หลังรถไฟฟ้า BTS เกิดปัญหาทั้งช่วงเช้าและเย็นของวันนี้ จนมีรายงานว่าอาจเกิดจากคลื่นความถี่ 2300MHz ที่ดีแทคและทีโอทีกำลังทดสอบ (อ้างอิง)
ล่าสุดดีแทคได้ออกมาชี้แจงว่าคลื่นความถี่ 2300MHz ของดีแทคและทีโอทีไม่ได้ส่งคลื่นใดๆ ออกมานอกเหนือจากแบนด์ของดีแทค และจากการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมคลื่นความถี่เข้าไปทำงานร่วมกับ BTS และทีโอทีและวิเคราะห์ร่วมกันพบว่า อุปกรณ์การส่งสัญญาณของ BTS อยู่ในช่องคลื่นความถี่ที่ตั้งอยู่ห่างจากแบนด์ 2300MHz ที่ดีแทคและทีโอทีกำลังดำเนินงานอยู่ จึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุของปัญหาขัดข้องในการให้บริการ BTS ตามที่เป็นข่าว
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์
ดีแทคขอชี้แจงว่า การใช้งานบนคลื่นความถี่ 2300MHz ของดีแทคและทีโอทีไม่ได้ส่งคลื่นใดๆ ออกมานอกเหนือจากแบนด์ของเรา
ขณะนี้ ดีแทคกำลังส่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมคลื่นความถี่เข้าไปทำงานเพื่อหาสาเหตุร่วมกับ BTS และทีโอที ซึ่งเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ 2300MHz ที่ถูกนำมาเปิดให้บริการร่วมกับดีแทค ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ร่วมกันพบว่า อุปกรณ์การส่งสัญญาณของ BTS อยู่ในช่องคลื่นความถี่ที่ตั้งอยู่ห่างจากแบนด์ 2300MHz ที่ดีแทคและทีโอทีกำลังดำเนินงานอยู่ จึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุของปัญหาขัดข้องในการให้บริการBTSตามที่เป็นข่าว ทั้งนี้ทางดีแทคกำลังร่วมวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงและร่วมแก้ไขกับ BTS อย่างใกล้ชิดต่อไป
Comments
BTSกำลัวหาแพะมากกว่า
อาจจะใกล้กันเพราะ BTS ใช้ 2.4GHz เป็นระบบควบคุม และดีแทคใช้ 2.3GHz
ไม่ใกล้เลยนะ เอาจริง
@TonsTweetings
งั้นคงเป็นคลื่น 2.4GHz ด้วยกันละ ยิ่งเดี้ยวนี้มี freewifi กันเต็มไปหมดคงกวนกันน่าดู แต่เห็นหลายคนว่าจริง ๆ แล้วเป็นปัญหาจากการเข้ากันไม่ได้ของระบบควบคุม กับตัวรถที่มาจากคนละบริษัทกันมากกว่า
แต่เห็นว่า BTS ใช้ Wi-Fi 5 GHz นี่ครับ?
หรือว่า NextG ของAIS ที่ใช้ 5Ghz รวมกับคลื่นประมูล? เห็นว่าทรูก็กำลังจะเอาด้วย
นั่นสิ ผมเห็นข่าวทีแรกก็แบบ...เฮ้ย แล้ว 850 MHz กับ 900 MHz มันจะไม่กวนกันยิ่งกว่านี้รึไงฟระ
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ใกล้กัน?
ห่างกันแค่ 0.00001GHz ก็ไม่ตีกันแล้วครับ
หน่วยมันคือ Gigahertz นะครับไม่ใช่ Hz
ลองแปลงคำสุปสรรคกลับดูแล้วจะรู้ว่าห่างมาก
2.4Ghz - 2.3Ghz = 0.1Ghz = 100000000 Hz ห่างกันขนาดนี้ตีกัน?
เห็นในข่าวเค้าพูดมาอีกทีครับ ถ้าไม่ใช่ก็ดีแล้วครับ
ประเด็นคือ ไม่รู้อย่าเดาดีกว่าครับ
เกิดไม่มีคนมาแก้นี่จะเข้าใจกันผิดๆ อีก
เห็นด้วยครับ ทั้งๆที่เนื้อข่าวคือ "ดีแทคชี้แจงคลื่น 2300MHz อยู่คนละช่องคลื่นกับสัญญาณ"
เขาก็บอกแบบนั้นอยู่ ถ้าจะแย้งควรจะแย้งในเรื่องที่ตัวเองมีความรู้จะดีกว่า
ใช้สายดีกว่าไหม
มีคนแอบใช้พวก 4W/8W signal amplifier แถวนั้นหรือเปล่า รู้สึกว่า Signal/Att มันไปอยู่แถวๆนั้นด้วย
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
ทำไมระบบคมนาคมที่ต้องมีความมั่นคงสูงถึงไปใช้คลื่นสาธารณะล่ะ???
ประหยัด
ไว ไม่ต้องไปขอ หรือไปประมูล
แม้แต่คลื่นความถี่ทึ่การไฟฟ้าใช้ในการสื่อสารของระบบไฟฟ้า กสทช. ยังงไม่ให้เลยครับ ให้ไปใช้ unlicensed band
ทำไมถึงไม่ให้ครับ และถ้าให้และกัน ไว้น่าจะไม่ดีกว่าหรอ
แปลกดีทหารอมคลื่นไว้เยอะแยะ รัฐวิสาหกิจอื่นก็อมไว้เยอะ แต่อันที่ต้องมีความมั่นคงอย่างรถไฟ พลังงานก็ไม่แบ่งมาให้บ้างเลย
มีความถี่เดียวกัน
แล้วอยู่ในช่วงแบนด์วิธเดียวกันไหม
แล้วถึงอยู่ในแบนด์วิธเดียวกันมันยังมีการเข้ารหัสแต่ละช่อง
ไม่ใช่หรือ
สงสัย
1. ทำไม dtac ถึงได้คลื่น 2300 โดยไม่ต้องประมูล เป็นการเอาเปรียบค่ายอื่นหรือไม่ และทำไม กสทช. ต้องอนุมัติด้วย และต่อไป ถ้าค่ายใดค่ายหนึ่งขอทำแบบนี้บ้างจะได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ ทำไม dtac ถึงทำได้
คลื่นที่ BTS และ MRT ใช้ และอาจรวมถึงคลื่นอื่นไปที่ ARL, รถไฟความเร็วสูงใช้ ทำไม กสทช. ถึงไม่กันให้ระบบขนส่งใช้โดยเฉพาะ
ถ้าคลื่นไม่ใกล้กัน เหตุใดจึงเกิดปัญหาหลายครั้ง ถ้าที่เรียนมา ถ้าจำไม่ผิด จะมีคลื่นอยู่ส่วนหนึ่งที่ inter sec กัน เพื่อความครอบคลุมพื้นที่ใช้หรือเปล่า
ตอบข้อแรก
คลื่นไม่ใกล้กัน แล้วมีปัญหาหลายครั้งเนี่ย อาจจะเป็นสาเหตุอื่นเลยแหละครับ
อุปกรณ์ส่งสัญญาณขัดข้อง มีคลื่น IM3 แทรกจากคลื่นความถี่ใดสักคลื่น หรืออื่น ๆ
คลื่นสัญญาณใกล้กันจะมีการกวนกัน อยู่ในระดับที่รับได้ครับ และอุปกรณ์รับสัญญาณต้องจูนให้รับได้ดีเฉพาะคลื่นที่ตัวเองใช้
ไม่ใช่ว่าใช้ 2.4 แต่เล่นขยายสัญญาณตั้งแต่ 2.0 - 3.0 เลย แบบนี้ Noise กระจายเลยครับ
อันที่จริงการรบกวนน่ะ พวกคลื่น 850 900 รบกวนสูงกว่าอีกครับ รวมถึงพวกคลื่น WiFi 2.4 ที่ทำ Hotspot
แต่ด้วยความที่เค้าสนใจเรื่องนี้เลยป้องกันไว้อย่างดี ว่าถ้ารบกวนแล้วต้องทำยังไง ต้อง retry กี่รอบ ต้อง Buffer ยังไง
ถ้าอย่างออฟฟิศทุกวันนี้ WiFi 2.4GHz กวน เค้าก็มี 5GHz สำรอง และสุดท้ายก็สาย LAN มันก็ทำงานต่อได้ครับ
ขึ้นอยู่กับการให้ความสำคัญแหละครับว่ายอมให้มันใช้งานไม่ได้ กับเสียเงินเพิ่ม
เรื่องคลื่นกวนอาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดปัญหา แต่ไม่น่าจะใช้เป็นข้อแก้ตัวได้
ขออนุญาตตอบข้อ 2
เดิมที BTS และ MRT ใช้ระบบอาณัติสัญญาณที่ใช้สายเคเบิลเป็นตัวเชื่อมครับ แต่ภายหลัง BTS เปลี่ยนระบบเป็นแบบ wireless โดยใช้สัญญาณวิทยุ ทำให้เกิดปัญหาสัญญาณรบกวนนี้ขึ้น แต่ทาง MRT ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดเพราะใช้ระบบเดิม //ส่วน ARL ไม่มีข้อมูลครับ จำได้แค่ว่าใช้ระบบของ Siemens เหมือนกับ MRT ก็น่าจะใช้เคเบิลเหมือนกัน
ส่วนคำถามที่ว่าทำไมกสทช.ถึงไม่กันคลื่นให้ใช้ จริง ๆ แล้วกสทช.กันคลื่น 900 (หรือ 700 MHz หว่าจำไม่ได้) เอาไว้ให้สำหรับรถไฟความเร็วสูงแล้วครับ
แต่ถ้าสงสัยว่าทำไมกสทช.ไม่ได้กันคลื่นให้สำหรับรถไฟฟ้าด้วย ผมคาดว่ามาจากการที่รถไฟฟ้าส่วนใหญ่ใช้ระบบอาณัติสัญญาณแบบสายเคเบิล และแบบอื่น ๆ ที่ไม่ได้ใช้สัญญาณวิทยุ (อย่างเช่นรฟท. ที่ใช้หลายรูปแบบ) ครับ ทำให้ไม่จำเป็นต้องกันคลื่นเอาไว้ให้ด้วย
ขอบคุณสำหรับข้อมูลคับ
คลื่น Dtac ลูกค้าปกติยังรับแทบไม่ได้เลย ติดๆดับๆ กำลังส่งคงไม่มีปัญญาไปกวนใครเขาหรอก
อันฮาจริง
+2300
หาแพะ
กวนจริงๆ ลองศึกษาจากกระทู้นี้ได้ ข้อมูลเค้าแน่นอยู่
https://pantip.com/topic/37806745
อันนี้คืออ่านแล้วก่อนแปะใช่ไหมครับ
เขาบอกว่าไปศึกษามาตรวจสอบคลื่นตามสถานี BTS? หรือแค่เป็นรายงานกว้างๆ หาผลกระทบบางกรณี ทำให้ประสิทธิภาพต่ำลงบ้าง (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของการส่งสัญญาช่องติดๆ กัน)
lewcpe.com, @wasonliw
พี่ลิ่วโหดสัด
อัพเกรดเสาส่งสัญญาณระบุช่วงรับส่งสัญญาณไม้ให้กระทบกันกับของ BTS ก็น่าจะแก้ไขได้แล้วนะ ไม่เห็นต้องใช้คนมาตรวจสอบเลย แค่ถามทาง BTS ให้ระบุช่วงคลื่นที่ใช้งานและตรวจกับช่วงคลื่นที่ตัวเองถืออยู่ หรือใช้วิธีส่งสัญญาณตอบกลับพูดคุยในเครื่องข่ายก็น่าจะช่วยให้คลื่นไม่ชนกันก็น่าจะพอแล้วนะ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมว่าที่ dtac ส่งคนมาตรวจสอบเพราะตัวเองมั่นใจด้วยแหละว่าไม่ได้เป็นสาเหตุ ก็ต้องตรวจสอบให้มีหลักฐานชัดเจนเอามาอ้างอิงได้ ในเมื่ออีกฝ่ายคิดจะอ้างอะไรก็อ้างเลยต้องสู้ด้วยข้อมูลอ่ะนะ