Tags:
Node Thumbnail

Dr Vinesh Oommen นักวิทยาศาสตร์จาก Queensland University of Technology's Institute of Health and Biomedical Innovation ได้ทำการวิจัยผลสำรวจเกี่ยวกับการจัดพื้นที่ทำงานของออฟฟิศสมัยใหม่กับผลของการทำงานและสุขภาพทั่วโลก ได้ผลออกมาเป็นผิดความคาดหมายมาก

ข้อสรุปจากผลสำรวจพบว่า 90% ของพื้นที่ทำงานแบบเปิด (คือมีห้องน้อยๆ ไม่มี pratition กั้นระหว่างพนักงาน) พนักงานจะมีความเครียดสูง, ความดันสูง, ผลการทำงานต่ำ และมีการลาออกสูงมาก

เหตุผลเกิดจากการไม่มีห้องส่วนตัวหรือ partition ทำให้มีเสียงรบกวนจากเพื่อนร่วมงานทำให้ไม่มีสมาธิในการทำงาน ซ้ำยังกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัวเพราะคนอื่นจะเห็นและได้ยินตลอดว่าเราทำอะไรบ้าง ทำให้รู้สึกไม่ปลอดภัย ซ้ำยังทำให้เกิดปัญหากับเพื่อนร่วมงานได้ง่ายอีกต่างหาก นอกจากนี้ด้วยสภาวะแวดล้อมแบบเปิด ทำให้เชื้อโรคอย่างแพร่กระจายได้ง่าย เสี่ยงต่อโรคติดต่อเข้าไปอีก

Dr Oommen กล่าวว่าพื้นที่ทำงานแบบเก่า (แบบปิด มีพื้นที่ส่วนตัว) นั้นดีกว่าอยู่แล้ว แต่ว่าบริษัทมักจะหาทางลดค่าใ้ช้จ่าย ซึ่งออฟฟิศแบบเปิดจะลดต้นทุนการก่อสร้างสัก 20% และชาวออฟฟิศควรจะชั่งใจดีๆ กับออฟฟิศแบบเปิดครับ

ที่มา - News.com.au ผ่านทาง Joel On Software

Get latest news from Blognone

Comments

By: shelling
ContributoriPhoneAndroidUbuntu
on 15 January 2009 - 23:24 #81029
shelling's picture

ถ้าเป็นเวลานี้
ทำงานในออฟฟิศแบบเปิด ยังไงก็ดีกว่าไม่มีออฟฟิศให้ทำงาน (ไม่มีคนจ้าง)

แต่ถ้าเลือกได้ privacy เป็นสิ่งจำเป็นต่อจินตนาการครับ lol

By: latesleeper
Android
on 15 January 2009 - 23:32 #81033

ผมรู้สึกเอาเองนะ
ว่าผลวิจัยเหล่านี้มันจะกลับไปกลับมาอยู่เรื่อยๆ ตามยุคสมัย
พอคนแห่ไปทำอะไรกันมากๆ เข้า ก็มักจะมีผลวิจัยทำนองค้าน
ออกมาให้คนได้สังเกตกันว่า อ้าว มันชักจะเยอะเกินไปเสียแล้ว
โดยการเอาสถิติในด้านลบมาให้ดูกัน
ตัวอย่างงานวิจัยพวกนี้ก็เช่น

  • กินผักเยอะๆ ร่างกายจะขาดโปรทีนที่ผักไม่สามารถให้ได้ VS. กินเนื้อสัตว์เยอะๆ ทำให้กรดในร่างกายเพิ่่ม ไม่สมดุล
  • งานที่ต้องยืนนานๆ ขณะทำงาน (เช่นพนักงานห้างฯ) นั้นทำให้สรีระเสีย ไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย VS. การนั่งทำงานในออฟฟิศนานๆ เป็นผลเสียต่อร่างกายเช่นกัน
  • รับประทานชาเขียวต้านอนุมูลอิสระกันนะ มีขายตามตู้แช่ทั่วไป VS. ชาเขียวเย็นลดอนุมูลอิสระไม่ได้ นอกจากนั้นยังช่วยให้สารพิษเกาะตัวและอุดตันตามหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น

หลังจากผลวิจัยนั้นออกมา คนก็จะแห่ไปทำอีกอย่างกัน
จนผ่านคนไปสักชั่วอายุหนึ่ง แล้วเราก็จะกลับมากังวลกับ
"สิ่งที่ยอดเยี่ยม ที่เราอุตส่าห์คิดทางหนีปัญหาเหล่านั้นมาเมื่อหลายปีก่อน"
แล้วก็วิจัย ค้นพบว่าสิ่งตรงข้ามก็มีดี (บ่อยครั้งเราถูกจูงใจว่าดีกว่า)
แล้วคนรุ่นนั้นก็กลับไปใช้อย่างนั้นแทน
แต่ก็โอเคล่ะ ผมก็รู้ล่ะว่าผลงานวิจัยเป็นแค่ทฤษฎี ไม่ใช่สัจพจน์เนาะ
จะอ่านผ่านๆ ไม่เก็บมาใส่ใจมากครับ (ยกเว้นเรื่องโลกร้อน) ขอบคุณครับ

By: akiTheCrepe on 15 January 2009 - 23:54 #81041 Reply to:81033

จึงต้องมี "ทางสายกลาง" หรือ "มัชฌิมาปฏิปทา" ตามคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไงครับ

แวะมาเยี่่ยม Hi5 ของผม แอดเป็นเพื่อนกันครับ

By: natt_han
ContributoriPhoneAndroid
on 16 January 2009 - 10:42 #81127 Reply to:81041

งั้นสายกลางในกรณีนี้ คงต้องทำออฟฟิศ แบบมีแผงกั้นเลื่อนขึ้นลงได้ อาจจะกำหนด เวลาว่าช่วงเช้า ช่วงพักกลางวัน และช่วงก่อนเลิกงานให้เอาแผงกั้นลงนอกนั้นก็เอาขึ้น หรืออาจจะตามใจคนทำงาน อยากเอาขึ้นลงเมื่อไหร่ก็ได้ แต่แบบนี้ก็อาจจะมีคนที่เอาแผงขึ้นตลอดไม่ยอมเอาลง และถูกเพื่อนร่วมงานมองไม่ดีได้

By: oasys on 16 January 2009 - 13:26 #81173 Reply to:81033

รู้สึกคล้าย ๆ กันครับ

www.nonsiri.com

By: ABZee on 17 January 2009 - 01:14 #81268 Reply to:81033

ความจริงมันไม่กลับไปกลับมาหรอกครับ ความจริงมีเพียงหนึ่ง แต่บทสรุปหรือสมมุติฐานต่างหากที่มันผิดหรือเปลี่ยนแปลงไป

ปัญหาที่มักจะเกิดขึ้นก็คือผู้คนสนใจแค่บทสรุป ไม่ได้เข้าใจเหตุผลหรือสมมุติฐานเหล่านั้นเลย แล้วนำไปปฎบัติแบบผิดๆถูกๆ

และผมว่าเรื่องโลกร้อนเองก็เช่นกันนะครับ ข้อสรุปหลายๆงานนั้นมีข้อสมมุติฐานที่อันตรายอยู่ เช่นเรื่องนำแข็งเรื่องขั้วโลกเหนือละลายมากกว่า"ทุกๆปี" เราก็ต้องมาตีความว่า"ทุกๆปี"นี่มันนับยังไง ทำไมถึงไม่นับไปไกลกว่านั้น

LongSpine.com

By: Wizard.
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 15 January 2009 - 23:54 #81042
Wizard.'s picture

ตอนอ่านหัวข้อนึกว่าพูกถึง โปรแกรม open office

By: tomazzu
AndroidUbuntu
on 15 January 2009 - 23:58 #81044 Reply to:81042

คิดเหมือนกันเลย ..

http://tomazzu.exteen.com

By: xcession
iPhoneAndroidUbuntu
on 16 January 2009 - 00:26 #81051 Reply to:81044

+1

By: 7ingN0ngN0i on 16 January 2009 - 08:04 #81083 Reply to:81042

+1

By: onimaru
SymbianWindows
on 16 January 2009 - 10:16 #81116 Reply to:81042

+1

By: mokin
Contributor
on 16 January 2009 - 19:47 #81230 Reply to:81042
mokin's picture

อืม น่ะจะคำว่า สำนักงานดีกว่าน่ะ เขียนออฟฟิศแล้วหนึ่งถึงโปรแกรมเหมือนกันครับ

</mOkin™>มีความสุขที่พอดี กับชีวิตที่พอเพียง</mOkin™>

By: Mayarine on 16 January 2009 - 00:18 #81050

ผลวิจัย บางแบบก็ไม่น่าเชื่อถือเท่าไรพวกเก็บสถิติสำรวจยังงี้ เก็บเฉพาะในแถบ ปท ใกล้ๆ ม (จะให้ดีควรเก็บทั้งโลก ทุก ปท)

By: Chengings
Contributor
on 16 January 2009 - 00:31 #81053
Chengings's picture

ดีอย่างเสียอย่าง เห็นด้วยก็ตรงที่ไม่ค่อยส่วนตัวเท่าไหร่เนี่ยแหละ แต่ออฟฟิศแบบเปิดมันก็ดีตรงที่สามารถติดต่อเพื่อนร่วมงานได้โดยตรงเลย

หมาไฟ


หมาไฟ

By: pawinpawin
Writer
on 16 January 2009 - 00:45 #81056

จริงๆ จะเอามา generalized ใช้กับคนไทยก็อาจจะลำบากนิดนึง เพราะส่วนใหญ่ออฟฟิศคนไทยชอบเม้าท์ข้ามโต๊ะกันบ่อยๆ อยู่คนเดียวอาจคันปากได้ :P

___________pawinpawin

By: demon69gt on 16 January 2009 - 12:49 #81160 Reply to:81056

+10000000000000 จริง โดยเฉพาะผู้หญิง

By: dafty
AndroidWindowsIn Love
on 16 January 2009 - 02:21 #81065

จริง 1000% ครับ ... เวลาทำงานในออฟฟิสแบบเปิดนี่ มันเสียสมาธิจริงๆ ... และถึงจะสามารถคุยกันได้ตรงๆ เรื่องงาน ก็ยังไม่เวิร์กอยู่ดีครับสู้คุยกันใน meeting หรือ email ให้เป็นเรื่องเป็นราวยังจะดีซะกว่า

By: thedesp
WriterAndroidWindows
on 16 January 2009 - 05:25 #81078
thedesp's picture

ทำไมไม่ใช้คำว่าพื้ีนที่ทำทางแทนออฟฟิศล่ะครับ

By: cloverink
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 16 January 2009 - 07:24 #81079
cloverink's picture

ต้องดูด้วยว่าเป็นงานแบบไหนครับ ถ้าเป็นงานต้องใช้หัวคิดสมาธิ ก็ถูก
แต่ถ้าเป็นงานติดต่อ วิจัย แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ก็คิดผิด

ผมชอบแบบปิดนะ แอบอู้ได้ หุหุ

By: iwat
iPhone
on 16 January 2009 - 07:37 #81081

ผมว่าแบบเปิดก็ดีออก ทำงานไปคุยกันไปไม่ต้องลุกลุกมา ยิงมุขกันทั้งวันเลย (ไม่เครียดเหมือนงานวิจัย แต่สงสัยผลการทำงานแย่เหมือนเดิม)

By: D.o.W on 16 January 2009 - 10:03 #81112

หากผ่านการทำงานมาหลายที่จะเข้าใจโลก
คนที่วิจัยเขาเป็นแบบฝรั่งก็เลยคิดว่าออฟฟิศแบบปิดจะดีกว่า แต่หากคนเคยทำงานกับที่ทำงานแบบเอเซียที่ไม่มีเชื้อฝรัง จะไม่ค่อยยอมเสียเงินมากนักกับการแบ่ง partition กั้นห้องก็กั้นไปเลย แต่ถ้าเป็นออฟฟิศแบบฝรั่งหรือค่อนข้างอินเตอร์จะแบ่ง partition กัน เอาแบบง่ายๆลองนึกถึงภาพเวลาเราดูออฟฟิศของอากู๋(google) สิเรารู้สึกว่าแปลกไหม จะไม่ค่อยเจอออฟฟิศแบบนี้ในคนเอเซียเท่าไร วัฒนธรรมมันต่างกัน
ฝรั่งเขามีความเป็นตัวของตัวเองมาก เขาเลยอยากมีอะไรมากั้น แต่คนไทย partition เป็นอุปสรรคต่อการ mount และการแย่งหนมกิน

By: thep
Writer
on 16 January 2009 - 10:28 #81121 Reply to:81112

สงสัยผมจะเป็นพวกฝรั่งมั้ง เลยชอบออฟฟิศที่เป็นส่วนตัว อย่างน้อยก็ขอสมาธิในการคิดหน่อย ยังไม่มือโปรพอที่จะทำไปเมาท์ไปได้ หรือบางทีต้องไปดูโค้ดของคนเมาท์ไปเขียนโปรแกรมไปเนี่ย แกะของทั่นไม่รู้เรื่องเลยเหมือนกัน โค้ดมันยุ่งเหยิงจนรู้สึกว่ามันทำงานได้ด้วยปาฏิหาริย์มากกว่าเจตนา

หรือถ้าไม่คิดอะไรมาก ทำงานในออฟฟิศไทย ๆ ที่นั่งเมาท์แตกกันทั้งวันก็เพลินดีนะ แต่จะเครียดมากพอถึงเวลารายงานความก้าวหน้า ฮ่ะ ๆ

By: dafty
AndroidWindowsIn Love
on 16 January 2009 - 11:35 #81135 Reply to:81112

อุปสรรคใหญ่หลวงคือการปิดกั้นการเหล่สาว (แต่ก็มีข้อดีคือ เราสามารถเดินไปจีบได้โดยไม่ต้องแคร์สายตาใคร)

By: demon69gt on 16 January 2009 - 12:54 #81161 Reply to:81135

อย่าจินตนาการจนเกินเลยว่าสาวในออฟฟิศจะเป็นสาวสวยรวยเสน่ห์ ส่วนใหญ่มีลูกมีสามีหมดแล้วล่ะ ที่เหลือโสดอายุ 35 ขึ้น ส่วนมากจะ 40 แต่ละคนงี้ปากคันจริงๆ เฮ้อ นานๆ จะได้ระบายความอัดอั้นในใจซะที

By: demon69gt on 16 January 2009 - 12:46 #81158

เห็นด้วยอย่างมาก ที่บริษัทผมเหมือนกับห้องเรียน หลายแผนกรวมอยู่ในห้องเดียว ตั้งโต๊ะทำงานหันหน้าไปทางกระดานดำ(เทียบเคียง) มีโต๊ะหัวหน้าอยู่ด้านข้างคอยดูว่าพนักงานทำอะไรกัน ห้องก่อนหน้าและห้องถัดไปเหมือนกันแต่กั้นด้วยกระจกใส คนจะมองเห็นหมดถ้าอยู่ห้องสุดท้ายและมองไปยังห้องแรกสุด ทำงานเครียดมาก เสียงจ๊อกแจ๊กจอแจดังขรม แถมมีพนักงานในออฟฟิศส่วนใหญ่เป็นหญิง เรื่องขี้อิจฉานินทาอย่าให้บอกเชียว

การจัดห้องทำงานลักษณะนี้เป็นสไตล์ญี่ปุ่น เขาจะอนุรักษ์วิธีการเดิมๆ ไว้ จะไม่เปลี่ยนแปลงสไตล์ ถึงจะมีคนแนะนำว่าไม่ดีอย่างไรเขาก็จะไม่ยอมรับ (ชาตินิยมเสียจัง)

เวลาทำงานที่ต้องใช้ความเงียบและสมาธินี่หาไม่ได้เลย ต้องเอาหูไปนาเอาตาไปเลยคิดเสียว่าไม่ได้ยินอะไร หรือไม่ก็เอาหูฟังมาอุดหูแล้วฟังเพลงไป

By: ezy on 16 January 2009 - 17:54 #81217

สำนักงานของเล็กนุ่มเท่าที่เคยเห็นภาพถ่าย ห้องทำงานเขาเป็นห้องกระจกที่เลื่อนพาร์ทิชั่นขยายห้องไปมาได้นะ (ทางสายกลาง?)

ezybzy.info blog

By: Jedt3D
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 16 January 2009 - 18:49 #81224
Jedt3D's picture

ฮาดีครับ

ผลการวิจัยเผย 'ออฟฟิศแบบเปิด' (!= OpenOffice) ทำให้ผลการทำงานแย่

ออฟฟิศแบบเปิดโล่ง :D

-- Flex | Java | REALBasic --

By: ABZee on 17 January 2009 - 01:17 #81269 Reply to:81224

ตอนแรกผมก็เข้าใจแบบนี้เหมือนกันเลย

LongSpine.com

By: isunsunsun on 23 January 2009 - 02:26 #81936 Reply to:81269

นึกว่าแปล OpenOffice เป็นภาษาไทยเหมือนกันครับ

เหอ ๆๆๆ

By: Kerberos
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 16 January 2009 - 19:55 #81232
Kerberos's picture

เห็นด้วยครับ

สำหรับผมแค่ในมุมสายตาไม่มีอะไรมากวนสมาธิ ก็พอใจแล้ว เลยต้องหาอะไรมาบังไว้ ส่วนเรื่องเสียงถ้าได้ยินคนอื่นคุยกันแล้วจะรู้สึกรำคาญมากๆ เลยต้องหาเพลงมาฟังไว้ตลอด

ไม่ตายไม่เลิก

By: fortissimo on 16 January 2009 - 22:37 #81256

เคยทำงานมาสองที่ครับ เป็นที่ทำงานแบบเปิดโล่ง มีพาร์ติชั่นกั้นแค่ระหว่างทีม มีห้องให้ระดับหัวหน้าเท่านั้น เหมือนกันทั้งสองที่

แต่รู้สึกว่าตอนทำที่แรกอยากได้พาร์ติชั่นมากๆ เพราะเสีบสมาธิกับสิ่งรอบข้างจนไม่เป็นอันทำงาน เพราะงานส่วนใหญ่จะเป็นงานเอกสาร หรือตัวเลข

แต่ในขณะมาทำที่ใหม่ เป็นสำนักงานขนาดเล็กกว่ามาก กลับไม่รู้สึกว่าอยากได้ ชอบซะอีกเพราะว่ามีอะไรอยากถามใครก็ถามได้เลย ก็มีบ้างที่บางครั้งต้องการสมาธิในขณะที่คนอื่นคุยกันอยู่ แต่ก็ไม่บ่อยนักเพราะว่ามีคนไม่เยอะ

เลยคิดเหมือนคุณ cloverink ว่าคงขึ้นอยู่กับลักษณะงานด้วยซะมากกว่า

By: tomyum
ContributorAndroidWindows
on 18 January 2009 - 10:03 #81389
tomyum's picture

จากความเห็นส่วนตัวคิดว่าห้องทำงานแบบทีมเล็ก 3-6คน หันหลังให้กันทำงานง่ายนะครับ เพราะอยากคุยขอความเห็นกัน ก็หันหลังไปเรียกมาดูหน้าจอได้เลย ดีกว่าหันหน้าชนกัน ตอนนี้อยู่ห้องแยก เวลาจะเรียกลูกน้องมาคุยขอความเห็นรู้สึกรบกวนเขามาก จะยกทั้งจอไปก็ไม่สะดวก จะอัพขึั้นแชร์พ้อยคุยกันก็เกินไปจะพิมพ์ก็เปลืิองกระดาษ เพราะเป็นงานครึ่งๆกลางๆ แต่เวลาทำงาน (80%) ก็มีสมาธิดีนะครับ \(@^_^@)/ M R T O M Y U M

By: wiennat
Writer
on 18 January 2009 - 10:20 #81391

ทำไมผมอ่านเป็นออฟฟิศแบบ เป็ด

onedd.net


onedd.net