได้ว่ายน้ำอย่างที่เขาถนัดเถอะ
ดังนั้นการเรียนวิทยาการคำนวณตั้งแต่ ป.1 เป็นเรื่องที่โง่มาก
กี่วิชาแล้วที่ยัดเข้าไปแล้วไม่ได้อะไรกลับมาเลย
ไม่ต้องเรียนมันทุกปี ตั้งแต่ ป.1
หรือใช้กระบวนการคิดทางวิทย์ก็เพียงพอแล้ว
ชื่นชมคุณผนวกเดช (iammock) มากเลยครับ พยายามมาตอบแทบทุกความเห็น สารภาพว่าอ่านข่าวแว่บแรกก็สบถออกมาเหมือนกันว่าทำย้าอะไรอีกเนี่ย แต่พอตามอ่านความเห็นต่าง ๆ โดยเฉพาะความเห็นคุณผนวกทำให้เข้าใจมากขึ้น เห็นถึงความตั้งใจดี มีกระบวนการที่เป็นรูปธรรม มีการเตรียมการมาอย่างยาวนาน เลยตั้งใจมาโพสบอกว่าขอเป็นกำลังใจเล็ก ๆ ให้นะครับ
แต่ก็นั่นแหละครับ ต้องเข้าใจว่าหลายสิบปีที่ผ่านมา การศึกษาไทยมันไม่ไปไหนเลย มีแต่จะแย่ลงอีกต่างหาก ก็คงจะเปลี่ยนทัศนคติคนไทยยากอยู่นะครับ
โดยส่วนตัว ตอนนี้ผมห่วงอย่างเดียว ห่วงครูที่จะนำสิ่งเหล่านี้ไป implement ครูผู้ถ่ายทอดความรู้เหล่านี้คุณภาพแย่ลงมากในระยะสิบยี่สิบปีที่ผ่านมา (พวกเจนใหม่) ผมห่วงว่าครูพวกนี้แหละที่จะไม่สามารถหรือไม่คิดที่จะรับสิ่งเหล่านี้เข้าหัวนะครับ ซึ่งผมคิดว่าการจะแก้การศึกษาไทยให้ดีขึ้น ควรไปแก้ที่การผลิตครูออกมาด้วยครับ ทุกวันนี้มันล้นตลาด ครูคุณภาพต่ำ (เมื่อเทียบกับเมื่อสามสิบปีก่อน) แย่งงานกัน เงินเดือนน้อย คนเก่งไม่อยากมาเรียนครู คนเป็นครูมาสอนไปวัน ๆ ไม่พัฒนาตัวเอง หน้าที่ก็ไม่ได้มีแค่สอน สร้างระบบวัดบ้าอะไรไม่รู้ขึ้นมามากมายจนครูไม่มีเวลาให้นักเรียน ไหนจะ ผอ. ห่วย ๆ ที่แค่ไปเรียนโทมาก็จบมาเป็น ผอ. ได้ ฯลฯ
ผมว่ามันพังทั้งระบบอะครับ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!