หลังจากรัฐบาลโปแลนด์จับกุม Weijing Wang ผู้อำนวยการฝ่ายขายของหัวเว่ยโปแลนด์ไปตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมา แหล่งข่าวให้ข่าวกับทางรอยเตอร์ส ระบุว่ารัฐบาลอาจทบทวนการใช้อุปกรณ์หัวเว่ยในหน่วยงานรัฐ แม้จะไม่มีอำนาจไปกำหนดให้หน่วยงานเอกชนใช้อุปกรณ์จากบริษัทใดเป็นพิเศษ
ขณะที่ Joachim Brudzinski รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยโปแลนด์ระบุว่ามีความกังวลในหมู่ชาตินาโต้อยู่แล้ว และเขาเชื่อว่าชาตินาโต้ควรแสดงจุดยืนร่วมกัน
โฆษกหน่วยงานความมั่นคงของโปแลนด์ให้ข่าวกับทางรอยเตอร์สเพิ่มเติมว่าการจับกุม Wang เป็นการทำความผิดส่วนบุคคล และไม่ได้เกี่ยวโดยตรงกับ Huawei Technologies
Comments
แต่ในไทยเงียบกริบ เพราะยังไงรัฐก็ไม่สนใจอยู่แล้ว
กว่าจะรู้ก็สายเกินไปแล้ว ประเทยนี่แหละ ตัวดีเลย ทั้งนักการเมือง ทั้งประชนไร้คุณภาพ ทั้งสื่อไร้จรรยาบรรณ และกลุ่มต่างๆ ที่คอยทำลายประเทศไปวันๆ โดยไม่เห็นอนาคตของตัวเองและชาติของตนเลยด้วยซ้ำ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
บ้านเรานี่ชอบเลยครับ บางภาครัฐ-เอกชน ถึงกับ Replace Cisco ไปใช้ Huawei
ปล. แต่ผมชอบ Network OS ของ Huawei นะ ใช้ง่าย คำสั่งเหมือนกันทุกแพลตฟอร์ม
อย่าว่าแต่ Network เลย มือถือก็ชอบ เพราะผมก็ใช้ของมันอยู่ แต่นั่นแหละ ใครใคร่ชอบฝั่งไหนก็ตามสบายเถอะ
ปล.จริงๆก็อยากให้ที่นี่มีเรื่องให้คนถกประเด็นกันระหว่างอเมริกากับจีนบ้าง เป็น Topic พิเศษโดยเฉพาะ แต่คงจะเป็นไปได้ยากเพราะอาจเกิดสงครามน้ำลายแบบที่เจอในหลายๆเพจแทนน่ะครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
เรื่องนี้พูดยากครับ เพราะมันเป็นไปทั้งห่วงโซ่ครับ ราชการเขียน TOR ความจริงก็อยากได้ของดีราคาถูก แต่คราวนี้น้ำหนักมันไปถ่วงอยู่ราคามากกว่าไงครับ เพื่อหวัง"เงินทอน" ดังนั้นเรื่องราคา Cisco ก็คงสู้ไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าจัดซื้อสิ่งที่แพงกว่า ขาข้างหนึ่งไปอยู่ใน "คุก" แล้วครับ คุณจะต้องมีเอกสารที่พิสูจน์ และแจงยิ๊บให้ได้ว่า ที่ซื้อแพงกว่า มีเหตุผลอันใด? เหตุใดจึงจ่ายเงินหลวงมากกว่า? และ ฯลฯ กับคำถามครับ
ดังนั้น ราชการไทยยังไงก็ play safe จัดซื้อถูกๆ ไป มีปัญหาที่พิสูจน์ได้จริงๆ มีหลักฐานเมื่อไหร่ค่อยว่ากัน ไม่ตื่นตระหนก จบ
รอยเตอร์ส (Reuters)
กระทรวงมหาดไท => กระทรวงมหาดไทย
หน่วยงานเอกชนให้อุปกรณ์จากบริษัทใดเป็นพิเศษ => หน่วยงานเอกชนใช้อุปกรณ์จากบริษัทใดเป็นพิเศษ
ประหลาดมาก ข่าวพวกนี้ไม่เคยแสดงหลักฐาน แต่คนเชื่อ
ที่น่าประหลาดใจกว่านั้น คือการที่คนเชื่อว่า จีนเป็นประเทศใสๆวัยรุ่นชอบนี่ล่ะครับ
ที่ข่าวอเมริกา นี่โดดเข้าใส่ เชื่อทันที
เพราะหัวเหว่ยเป็นเอกชนไงครับ ที่คุณว่ามันรัฐ ผมก็ยังไม่เคยเห็นใครกล้าพูดว่ารัฐบาลจีนไม่มีการจารกรรมข้อมูลนะ
ถ้าระดับรัฐนี่ ทั้งจีนทั้งอเมริกาไม่มีเครดิตเหลืออยู่แล้ว เพราะโป๊ะแตกมาหลายรอบ
แน่นอนว่าเอกชนจีนนี่ก็ยังไม่ค่อยน่าเชื่อถือเท่าไหร่ แต่จะยังไงก็ยังไม่เคยมีกรณีที่จับได้คาหนังคาเขา การที่มีคนออกมาขอหลักฐานก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลนะครับ
เอกชน แต่รัฐน่าจะคุ้มครองเยอะนะ ไม่งั้นคงไม่ออกโรงปกป้อง CFO คนนั้นหรอก
เอากันจริงๆ บริษัทใหญ่ในจีนนี่รัฐน่าจะมีเอี่ยวหมดทั้งทางตรงทางอ้อมละครับ
แต่การควบคุมบังคับนโยบาย กับการสั่งให้รุกรานประเทศอื่นนี่ก็เป็นเรื่องคนละเลเวลกันนะ
ถึงจะมีความเป็นไปได้สูงว่าจะทำจริงแต่ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าเป็นปัญหาจากเอกชน (ซึ่งหมายความว่า อาจเป็นสายลับจากรัฐจีนจริงๆ แต่บอกว่าหัวเหว่ยร่วมมือกับรัฐยังไม่ได้)
และการที่รัฐจะปกป้องคนมีชื่อเสียงของประเทศตัวเองก็ไม่น่าจะแปลกมากนัก
ลองคิดภาพว่าทิมเดินทางเข้าจีนแล้วโดนจับสิครับ ถ้าอเมริกาไม่ออกมาทำแบบเดียวกันก็แปลกแล้วละ
https://www.blognone.com/node/107546
พอจะใช้อ้างอิงว่า รัฐจีน สั่งเอกชนได้ตามใจชอบ ได้ไหมครับ
อย่างที่บอกครับ เอกชนจีนก็ไม่น่าเชื่อถือเท่าไหร่ เรื่องที่รัฐบาลจีน"ก้าวก่าย"เอกชนเป็นเรื่องที่รู้กัน
แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังไม่เคยมีหลักฐานว่าบริษัทเทคโนโลยีจีนได้รับใบสั่งและทำแบบนั้นจริงๆ ต่างจากอเมริกาที่เห็นกันหลายครั้งแล้วเรื่องยัดข้อหาให้ประเทศที่เป็นภัย/มีผลประโยชน์ให้เก็บเกี่ยว
เพราะงั้นถ้าจะต้องเลือกให้เครดิตระหว่างรัฐบาลอเมริกากับเอกชนจีน ผมก็ยังเลือกให้เอกชนจีนมีเครดิตมากกว่า แต่ไม่ได้หมายความว่าเอกชนจีนนี่น่าเชื่อถือหรอกนะ
อย่างกรณีนี้ โอกาสที่คนๆนี้จะเป็นสายลับจริงน่าจะสูง(ให้เครดิตโปแลนด์ที่ผมไม่มีข้อมูลการป้ายสีรัฐตรงข้าม) แต่จะเหมารวมว่าหัวเหว่ยรับใบสั่งจากรัฐยังไม่ได้ (ยังไม่ได้ = อาจจะเป็นจริงๆก็ได้ แต่ไม่มีหลักฐานและไม่มีคดีเก่าที่มีหลักฐาน)
อีกอย่าง ที่คุณยกตัวอย่างมาคือการเซนเซอร์เนื้อหาซึ่งเป็นสิทธิ์ของรัฐบาลแต่ละประเทศครับ จะมาเหมารวมกับกรณีการจารกรรมข้อมูลซึ่งเป็นการทำความผิดกับประเทศอื่นไม่ได้
จากประสบการณ์ตรง ถ้าให้เลือกลงแอพที่ทำงานแบบเดียวกันจากทั้งสองฝั่ง ผมตัดสินใจได้ทันที่ว่าจะเลือกลงของอเมริกามากกว่า ถ้าพูดถึงความเชื่อใจ ผมให้อเมริกา 80 จีน 20 วันก่อนถ่ายคลิปจากแอปกล้องที่ติดมากับเครื่องของ Xiaomi เสร็จแล้วกดที่คลิปเพื่อจะดูวิดีโอ มันเด้งมาเตือนว่าต้องให้ permission ก่อนถึงจะดูได้นะ permission ที่ต้องการคือ Storage, Location, Phone, Contacts สองอันแรกนี่พอเข้าใจแต่อันหลังนี่มันจำเป็นขนาดนั้นเลยเหรอ ผมแค่จะดูคลิปที่เพิ่งถ่ายไปเมื่อกี๊เฉยๆ นี่คือแอพที่ติดมากับเครื่องนะครับ มีกี่คนแล้วที่ต้องให้ permission ไปด้วยความไม่รู้
อันนั้นจะเป็นเอกชนจีนกับเอกชนอเมริกาแล้วครับ
คือถ้าจะเหมารวมเป็นชาติๆ อย่างน้อยก็น่าจะแบ่งส่วนภาครัฐ-เอกชนก่อน เพราะระดับเอกชนนี่อเมริกาดูดีกว่าแบบเทียบไม่ติดอยู่แล้ว
ซึ่งเรื่องนั้นก็ต้องดูเป็นกรณีด้วย เอกชนต้องการสูบข้อมูลส่วนบุคคลเราไปทำกำไร ทั้งเอกชนอเมริกาและจีนก็ทำ แต่ของจีนทำน่าเกลียด
แต่อันนี้คือข้อกล่าวหาว่าเอกชนจีนร่วมมือกับรัฐบาลจีนในการจารกรรมข้อมูล มันเป็นเรื่องคนละเลเวลแล้วครับ
ไม่ต้องอะไรมากครับ อย่างHuawei เป็นเอกชนก็จริงแต่ผูบริหารมีส่วนอยู่ในพรรคการเมืองงของจีนแค่นี้ก็รู้ว่ามีการก้าวก่ายได้ตามใจชอบแล้ว..
ไม่แปลกใจ เพราะบริษัทจีนเกือบทั้งหมด มีสมาชิกพรรคอยู่ในนั้นอยู่แล้ว หรือเป็นหน่วยงานของรัฐแบบ ZTE สามารถบังคับยังไงก็ได้ตามใจชอบตั้งแต่แรกแล้ว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ประเทศที่แบนได้แม้แต่หมีพู มีอะไรให้ไม่น่าเชื่อบ้างครับ?!?
+100
ตกลงหาหลักฐานว่า Huawei มันฝังอะไรในอุปกรณ์เจอรึยัง
อเมริกา - การตรวจสอบจากภาคเอกชนและประชาชน สามารถต่อต้านหรือกระทำได้ ภายใต้บริบทสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมาย
จีน - เอกชนและประชาชน ไม่มีสิทธิ์ต่อต้านตรวจสอบระงับยับยั้งอันใดทั้งสิ้นตราบที่รัฐต้องการสิ่งอันพึงประสงค์
ทั้งสองฝั่งต่างมีสายลับ มีคนโกง มีกลวิธีสารพัด แต่ความน่าเชื่อถือก็ตามด้านบน
ไม่ต่างกันหรอกครับ อเมริกาเอกชนก็ = รัฐบาล เพราะพรรคใหญ่ 2 พรรคก็มีคนจากบริษัทใหญ่ ๆ อยู่และให้เงินสนับสนุนทั้งนั้น ประชาชนจะต้านสิ่งผิดก็เจอข้อกฎหมายเจอฟ้องศาลปิดปากอะไรกันไป
ผมก็เห็นด้วยนะครับ อเมริก ถึงมีทำบทผู้ร้ายอะไร แต่เวลาผ่านไปเอกสารหน่วยงานรัฐต้องนำมาเปิดเผย ทำให้คนเห็นความจริงเยอะ แม้บางอย่างทำอะไรไม่ได้แล้วแต่ก็เป็นบทเรียนให้คนรุ่นหลังบ้าง เช่นพวกเอกสารที่นำไปสร้างหนัง (หนังที่ไม่ใช่เมกาเป็นฮีโร่ ) และหน่วยงานภายในเมกา อย่างน้อยๆหลายหน่วยก็มีอิสระอยู่บ้างในการทำงาน
จริงครับ
ความสามารถในการตรวจสอบจากภาคประชาชนนั้นต่างกันจริง ๆ
แล้วพี่จีนจะตอบโต้โปแลนด์ยังไงเอ่ย
อย่างกรณีนี้รื้อคดีของชาวแคนาดาที่เพิ่งตัดสินไปเมื่อหนึ่งเดือนก่อน ขึ้นมาพิจารณาตัดสินใหม่
จากโทษจำคุก 15 ปี กลายเป็นประหารชีวิต ส่วนจำเลยชาวจีนอีกคนในคดีระงับโทษประหารไว้
ข่าวที่แนบมานี่ ไม่แน่ใจว่าคนๆนั้นโดนข้อหาจากการก่อเหตุจริงๆ หรือโดนยัดข้อหากันแน่ แล้วเจอเหตุ CEO โดนจับ เลยยกระดับนักโทษให้ถูกประหารชีวิตแทนโทษเดิม แบบนี้มันแปลกๆ นะ
เหมือนจีนกำลังเดินตามอดีตโซเวียตยังไงอย่างนั้น โดยเฉพาะ
เผลอๆ ประวัติิศาสตร์อาจซ้ำรอยจีนแบบเดียวกับ Eastern Bloc ที่แตกต่างออกไปโดยสิ้นเชิง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว