ทรู ส่งหนังสือชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ ไม่เห็นด้วยกับมติของ กสทช. ที่ต้องนำส่งเงินรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่น 1800 MHz ในช่วงคุ้มครองผู้ใช้บริการ นับตั้งแต่วันที่เข้าสู่มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราว จำนวน 3,381.95 ล้านบาท
เงื่อนไขของการใช้คลื่นช่วงการเยียวยาคุ้มครองผู้บริโภค คือผู้ให้บริการต้องส่งรายได้ทั้งหมดหลังหักค่าดำเนินการเพื่อส่งคืนให้กสทช. ก่อนหน้านี้ DPC (AIS) ที่ได้รับการเยียวยาคลื่น 900 ได้จ่ายเงินส่วนนี้ให้กสทช. 627 ล้านบาท และทางกสทช. เรียกเพิ่มเป็น 869 ล้านบาท ขณะที่ทรูจ่ายเงินส่วนนี้ไปแล้วหนึ่งพันล้านบาท และกสทช. เรียกเพิ่มเป็น 3,381.95 ล้านบาทในครั้งนี้
นอกจากนี้ True ยังชี้แจงต่อกรณี ทีโอที ยื่นฟ้องต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ เรื่องละเมิดข้อตกลงในสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์ ระบุว่าบริษัทได้รับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการซึ่งได้มีคำชี้ขาดให้บริษัทชำระเงินค่าผิดสัญญาให้แก่ทีโอที ตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 ถึงสิงหาคม 2558 เป็นจำนวน 59,120.65 ล้านบาท และ ดอกเบี้ยจำนวน 16,978.65 ล้านบาท
แต่บริษัทไม่เห็นด้วยกับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ซึ่งบริษัทจะดำเนินเนินการตามกฎหมายต่อไป โดยจะยื่นคำร้องต่อศาลที่มีอำนาจภายใน 90 วัน
ที่มา : Settrade, The Standard
Comments
"ตั้งแต่เดือนกันยายน 2554 ถึงสิงหาคม 2558" -> กันยายน 2544
กะใช้ฟรีอะไรขนาดนั้น? แบบนี้ DTAC โดนด้วยก็คงดีมิใช่น้อยเลย :)
จ่ายไปพันล้านแล้วก็ไม่น่าเรียกฟรีนะ?
@mamuang
หมายถึงช่วงคุ้มครองสิครับ
The Dream hacker..
อ่านพลาดไปครับ #sorry
ดีแทคยอมจ่ายหนิ ขอให้คุ้มครอง
ลูกค้าที่ต้องคุ้มครอง 9 หมื่นราย ส่วนใหญ่เป็น 2G ด้วย จะให้จ่ายหลักพันล้านน่าจะไม่คุ้ม
แต่คลื่น850เป็น3Gนิ แปลว่าถึงดับก็ไม่มีผลกับ2G
แต่คนอยู่นอกพืืนที่ 1800 เดิมก็ดับได้นะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
ไม่น่าถึงพันล้านมั้งครับ เห็นเงื่อนไขบอกว่า จ่าย=(รายได้-ค่าใช้จ่าย)
มีเก้าหมื่นรายคงไม่น่าถึง
ถ้ายังเปิดให้ใช้งานอยู่ ก็อาจจะมีบางคนที่มือถือรองรับคลื่นอื่น แต่บางทีก็มาจับสัญญาณ 850 ไม่รู้ว่าเค้าจะคิดราคาตรงนี้ด้วยหรือเปล่า
ถ่วงไว้นานๆ เผื่อได้ลด เอาไปฝากกินดอกเล่นๆ วันนึงคงได้หลายล้าน
จ่ายช้าก็โดนเรียกดอกเหมือนกัน
ดอกเบี้ยค่าปรับ รู้สึกว่าจะสูงกว่าดอกเบี้ยเงินฝากนะครับ
คำพิพากษาของอนุญาโตตุลาการ อุทธรณ์ไม่ได้นะครับทรู
อุทธรณ์ให้เพิกถอนได้แต่ต้องเข้าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทรูอ้างมานั้นไม่พบว่าเข้าเงื่อนไขที่จะขอให้เพิกถอนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2501/2551
คำพิพากษาย่อสั้น
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นกฎหมายใช้บังคับขณะพิพาทให้อำนาจอนุญาโตตุลาการที่จะหยิบยกพยานหลักฐานใดขึ้นวินิจฉัยภายในขอบเขตของกฎหมายและสัญญาที่พิพาทกัน ดังนั้น อนุญาโตตุลาการย่อมมีอำนาจที่จะวินิจฉัยได้ว่าหนี้หรือสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความหรือไม่
พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 22 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการหรือผู้ชี้ขาดให้เป็นที่สุดและผูกพันคู่กรณี ดังนี้ คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการย่อมเป็นที่สุด ส่วนการที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้หรือไม่ เป็นไปตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 มาตรา 26 ที่อนุญาตให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการได้ หากคำวินิจฉัยของอนุญาโตตุลาการเป็นคำวินิจฉัยที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน
ปัญหาเรื่องอายุความเป็นปัญหาข้อกฎหมาย แต่ไม่ใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่วินิจฉัยว่าสิทธิเรียกร้องของผู้ร้องขาดอายุความแล้วไม่ได้