ในงาน Adobe Max ของทุกปี ส่วนที่ได้รับความสนใจไม่แพ้คีย์โน้ตคือ Sneaks หรือรวมโปรเจกต์สนุกๆ ที่นักวิจัยใน Adobe สร้างขึ้นมาโดยใช้เครื่องมือจากแอพพลิเคชั่นออกแบบของ Adobe กับพลัง AI ของ Adobe Sensei Blognone จึงสรุปทุกโปรเจกต์ว้าวในงานมาฝาก
โปรเจกต์ที่รู้สึกชอบมากที่สุดส่วนตัว Moving Stills หรือการเปลี่ยนภาพถ่ายธรรมดาให้เป็นวิดีโอสั้นแบบสมจริง ปกติถ้าเราอยากทำให้รูปถ่ายมันดูมีมิติ มีความเคลื่อนไหว เราอาจจะโยนรูปเข้าไปใน Premiere Pro และทำให้มันเป็นแอนิเมชั่น แต่ผลงานที่ได้มันก็ยังคงแต่การซูมเข้าไปในรูปภาพให้ดูมีความเคลื่อนไหวแต่มันยังคงมีมิติเดียว แต่ใน Moving Stills ทำให้มันเป็นธรรมชาติมากกว่านั้นคือภาพที่ได้มีความเคลื่อนไหวแบบสามมิติ เหมือนเดินเข้าไปในรูปภาพจริงๆ หรือเหมือนมีกล้องวิดีโอถ่ายอยู่จริงๆ
นอกจากนี้ยังใช้มุมกล้องได้หลากหลาย ซ้าย ขวา บน ล่าง ภาพหรือวิดีโอสั้นที่ได้จะมีความสมจริงเหมือนใช้กล้องวิดีโอถ่ายอยู่จริงๆ ทั้งที่ความจริงมันเป็นเพียงถาพนิ่งและใช้ซอฟต์แวร์เข้าช่วยเท่านั้น กดดูวิดีโอเพื่อจะได้เห็นภาพมากขึ้น ในงานไม่มีการเปิดเผยว่า ซอฟต์แวร์นี้จะเปิดตัวในผลิตภัณฑ์ไหน หรือจะเป็นซอฟต์แวร์เดี่ยวๆ แยกออกมา
ในการออกแบบคาร์แรกเตอร์ตัวการ์ตูนบน Illustrator หากจะขยับร่างกายของตัวละครนั้นดูทำไม่ได้ง่าย แต่ Project GoodBones ทำได้ไม่กี่คลิก โดยคลิกกำหนดจุดตามข้อต่อของตัวการ์ตูนประมาณ 3 จุด ให้คล้ายเป็นกระดูกของตัวละครนั้น จากนั้นก็ขยับได้ทั้งอวัยวะ ไม่ต้องมาคอยขยับทีละจุดซึ่งซับซ้อนมาก (บางทีขยับแขน แต่มือไม่ตามมาด้วย เป็นต้น) นอกจากนี้การขยับตัวละครยังสร้างเป็นวิดีโอสั้นหรือไฟล์ GIF น่ารักๆ ได้อีกด้วย
ตัวนี้ฟังก์ชั่นจะคล้ายกับ Project GoodBones แต่เป็นการใช้งานในโปรแกรมออกแบบวัตถุ Adobe Dimension คือการปรับแต่ง ยืดหดงานใน Dimension นั้นต้องทำหลายขั้นตอน กว่าจะยืดหดได้มันมีหลายเลเยอรหรือต้องกำหนดจุดเยอะมาก ซึ่ง Project ModelMorph จะสร้างเส้นขอบมาให้ให้ปรับแต่งง่ายขึ้น แค่ลากครอบส่วนที่ต้องการปรับแต่ง โปรแกรมก็แสดงจุดและเส้นให้ลากได้
นักออกแบบอาจคุ้นเคยกับการใช้ Brush แค่ในโปรแกรมวาดรูป แต่ Brush Bounty ทำให้เห็นว่า Brush ก็สามารถนำมาในการร้างแอนิเมชั่นได้ด้วย อย่างการจะสร้างบรรยากาศบางอย่างในแอนิเมชั่น เช่น ฝนตก ลมแรง ผมปลิวตามลม อาจต้องผ่านหลายขั้นตอน Brush Bounty จะมี Brush ให้เลือก เช่นกดใช้ Brush ฝนตก ก็สร้างฝนตกได้ทันที ปรับเสียงและฝนหนักเบาได้ไม่กี่คลิก
ผู้สาธิตยังใช้ Brush ท้องฟ้าให้ดู มีหลากหลายบรรยากาศ เช่น ยามเย็น กลางคืน แดดแรง ก็ใช้ Brush สร้างบรรบากาศเหล่านั้นบนแอนเมชั่นได้เพียงคลิกเดียว
โปรเจกต์นี้ช่วยแก้ปัญหาซับซ้อนของการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นกล่องพับ ในการออกแบบบน Illustrator จึงต้องกางแบบพับออกมา และคัดลอกลวดลายไปวางไว้ตามจุดต่างๆ ที่จะพับเข้าไป แต่พอพับออกมาจริงๆ ลายก็เข้าไปอยู่ในรอยพับอยู่ดี Fantastic Fold จึงแสดงพรีวิวของกล่องพับออกมาแล้วไปพร้อมกับการออกแบบ เอาลายที่วาดมาทาบกับกล่องจริงแบบเรียลไทม์เพื่อดูว่าลายจะพอดีกับกล่องหรือไม่
Fantastic Fold ยังทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้นได้เช่น การออกแบบลายกระดาษที่พับเป็นรูปร่างต่างๆ เช่น พับนก มันยากที่จะออกแบบลายบนนกพับให้ดูสวย แต่ Fantastic Fold ทำได้ด้วยการให้นักออกแบบกด select พาร์ทที่จะเอาลายไปทาบได้ทีละส่วนเช่นส่วนท้อง ส่วนปีก
ปกติเราอาจชินกับการใช้แอพหาฟอนต์จากรูปภาพ แต่ Fontphoria สร้างฟอนต์ใหม่จากรูปภาพได้ โดยใช้ deep learning แกะตัวอักษรบนรูปภาพ(ดิจิทัล) มาปรับแต่งใหม่ และฟอนต์ที่ปรับใหม่ยังสามารถใช้เป็นฟอนต์ใหม่เก็บไว้ได้ด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ AR เอาฟอนต์ของตัวเองไปทาบกับรูปภาพต่างๆ เวลาเอากล้องจ่อ
ในงานวิดีโอ การ select สิ่งที่กำลังเคลื่อนไหวนั้นกนเวลาและซับซ้อน ใน Project Fast Mask ใช้ AI ในการ select สิ่งเคลื่อนไหวได้อย่างอัจฉริยะ ผลที่ได้คือ ครีเอทีฟสามารถทำอะไรกับิ่งที่เคลื่อนไหวนั้นได้ง่ายๆ เช่น เปลี่ยนสีวัตถุเคลื่อนไหว สร้างเอฟเกต์รอบๆ เป็นต้น ที่ล้ำคือแม้วัตถุนั้นจะเดินผ่านหลังฉากกั้นอะไรบางอย่าง การ select วัตถุนั้นยังคงอยู่ ไม่หายไป
หรือการใช้ AI ครอปวัตถุเคลื่อนไหวในวิดีโอให้อยู่กลางเฟรมอัตโนมัติ วิดีโอจะไม่มีปัญหาถ้าอยู่ในจอกว้างเช่น โรงหนัง แลปทอป แท็บเลต แต่บางคอนเทนต์เช่น Stories ในอินสตาแกรม, IGTV หรือวิดีโอแนวตั้ง มันสร้างปัญหาพอสมควร แต่ Project Smooth Operator ใช้ AI ช่วยจับวัตถุให้อยู่ตรงกลางไปตลอดได้ และถ้าเป็นวิดีโอที่มีแอคชั่นเยอะ เช่น โยนของเล่นให้สุนัข AI จะช่วยจับวัตถุที่ถูกโยนออกไปให้สุนัขให้ด้วย
เป็นการใช้ AR ส่องงานบน Adobe Dimension แบบใก้ลชิดวัตถุมากที่สุด เช่นออกแบบของเล่นเครื่องบิน ก็สามารถส่องมือถือเพื่อดูที่นั่งนักบินข้างในได้ ดูรอบตัวเครื่องอย่างใกล้ชิด
โปรเจกต์นี้เรียกเสียงร้องด้วยความสนุกสนานในงานไม่น้อยเลย เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถเปลี่ยนเสียงอะไรก้ได้ให้กลายเป็นเสียงเครื่องดนตรี หรือแม้แต่เสียงโอเปร่าได้ เริ่มจาก กดอัดเสียงตัวเองเข้าไป กดเปลี่ยนเสียงเป็นโทนที่เราอัดไปอัตโนมัติ สามารถเปลี่ยนเป็นเครื่องดนตรีต่างๆ คือ ไวโอลิน เชลโล่ เสียงโอเปร่า ปรับระดับต่ำสูงได้ น่าสนใจว่าในอนาคตมันจะสามารถเปลี่ยนเสียงคนที่ร้องเพลงไม่เพราะ ให้เพราะขึ้นมาได้รึเปล่า (ตอนที่สาธิตยังคงทำได้แค่เสียงโอเปร่าเท่านั้น)
โปรเจกต์ต่างๆ ของงาน Sneaks ไม่การันตีว่าจะออกมาใช้งานจริงหรือไม่ หรือจะใช้งานจริงเมื่อไร ในปีนี้ ธีมที่ชัดมากๆ คือการใช้ AI Sensei เข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องการเสียเวลาที่นักออกแบบต้องเสียไปในการสร้างงาน หรือปรับแก้ไขอะไรบางอย่าง และยังสร้างสิ่งใหม่ได้เลยเช่น ProjectKazoo, Fontphoria เป็นต้น
ที่มา - Adobe
Comments
Moving Stills, Fantastic Fold, Project Kazoo 3อันนี้ผมชอบมากเลยแหะ
The Dream hacker..
สนุกและสร้างสรรค์มากๆ
ดีงามทุกตัวเลย
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ใช่
เห็นส่วนมากที่มาเสนอโปรเจคเป็นชาวเอเชียเยอะเลย ทำให้นึกไปถึงกระทู้ในพันทิปที่มีคนชอบตั้งเปรียบเทียบความไอคิวระหว่างคนเอเชียกับยุโรป และข้อมูลก็มีว่าคนเอเชียไอคิวเยอะกว่าแต่ทำไมคนยุโรปถึงประดิษฐิ์คิดค้นอะไรได้เยอะกว่าคนเอเชีย
ผมว่ามันอาจจะเกี่ยวกับภาพลักษณ์ขององค์กรก็ได้ครับ เพราะตอนนี้คนส่วนใหญ่น่าจะรู้ว่ากลุ่มทุนจากฝั่งตะวันออกนั้นกำลังมีอิทธิพลกับโลกปัจจุบันมากขนาดไหน เพราะฉะนั้นการดันคนเอเชียขึ้นมา ก็เหมือนกับกำลังเป็นการประชาสัมพันธ์ให้รู้ว่าตอนนี้เราเปิดกำลังเปิดประตูต้อนรับอยู่นะ
เก่งคนเดียว ก็แพ้ทีมเวิร์คครับ
เหมือนสมัยก่อน จีนเป็นประเทศที่เทคโนโลยี เหนือกว่าประเทศอื่นๆในยุคนั้น
แต่ฝรั่งเน้นการถ่ายทอดความรู้ มีระบบลิขสิทธิ์ ส่งต่อให้คนอื่นไปพัฒนาต่อยอดได้
ขณะที่จีน มักจะเก็บเป็นความลับในตระกูล ถ่ายทอดให้แค่ญาติหรือลูกศิษย์
ดึงามมากแต่ละอัน อัพเดทมาใช้เลยได้ไหม 5555
ดูแล้วขนลุกเลย! แต่ละโปรเจคเทพมาก!!