เว็บไซต์ข่าวสดรายงานว่า ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ผ่านร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรที่ว่าด้วยการชำระเงินภาษีผ่านทางช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรตรวจสอบเมื่อบุคคลและนิติบุคคลมีความเคลื่อนไหวทางบัญชีรับโอน และฝากเงินเกิน 3,000 ครั้งต่อปีหรือ ฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 400 ครั้งยอดรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป
ในที่ประชุมได้ลงมติในวาระ 3 มีผู้แสดงตนต่อที่ประชุม 146 คน ลงมติเห็นชอบ 139 เสียง และงดออกเสียง 7 เสียง
นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.คลัง ในฐานะประธาน กมธ. บอกว่าร่างกฎหมายนี้ไม่ได้เจาะจงเก็บภาษีเฉพาะผู้ค้าออนไลน์เท่านั้น แต่ยังเป็นการเพิ่มการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ เพราะจากตัวเลขของกลุ่มที่ใช้แรงงาน อายุ 30 – 39 ปีที่มี 10.7 ล้านคน พบว่าเป็นผู้มีเงินเดือนประจำ 8.2 ล้านคน ยื่นเสียภาษี 5.2 แสนราย และไม่มีระบบเงินเดือน 2.5 ล้านคน ยื่นเสียภาษี 3.1 แสนคน ขณะที่ส่วนนิติบุคคลที่เสียภาษี มี 6.4 แสนราย และยื่นแบบเสียภาษีเพียง 4.2 แสนราย ทำให้สร้างภาระทางการคลัง ยืนยันว่าร่างกฎหมายนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้เงินสดของประชาชน อีกทั้งผลดีของร่างกฎหมายคือช่วยตรวจสอบ และป้องปรามกลุ่มธุรกิจสีเทาได้
ที่มา - ข่าวสด
Comments
เปิดบัญชีทุกธนาคาร ธนาคารละ 2-3 ชื่อ จบ
ไม่รอดครับ
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
รอดครับ เพราะชื่อคนละคนกัน แต่มันได้นิดหน่อย ถ้าซื้อขายเยอะเกินก็โดนตรวจอยู่ดี
ดูนาทีที่ 16:03
ไม่น่าจะรอดนะครับ เพราะบัญชีธนาคาร ผูกกับ เลขบัตรประชาชน (ซึ่งสามารถ sum บน db ใด้ไม่ยาก)
ยกเว้นจะไช้ บัตรหลายใบ + ซื่อหลายซื่อ ... ถึงซื่อแรกก็จะโดนอยู่ดี แต่ก็อาจจะไม่มาก
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ธนาคารเขาไม่ได้รายงานข้อมูลการเงินให้รัฐหมดนะครับ แจ้งเฉพาะที่เข้าข่าย
ยกเว้นใช้พร้อมเพย์ น่าจะไม่รอดอยู่แล้วครับ
ถ้าใช้วิธีเอาคนในครอบครัว หรือคนอื่น มาเปิดบัญชีให้ก็จะตรวจสอบยากอยู่แล้ว
แจ้งเฉพาะที่เข้าข่ายนั้นแหละครับ
เข้าข่ายไม่ใด้บอกว่าต้องถึง 3000 ครั้ง / ปี อาจจะขอไปว่า 1000 ครั้ง / ปี แล้วเอาเลขมา sum กันก็ใด้
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
มันคนละคนกัน Sum? ได้เหรอครับ
ต่อให้ใช้ชื่อเดียวกันก็รอดสบายๆ นะ เพราะสรรพกรตรวจสอบเงินเข้าออกในบัญชีธนาคารไม่ได้ครับ แต่เป็นฝ่ายที่ธนาคารเป็นคนรายงานให้เมื่อจำนวนครั้งเกินเท่านั้น
สรรพากรคงมีวิธีตรวจสอบครับ
ทางที่ดีก็เข้าระบบให้หมดครับ เข้าระบบทุกคนก็ยุติธรรมดีครับ ตอนนี้คนอยู่ในระบบเสียภาษีเยอะ นอกระบบเสียน้อย ถ้าเป็นกรณีร้านค้าคือ ต้นทุนต่างกัน มำให้มีความได้เปรียบ-เสียบเปรียบด้านราคาเลยครับ
คนที่ค้าขายแล้วอยู่นอกระบบก็ไม่ต้องกังวลอะไร ขายของมีกำไร เข้าระบบภาษี เสียภาษีเพิ่ม ก็ไปบวกเป็นต้นทุนของสินค้าเพิ่มครับ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
จะเขียนไว้ในร้านว่า ลูกค้าคนที่ 1 ของวันนี้ให้โอนเข้าบัญชีนี้นะ ถ้าครบแปดคนแล้วคนที่ 9 ให้โอนเข้าบัญชีนี้นะ แบบนี้เหรอครับ?
ตามข่าวคือพิจารณาตามปีภาษี ถ้าถึง 3000 ครั้ง/ปี ก็เข้าข่าย
ตัวเลข 8 ครั้ง/วัน เป็นเลขที่สื่อหารออกมาให้เข้าใจง่ายเฉยๆ
ร้านเค้าฉลาดครับ ไม่ทำอะไรพรรค์นั้นหรอก
เค้าใช้วิธีไม่ให้เลขบัญชีหน้าเว็บ
พอสั่งซื้อของ รอเมลยืนยัน แล้วเค้าให้เลขบัญชีตอนนั้นครับ
จะเปิดกี่บัญชีก็ว่าไป จะให้เวียนแบบที่คุณบอกก็ได้
ในเมลตอบกลับแต่ละเมล จะให้โอนเข้าบัญชีไหน ก็ว่ากันไป
ก็คงไม่ใช่ทุกร้านที่ทำได้ แต่ถ้าขยันขนาดนั้นก็ปล่ายไปเถอ
ในทางปฏิบัติก็น่าจะเป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะคนที่ผูกร้านไว้กับแพลตฟอร์มต่างๆ ส่วนคนที่ขายนอกแฟลตฟอร์มเหล่านั้นก็แสดงว่าต้องมี transaction เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากพอสมควร มีแนวโน้มว่าจะเป็นร้านที่มีชื่อเสียง ซึ่งนั่นก็หมายถึงการเป็นเป้าของสรรพากรอยู่แล้ว
เอาเข้าระบบทำให้ถูกต้องง่ายกว่าครับ ผมผ่านจุดนั้นมาแล้วสุดท้ายแค่ยอมตัดใจกับรายได้ที่จะหายไปนิดหน่อย แต่ค้าขายสบายใจไม่ต้องกังวล ถ้าจะโตต่อได้ยังไงก็ต้องเข้าระบบ ยอดปีนี้จะเพิ่มกี่ล้านกี่สิบล้านก็ปล่อยมันเพิ่มไปไม่ต้องไปกังวลอะไรทั้งนั้นแล้ว สรรพากรเรียกหาโทรกริ๊งเดี๋ยวผมให้บัญชีเข้าไปชี้แจงครับ จบ
เรื่องพวกนี้มีปัญหาของมันครับ
ปล. ข้าราชการครับ
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ถึงเป็นโชว์ห่วยก็มีหน้าที่ต้องเสียภาษี จะโอนหรือจ่ายสดมันก็ลงบัญชีเดียวกันอยู่แล้ว ยิ่งถ้าร้านไม่ได้ใหญ่อะไรมากมายยอดไม่ถึงล้านแปดรอบเสียภาษีลดหย่อนได้สารพัดเก็บทุกอย่างลดภาระทางภาษีได้ครับ
ยอดเกินล้านแปดเป็นผู้ประกอบการจด VAT มันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ซื้อของมาขายก็มีภาษีซื้อเอามาหักภาษีขายจ่ายจริงไม่เท่าไหร่ ซื้อของใช้นู้นนั่นนี่เอามาหักเคลมเครดิตภาษีได้หมด
คนที่กลัวคือคนที่ทำไม่ถูกต้อง ถึงไม่รับโอนรับจ่าย QR ยังไงรายได้ก็เกิดอยู่ดี
เรื่อง vat นี่ สำหรับร้าน มันคิดเฉพาะส่วนต่างราคาซื้อกับราคาขาย นะครับ
เช่น ทุนมา 80 ขาย 100
ที่จ่ายจริงๆคือ (100-80) x 7% = 20 x 7% = 1.40 บาท เท่านั้น
ต่อให้คิด vat 10% ก็คือ 2 บาท
แต่มุมมองผู้บริโภคคือ 100 จ่าย 7 บาท
โชว์ห่วยรายได้ไม่ถึง 1.8 ล้านก็ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้วนี่ครับ เส้นทางภาษีมูลค่าเพิ่มสิ้นสุดกับที่ที่โชว์ห่วยซื้อของมา เว้นแต่จะอยากจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
ส่วนกรณีที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ใกล้เคียงกับที่คุณ Hoo บอกครับ แต่จริงมันคือการนำยอดภาษีขาย-ภาษีซื้อในแต่ละเดือนแล้วนำส่ง
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เลี่ยงภาษี คดีอาญานะครับ ของแรงอยู่เด้อ
แถม สรรภากร มีระบบรับแจ้ง บุคคลเลี่ยงภาษี ถ้าโดนคู่แข่งแจ้ง ก็อาจจะโดนได้
ถ้าจะเก็บภาษีอย่างนี้นะ คุณต้องเพิ่มความสะดวกให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์เขาด้วย
ภาษีคือหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเสีย คุณไปซื้อไข่ต้มใน 7-11 คุณยังต้องเสีย VAT เลย
แล้วพนักงานบริษัทกินเงินเดือนโดนเก็บภาษีเต็มๆ ควรได้สิทธิอะไรเพิ่มไหมครับ
oxygen2.me, panithi's blog
Device: HP Zbook, iPad Pro, iPhone 15PM, iPhone 16+, Nothing Phone 1
ใช่ครับพวกพนักงานกินเงินเดือนนี่ละจ่ายเต็มๆหนีไม่ได้ แถมไม่ค่อยมีนโยบายอะไรช่วยเหลือเลย
ตลกและครับ คนหลายคนไม่ได้ขายออนไลน์ต้องมานั่งเสียภาษี
ตามข่าวคือ "ให้กรมสรรพากรตรวจสอบ" ครับ ถ้าไม่ได้ขายออนไลน์หรือไม่ได้เป็นรายรับอะไรก็ชี้แจงไป
ครับอยากสื่อเฉย ๆ ว่าไม่ใครก็ควรเสียภาษีเป็นหน้าที่ ไม่อยากอ้างว่าเสียแล้วคนขายออนไลน์ต้องได้นั้นได้นี้ ครับ
ร้านค้าออนไลน์ ... รับเงินรายเดือนครับ
แล้วถ้ากวนเค้ามากๆ เค้าจะย้ายไปส่งของจากประเทศเพื่อนบ้านเอา
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
แต่ตอนรับเงินรับที่เมืองไทยหรือเปล่าครับ ให้โอนเงินไปตปท.นี่ถ้าราคาไม่ดีจริงน่าจะขายยาก คิดอัตราแลกเปลี่ยนแล้วอาจจะกลายเป็นไม่ถูก
รวมใช้ TrueWallet ด้วยมั้ยเนี่ย ถ้าไม่รวมพ่อค้า,แม่ค้าก็คงเปลี่ยนมาใช้ทางนี้กันแทน
พอดีผมเป็นเท้าแชร์
เก็บภาษีก็ดีครับ จะได้เท่าเทียมกัน พนักงานเงินเดือนก็โดนมาตลอด แต่พวกขายออนไลน์กลับไม่โดน หรือโดนแค่นิดเดียว
แต่ปัญหาคือภาษีที่เก็บมันกลายสภาพเป็นโครงการ ผลงาน หรือแม้แต่กฎหมายก็ห่วยแตกไม่เคยแก้ไขให้ทันสมัย ทุจริต ทำงานไม่คุ้มภาษีที่เสียไปเลยด้วยซ้ำ หรือแม้แต่การพัฒนาที่ไม่ไปไหน เทียบกับบริษัทเอกชนที่ทำคอนโดยังบริหารได้ดีกว่ารัฐบาลด้วยซ้ำ ถ้าทำเป็นเก็บค่าธรรมเนียมแต่ละบริการของรัฐหรือชำระค่าใช้งานสาธารณูปรโภคทุกประเภทยังจะโอเคกว่าเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ในข่าวระบุ 3000 ครั้งต่อปี ทำไมพาดหัวถึงเขียนโอนเฉลี่ย 8 ครั้งต่อวันโดนตรวจสอบครับ น่าจะทำให้คนเข้าใจผิดได้ว่าโอนเกินวันละ 8 ครั้งแล้วจะโดนตรวจสอบ
มีคำว่าเฉลี่ยอยู่ชัดขนาดนั้นก็ไม่ควรจะเข้าใจผิดนี่ครับ?
แล้วทำไมต้องหารให้ละครับ เหมือนจงใจให้เป็นประเด็นซะเปล่าๆ แค่ระบุ 3000 ต่อปี ก็จบ คุณก็รู้คนสมัยนี้อ่านจับใจความไม่ค่อยได้ คงตีความเป็นเกินวันละ 8 โดนตรวจสอบแล้วล่ะ ไม่สนใจคำว่าเฉลี่ยหรอก
ดูต้นทางข่าวแล้วก็จะเข้าใจครับ ค่ายนี้ไม่ควรนำมาเป็นแหล่งอ้างอิงได้เลย เนื้อข่าวจริงแต่วิธีพาดหัวก็ทำให้คนไม่อ่านละเอียดตกหลุมกันได้ง่ายๆ หรือเนื้อข่าวบิดเบือนก็เยอะครับ
จะว่าข่าวปดก็เกรงใจ เพจข่าวปดยังมีคุณภาพมากกว่า
3000/365 = 8
(พาดหัว)ข่าวคลาดเคลื่อนมากครับ ที่แก้ครั้งนี้ไม่ได้แก้เพื่อเก็บภาษีเพิ่มครับ แค่แก้ให้แบงค์ต้องรายงายข้อมูลเฉยๆ ส่วนเรื่องเสียภาษีมันต้องเสียภาษีเงินได้ตามกฎหมายเดิมอยู่แล้ว
ก็เป็นแบบนี้มาสักระยะนึงแล้วนะครับ เรื่องการพาดหัวข่าวแบบเรียกแขก แต่ทำยังได้ล่ะครับ นอกจากทำใจ เพราะเรื่องที่เราน่าจะรู้กันดี
ผมยังจำตอน Pokemon Go ที่พาดหัวเรียกแขกได้ขึ้นใจอยู่ครับ ไม่คิดว่าจะทำเดิมอีกเช่นเคย ผิดหวังกับเว็บเครือนี้สุดๆ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
sunnywalker เขาแนวนี้อยู่แล้วครับ ชอบแซะ ชอบพาดหัวข่าวเรียกแขก
ตรวจสอบเพื่อเก็บภาษี ในเมื่อปลายทางมันคือการเก็บภาษี และจุดมุ่งหมายเพื่อเก็บภาษีกับคนขายของออนไลน์ที่ไม่เคยเสียภาษีมันคาดเคลื่อนยังไงครับ ให้พาดหัวว่าให้แบงค์รายงานบัญชียังกำกวมกว่าเลย รายงานเพื่ออะไรฟอกเงินหรือเปล่า จะให้พิมพ์ครบหมดมันก็ยาวเกินถ้าไม่อคติกับเว็บนี้ก็น่าจะเข้าใจง่ายๆครับ ยกเว้นจะเข้ามาหาเรื่องจริงๆ
"สนช.ผ่านร่างกฎหมายเก็บภาษีขายของออนไลน์" ใครๆ อ่านก็ต้องนึกว่ามีการเก็บภาษีแบบใหม่เพิ่มกับการขายของออนไลน์ ผมว่าคุณนั้นแหละอคติเข้าข้างเว็บนี้ แถม "โอนเฉลี่ยเกิน 8 ครั้งต่อวันถูกสรรพากรสอบ" ก็ยังคลาดเคลื่อนอีก จริงๆ แล้วแค่แบงค์รายงานไปให้สรรพกรเฉยๆ ไม่ใช่สรรพกรจะสอบเลยทันทีซะหน่อย
พาดหัวเอากระแส แย่มากๆ
เห็นในเพจทั้ง blognone กับ brandinside ก็มีคนบ่นแบบนี้เหมือนกันครับ
ต้องเสียภาษีอัตราเท่าไหร่ครับ
ตามปกติเลยครับ ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาก็ตามเรตบุคคลธรรมดาเลย นิติบุคคลก็นิติบุคคลไปเลย
แบบนี้พวกเล่นแชร์หรือเจ้ามือหวยมีหนาวสินะ แต่พวกหวยบางคนคงไม่โดนหรอกครับ อย่างน้อยที่ผมรู้จักเพราะเจ้ามือมีสีด้วย
เป็นพนักงานประจำไม่ได้ขายออนไลน์ แค่โอนเงินเข้า-ออกบัญชีฝากดอกสูงกับATMและจ่ายเงินออนไลน์ค่าน้ำไฟประกัน เกิน400ครั้ง/2ล้านแน่ๆทั้งๆที่รายได้ไม่ถึง
แบบนี้ต้องอธิบายสรรพกรใช่มั้ยว่าทำอะไรมั่ง
นั้นสิครับแบบนี้ยุ่งตาย สรรพากรน่าจะตรวจดูได้ด้วยว่าโอนเกิน 3,000 ครั้ง หรือ 400 ครั้ง แต่ยอดถึงสองล้าน เนี่ยหักโอนเข้าออกบัญชีชื่อเดียวกันออกด้วย(เช่น นายกสิกร รักไทย โอนเงินจากบัญชีธนาคารA ไปบัญชี นายกสิกร รักไทย ธนาคารB ไม่นับ //นายกสิกร รักไทยโอนเงินจากบัญชีธนาคาร A สาขาเซ็นทรัลบางนา ไปบัญชีนายกสิกร รักไทย ธนาคารA สาขาเซ็นทรัล บางนา 2 ไม่นับ)
บริสุทธิ์ใจจริงก็อธิบายไปสิครับ หลักฐานในมือมีอยู่แล้ว ยังไงก็รอด
คนที่กังวลมีแต่พวกที่ทำไม่ถูกต้องเท่านั้นแหละ
รายการมันปกติ ครับ เช่นจ่ายบิล จ่ายค่าไฟ โอนไปมาระหว่างญาติ ลูกเมีย มันอธิบายได้
มันต่างกับขายของ ที่เงินจะเข้ามาตลอด จาก บัญชีคนที่เราไม่ได้ทำธุรกรรมบ่อยๆ...
มันแยกความแตกต่างได้ง่าย
และถ้าสรรภากร ขอรายการเดินบัญชีจากทุกธนาคาร ก็เอามาใส่โปรแกรมหรือ AI แยกบุคคลออก เราก็รอดครับ
"ฝากเงินหรือรับโอน" หมายถึงดูเฉพาะเงินขาเข้านะครับ ซึ่งพนักงานประจำทั่วไปคงไม่ได้มีเงินขาเข้าบ่อยหรอกครับ และถ้าโอนระหว่างบัญชีตัวเองต้องโอน 30 ครั้งต่อเดือนก็ดูจะโอเวอร์เกิน ซึ่งจริงๆก็น่าจะตรวจสอบและตัดรายการพวกนี้ออกได้ไม่ยาก
มีคนรู้จักเคยโดน ยอดไหนชี้แจงได้จบก็จริงแต่แค่ยอดนั้นๆครับ ยอดไหนที่จำไม่ได้ว่าคืออะไร จะโดนนับไปเป็นรายได้หมดเลย
ใช่ครับ ถ้าเอกสารไม่ครบ ถึงแม้ว่าทางรัฐจะมีเอกสารหรือมีต้นขั้วที่บริษัท ก็ยังต้องเสียเงินอยู่ดี
สงสารคุณโต > w <
เมื่อต้นปีเห็นแม่ค้านั่งซีดต่อหน้าจนท.เพราะไปซื้อของกับร้านที่ไม่มีแม้แต่บิล(แสนกว่าๆเลยมั๊ง) ทำอะไรไม่ได้นอกจากให้กำลังใจแก
ผมนี่รู้ซึ้งเข้าถึงกระดูกเลยทีเดียว
มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้นถูกแล้วนี่ครับ
ไม่งั้นผมรับจ่ายค่าน้ำ-ค่าไฟ แล้วแอบขายยาบ้าซักรอบนึงก็จับไม่ได้แล้ว
จ่ายเงินค่าข้าวไปก่อนแล้วเพื่อนโอนให้ก็ต้องเอายอดนั้นไปเสียภาษี?
มีคนโอนเงินค่าข้าวให้ทุกวัน วันละ 8 รายการจริงๆ เหรอครับ? อันนี้สงสัยจริงๆ นะครับ
เค้าไม่ได้นับที่ค่าข้าว 3000 ครั้งครับ ถ้าบัญชีคุณถูกเข้าเงื่อนไขจากยอดใหญ่ที่ไม่ต้องเสียภาษี (เช่น ขายกองทุน ถอนเงินจากพอร์ตหุ้น) คุณมีสิทธิโดนเรียกไปชี้แจงทุกรายการเดินบัญชีที่เกิดขึ้นในปีนั้นครับ
ยอดใหญ่ที่ว่าน่ะไม่มีปัญหาเพราะมันชัดเจนว่าไม่เกี่ยว แต่ยอดเล็กน้อยที่คุณจำไม่ได้ว่าคืออะไร อาจจะโดนเหมารวมเป็นรายได้ครับ เคสที่ทราบมาคือสุดท้ายคือหาหลักฐานมายืนยันจนได้ว่าคนโอนเป็นกลุ่มเพื่อนกันเลยรอดไป
หมายถึงอันนี้ใช่มั้ยครับ
คือส่วนตัวสำหรับผมแล้วเป็นพนักงานประจำมีเงินเดือน และยื่นภาษีอยู่แล้ว สมมติว่าผมไม่ได้มีรายรับพิเศษอะไรเพิ่มจริงๆ Statement ฝั่งเงินเข้าที่ธนาคารส่งให้น่าจะมีสภาพแบบ
เป็นสรรพากรผมคงเดาได้แค่สองอย่าง คือ 1.ทำงานประจำ + ขายของเสริม 2.โอนกันเองในหมู่เพื่อน ซึ่งผมดูใน Statement (ของ SCB ที่อื่นผมไม่แน่ใจ) มันระบุชื่อคนโอนมาให้ ซึ่งก็มีไม่เกิน 10 คน เป็นชื่อเพื่อนๆ ญาติๆ ทั้งนั้น วนๆ กันไปทุกเดือน ผมว่าหลักฐานนี้น่าจะชี้แจงรับฟังได้นะครับ ยอดใหญ่ที่เป็นเงินเดือนก็ยื่นแล้วด้วย อีกอย่างถ้าเกณฑ์ 2 ล้าน สรรพากรน่าจะเล็งเรียกคนที่มียอดเข้าสม่ำเสมอหลักพัน-หมื่น เยอะๆ รวมกันได้เป็น 2 ล้าน มากกว่า Statement แบบผม
ปล. ผมไม่ได้บอกว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะโดนเรียก แต่ผมก็ยอมเหนื่อยนะถ้าให้พวกคนหนีภาษีต้องมาจ่ายซะบ้าง เผลอๆ ถ้าเก็บภาษีได้ครบถ้วนจริงๆ อาจจะลดอัตราภาษีให้พวกผมบ้างก็ได้
ปีนึงเพื่อนไม่น่าโอนค่าข้าวเกินแสนห้า ถ้าไม่เกินก็ไม่มีปัญหาครับเพราะได้รับการยกเว้นภาษี
ค่าส่วนกลาง+ค่าน้ำของคอนโด หรือ หมู่บ้าน น่าจะโดนกันหมดจากข้อนี้หรือเปล่าครับ?
"ฝากเงินหรือรับโอนรวมกันปีละ 400 ครั้งยอดรวม 2 ล้านบาทขึ้นไป"
สมมุติคอนโดมี 80 ห้อง จ่ายค่าน้ำทุกเดือน ปีนึงก็ 12*80 = 960 ครั้งแร่ะ ส่วนยอดรวม 2M โดนค่ารายปีของส่วนกลาง ก็น่าจะเกินอยู่แล้วนะ
ถ้าทำถูกต้องก็ไม่มีปัญหาอะไรครับ มันก็หลักการของการทำบัญชีทั่วไป สรรพากรเรียกก็เตรียมเอกสารเข้าไปชี้แจ้งแค่นั้น
ก็ชี้แจงครับ จบ เพราะเค้าไม่ได้หักภาษีอัตโนมัติซักหน่อย
ก็ต้องโอนเข้าบัญชีนิติบุคคลของคอนโด ซึ่งเสียภาษีอยู่แล้วตามปกติครับ
เค้าเก็บเงินปลายทางครับ
เก็บเงินปลายทางนี่มันเข้าระบบอยู่ละปะครับ เพราะบริษัท logistic เค้าต้องทำบัญชีส่งอยู่ละ แค่ว่าสรรพากรจะ cross check ป่าวแค่นั้น
เหมือนว่ายังกินกันไม่อิ่มนะ เลยต้องมาขูดรีดเพิ่ม
ถามว่าเห็นด้วยมั้ยเรื่องนี้ ตอบว่าเห็นด้วย แต่ถ้าจะทำจริงต้องเก็บภาษีคนที่ไม่เคยเสียด้วย และต้องมีอะไรชดเชยคนที่เสียบ้าง เช่นมนุษย์เงินเดือน นี่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย แต่ก็ไม่มีอะไรชดเชยให้ เป็นคนแบกประเทศนี้ทั้งประเทศที่ทำให้รัฐมีภาษีไปพัฒนาส่วนต่างๆ หรือโกงกินกันมากขึ้น ถ้ามีตัวเลือกว่าควรเสียให้ใครบ้างมั้ย และเสียเท่าไรน่าจะดี จะได้เกิดการแข่งขันกัน
เห็นด้วยว่าต้องเก็บภาษีคนที่ไม่เคยเสีย ปกติพวกหลีกเลี่ยงแล้วมาเจอทีหลังมีโอกาสโดนตรวจสอบย้อนหลังและมีค่าปรับต่างๆ อยู่แล้วครับ แต่ผมว่าไม่ต้องมาชดเชยให้คนที่จ่ายภาษีตรงเวลาหรอกเพราะมันคือหน้าที่อยู่แล้ว
อะไรคือขูดรีด ถ้าคนที่เสียภาษีเขาไม่ได้เก็บเพิ่มนี่ครับ แค่หาทางเก็บคนที่ไม่เคนจ่ายก็ถูกแล้ว ไม่งั้นคนที่จ่ายภาษีนี่เสียเปรียบ
งงว่าจะเขียนหัวข่าวเรียกแขกแบบเข้าใจผิดๆทำไม เพราะว่า 3000 ครั้งต่อปี กับ 8 ครั้งต่อวันนี่คนละความหมายกันเลย พาดหัวแบบที่มาก็ยังเข้าใจตรงกับความจริงมากกว่า
"เฉลี่ยเกิน 8 ครั้งต่อวัน"
365 วัน x 9 ครั้ง = 3,285 ต่อปี
365 วัน x 8 ครั้ง = 2,920 ต่อปี
3000/365 = 8.22 ครั้งต่อวัน
การพูดว่า "เฉลี่ยเกิน 8 ครั้งต่อวัน" มันผิดยังไงครับ?
"เฉลี่ยหนึ่งปีเกิน 8 ครั้งต่อวัน"
ก็เพราะว่ามันไม่ใข่สิ่งที่กฎหมายว่าไว้ไงล่ะครับ ผมมองว่า 3000 ครั้งต่อปีตามที่ร่างไว้ เข้าใจง่ายเพียงพอแล้ว การเอามาย่อยแล้วต้องเพิ่มการเฉลี่ย การประมาณ ปัดขึ้นปัดลง ก่อให้เกิดการเข้าใจผิดครับ
รวมถึงการเข้าใจผิดที่ว่ากฏหมายระบุว่าเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เกิน 8 ครั้งต่อวัน
อืม ถ้ามันเข้าใจง่ายจริง สำนักข่าวที่อื่นๆ เขาก็คงไม่มาหารเฉลี่ยให้ดูเหมือนกันล่ะครับ .. นาทีที่ 2:30
https://youtu.be/Ru9G3yNl6VU?t=149
คนเสียภาษีไม่ค่อยได้อะไรจากรัฐ คนที่ได้ตลอดคือคนที่ไม่เคยเสียภาษี แถมภาครัฐก็มีการโกงงบประมาณกันป็นข่าวบ่อยๆ ล้างผลาญไปกับงบประชามหานิยม สร้างระบบขอทานประชารัฐ
"คนเสียภาษีไม่ค่อยได้อะไรจากรัฐ คนที่ได้ตลอดคือคนที่ไม่เคยเสียภาษี" ประโยคนี้ไม่ถูกซะทีเดียวครับ
ภาษีส่วนใหญ่รัฐบาลต้องจัดสรรให้กับจังหวัดที่มีรายได้สูงอยู่แล้ว เอาง่ายๆ ก็กรุงเทพครับ คนเสียภาษีส่วนใหญ่ก็คือคนกรุงเทพ และเมกะโปรเจคเกือบทั้งหมดต้องมีจุดเริ่มต้นที่กรุงเทพหมดครับ (ตามนโยบายการรวมอำนาจสู่ส่วนกลาง)
คนต่างจังหวัดที่เสียภาษีน้อย หรือจังหวัดที่มีรายได้น้อยจริงๆจนไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี จะได้รับงบประมาณแค่ช่วงใกล้เลือกตั้งแค่นั้นครับ ถ้าไม่ใช่ช่วงหน้าเลือกตั้งรับรองไม่มีงบประมาณไปช่วยเหลือแน่นอนครับ
หรือนี่จะเป็นการไล่ให้ใช้เงิน คลิปโต 555
อันที่จริงถ้าขายของ online จริง หนีไปใช้ paypal ก็ดีนะ ลูกค้าปลอดภัยขึ้นเยอะ เคลมได้
คลิปโตราคาไม่เสถียรพอครับ ถ้าตลาดกระทิงอาจจะได้เพราะราคาขึ้นเรื่อยๆ แต่ตอนนี้ตลาดหมี BTC ซื้อเมื่อเดือนที่แล้ว 6500$ เดือนนี้เหลือ 3,900 = -40% ภาษีเรทสูงสุดยังจ่ายน้อยกว่านะ เหรียญเล็กเหรียญน้อยโดนหนักกว่านี้
ส่วน Paypal ยอดน้อยๆ ไม่ถึงแสนเรทแพงนะ 4.4% ถ้าถอนถี่ๆ ยอดน้อยๆ ก็โดนรายการละ 50 บาทอีก
ข่าวต้นฉบับไม่เห็นบอกว่าเฉลี่ย 8ครั้งต่อวันเลย คนเขียนเพิ่มได้เหรอ เพิ่มแล้วคนก็เข้าใจผิดอีก
จริงๆแล้ว ประเด็นสำคัญอีกอันที่สื่อเสี้ยมนี้ตัดออกไป คือ ระบบจะนับเฉพาะ "รับโอนและฝากเงิน"
พูดง่ายๆก็ คือ เฉพาะรายการที่มีเงินเข้าบัญชี รวม 3,000 ครั้งต่อปี
ไม่ใช่นับทุกการโอนเข้า-ออก
ดังนั้น คนปกติ ที่ จ่ายค่าน้ำไฟ-ค่าโทรศัพท์ จ่ายเงินซื้อของด้วย promptpay ฯลฯ นี่จะไม่มีทางโดนเลย
สมุดธนาคาร ปกติมีหน้าละประมาณ 20 รายการ เล่มนึงมีซัก 8 หน้า ก็ 160 รายการ
ปีนึง 3000/160 = เปลี่ยนสมุดธนาคา 18.75 เล่ม เฉพาะรายการโอนเงินเข้า
คนที่เข้าข่ายไม่ใช่คนปกติแน่นอน
ผมเพิ่มเป็นรับโอนคอมเม้นนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
เขียนข่าวได้แย่มาก
ยังไงครับ?
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
ผมเห็นด้วยนะ
อยากให้เก็บภาษีจากคนที่อยู่นอกระบบให้ได้เยอะๆ เก็บแบบมีประสิทธิภาพ เพราะมันตกหล่นไปเยอะเหลือเกิน ตอนนี้คนจ่ายก็จ่ายไป คนไม่จ่ายก็นั่งนับเงินกันไป
..: เรื่อยไป
ผมโอนไปมาระหว่างบัญชีตัวเองจะโดนมั้ยครับ ฮาๆๆๆๆๆ