Swift 7 ถือเป็นแล็บท็อปอัลตร้าบุ๊กตัวชูโรงของ Acer โดยเฉพาะในแง่ความบางและเบาที่เป็นจุดเด่นมาตลอด และก็พยายามบางลงทุกปี อย่างรุ่นนี้บางที่ 8.98 มม. แต่ก็อาจแลกมาด้วยข้อจำกัดบางอย่างเหมือนกัน
Swift 7 (2018) รหัสรุ่น SF714-15T วัสดุเป็นอะลูมิเนียมแบบยูนิบอดี้ สวยงาม ดูพรีเมียมและทนทาน หนักที่ราว 1.2 กก. หน้าจอ 14 นิ้วความละเอียด FHD รองรับทัชสกรีน ขอบจอค่อนข้างบาง กางได้ 180 องศา ส่วนเรื่องสีสันของหน้าจอถือว่าค่อนข้างมาตรฐาน ไม่ได้โดดเด่นเหมือนคู่แข่งอย่าง XPS แต่ก็ไม่ได้แย่ ข้อเสียของหน้าจอจะมีก็แค่เรื่องการสะท้อนแสง
พอร์ทมีมาให้แค่ 3 พอร์ทคือ Thunderbolt 3 (USB-C) 2 พอร์ทและ 3.5 มม. ด้านซ้าย แต่ Acer ก็แถม USB-C Hub มาให้ในกล่องด้วย ด้านขวาเป็นปุ่มเปิดเครื่องและถาดใส่ซิม (Swift 7 รองรับ LTE ในตัวด้วย)
Swift 7 ยังคงดีไซน์แบบ fanless หรือแล็บท็อปไร้พัดลมอยู่เช่นเดิม ถึงรักษาความบางระดับนี้ไว้ได้ แต่ก็แลกมาด้วยประสิทธิภาพของซีพียูที่ไม่มากนัก เพราะมากับ Core i7-7Y75 ซึ่งถึงแม้รุ่นจะเป็น i7 แต่มันคือ Core m เดิมที่เป็นซีพียูประหยัดพลังงาน ไม่ต้องใช้พัดลม ส่วนแรมเป็น DDR3L ขนาด 8GB, การ์ดจอออนบอร์ด Intel HD 615 และ SSD NVMe ขนาด 256GB
ด้านซ้ายข้างคีย์บอร์ดมีเซ็นเซอร์สแกนลายนิ้วมือที่รองรับ Windows Hello มาให้ ซึ่งก็ค่อนข้างเร็วตามมาตรฐาน
นอกจากเรื่องประสิทธิภาพของซีพียูแล้ว ช้อจำกัดหนึ่งของ Swift 7 ที่มาพร้อมความบางคีย์บอร์ดและแทร็กแพ็ด ตัวคีย์บอร์ดเป็นแบบ Chiclet มีไฟ blacklit แต่ระยะการกดไม่ลึกมากนักและปุ่มหลายๆ ปุ่มก็เล็กกว่าปกติ จนมีกดผิดกดถูกในช่วงแรกๆ ทำให้ต้องใช้เวลาระยะเพื่อความเคยชิน
ส่วนแทร็กแพ็ดยังแม้จะค่อนข้างใหญ่และใช้งานลื่น แต่ทว่าไม่ได้มีปุ่ม physical มาให้ด้วย หมายความว่าไม่สามารถกดคลิกขวาคลิกซ้ายได้เลย ต้องอาศัยการแตะ ลากและ gesture อย่างเดียว ซึ่งก็ลำบากอยู่ไม่น้อยในช่วงแรกเช่นกัน
ด้านแบตเตอรี่ Acer เคลมว่าสามารถใช้งานได้นาน 10 ชั่วโมง ส่วนการใช้งานจริงก็อยู่ที่ราวๆ 7-9 ชั่วโมง ซึ่งก็ถือว่าค่อนข้างเยอะ และด้วยความที่ไม่มีพัดลม ทำให้ Swift 7 ค่อนข้างเงียบ เรื่องความร้อนจะมีปัญหาก็เพียงตอนชาร์จไปทำงานไปเท่านั้น ที่ทำให้ตัวเครื่องร้อนจนสัมผัสได้จากการวางมือบนคีย์บอร์ด
ถ้าโจทย์คือความบางเบา สวยงาม หรูหรา เน้นใช้งานนอกบ้าน Swift 7 ตอบโจทย์อย่างมาก แต่ถ้าต้องการอัลตร้าบุ๊กที่มีความแรงด้วยก็อาจไม่ตอบโจทย์นัก
ข้อดี
ข้อด้อย
Comments
แตะสองนิ้วเป็นคลิกขวามั้ย
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
เป็นครับ มีอยู่ยี่ห้อเดียวที่ไม่เป็นคือ lenovo ไลน์ ideapad
yoga ผมก็เป็นนะ หรือว่าต้อง ideapad เลยที่ไม่มี
ผมนึกว่า yoga กับ ideapad ไลน์เดียวกัน แฮะๆ
ideapad 330S ก็ใช้ 2 นิ้วคลิกขวาได้นะครับ
ideapad 330S รุ่นใหม่ได้โดยไม่ต้อง regedit แล้วเหรอครับ
ที่ผ่านมาถูกปิดไว้ทุกรุ่น ต้องไป regedit เอา
ผมเดาว่าไม่จ่ายสิทธิบัตรให้ใครสักคน(เดาว่าapple)นี่แหละเลยไม่ได้ใช้ฟีเจอร์นี้ บน windows
เอาไปลง ubuntu ใช้ แตะ2นิ้วเป็นคลิกขวา ได้ปกติ
Layout คีย์บอร์ดนี่ ผมว่าต้องมีคนเผลอกดเปลี่ยนภาษาแน่นอน
ผมตั้งเปลี่ยนภาษาไว้ที่ Alt+Shift ครับ
บางท่านในบล้อกนันใช้ Alt+Space, Meta+Space
CPU Gen 7 จบๆๆๆ แยกย้ายๆ
บางมาก
ผมใช้ Swift 5 เป็นที่สุดด้านความเบาของ Notebook ตอนนี้ละ
พวกที่โฆษณาว่าน้ำหน้าเบา แต่ดันเกิน 1.0 kg นี่ ผมไม่กล้ามองเลย
ก็เลยคิดว่า Swift 7 ชูจุดเด่นด้านความบาง แต่ไม่สามารถทำให้เบาได้เลยหรือ ?
แต่เดาคำตอบได้ว่า ตัว 7 หากจะทำให้บางที่สุด ก็ต้องทำให้แข็งแรงด้วย ซึ่ง magnesium alloys บน Swift5 มันไม่ค่อยจะแข็งแรงเท่าไหร่
ปล อยากได้ Notebook ต่อ eGPU (แบบเล็กๆ) ง่ายๆจัง
เรื่องนี้ CEO Acer เคยอธิบายไว้ครับ
งงใจ แล้วทำไม MS ใส่คลิกซ้าย/ขาว มาใน Type Cover ได้ล่ะ
คนขี้ลืม | คนบ้าเกม | คนเหงาๆ
สิทธิบัตร ? ฮาา
Thunder 3 => Thunderbolt 3
Coder | Designer | Thinker | Blogger
นึกว่าพอร์ตใหม่ 555
เบาสุดๆ
อยากได้เบา แต่แรงแบบทำงานได้ปกติสุข คงต้องรอชาติภพหน้าแล้วกระมัง .. คงไม่ทันได้ใช้ในชั่วชีวิตนี้