NVIDIA ประกาศความร่วมมือกับทีม Google Quantum AI เพื่อช่วยให้กูเกิลสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยให้ยืมซูเปอร์คอมพิวเตอร์ NVIDIA Eos ของตัวเอง รันซิมูเลเตอร์ จำลองการประมวลผลควอนตัมผ่านแพลตฟอร์ม CUDA-Q
ที่ผ่านมา กูเกิลมีงานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมมายาวนาน แต่การสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีจำนวน qubit สูงๆ และรันการประมวลผลต่อเนื่องไปนานๆ จะเริ่มเจอปัญหา noise เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถประมวลผลต่อได้ ถือเป็นข้อจำกัดสำคัญในการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมในปัจจุบัน
DeepMind ปล่อยโมเดลและโค้่ดสำหรับรัน AlphaFold 3 ปัญญาประดิษฐ์ทำนายโครงสร้างโปรตีนรุ่นล่าสุดที่ทำให้ทีมวิจัยได้รับรางวัลโนเบล
โค้ดสำหรับรันนั้นเป็นเปิดซอร์สแบบ CC-BY-NC-SA ห้ามใช้เพื่อการค้า สำหรับตัวโมเดลนั้นต้องส่งข้อมูลให้ทีมงานพิจารณา 2-3 วันทำการก่อนจึงดาวน์โหลดมาใช้งานได้ นอกจากตัวซอฟต์แวร์ที่สามารถนำไปรันได้เองแล้ว DeepMind ยังเปิดบริการ AlphaFold Server สำหรับการรันผ่านคลาวด์
นักวิจัยสามารถใช้งานเพื่อตีพิมพ์รายงานวิจัยจาก AlphaFold ได้ แต่ห้ามนำผลไปฝึกปัญญาประดิษฐ์อื่นๆ ต่อหรือใช้เพื่อการค้าอื่น
ฝ่ายวิจัยพื้นฐานปัญญาประดิษฐ์ของ Meta หรือทีม FAIR เผยแพร่งานวิจัยในการพัฒนา AI ที่สามารถรับรู้ผ่านการสัมผัส เพื่อให้นำไปใช้งานกับหุ่นยนต์ที่เลียนแบบความรู้สึกของมนุษย์ได้ โดยงานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือกับบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เซ็นเซอร์ GelSight และบริษัทหุ่นยนต์ Wonik Robotics
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเบิร์กลีย์ (UC Berkeley) ของสหรัฐอเมริกา ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์วัสดุชนิดใหม่ที่มีประสิทธิภาพกักเก็บคาร์บอนในอากาศได้ดีกว่าเดิม
เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน (carbon capture) ถูกพูดถึงมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อลดปริมาณ CO2 แก้ปัญหาเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอนในปัจจุบันยังทำงานได้ดีในการดูดคาร์บอนหนาแน่นจากแหล่งเดียว (เช่น ปากปล่องควันโรงงานผลิตไฟฟ้า) หากเราเอามากักเก็บ CO2 ตามท้องถนนทั่วไป มันยังทำงานได้ไม่ดีนัก
Luke Durant อดีตวิศวกร NVIDIA (ทำงานพัฒนา CUDA ตั้งแต่ปี 2010) พบจำนวนเฉพาะใหม่ (2^136,279,841) - 1 หรือ M136279841 เมื่อเขียนฐานสิบมีความยาวทั้งสิ้น 44 ล้านหลัก
กระบวนการพบเลขจำนวนเฉพาะขนาดใหญ่เช่นนี้ไม่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ธรรมดาได้ Luke พัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนชิปกราฟิกบนคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ รวมใช้ GPU นับพันตัว กระจายไปตามศูนย์ข้อมูล 24 แห่ง รวม 17 ประเทศ ใช้เวลาประมาณหนึ่งปี ชิป NVIDIA A100 ในไอร์แลนด์ก็รายงานว่าเลข M136279841 น่าจะเป็นจำนวนเฉพาะ จากนั้นใช้เวลาอีกหนึ่งวัน ชิป NVIDIA H100 ก็ยืนยันว่าเลขนี้เป็นจำนวนเฉพาะจริง
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล. หรือ KMITL) เปิดศูนย์วิจัยเซมิคอนดักเตอร์ KMITL Academy of Innovative Semiconductor Manufacturing (KAISEM) ทำหน้าที่เป็นห้องปฏิบัติการกลาง รวมผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ เช่น วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมระบบการผลิต และวิศวกรรมวัสดุ มาวิจัยเซมิคอนดักเตอร์ร่วมกัน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เซมิคอนดักเตอร์ของไทย
ในงานเปิดศูนย์ KAISEM ยังมีการเซ็นบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับบริษัท National Instruments (NI) ของสหรัฐ เพื่อนำเครื่องมือและความเชี่ยวชาญของ NI มาใช้ในการเรียนการสอนและการวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วย
มีงานวิจัยจากคณะนักวิจัยชาวจีน ทดลองนำ ChatGPT ไปทำโจทย์โปรแกรมมิ่งจำนวน 728 ข้อ ที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมยอดนิยม 5 ภาษา (C, C++, Java, Python, JavaScript) รวมถึงวิเคราะห์ช่องโหว่ CWE จำนวน 18 ช่องโหว่ แล้วมาประเมินว่าได้ผลลัพธ์ดีแค่ไหน
จากการประเมินของทีมวิจัยพบว่า ChatGPT ทำผลลัพธ์ออกมาได้ค่อนข้างดี (fairly good) ทำโจทย์ระดับง่าย กลาง ยาก ได้คะแนนผ่าน 89%, 71%, 40% ตามลำดับ
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของ ChatGPT คือทำโจทย์ที่เกิดขึ้นหลังปี 2021 ไม่ค่อยได้ โดยหลายครั้งถึงขั้นไม่เข้าใจคำถามเลยด้วยซ้ำ แม้ว่าเป็นคำถามระดับง่ายก็ตาม อัตราทำโจทย์สำเร็จระดับง่ายลดเหลือ 52% และอัตราทำโจทย์ระดับยากเหลือ 0.66%
สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น หรือ NICT รายงานผลการทดสอบร่วมกับสถาบันอีกหลายแห่ง ในการพัฒนาวิธีส่งข้อมูลผ่านไฟเบอร์ใยแก้วพาณิชย์ ด้วยความเร็วเป็นสถิติใหม่ 402 Tb/s โดยผลทดสอบนี้ถูกนำเสนอในงาน Optical Fiber Communication Conference 2024 ที่แซนดีเอโก
ระยะทางที่ใช้ในการส่งข้อมูลคิดเป็นระยะทาง 50 กิโลเมตร มีการใช้ตัวขยายสัญญาณ 6 ชนิด บนแบนด์วิธว่าง 37 THz เพื่อให้ได้ความเร็วในการส่งข้อมูลที่ระดับ 402 Tb/s ทำให้นอกจากได้ความเร็วที่สูงสุดใหม่ ยังขยายแบนด์วิธส่งข้อมูลเพิ่มอีกด้วย
Mayo Clinic รายงานถึงการพัฒนา RadOnc-GPT ผู้ช่วยวิเคราะห์โรคมะเร็งที่อาศัยข้อมูลการรักษามะเร็งในโรงพยาบาล Mayo Clinic เอง นำมา finetune โมเดล Llama 2 ของ Meta กระบวนการฝึกและการใช้งานทั้งหมดอยู่ในเน็ตเวิร์คของโรงพยาบาลเอง
Google DeepMind เปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์ AlphaFold 3 ที่เป็นปัญญาประดิษฐ์สำหรับการทำนายโครงสร้างของโมเลกุล หลังจากเปิดตัว AlphaFold 2 มาตั้งแต่ปี 2020 และใช้สร้างฐานข้อมูลโครงสร้างโปรตีนเมื่อปี 2022 เปิดให้นักวิจัยเข้าใช้งานได้ฟรี
ทาง DeepMind ระบุว่าจนถึงตอนนี้งานวิจัยที่อ้างอิงกลับมายัง AlphaFold มีจำนวนมากกว่า 20,000 รายงานวิจัย และถูกใช้ในการออกแบบวัคซีนมาลาเรีย, มะเร็ง, ตลอดจนการออกแบบเอนไซม์
ประมาณ 5% ของเคสผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม (metastatic) เป็นมะเร็งที่ไม่สามารถระบุต้นกำเนิดได้ ซึ่งมักจะพบโดยเจอเป็นเซลล์มะเร็งกระจายอยู่ในน้ำในช่องอกหรือช่องท้อง ทำให้การวางแผนรักษาทำได้ยาก การวินิจฉัยจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเปรียบเทียบลักษณะภาพเซลล์มะเร็งจากกล้องจุลทรรศน์อย่างละเอียด และต้องตัดชิ้นเนื้อจากอวัยวะต้องสงสัยหลายจุดของผู้ป่วยมาเทียบ
ในประกาศปรับโครงสร้างองค์กรรอบล่าสุดของกูเกิล นอกจากการรวมทีมซอฟต์แวร์ Android/Chrome และฮาร์ดแวร์เข้าด้วยกันเป็นฝ่าย Platforms and Devices ยังมีการเปลี่ยนแปลงฝั่ง AI ด้วยเช่นกัน
การเปลี่ยนแปลงนี้ต่อเนื่องจากการรวมทีม Google Brain กับ DeepMind เป็น Google DeepMind เมื่อ 1 ปีก่อน โดยกูเกิลโยกทีมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับบงาน AI เข้ามาอยู่ใต้ Google DeepMind ดังนี้
Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) หน่วยงานศึกษาวิจัยด้าน AI ของมหาวิทยาลัย Stanford ออกรายงานประจำปีดัชนีด้าน AI - Artificial Intelligence Index Report 2024 ซึ่งเป็นปีที่ 7 ของรายงานนี้ รวบรวมข้อมูลพัฒนาการของ AI จากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
ประเด็นที่สำคัญในรายงานปีนี้มีหลายอย่าง ซึ่งรวบรวมมาดังนี้
คนในแวดวงไอทีอาจรู้จักภาพ Lenna ที่นิยมใช้เป็นภาพทดสอบ image processing กันมายาวนาน ภาพต้นฉบับเป็นภาพถ่ายของนางแบบชาวสวีเดน Lena Forsén ในนิตยสาร Playboy ฉบับปี 1972 แล้วถูก Jamie Hutchinson อาจารย์ที่มหาวิทยาลัย University of Southern California หยิบมาใช้ในงานในเปเปอร์วิจัย เพราะเบื่อภาพถ่ายสต๊อกแบบเดิมๆ แล้ว แต่ก็ได้รับความนิยมและกลายเป็นมีมยุคก่อนอินเทอร์เน็ตที่ถูกใช้ต่อกันมาเรื่อยๆ
นักวิจัยของแอปเปิลเผยแพร่งานวิจัยของ MM1 ซึ่งเกี่ยวกับกระบวนการเทรนข้อมูลแบบผสมผสาน ว่าการเทรนข้อมูลแต่ละรูปแบบที่ต่างกัน ตลอดจนโครงสร้างโมเดล ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทดสอบ AI นั้นอย่างไร
ส่วนหนึ่งของงานวิจัยนี้พบว่าตัวเลือกวิธีเข้ารหัสรูปภาพ และความละเอียดของภาพที่ใช้เทรน มีผลกระทบมากต่อประสิทธิภาพของโมเดล มากกว่าการออกแบบส่วนเชื่อมต่อต่าง ๆ ของข้อมูล นอกจากนี้ยังพบโมเดลขนาด 30 พันล้านพารามิเตอร์ ตัวหนึ่งของ MM1 มีความสามารถในการเรียนรู้จากบริบทข้อมูลดีที่สุด รองรับการ prompt ที่ต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ ได้
คณะนักวิจัยจาก University of Shanghai for Science and Technology ในประเทศจีน พัฒนาเทคนิคการเก็บข้อมูลในแผ่นดิสก์แบบแสง (optical disc) ที่มีความจุสูงถึง 100TB ต่อด้าน
เทคนิคแบบใหม่ใช้สถาปัตยกรรมที่เรียกว่า 3D planar recording เป็นฟิล์มโปร่งใส สามารถเก็บข้อมูลได้ถึง 100 เลเยอร์ต่อด้าน (Blu-ray ในปัจจุบันได้ 4 เลเยอร์) รวมแล้ว 0.8 petabits หรือ 100 terabytes ต่อข้าง
ทีมวิจัยจากสถาบัน Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รายงานถึงผลทดสอบการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม LLM ว่าแม้จะมีข่าวว่า LLM สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างน่าทึ่งแต่ก็มีความผิดพลาดสูง ต้องระมัดระวัง
ทีมงานทดสอบการใช้งาน LLM โดยใช้โมเดล 4 ตัว ได้แก่ GPT-4, Claude 2.1, Mistral Medium, และ Gemini Pro เฉพาะ GPT-4 นั้นสร้างแอป retrieval augmented generation (RAG) ครอบอีกชั้นเพื่อทดสอบ โดยวัดว่าเวลาที่ LLM เหล่านี้ตอบคำถามแล้ว สามารถสร้างคำตอบโดยมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องหรือไม่
ระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์มีความซับซ้อนอย่างมาก ข้อมูลที่เรามีเกี่ยวกับการทำงานและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันยังไม่เพียงพอและกระจัดกระจาย เริ่มต้นปีใหม่ 2024 นี้ทีมนักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยที่นำโดย ดร. Hans Keirstead ผู้เชี่ยวชาญด้านสเต็มเซลล์ จึงได้ริเริ่มโครงการขนาดยักษ์ Human Immunome Project (HIP) เพื่อที่จะทำการทดลองเก็บตัวอย่างและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่ละเอียดที่สุดและมีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา
ทีมวิจัยจาก Children’s Hospital of Philadelphia (CHOP) ประกาศความสำเร็จในการรักษาอาการหูหนวกในเด็กอายุ 11 ปี หลักจากเริ่มกระบวนการรักษาเมื่อเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยตอนนี้อาการของคนไข้เหลือเพียงสูญเสียการได้ยินเล็กน้อยถึงปานกลาง คนไข้สามารถฟังเสียงพูดคุย, ได้ยินเสียงรถยนต์, หรือเสียงตัดผมของตัวเองได้
คนไข้รายนี้มีอาการหูหนวกแต่กำเนิดเนื่องจากยีน otoferlin (OTOF) กระบวนการรักษาอาศัยการผ่าตัดเข้าไปหูชั้นในรูปหอยโข่ง (cochlea) แล้วให้ยายีนบำบัด AK-OTOF เป็นการนำยีน OTOF ที่ปกติเข้าไปแทนยีนเดิมด้วยไวรัส (viral vector) เมื่อเซลล์ได้รับยีนนี้แล้วจะตอบสนองต่อเสียง และส่งสัญญาณประสาทตามที่ควรจะเป็น
ไมโครซอฟท์ร่วมมือห้องวิจัยแห่งชาติ Pacific Northwest National Laboratory (PNNL) ใช้งาน AI ร่วมกับเครื่องมือ HPC ค้นหาวัสดุชนิดใหม่ที่มาใช้กับแบตเตอรี่
โครงการนี้เป็นการคัดกรองวัสดุอนินทรีย์ที่มีศักยภาพ มากกว่า 32 ล้านองค์ประกอบ และได้ค้นพบอิเล็กโทรไลต์แข็งชนิดใหม่สำหรับโซลูชันการจัดเก็บพลังงานที่ปลอดภัยกว่าอิเล็กโทรไลต์ที่เป็นของเหลว ซึ่งอาจลดการใช้ลิเทียมในแบตเตอรี่ได้มากถึง 70%
ทีมนักวิจัยจากวิทยาลัยสาธารณสุขแห่งฮาร์วาร์ด หรือ Harvard T.H. Chan School of Public Health ได้เผยแพร่งานวิจัยในวารสาร PLOS One เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (27 ธันวาคม 2023) พบว่าโซเชียลมีเดียทำรายได้โฆษณาจากผู้ใช้เยาวชนในประเทศสหรัฐอเมริกาไปกว่า 1.1 หมื่นล้านเหรียญ
ที่มาของจำนวนรายได้ดังกล่าวมาจาก ทีมวิจัยประเมินจำนวนผู้ใช้โซเชียลมีเดียที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ประกอบไปด้วยผู้ใช้ Facebook, Instagram, Snapchat, TikTok, Youtube และ X
Zotero โปรแกรมช่วยค้นงานวิจัยที่เปิดให้ใช้งานฟรีเปิดตัวแอปแอนดรอยด์แล้ว หลังจากปล่อยเวอร์ชั่น iOS มาตั้งแต่ปีที่แล้ว อย่างไรก็ดีการเปิดตัวครั้งนี้ยังเป็นการทดสอบวงปิดเท่านั้น และฟีเจอร์ยังไม่ครบถ้วนนัก
ฟีเจอร์หลักๆ เช่น การซิงก์ข้อมูลกับเซิร์ฟเวอร์ ทั้ง PDF, โน้ตต่างๆ นั้นสามารถใช้งานได้ครบ แต่ฟีเจอร์บางส่วน เช่น การเซฟไฟล์จากเบราว์เซอร์, เพิ่มข้อมูลผ่าน QR, การสร้าง citation, และการซิงก์ WebDAV นั้นยังใช้งานไม่ได้
ทางโครงการเปิดให้คนทั่วไปทดสอบได้ แต่เป็นการทดสอบจำกัด 1,000 คนเท่านั้น และทีมงานเตือนว่าโปรแกรมยังไม่เรียบร้อย อย่าใช้งานระหว่างทำงานสำคัญ หรืออยากใช้จริงๆ ก็สำรองข้อมูลให้เรียบร้อยก่อน
แอปเปิลเผยแพร่งานวิจัยสองฉบับผ่าน arXiv ซึ่งเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับเทคนิคการประมวลผล AI ที่อาจถูกนำมาใช้งานกับผลิตภัณฑ์ของแอปเปิลได้ในอนาคต
งานวิจัยแรกชื่อว่า "LLM in a flash" เป็นวิธีการทำให้อุปกรณ์ซึ่งมีหน่วยความจำจำกัด เช่น สมาร์ทโฟน สามารถรันโมเดล AI LLM ที่มีพารามิเตอร์จำนวนมากได้ โดยใช้สองเทคนิคคือ windowing ใช้งานซ้ำ AI ที่ประมวลผลไปแล้วแทนที่จะต้องใช้ข้อมูลใหม่อีกรอบ และวิธี row-column bundling ใช้การอ่านข้อมูลเป็นส่วน ๆ แทนที่จะอ่านทีละคำ ซึ่งเหมาะสำหรับงาน LLM อยู่แล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ทำให้สามารถรัน AI LLM ที่ต้องการหน่วยความจำได้สูงถึง 2 เท่า ของหน่วยความจำที่มีอยู่
Google DeepMind เปิดตัวปัญญาประดิษฐ์สาย deep learning ตัวใหม่ชื่อ Graph Networks for Materials Exploration (GNoME ไม่เกี่ยวอะไรกับเดสก์ท็อป GNOME) สร้างขึ้นมาเพื่อค้นพบ "คริสตัล" หรือโครงสร้างผลึกชนิดใหม่ๆ ที่เป็นไปได้ในเชิงวัสดุศาสตร์ (material)
การมองหาคริสตัลรูปแบบใหม่ๆ เกิดขึ้นมานานแล้ว การทดลองของมนุษย์สามารถค้นพบได้ราว 20,000 รูปแบบ ภายหลังเมื่อนำเทคนิคทางคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย (Materials Project) สามารถค้นหาได้ 48,000 รูปแบบ แต่ AI แบบเดิมก็มีข้อจำกัดเรื่องความแม่นยำอยู่พอสมควร
XTX Markets บริษัทเทรดหุ้นประกาศตั้งกองทุนรางวัล Artificial Intelligence Mathematical Olympiad Prize (AI-MO Prize) มอบเงิน 10 ล้านดอลลาร์ให้กับผู้ที่สร้างปัญญาประดิษฐ์ที่ชิงเหรียญทองโอลิมปิกวิชาการสาขาคณิตศาสตร์ได้สำเร็จ
ปัญญาประดิษฐ์ที่จะได้รางวัลต้องรับโจทย์รูปแบบเดียวกับผู้เข้าแข่งขันปกติ และส่งคำตอบเป็นข้อความที่อ่านโดยกรรมการตรวจข้อสอบตามเกณฑ์คณิตศาสตร์โอลิมปิกตามปกติ
รางวัล AI-MO ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคณิตศาสตร์โอลิมปิกโดยตรง แต่จะร่วมมือกับผู้จัดการแข่งขันแต่ละรอบ โดยการแข่งครั้งแรกที่จะชิงรางวัลนี้คือการแข่งที่เมือง Bath ในอังกฤษ กลางปี 2024 นี้
ที่มา - AI-MO Prize