ตามที่เราเรียนกันมา หรือเชื่อกันมา ว่าการรับประทานวิตามินและอาหารเสริมเกลือแร่ต่างๆ จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพิ่มเติมจากที่ได้รับจากมื้ออาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน และทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหรือมีอาการเจ็บป่วย ทว่าผลการวิจัยศึกษาพบว่ามันอาจไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอไป
งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล St. Michael's Hospital และ University of Toronto ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน Journal of the American College of Cardiology เมื่อสัปดาห์ก่อน
ทีมวิจัยได้ตรวจสอบข้อมูลที่มีอยู่เดิมเทียบกับกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่มในอังกฤษตั้งแต่เดือนมกราคมปี 2012 ถึงเดือนตุลาคมปี 2017 โดยพบว่าการกินวิตามินเม็ดอย่าง วิตามินดี, แคลเซียม, วิตามินซี หรืออาหารเสริมอื่นที่ผสมวิตามินหลากชนิด ไม่มีผลต่อการลดหรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบบหัวใจหลอดเลือด หรืออาการ หัวใจวาย, เส้นเลือดในสมองแตก หรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (premature death) ของกลุ่มผู้ให้ข้อมูลของงานวิจัยนี้
Dr. David Jenkins หัวหน้าทีมวิจัยกล่าวว่าทีมวิจัยประหลาดใจมากที่ข้อมูลสถิติชี้ว่าอาหารเสริมวิตามินหลากหลายรูปแบบที่มีวางจำหน่ายอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่มีผลช่วยลดความเสี่ยงจากอาการเจ็บป่วยดังที่กล่าวมา อย่างไรก็ตามก็ไม่พบว่าอาหารเสริมเหล่านี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยข้างต้นเช่นเดียวกัน
ผลการศึกษาพบว่าอาหารเสริมจำพวกกรดโฟลิก และอาหารเสริมวิตามินบีที่มีกรดโฟลิก อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคระบบหัวใจหลอดเลือดและอาการเส้นเลือดในสมองแตกได้ ในขณะที่สารไนอาซินและสารต้านอนุมูลอิสระ ส่งผลกระทบเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในระดับน้อยมาก
การศึกษาของงานวิจัยนี้ครอบคลุมอาหารเสริมวิตามินหลายตัว ทั้งวิตามินเอ, วิตามินบี 1, วิตามินบี 2, วิตามินบี 3 (ไนอาซิน), วิตามินบี 6, วิตามินบี 9 (กรดโฟลิก), วิตามินซี, วิตามินดี, วิตามินอี, บีตา-แคโรทีน, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, สังกะสี, แมกนีเซียม และซีลีเนียม ซึ่งอาหารเสริมหลายตัวที่ถูกนำมาประเมินข้อมูลการวิจัย อาจมีวิตามินและเกลือแร่หลายอย่างผสมรวมอยู่ในตัวเดียวกัน
Dr. David Jenkins กล่าวโดยสรุปว่านอกเหนือจากกรดโฟลิกที่มีปรากฏข้อมูลบ่งชี้ว่าช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและอาการเส้นเลือดในสมองแตกอย่างมีนัยสำคัญแล้ว ระดับสุขภาพของผู้คนส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคุณภาพและสารอาหารที่ได้รับผ่านการรับประทานอาหารจริงเป็นหลัก
"จนถึงขณะนี้, ไม่มีงานวิจัยเกี่ยวกับอาหารเสริมใดที่แสดงให้เราเห็นว่าจะมีอะไรดีไปกว่าการรับประทานอาหารที่เสริมสร้างสุขภาพอย่างจริง โดยลดการบริโภคอาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป รวมทั้งการรับประทานผัก, ผลไม้ และถั่ว"
ที่มา - MedicalXpress
Comments
อาหารเพิ่มมูลค่าฉี่ เพราะอะไรที่เกิน (โดยเฉพาะวิตามิน) จะถูกขับออกมาทางนี้หมด
แต่ตอนที่กินวิตามินซีมันเห็นผลสำหรับผมนะ กินยาปีกว่าๆ ช่วงเวลานั้นไม่เคยป่วยแม้แต่ออดๆแอดๆอะไรเลย เคยมีสองครั้งที่รู้สึกเหมือนจะเป็นไข้ นอนตื่นเดียวก็หายเลย ภูมิต้านทานเป็นเลิศจริงๆ
พอรู้สึกว่าน่าจะเป็นไข้ผมก็จัด น้ำฝรั่ง หรือน้ำส้มด่วนๆ กินยาแก้หวัด เป็นอาทิตย์ไม่หาย กินน้ำฝรั่ง วันสองวันหาย ลองดูและกันครับสำหรับผมหาย
ผมก็ทำแบบนี้ครับ ถึงไม่หายแต่ก็จะเป็นไม่หนักมาก ผมกินเป็นลูกๆเลยอ่ะชัวร์ดี แต่ตอนที่กินวิตามินซีนี่คืออาการแทบไม่มี ตากฝนลุยแดดไม่กลัวป่วยเลยครับ อาจจะรู้สึกว่าเปลืองหน่อย แต่กระปุกนึงกินได้หลายเดือน ลงทุนกับสุขภาพก็โอเคดีครับ
บางคนเค้ากินแล้วผิวพรรณดีขึ้นนะ แต่อันนี้ผมน่าจะเกินเยียวยาละ ไม่เห็นผลใดๆ ถถถถถถ
ผมก็รู้สึกว่า vitamin c มีผลเหมือนกัน (ส่วนตัวกินอยู่อย่างเดียวนี่แหละ) เวลารู้สึกไม่ค่อยสบายน้ำมูกไหล กินแบบเคี้ยว 500mg เม็ดนึง สักพักจะรู้สึกอาการดีขึ้นเลย (แต่ก็ไม่ทุกครั้งนะ)
แม่ผมนี่ ช่วงเวลาจะหน้าฝน หรือจะหน้าหนาวจะทำน้ำส้มคั้นให้ลูกเป็นประจำ
ช่วยได้จริงๆนะ ไม่ใช่ในแง่รักษาแต่เป็นเชิงป้องกัน
โชคดีที่ประเทศไทย
ปลูกและหาพืชผักผลไม้กินง่าย
ได้สารอาหารครบถ้วน
ป.ล.
เคยอ่านงานวิจัยเรื่องความสมดุลแห่งโอเมก้า
หากโอเมก้า 3 ต่อโอเมก้า 6 เป็น 1-1 หรือ 1-3
โอกาศเป็นโรคหลอดเลือด โรคความดัน และโรคหัวใจน้อยมากๆ
อยากรู้ว่างานวิจัยศึกษายังไง ถ้าเอาวิตามินไปให้คนที่กินสารอาหารครบ แล้วสรุปผลมันก็คงไม่มีผลอะไรหรอกเพราะร่างกายเรารับวิตามินได้จำกัดส่วนเกินก็เสียเปล่า ถ้าให้คนขาดสารอาหาร กินกับไม่กินแล้วสรุปผลอันนี้ล่ะ ok
+1
ผมว่าการวิจัยนี้เขาต้องการเจาะจงแบบนั้นเลยครับ เพื่อคลายข้อสงสัยว่าถ้าคนสุขภาพแข็งแรง มีวิตามินในร่างกายครบถ้วนกินพวกวิตามินเม็ดเข้าไปจะมีผลอะไรมั้ย
เพราะปกติแล้ว วิตามินเม็ดจะใช้สำหรับคนที่ขาดวิตามินนั้น ๆ ครับ แต่ไม่ได้ให้คนที่มีวิตามินครบอยู่แล้วกินเข้าไปเพิ่ม
ซึ่งจริงๆ คนทั่วไปก็ควรจะเข้าใจได้ว่า ถ้าอะไรพอแล้วก็พอแล้ว เอาไปใช้มากกว่านั้นไม่ได้แล้ว (แต่ก็ไม่ค่อยจะคิดกันแบบนั้น)
เพราะที่อาหารเสริมบูมนักบูมหนามันเกิดขึ้นเพราะว่า คนส่วนใหญ่ (เชื่อว่า/อาจเป็นความจริงว่า) บริโภคอาหารเองได้ไม่ครบถ้วน ด้วยวิถีชีวิต
ใช่ครับผมเห็นคนปกติบางคนกินยังกะคนป่วยใกล้ตาย วิตามินเป็นกระเป๋าเลย ความจริงต้องกินที่ขาดอย่างผมผิวตรงเล็บลอกพอกินแล้วหายก็ลองกินๆหยุดๆในการใช้ชีวิตปกติหลายรอบว่ามีผลจริงถึงเลือกกินอยู่อันเดียว
ผมว่าส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการโฆษณาด้วยครับ ที่ดันไปส่งเสริมให้คนเข้าใจผิด เพราะจริง ๆ แล้ววิตามินพวกนี้ควรจะกินก็ต่อเมื่อหมอสั่งจะดีกว่า
ส่วนวิตามินกับอาหารทดแทนมันต่างกันอยู่แล้วครับ แต่ผมเห็นหมอส่วนใหญ่เขาก็จะแนะนำให้กินจากอาหารเป็นหลักก่อนนะ เว้นแต่บางคนที่ขาดมากจนไม่สามารถทดแทนจากการกินอาหารปกติได้เพียงพอ หมอถึงจะสั่งให้กินวิตามินเพื่อช่วยเสริมส่วนที่ขาด
ส่วนเรื่องอาหารเสริมนู่นนี่ คงนานาจิตตังล่ะครับอันนี้
ถ้าเทียบกับอาหารปกติ น่าจะมีข้อดีกว่าอย่างเดียวคือมันย่อยแล้วเอาใช้ได้ง่ายกว่า เร็วกว่า เช่นเวลาเพลียๆ พักผ่อนน้อย วิตามินบีสักเม็ดนี่ช่วยได้เยอะและแทบจะทันทีเลย
ผมกินวิตามินซีก็ไม่ได้หวังว่ามันจะช่วยเรื่องระบบหลอดเลือดหรืออาการทางหัวใจนะ คาดหวังทางเสริมสร้างภูมิคุ้มกันมากกว่า กินช่วงที่รู้สึกว่าไม่ค่อยได้กินผักผลไม้ เกินก็ช่างมัน
เคยทาน Zincยี่ห้อนึงช่วยเรื่องสมรรถภาพทางเพศได้ เพิ่มน้ำเชื้อด้วย แถมผมยังหนาขึ้นมีแต่คนทักว่าทำไมผมหนาจัง พอหยุดทานเรื่องทางเพศผมก็ไม่คึกคักเท่าที่ควรแถมน้ำเชื้อก็น้อย จะบอกว่าไม่มีผลก็คงไม่ใช้
เท่าที่ลอง มีในกรณีที่ขาดครับ ผมผิวลอกกินแล้วหาย แต่กินอันอื่นสังเกตดูก็ไม่ส่งผลอะไรเลย การวิจัยนี้น่าจะสำหรับคนปกติไม่ใช่กรณีคนขาดวิตามิน
ต้องถามกลับว่าในช่วงที่หยุดกินวิตามินนั้นคุณได้รับ zinc จากอาหารเพียงพอหรือเปล่า
ตอบเลยว่าไม่เพียงพอ ผมถึงต้องซื้อมาทาน ก็ข่าวพาดหัวว่าทานวิตามินเสริมแล้วไม่ได้ทำให้สุขภาพดีขึ้น ผมถึงต้องบอกว่าผมทานzinc แล้วดีขึ้น ถ้าผมทานปกติคงไม่ต้องซื้อมาทานหรอกราคาไม่ได้ถูก
ก็ไม่แปลกนี่ครับ เพราะคุณขาด zinc ซึ่งเมื่อเสริมด้วยอาหารเสริมมันก็เลยเห็นผล แต่หลายๆ คนซื้อมากินเพิ่มทั้งๆ ที่ได้รับจากอาหารการกินอย่างเพียงพออยู่แล้ว จนไปเพิ่มภาระให้ใตต้องขับออกมา จนได้ฉี่ราคาแพงออกมาครับ
ปล. ลองปรับอาหารการกินเพืิ่อให้ได้ zinc อย่างเพียงพอ จะได้ไม่ต้องซื้ออาหารเสริมครับ
จะรู้ได้ไงว่าครบเพียงพอ มีเครื่องมืออะไรมาวัดให้ดูง่ายๆ คุณรู้ได้ไงว่าคุณกินครบแน่นอนทุกวัน กินไอ้นั่นกี่กรัม กินไอ้นี่กี่กรัม ไอ้ความไม่รู้เช่นนี้แหละ ที่ทำให้อาหารเสริมขายได้ วิตามินรวมวันละเม็ด ก็ช่วยให้มั่นใจว่าครบถ้วนแน่ คิดแบบนี้ ก็สามารถกินอาหารตามใจปากได้ ไม่ต้องกังวลแล้ว
กรดโฟลิค => กรดโฟลิก
ตุลาตม => ตุลาคม
แทบที่มีวางจำหน่าย ?
แก้แล้วครับ ขอบคุณครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
น่าจะเปลี่ยนพาดหัวข่าวใหม่ เพราะงานวิจัยชี้ชัดว่าโรคหัวใจหลอดเลือด ไม่เกี่ยวกับคนทั่วไปที่ปรกติ แล้วมีผลทำให้ หรือทำไม่ให้ร่างกายแข็งแรง อ่านแล้วคลุมเครือระหว่างพาดหัวกะเนื้อหา
ปรับพาดหัวข่าวแล้วครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
มีความรู้สึกว่าต้องอ่านวิจัยฉบับเต็มของเขาอะครับ
เท่าที่อ่านดูเค้า focus ที่การได้อาหารเสริมกลุ่มต่างๆ นั้นมีผลอย่างไรต่อ cardiovascular disease, heart attack, stroke or premature death. (ในแง่เป็นข้อดี,เป็นความเสี่ยงหรือป้องกัน) กลุ่มโรคดังกล่าว โดย review paper ที่ตีพิมพ์มาตั้งแต่ 2012-2017
ดังนั้นผมคิดว่าจะเอามากล่าวหัวข้อข่าวว่าเป็นเรื่องผลของวิตามินอาหารเสริมมีผลต่อสุขภาพโดยทั่วไปนี่ไม่น่าจะได้
แต่ถ้าจะพูดถึงเรื่องผลชองวิตามินอาหารเสริมที่มีต่อเฉพาะเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดนี่น่าจะได้
ค้นเจอฉบับเต็มแล้วครับ
http://www.onlinejacc.org/content/71/22/2570
Supplemental Vitamins and Minerals for CVD Prevention and Treatment
ด้วยภาษาอังกฤษอันอ่อนด๋อย ขอแปะลิงค์ไว้ให้ท่านที่สนใจแล้วกันนะครับ
ปรับพาดหัวข่าวแล้วครับ
ช่างไฟสมัครเล่น (- -")
อาหารเสริม ชื่อก็บอกว่าเสริม เหมาะกับคนที่กินแล้วสารอาหารไม่ครบ กินเสริมเข้าไปในส่วนที่ขนาด เพราะยังไงร่างกายก็กำจัดสารอาหารส่วนเกินออกมาอยู่แล้ว ยกเว้นพวกที่ให้พลังงานอย่าง โปรตีน ไขมัน คาร์โบ ที่เก็บสะสมไว้
The Dream hacker..
ไม่เคยทานอาหารเสริมเลยครับ เงินจะทานอาหารหลักยังไม่มีเลยครับ
ถ้าเลือกเมนูอาหารหน่อย (ที่ไม่ทำร้ายสุขภาพมากนัก) วิตามินเหล่านั้นส่วนใหญ่ก็อยู่ในอาหารที่เรากินกันในแต่ละวันอยู่แล้ว ควรกินเมื่อขาดก็พอ เช่น คนที่ชอบกินเนื้อสัตว์แต่ไม่ชอบกินผักผลไม้เลย
อาหารเสริมบางตัวก็เขียนไว้อย่างดีว่าช่วยเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ในความเป็นจริงคือ ให้ผลน้อยมาก ๆ จนแทบไม่มีผลอะไรเลย บางทีน้อยกว่า 1 เปอร์เซ็นต์ด้วยซ้ำไป (ซึ่งก็ไม่ถือว่าโกหกอะไร) บางกรณีกินแล้วได้ผลจริงเพราะผู้ผลิตใช้หลักการ "ยาหลอก" คือสื่อสารให้ผู้บริโภคเชื่อว่าดีจริง เมื่อสมองเชื่อว่าได้ผลมันก็จะได้ผล! (เรื่องยาหลอกนี่ มีงานวิจัยรองรับและผ่านการพิสูจน์ซ้ำมากมายว่าได้ผลจริง) บทสรุปจากในข่าวที่ว่า "ระดับสุขภาพของผู้คนส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับคุณภาพและสารอาหารที่ได้รับผ่านการรับประทานอาหารจริงเป็นหลัก" ก็เชื่อถือได้ครับ
"และทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหรือมีอาการเจ็บป่วย" "ไม่มีผลต่อการลดหรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบบหัวใจหลอดเลือด หรืออาการ หัวใจวาย, เส้นเลือดในสมองแตก หรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร (premature death)"
แค่นี้ก็เป็นคววามคิดที่ผิดแล้ว วิตามินไม่ได้รักษาโรค แต่มันช่วยเพิ่มบางอย่างในการที่เรากินอาหารปกติให้ไม่ได้ครับ
ให้ที่กินวิตามินเพือการรักษาคือคนที่ยังไม่เข้าใจการกินวิตามินครับ
จริงๆแล้ว พวก Antioxidants ทั้งหลายเช่น VitC และพวกวิตามินเช่น วิตามินบี Ca แทบไม่เคยเห็นเคลมเรื่องโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว จึงไม่แปลกใจเลย แต่ก็ไม่ใช่ว่าอาหารวิตามินตัวอื่นๆจะไม่มีประโยชน์ คือมันดีกับโรคอื่นแต่ไม่ใช่กับโรคหัวใจและหลอดเลือดไง ย่อหน้าสุดท้ายจึงสรุปแปลกๆ
ไม่แน่ใจในงานวิจัยระบุเรื่องหัวใจวายหรือไม่ เพราะ CVD, CHD จะไม่รวมถึงโรคหัวใจวายครับ แต่อ่านคร่าวๆไม่เจอ
แล้ว fish oil ล่ะ?
fish oil + garlic ไม่น่าจะกล้าทดสอบ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เอามาผสมในอาหาร หรือใส่ Equal ใน Fishoil น่าจะดี รสชาติแย่มาก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว