หลังมีข่าวตั้งแต่ปลายปี 2017 ว่า Toyota กับ Panasonic เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ที่จะตั้งธุรกิจผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าร่วมกัน ล่าสุดทั้งสองบริษัทได้แถลงแล้วว่าจะร่วมทุนกันตั้งบริษัทใหม่ภายในสิ้นปี 2020 เพื่อการวิจัย, พัฒนา, ผลิต ไปจนถึงจำหน่ายแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนทรงกล่อง (prismatic cell), แบตเตอรี่แบบ solid-state รวมถึงแบตเตอรี่ยุคถัดไป
การร่วมทุนครั้งนี้อยู่ในสัดส่วน Toyota 51% และ Panasonic 49% โดยทั้งสองบริษัทจะนำเครื่องมือและบุคลากรเข้ามารวมกันในทุกส่วนของธุรกิจ จะมีโรงงานในญี่ปุ่นและที่เมืองต้าเหลียนประเทศจีนด้วย ซึ่ง Toyota ระบุว่าจะมีบุคลากรมารวมกันที่ราว 3,500 คน และ Panasonic จะเป็นผู้รับผิดชอบด้านการขายให้ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารายอื่นต่อไป
Toyota เคยประกาศว่าภายในปี 2030 จะจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้า (รวมไฮบริด) ให้ได้มากกว่า 5.5 ล้านคัน โดย 1 ล้านคันต้องเป็นรถยนต์แบบไร้มลพิษ คือรถยนต์ไฟฟ้าล้วน และรถยนต์ใช้เซลล์เชื้อเพลิง (ข่าวเก่า) ทำให้การร่วมทุนครั้งนี้น่าจะช่วยให้แผนดังกล่าวเป็นจริงขึ้นมาได้อีกทางหนึ่ง
แบตเตอรี่ทรงกล่อง หรือ prismatic cell อาจจะฟังดูไม่คุ้นหู แต่จริงๆ แล้วมันคือแบตเตอรี่ที่มีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม ที่เราเห็นบ่อยๆ ก็เช่นแบตเตอรี่ในสมาร์ทโฟน หรือถ้านำไปใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าก็จะมีขนาดใหญ่เหมือนกล่องและนำมาต่อเข้าด้วยกัน ส่วนแบตเตอรี่อีกแบบคือทรงกระบอก หรือ cylindrical cell ก็เช่นถ่านไฟฉายนั่นเอง โดยรถยนต์ไฟฟ้า Tesla เลือกใช้แบตเตอรี่แบบทรงกระบอก
ที่มา - Toyota
ภาพโดย Toyota
Comments
"จะมีโรงงานในญี่ปุ่นและที่เมืองต้าเหลียนประเทศจีน"
=> อยากให้มาเปิดโรงงานในพื้นที่ EEC ในไทยนะ
บ้านเราเจอภาษีนำเข้าแบตฯ เข้าไป ก็หนีแล้วครับ แม้แต่รถไฟฟ้าก็โดนด้วย แถมเราต้องนำเข้ามาประกอบ ไม่มีแหล่งวัตถุดิบในประเทศ ถึงมีก็น้อยมาก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
Detroit of the East ไทยตกบวนรถยนต์ไฟฟ้าแล้ว นโยบายรัฐยังเน้นรถใช้น้ำมันเพื่อเป็นหลัก อีกไม่กี่ปีบริษัทรถยนต์ต่างชาติคงย้ายฐานการผลิตไปผลิตรถไฟฟ้าที่ประเทศเพื่อนบ้านหมด
ก็นั่นหละครับ เห็นแต่ผลประโยชน์ตรงหน้า แต่ไม่มองอนาคตหรือประโยชน์ที่จะได้ กลายเป็นว่าเราล้าหลังที่สุดในอาเซียน ไร้ซึ่งความหวังและอนาคต และถูกเมินจากสายตาชาวโลก
ประชาชนก็หมดโอกาสพัฒนา ไร้นวัตกรรม ถูกมองเป็นของไร้ค่า ดำดิ่งสู่รัฐล้มเหลว แล้วกลายเป็นประเทศอดอยากแบบเดียวกับแอฟริกา.....
ถ้าไม่เริ่มตั้งแต่ตอนนี้หรือควรเริ่มตั้งนานแล้ว เราก็หมดอนาคตครับ สังเกตง่ายๆเลย แค่ปัญหาฝุ่น 2.5 แม้แต่ไฟใต้ยังแก้ไม่ได้ ก็ไม่ต้องมาบริหารประเทศแล้ว ให้เราประชาชนจัดการกันเอง ประหยัดภาษีได้อีก คนนับล้านได้มีอนาคตที่สดใส
บางทีแต่เรื่องเดียว มันลามไปเป็นปัญหาใหญ่ได้นะ กลายเป็นดินพอกหางหมู แก้กันไม่หมด เจอแต่แรงต้านและไม่ลงรอย ถ้าใครสักคนแน่วแน่ ทำจริง และตรงไปตรงมา เราคงเจริญไปนานแล้ว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เรื่องนโยบายรถไฟฟ้าในบ้านเรา นอกจากทฤษฎีสมคบคิดรบ.กับบ.รถหรือบ.น้ำมันแล้ว เคยอ่านบทสัมภาษณ์เจ้ากระทรวงฯ เรื่องนี้ ว่าที่ไทยยังไม่สนับสนุนเต็มที่ ส่วนหนึ่งเพราะเราไม่ได้ออกแบบแผนการจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้เพียงพอ โดยเฉพาะความมั่นคงทางพลังงานบ้านเราต่ำ ตอนนี้กำลังหลักคือจากก๊าซธรรมชาติ หากจะส่งเสริมรถไฟฟ้าต้องแก้แผนระยะยาว ให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าที่มั่นคงเช่นการมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งก็โดนตีตกไปแล้ว
จริงๆก็น่าคิดนะ ไม่กี่ปีก่อน แท่นก๊าซที่พม่าหยุดซ่อมกระทันหัน เขื่อนเมืองกาญฯ ต้องปล่อยน้ำกลางดึกเพื่อเร่งปั่นไฟชดเชย ตอนนั้นชาวบ้านริมน้ำ โดนท่วมหมด เพราะบอกล่วงหน้าแค่ไม่กี่ชั่วโมง อพยพย้ายของไม่ทัน ฯลฯ
แล้วนี่ถ้าจู่ๆรถไฟฟ้า มาเป็นแสนคัน เป็นล้านคันในไม่กี่ปี จะเอาไฟฟ้าจากไหน?
รบ.ไหนอยากจะส่งเสริม ก็ต้องแก้ไขกฎหมายและจัดหาพลังงานไฟฟ้าไปพร้อมๆกัน ไม่ใช่แค่ลดภาษีอย่างเดียว
อีกปัญหาที่เจอคือ ตราบใดที่เอะอะก็ประท้วงเรื่องสร้างโรงไฟฟ้า แต่ตัวเองก็ใช้ไฟฟ้าเยอะอยู่แล้วเนี่ย อันนี้น่าเป็นห่วงด้วยเหมือนกันครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
ผมว่าเรื่องคนคัดค้านเนี่ย มันมีกันทุกที่ทุกโครงการหละครับ ถ้ารัฐบาลใจกล้าหน่อยก็แค่รับฟังแต่ดำเนินการสร้างตามความเห็นผู้ประท้วงไป ถ้าหนักหน่อยก็วางแผนเสร็จแล้วสร้างเลย ไม่ต้องทำวิจารณ์หรือ EIA แบบที่เป็นข่าวในตอนนี้ คนโกรธมากเลยในตอนนั้น
แต่ถ้ามาคิดดูดีๆ มันก็ควรจะสร้างได้ตั้งนานแล้ว ไม่ต้องไปสนใจเสียงคนเสียประโยชน์และคนส่วนน้อย แลกกับอนาคตและความมั่นคงของประเทศครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
555 ทุกวันนี้ ไล่บีบ ไล่ปลด รฟฟ เอกชนออกจากกริด แต่ไฟสำรองก็ยังเกิน peak อยู่ตั้ง 40% เจ้ากระทรวงดันบอกยังไม่มีความมั่นคงทางพลังงาน สงสัยต้องบอกให้เจ้ากระทรวงไปนั่งอ่านแผน PDP ก่อนมาออกความเห็นหน่อยละ
ขอดูแหล่งอ้างอิงหน่อยครับผมไม่เคยได้ยินจากไหนเลย เคยแต่เจอว่าปัญหาไฟไม่พอตลอด
ไล่ออกจากกริด? ที่เคยได้ยินโวยวายกันไม่รู้ข่าวเรื่องเดียวกันไหม เฉพาะรฟฟ พลังงานทดแทนหรือเปล่า ไม่มีงบจะมาอุดหนุนหน่วยละ7 บาทแล้ว
สัมภาษณ์เจ้ากระทรวงนี่ผมจำเวลาไม่ได้ แต่น่าจะก่อนรปห.รอบนี้ ตัวเลขอาจจะเก่าไป
แผน pdp ที่ผมเคยอ่าน
http://www.egat.co.th/images/businessop/PDP2015-Jun2015-TH.pdf
http://www.eppo.go.th/images/Infromation_service/NEWS/2018/PDP_Public_Hearing2018_3.pdf
ตัวเลขล่าสุด 2561 การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติแม้จะลดลงจาก75% เมื่อสิบปีที่แล้ว แต่ก็ยังอยู่ระดับเกือบๆ 60% อยุ่ดี(ตัวเลขที่หายไป 11% เปลี่ยนเป็นนำเข้าไฟฟ้าจากเขื่อนเพื่อนบ้านแทน?) ส่วนเรื่องเกิน peak นี่เป็นเพราะการถดถอยการใช้ไฟฟ้าจากกลุ่มอุตสาหกรรมหรือเปล่า?
เมื่อมีความต้องการใช้ ซัพพลายมันจะมาเองครับ อาจจะขาดแคลนบ้างในช่วงแรก ถ้าความต้องการมันพุ่ง
แต่สุดท้ายซัพพลายก็จะตามทัน การบอกไม่ต้องเปลี่ยนเพราะซัพพลายจะไม่พอเป็นความคิดที่สิ้นคิดที่สุดละ
รอดูความชัดเจนอีกนิด 1-2 ปี ถ้ายังไม่มีอะไรดีขึ้น supply chain ไทย คงต้องคิดให้เยอะถึงอนาคต