นับเป็นช่วงสำคัญของ dtac อีกครั้งเมื่อคลื่นสัมปทานภายในมือย่าน 850 MHz และ 1800 MHz ที่ถืออยู่กำลังจะหมดอายุในวันที่ 15 กันยายนนี้ ถึงแม้ dtac จะเพิ่งประมูลได้คลื่น 1800 MHz ภายใต้ระบบของ กสทช. ไปเมื่อ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ด้วยมูลค่า 12,511 ล้านบาท แต่หลังวันที่ 15 คลื่น 1800 ในมือจะเหลือความกว้างเพียง 5 MHz จากของเดิมที่มีถึง 25 MHz
dtac ให้บริการบนคลื่น 850 และ 1800 ภายใต้สัมปทานจาก CAT มายาวนานถึง 27 ปี ตอนนี้เหลือผู้ใช้อยู่บนระบบสัมปทานเดิมราว 340,000 รายที่ยังไม่ได้ย้ายมาใช้คลื่นใหม่ที่ได้จากการประมูล (เป็นลูกค้าของบริษัท dtac TriNet) โดยแบ่งเป็นผู้ใช้บนคลื่น 850 จำนวน 90,000 รายและ 1800 จำนวน 250,00 ราย แต่ทาง กสทช. ยังคงไม่มีข้อสรุปว่าจะเยียวยาคลื่นหลังหมดสัมปทานให้กับทาง dtac หรือไม่ จน dtac ต้องฟ้องศาลปกครองให้มีคำสั่งคุ้มครอง เพื่อหาทางป้องกันไม่ให้ลูกค้ากว่า 340,000 รายซิมดับ
สถานการณ์ของ dtac จึงค่อนข้างหัวเลี้ยวหัวต่อ เราขอสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดให้อีกครั้ง รวมถึงวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นด้วย
กสทช. ระบุเอาไว้ว่าจะพิจารณามาตรการเยียวยาก็ต่อเมื่อ ผู้ยื่นขอเยียวยาเข้าร่วมประมูลคลื่นความถี่ใหม่ (ในที่นี้คือคลื่น 900 และ 1800) เมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งdtac ก็ได้ร่วมประมูลคลื่น 1800 มาทั้งหมด 5MHz จึงเข้าเกณฑ์ของ กสทช. ที่จะได้รับพิจารณาเยียวยาคลื่น
ปัญหาอยู่ที่คลื่น 900 เพราะ กสทช. จัดเรียงคลื่นใหม่ (รีฟาร์ม) มาจากคลื่น 850 ทำให้หาก dtac ได้มาก็ต้องลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด โดยปัจจุบันคลื่น 850 หรือ UMTS 850 เป็นคลื่นที่ใช้งานความถี่ย่าน 824-849MHz สำหรับ uplink และ 869-894MHz สำหรับ downlink ส่วนคลื่น 900 นั้นอยู่ที่ 880-915MHz สำหรับ uplink และ 925-960 สำหรับ downlink จะเห็นว่าปัญหาคือคลื่นสองย่านนี้ทับซ้อนกัน และในความเป็นจริงแถบเอเชียแปซิฟิกก็ไม่ค่อยใช้งานคลื่น 850 นัก เท่าที่พบมีเพียง ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์, และไทย เท่านั้น การนำไปเรียงกันในย่าน 900 ทำให้การใช้คลื่นมีประสิทธิภาพดีขึ้น โดยคลื่นที่เพิ่งประมูลไป คือย่าน 900 เป็นคลื่น 885-890MHz uplink และ 935-940MHz downlink
การย้ายคลื่นเช่นนี้ทำให้ผู้ให้บริการต้องติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ (เพราะอุปกรณ์ 850 และ 900 ใช้ร่วมกันไม่ได้) โดย dtac ระบุว่าการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ต้องใช้เวลาถึง 2 ปี
นอกจากนี้ การประมูลคลื่น 900 ในรอบที่ผ่านมา ยังมีเงื่อนไขสำคัญคือผู้ชนะประมูลคลื่น 900 จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันคลื่นรบกวนให้รถไฟฟ้าในอนาคต และหากติดตั้งแล้วยังคงมีปัญหารบกวนอีก กสทช. ก็ยังสามารถปรับคลื่นความถี่ได้อยู่ดี ซึ่งทาง dtac มองว่าค่าใช้จ่ายตรงนี้ค่อนข้างสูงและไม่จำเป็น (อ่านเพิ่มเติม) ประกอบกับราคาคลื่น 900 ค่อนข้างสูง เพราะใช้ราคาตั้งต้นจากการประมูลครั้งก่อน (บทความที่เกี่ยวข้อง : GSMA เผยรายงานราคาคลื่นความถี่เฉลี่ยในประเทศกำลังพัฒนาสูงกว่าพัฒนาแล้ว, ไทยสูงติดอันดับโลก
จากทั้งประเด็นการเปลี่ยนคลื่น, ราคาคลื่นที่สูงถึง 35,000 ล้านต่อ 2x5MHz, และเงื่อนไขที่ต้องไปป้องกันสัญญาณรบกวนให้เครือข่ายอื่นทำให้ dtac ตัดสินใจไม่เข้าประมูลคลื่น 900 ที่
แต่อย่างที่ทราบกัน dtac และ CAT พยายามยื่นเรื่องกับ กสทช. มาตลอดแต่ก็ยังคงไร้เสียงตอบรับเรื่องการเยียวยา จน dtac ต้องฟ้องศาลปกครอง เพื่อขอคุ้มครอง
ด้วยสถานการณ์ดังกล่าว ความเป็นไปได้ของกรณีนี้จึงมี 3 ทาง
ความเป็นไปได้ที่จะไม่ได้รับเยียวยาอะไรเลยอาจจะต่ำสักหน่อย เพราะกระทบกับผู้ใช้จำนวนมาก หาก dtac ไม่ได้รับการเยียวยา จะเกิดผลกระทบหลักๆ 2 กลุ่มด้วยกัน
สำหรับผู้ใช้ทั่วไป ผลกระทบคงเป็นประสิทธิภาพของ 4G ในย่าน 1800 ที่น่าจะลดลงอย่างมาก เพราะคลื่นที่เคยมีกว้างถึง 25MHz (มี 50MHz ใช้จริง 25MHz) นั้นเหลือให้ใช้งานเพียง 5MHz ตามที่ dtac เพิ่งประมูลได้มา
ข้อมูลจาก dtac
ในแง่ประสิทธิภาพรวมของทั้งค่าย หลายคนอาจจะไม่ได้รับผลกระทบเพราะโทรศัพท์มือถือระดับกลางและระดับบนหลายรุ่นก็รองรับคลื่น 2300 หรือ dtac Turbo ที่กว้างถึง 60MHz แต่การติดตั้งให้ครอบคลุมเท่าเดิมก็ยังต้องใช้เวลา และโทรศัพท์เก่าๆ จำนวนหนึ่งก็ไม่รองรับคลื่นนี้ ทำให้คนจำนวนมากน่าจะอยู่ที่ 1800 และ 2100 ต่อไปอยู่ดี
แม้ว่า dtac จะยืนยันว่าการขอเยียวยาจะไม่ใช่การใช้คลื่นฟรี บริษัทจะต้องส่งกำไรทั้งหมดให้ กสทช แต่ก็อาจมีปัญหาเรื่องนี้ตามมีอีกระลอก เพราะก่อนหน้านี้ทั้ง AIS และ True ก็เคยมีปัญหาหลังการเยียวยากับกสทช. มาแล้วจากการที่ไม่สามารถตกลงกันได้ว่า แค่ไหนควรเป็นต้นทุน แค่ไหนควรเป็นกำไร จนจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้ กสทช. เพิ่มขึ้นและทุกวันนี้ก็ยังจ่ายค่าคลื่นกันไม่ครบ ล่าสุด True ก็ออกมาแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ด้วย
ที่สำคัญ คือลูกค้าที่ยังอยู่กับ dtac คงต้องติดตามการตัดสินใจของกสทช. และศาลปกครองอย่างใกล้ชิดต่อไป
Comments
คลื่น 900 ที่ ?
เป็นที่มี ?
แบนด์วิธ => แบนด์วิดท์
ตามมี => ตามมา
เห็นในพันดิป บอร์ดคุณตะพาบบอกว่า ถ้ากสทช ไม่เยียวยานั้นมีความผิด และคนส่วนมากไม่ได้อยากใช้ 3g,4g เพราะใช้แค่รับสาย โทรออก เท่านั้น
อันนี้เป็นหน้าที่ของกสทช. จริงๆ นะครับ โดยสภาพแล้วถ้าการปิดคลื่นมันกระทบคนนับแสน (หรือนับล้านแบบที่ dtac อ้าง) การเยียวยาก็ต้องเป็นหน้าที่จริงๆ ส่วนว่าจะเก็บเงินเท่าไหร่ไปคุยกันทีหลัง ไม่ใช่ปล่อยให้คนเป็นล้านสื่อสารไม่ได้ราวกับเกิดภัยพิบัติ
คนส่วนมากใช้แค่โทรก็เรื่องจริง แต่คนส่วนมากนั้นสามารถโทรต่อไปได้โดยไม่ต้องเยียวยา ตอนนี้ตัวเลขชัดๆ ว่าถ้าปิด 850 ไปจริงๆ แล้วจะโทรไม่ได้เลยกี่คนกันแน่ยังดูงงๆ ตัวเลขที่ชัดที่สุดคือ 90,000 ราย ส่วนตัวเลขอื่นนี่หมายความว่าอย่างไร ล้านกว่าที่ได้รับผลกระทบนี่จะโทรไม่ได้ นอกพื้นที่คลื่นอื่นๆ หรือมือถือไม่รับคลื่นอื่นเลย (มีด้วยไหม?) กี่คน
lewcpe.com, @wasonliw
แค่จะอ้างถึงการพูดคุยของเว็ปบอร์ดอีกเจ้า ต้องประชดขนาดนี้เลยหรอครับ?
เห็นในพันดิป บอร์ดคุณตะพาบบอกว่า ถ้ากสทช ไม่เยียวยานั้นมีความผิด และคนส่วนมากไม่ได้อยากใช้ 3g,4g เพราะใช้แค่รับสาย โทรออก เท่านั้น
ส่วนตัวไม่เห็นด้วยเรื่องการเยียวยา
แต่ถ้าต้องเยียวยาจริงๆ ทำไม่ไม่คิดราคาแบบว่า เอาราคาคลื่นล่าสุดมาหารเฉลี่ยเป็นรายวันที่ขอใช้เยียวยาไปเลย ไม่งั้นถ้าประมูลไม่ได้ก็คงต้องขอเยียวยาไม่รู้จบซักที
Ais True ก็เยียวยากันไปแล้วทั้ง2ค่ายครับ งั้นต้องเก็บย้อนหลังแบบนี้กับ2ค่ายนั้นด้วยมั๊ย?
ปัญหาหลักเลยคือ กสทช จะให้ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการรบกวนคลื่น
ลองคิดดูดีๆ ทำไมผู้ประมูลจะต้องไปติดตั้งให้ด้วย คนที่ต้องติดตั้งคือรถไฟไม่ใช่หรอ
หรือให้การรถไฟย้ายไปใช้คลื่นความถี่อื่นซะ หรือใช้อุปกรณ์อื่นทดแทน ก็จบไปตั้งนานแล้ว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เห็นด้วยนะ เพราะตอนนี้รถไฟส่วนที่มีปัญหาน่าจะมีเฉพาะเขตกรุงเทพและปริมณฑล ซึ่งแก้ที่รถไฟง่ายกว่า ที่สำคัญรถไฟใช้คลื่นฟรีเพื่อการพาณิชย์แถมยังเป็นการใช้คลื่นฟรีเพื่อโครงสร้างพื้นฐานที่มีรัฐบาลอุ้มชูด้วย
ถ้ากสทช.เดินเกมแบบนี้ แสดงว่าแผนการซื้อรถไฟและระบบนำทาง น่าจะซื้อจากรายเดียวกัน และใช้ความถี่เดียวกันชัวร์
ผมยังไม่เข้าใจว่าทำไมกสทช.ต้องปกป้องคนใช้คลื่นฟรี โดยการให้คนเช่าสัมปทานต้องจ่ายเงินซ้ำซ้อนด้วย
ทั่วโลกนะใช้คลื่นเพื่อพัฒนา infrastructure หรือโครงสร้างพื้นฐานประเทศมากกว่าที่ใช้เชิงพาณิชย์นะ รถไฟฟ้าก็เป็น 1 ในนั้น
อันนั้นทราบครับ แต่คลื่นต้องไม่ชนกัน และไม่สั่งให้ผู้เช่าสัมปทานต้องปกป้องผู้ที่ไม่ใช้สัมปทานครับ
ไม่รู้จริงๆเหรอ ตามกฎของทั่วโลกแล้วจะใช้คลื่น 850-900 MHz ในการเดินรถไฟฟ้า ยกเว้นญี่ปุ่นใช้ 700 MHz
อันนี้ต้องถามแล้วครับว่าทำไมที่อื่นไม่มีปัญหากับคลื่นโทรศัพท์ แต่ทำไมที่ไทยมีปัญหาตั้งแต่ยังไม่ได้เริ่ม แล้วมั่นใจเหรอว่าใช้คลื่อนคลามถี่อื่นนอกเหนือจากนี้ไม่ได้เลย ผมว่าไม่ใช่แล้วนะ
ผมว่าการรถไฟแก้ปัญหาโดยปัดความรับผิดชอบให้ผู้ชนะประมูลคลื่นติดตั้งอุปกรณ์ โดยที่เลือกที่จะใช้คลื่นฟรีๆ และไม่ป้องกันอะไรเลย ไร้ความผิดชอบโดยสิ้นเชิง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ติดตั้งอุปกรณ์ ลดการกวนสัญญาณ
ลดกำลังส่ง ของแต่ ละ เซลไชต์ลง
ติดตั้ง เซลไชต์ให้มากขึ้น
แค่คิดก็ปวดหัวละ ใช้เงินมากขึ้น แถมลูกค้ายังด่าเปิง
ตัวคลื่นย่าน 2300 MHz เป็นคลื่นแบบ TDD ครับ ใช้ความถี่ได้ 60 MHz ผืนเดียวเลย ไม่ใช่ 2x30MHz นะครับ (ซึ่งในการใช้งานจริงจะถูกซอยเป็น 20MHz 3 block แล้วทำ CA กันอีกที)
โอ๊ะ ใช่ครับลืมว่า TDD ไม่ใช่ FDD ขอบคุณครับ
ลืมเอา 2x ออกฮะ ^^
AIS เคยขอ Dtac โรมมิ่ง แล้ว Dtac จะขอ AIS บ้างมั้ย??
คิดว่าคงไม่ครับ เพราะตอนนี้ dtac มาขอ roaming CAT เรียบร้อยแล้ว
DTAC ระบุได้ว่ามี 90,000 รายที่ได้รับผลกระทบ
ทำไมไม่โทรไปแจ้งหรือ SMS รัวๆ ให้ User ทำอะไรสักอย่างล่ะครับ ถ้าใส่ใจลูกค้ากลุ่มนี้จริง
ในจำนวนนั้นอาจจะมีไม่น้อยที่
คุ้นๆ ไม่รู้อ่านเจอที่ไหนว่าเค้า "แจ้ง" ลูกค้ากลุ่มนี้แล้วครับ ผมก็ไม่รู้ว่าแจ้งยังไง
ขอเพิ่มความเป็นไปได้อีกทางในมุมของผู้บริโภค ในกรณีไม่ได้รับการเยียวยา
คือคนย้ายไปค่ายอื่น ซึ่งผู้ที่ได้รับผลประทบเต็มๆ คือ dtac ไม่ใช่ผู้ใช้บริการ