ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดย Adam Heller จาก University of Texas ได้ทำการตรวจสอบตัวอย่างตับอ่อนจากผู้บริจาคและพบความเกี่ยวโยงกันระหว่างผลึกของสาร Titanium Dioxide (TiO2) ซึ่งเป็นสารให้สีขาวสำหรับใช้ในอาหารและอาการเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes (T2D)) โดยจากการทดสอบตัวอย่างจำนวน 11 ตัวอย่าง ซึ่งนำมาจากผู้บริจาคสุขภาพดี 3 คน และผู้บริจาคที่เป็นโรค T2D 8 คน พบว่า ในตัวอย่างของผู้มีสุขภาพดี ตรวจไม่พบผลึก TiO2 ในขณะที่ตัวอย่างจากผู้ป่วย T2D ตรวจพบผลึกสาร TiO2 มากกว่า 200 ล้านผลึกต่อกรัมของ TiO2 ที่พบ
การค้นพบดังกล่าวสื่อให้เห็นว่า อาการของโรค T2D แท้จริงแล้วอาจเกิดจากอาการอักเสบเรื้อรังของตับอ่อนอันเนื่องมาจากผลึกของสารดังกล่าว ทั้งนี้ ทีมวิจัยวางแผนจะทำการตรวจสอบในกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่กว่านี้เพื่อยืนยันผลการค้นพบ
สำหรับสาร TiO2 เป็นอนุภาคสีขาวที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย โดยปัจจุบันการผลิตสารให้สีประมาณ 70% เป็นการผลิต TiO2 เพื่อใช้ให้สีและป้องกันรังสี UV มีอยู่ในผลิตภัณฑ์ตั้งแต่สีทาบ้าน ยาสีฟัน ครีมกันแดดไปจนถึงสีผสมอาหาร (รหัส INS171) ซึ่งพบในอาหารหลากหลายชนิด เช่น ลูกอม นม ชีส โดยเริ่มมีการนำมาใช้ในอาหารอย่างแพร่หลายตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 20 เพื่อทดแทนสีขาวที่มาจากอนุภาคตะกั่ว สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นอย่างมากของผู้ป่วย T2D ในช่วงครึ่งศตวรรษหลัง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิดโรคยังคงเป็นโรคอ้วนและความชราภาพ
ที่มา medicalxpress
Comments
คนดื่มนมปีละสามร้อยลิตรถึงกับสะดุ้ง
ถ้ายิ่งไปกินพวก low fat ยิ่งใส่เยอะครับ เพราะ skimmed milk จริงๆ เป็นน้ำใสๆ สีน้ำเงินจางๆ ก็เทอันเนี้ยใส่ไปให้มันขาว
ดีนะที่ผมดื่ม low fat แล้วรู้สึกไม่ฟินเลยไม่ดื่ม ? ขอบคุณสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมครับ
ในทางทันตกรรมนี่ใช้เยอะมากเลยครับ ?
ยาสีฟันนี่ ไม่รอดครับโดนกันค่อนโลก
เลิกใช้ยาสีฟันสีขาว ใช้แบบเจลแทน
แต่จริง ๆ ยาสีฟันนี่ไม่ค่อยเท่าไร เพราะคนเราไม่ได้กลืนเข้าไปทั้งหมด และปริมาณการใช้งานต่อครั้งก็นิดเดียว
ต้องเปลี่ยนไปใช้ดอกบัวคู่ซะแล้ว
ใช้สบู่เหลวหรือน้ำยาล้างจานแทนได้ไหม
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
Ti2O มีเลขรหัสเป็น INS-171 หรือ E171 ก็คือสารตัวเดียวกัน สำหรับ food grade ที่ใช้ในอาหารอย่างกว้างขวาง เช่น นมพร่องมันเนย ชีส มายองเนส ขนม หมากฝรั่ง ใส้กรอก ยาสีฟัน ฯลฯ วัตถุประสงค์หลักคือ สำหรับต้องการสีขาว หรือทำให้ผลิตภัณฑ์ดูสว่างขึ้น,ขาวขึ้น น่ากิน
อีกอันที่น่ากลัวคือสีทาผนังอาคารสีขาวทั้งหมดก็ใช้ TiO2 ครับ ซึ่งผนังเก่าๆ ที่สีลอกเป็นฝุ่นก็มีสารนี้ผสมเหมือนกัน
พูดตามตรงนะครับ "ไม่น่าเชื่อถือเลย" ถ้าทำได้แบบนั้นจริง กลุ่มทดลองในหนูคงไม่ต้องพยายามเอาหนูมาทำให้มันอ้วน แล้วกระตุ้นให้เป็นเบาหวาน แต่ใช้ TiO2 ใส่ลงไปแทนเลย ง่ายดี
มันเบาหวานคนละชนิดกันครับ อันนี้ชนิด T2D
อ้างอิงจาก http://www.nci.go.th/th/Knowledge/download/TiO2.pdf
ตัว TiO2 ไม่เป็นพิษ แต่หากอนุภาคของมันเล็กลงมันจะไม่สามารถกำจัดออกจากร่างกายได้อีกเลย
T2DM นี่แหละครับ โมเดลที่ศึกษากันเป็นหลักคือ ใช้ C57BL/6 mice ทำกันมาตั้งแต่ปี 1988 (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3044882 citation 1046 ครั้ง)