เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา SpaceX จัดการแข่งขัน 2018 SpaceX Hyperloop Pod Competition ที่สำนักงานใหญ่ของบริษัท ณ เมือง Hawthorne รัฐแคลิฟอร์เนีย
การแข่งขันประกอบไปด้วยทีมที่เข้ารอบสุดท้ายด้วยกัน 3 ทีมคือ Delft Hyperloop จากมหาวิทยาลัยเทคนิค Delft ประเทศเนเธอร์แลนด์, EPF Loop จากเมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และทีม WARR Hyperloop จากมหาวิทยาลัยเทคนิคมิวนิก (Technische Universität München - TUM) ประเทศเยอรมนี
อย่างไรก็ตาม ทั้งทีม Delft และ EPFL ต่างประสบปัญหาระหว่างการแข่งขัน โดย pod ของทีม Delft วิ่งได้ความเร็วสูงสุดที่ 141 กม./ชม. ก่อนจะหยุดวิ่งตอนอยู่ในอุโมงค์ ส่วน pod ของทีม EPFL วิ่งได้ความเร็วสูงสุด 88 กม./ชม.
ด้านทีม WARR ขึ้นวิ่งเป็นทีมสุดท้าย แต่ทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 457 กม./ชม. ชนะไปอย่างขาดลอย นับเป็นชัยชนะครั้งที่สามติดต่อกันแล้วจากการแข่งขันครั้งก่อนๆ โดยในการแข่งขันเมื่อปีที่แล้วทำความเร็วได้ 324 กม./ชม.
ตัว pod ของทีม WARR มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม บอดี้ทำจากคาร์บอนไฟเบอร์ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้ากำลัง 50 กิโลวัตต์ ชมวิดีโอได้ท้ายข่าวครับ
ที่มา – The Verge
Congratulations to @WARR_Hyperloop for winning the 2018 Hyperloop Pod Competition with a peak speed of 290 mph!
— Hyperloop (@Hyperloop) July 22, 2018
We're excited to announce that our team WARR Hyperloop is the winner of the 2018 SpaceX Hyperloop Pod Competition!!!!!We managed to go almost 50% faster than last year, reaching a final speed of 467 km/h (290 mph)!We'd like to sincerely thank all our sponsors! pic.twitter.com/YpPTURnHp5
— WARR Hyperloop (@WARR_Hyperloop) July 23, 2018
ภาพโดย WARR Hyperloop
Comments
อยากได้ VDO ครับ พยายามหาแล้ว เจอแต่ของปีที่แล้ว
หาไม่เจอเหมือนกันครับ มีแต่ FB Live ของทีม WARR แต่เข้าไป skim ดูก็ไม่มีอะไร ถ้าเจอแล้วเอามาแปะไว่ได้นะครับผมจะได้เพิ่มเข้าไปในข่าว
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
https://twitter.com/WARR_Hyperloop/status/1021256781106835457
อ้าว เพิ่งโพสมาสดๆ
Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ
โหยขอบคุณแอดมดครับ โคตรเร็ว เวลา 11 วินาทีเอง
ปัญหาคือ ถ้าเอามาใช้งานจริงด้วยความเร็วขนาดนี้ แรง G ที่ปะทะกับคนทั้งในยานและนอกยานจะรับไหวไหม ถ้าต้องใส่เสื้อแบบขึ้นจรวดส่งไปนอกโลกก็ไม่ไหวนะ แล้วก็เคยมีปัญหาท่อลำเลียงยานยุบตัวแบบเฉียบพลันด้วย (เห็นจาก Thunderf00t แต่ไม่ได้ดูวีดีโอนะ ไม่แน่ใจว่าจริงไหม)
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ผมว่าปัญหานั้นคงหาวิธีแก้ต่อไปน่ะครับ คงไม่เอาไปใช้ทื่อๆ
อันนี้เค้าแข่งกันด้านความเร็วอย่างเดียวเลยไม่ต้องสนใจอะไร
ความเร็วสูงสุดไม่ใช่ปัญหาครับ อย่างรถไฟชิงกันเซ็งปัจจุบันก็วิ่งกันที่ 300-360 กม./ชม. รถไฟฟ้าเซี่ยงไฮ้ก็มีสายที่วิ่งประมาณ 300 กม./ชม. เห็นก็นั่งกินอะไรกันไปสบายดี ไม่ได้มีปัญหา
ปัญหาคือความเร่งต่างหาก เหมือนรถยนต์ ถ้าขับกระชาก จู่ๆก็เร่งหรือเหยียบเบรค อันนี้ก็มีหัวทิ่ม ถ้าหยุดกึกได้ ก็ได้มีพุ่งออกนอกรถ นั่นแหล่ะครับ
แล้วท่อยุบตัวนั้นเป็นปัญหาเชิงวิศวกรรมของระบบย่อส่วนที่ทำจำลองขึ้นครับ เพราะระบบ Hyperloop นี้จะทำงานในสภาพเกือบไม่มีอากาศ เพื่อจะได้ประหยัดพลังงาน ส่วนที่ยุบตัวก็อาจจะเพราะตัว container ทนแรงดันอากาศไม่ไหว
ซึ่งจะให้เปรียบก็เหมือนอังกฤษริเริ่มรถไฟใต้ดินเมื่อร้อยปีก่อนครับ เจาะพื้นทำอุโมงค์ใต้ดิน เอารถไฟแบบธรรมดาไปวิ่งใต้ดิน ใหม่ๆก็มีปัญหาเชิงวิศวกรรม ดินถล่ม อาคารทรุดตัว แต่สุดท้ายในระยะยาวเค้าก็แก้ปัญหาและทำให้มันปลอดภัยกันได้ วิ่งลอดใต้แม่น้ำสบายๆ
F = ma ความเร็วไม่มีผลกับแรง แต่แรงเกิดจากความเร่งคูณกับมวล ดังนั้นถ้าค่อยๆ เร่งความเร็วโดยที่ความเร่งไม่สูงมาก ก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ
เร็วแค่ความเร็วเสียงคนธรรมดาก็มีนั่งมาแล้วนะครับเช่นเครื่องบิน Concorde วิ่งเร็วถึงระดับมัค 2 ประมาณ 2,158 km/h คนนั่งกันสบายๆ
อย่างพวกทางทหาร นักบินเครื่องบินก็ที่ชุด G Suit บนมันต้องที่ท่ายาก เร่งเยอะ หักเยอะ ไรงี้ครับ ถ้า Pressure Suite ในพวกเครื่องบิน U2 , SR-71 นี่เพื่อป้องกันตัวนักบินเองเครื่องบินทหารมันไม่ไม่ห้องปรับแรงดันแบบเครื่องบินโดยสาร
นักบินอวกาศนี่ จรวจมันเร่งเครื่องตลอดเวลา แถมต้องเผื่อกรณีฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เลยต้องป้องกันจัดเต็มมาก แต่หลังๆ ก่อนเกิดอุบัติเหตุบางทีก็หละหลวมก็มี ไม่ใส่ถุงมือ หมวกไม่ปิดบ้างงี้ ตอนเข้าโลก
เคยดูสารคดี รถไฟ จริงวิ่งเร็วๆ ไม่ค่อยได้แล้วมันจะสั่นๆ มาก ถ้าเอาเร็วเลยต้องเลยต้องให้มันวิ่งในท่อที่แบบสุญญากาศเลย ลดคลื่น แรงเสียดทาน ลดเสียง ป้องกันอุบัติเหตุด้วย
ความเร็วเหนือเสียงแล้วครับ ไม่ใช่แค่ความเร็วเสียง 2 มัคเนี่ย
ออครับ สงสัยจะรีบพิมพ์ไป ระดับมัค 2 จะสื่อว่าสองเท่าของความเร็วอยู่แล้วครับ ฮ่าๆ
ผมเชื่อว่า Hyperloop ไม่ Work เหมือนกัน
ปัญหาคือการลดความดันอากาศนี่แหละ
- อันตราย
- ยุ่งยาก
- สร้างไม่ได้
- แพง
- เกิดเหตุฉุกเฉินแล้วแก้ไขอาการยาก มีพื้นที่ป้องกันความผิดพลาดได้น้อยกว่า
ผมยังเชื่อว่า Boring Company ก็ไม่ Work หรือถ้า Work ก็ไม่ Wow เหมือนตั้งใจไว้แต่แรก
ที่ว่ามานี่เครื่องบินก็น่าจะประสบกันมาหมดแล้วนะครับ ?
มิวนิค => มิวนิก