ศาลอุทธรณ์ยกฟ้องคดีที่ รินดา พรศิริพิทักษ์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่องข่าวลือของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และภรรยาโอนเงินหลักหมื่นล้านไปยังธนาคารในสิงคโปร์ โดยการกระทำดังกล่าวถูกฟ้องในข้อหาผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2) แต่ศาลอุทธรณ์ยืนตามศาลชั้นต้นว่าข้อความอาจจะกระทบกระเทือนต่อผู้ถูกพาดพิง แต่ยังไม่มีลักษณะกระทบต่อความมั่นคง
ภาพจาก Facebook ประยุทธ์ จันทรโอชา
พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2) ระบุว่า นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคง ในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
โดยเนื้อหากฎหมายมีการปรับแก้จากของเดิม โดยเพิ่มคำว่า “ความปลอดภัยสาธารณะ” “ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” และ “โครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ”
สาเหตุที่มีการปรับแก้เพราะ พ.ร.บ. ฉบับเดิมประชาชนและนักกฎหมายคัดค้านมาก เพราะไม่ชัดเจนว่าข้อมูลที่สร้างความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ และก่อให้เกิดความตื่นตระหนก ขอบเขตมันอยู่ตรงไหน
ซึ่ง รินดา ถูกฟ้องว่าผิดมาตรา 14(2) แต่ศาลอุทธรณ์ตัดสินว่า กระทบกระเทือนต่อผู้ถูกพาดพิง แต่ยังไม่มีลักษณะกระทบต่อความมั่นคง
อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์มาตรา 14(2) ด้วย โดยเฉพาะกรณี นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ นายไกลก้อง ไวทยาการ นายทะเบียนสมาชิกพรรค และน.ส.จารุวรรณ ศรัณย์เกตุ กรรมการบริหารพรรค ถูกฝ่ายกฎหมายคสช. แจ้งความต่อ บก.ปอท. กล่าวหา ตามพ.ร.บ.คอมพ์ มาตรา 14(2) กรณีไลฟ์สดวิจารณ์พลังดูด เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2561 ที่ผ่านมา เป็นที่มาของแฮชแท็ก #Savethanathorn
ที่มา - iLAW, ประชาชาติธุรกิจ, ประชาไท
Comments
ลำใย !!
เอ้ยไม่ใช่ ลองกอง โทษทีดูผิดๆ ^ ^"
ถ้ารัฐบาลไม่สามารถรับฟังคำวิจารณ์ แล้วสักแต่จะฟ้องคนอื่นเพื่อทำลายชื่อเสียงและอนาคตของคนอื่น และผลประโยชน์ตัวเอง พูดเลยนะ อย่ามาเป็นเลยครับตำแหน่งนายกฯ ทั้งปากเสีย พูดไม่แยแสคนอื่น และพูดไม่ดูสถานะอะไรเลยเนี่ย
แล้วจริงๆ รัฐสภาไม่ควรมีตั้งแต่แรก แล้วให้ประชาชนดูแลกันเองยังจะดีกว่าให้ใครก็ไม่รู้มาดูแลแล้วพาประเทศถอยหลังเข้าคลอง เบื่อการเมืองครับ และการเมืองนี่แหละพาประเทศพังมาหลายรอบแล้ว แม้แต่บริษัทเอกชน แค่มีการเมืองภายในก็พาบริษัทเจ๊งมาแล้ว พูดเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เอ่อ อันนี้ไม่น่าจะใช่คำวิจารณ์นะครับ
ISIS ไงครับ ประชาชนดูแลกันเอง
ผมว่าไม่ใช่ครับ ISIS มีหัวหน้านะครับ แนวหัวรุนแรงอิสลามสุดโต่ง เป็นผู้ก่อการร้ายที่ไปแย่งพื้นที่คนอื่น และฆ่าคนมาก็มากมาย แถมทำลายสถานที่ทางประวัติศาสตร์ไปหลายที่ด้วย
คนละหลักการที่ผมบอกเลยครับ เพราะของผมต้องการตัดนักการเมืองออกจากสมการไปเลย แล้วให้ประชาชนตัดสินเองไปเลย ลดขั้นตอนไปได้เยอะเลย ไม่ต้องปวดหัวแบบตอนนี้ด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ประชาชนคือใคร? มีตัวตนมั้ย?
ก็เราไงครับ ไม่รู้เลยเหรอ คนที่เกิดในประเทศและมีสิทธิ์เสียภาษีตามกฎหมาย มีหมายเลข ID ของตัวเอง และบรรลุนิติภาวะแล้ว ไม่ใช่คนต่างด้าวหรือนักท่องเที่ยว
แค่มีหน่วยงานตามปกติ แต่เวลาสร้าง ออกความเห็น หรือทำเรื่องอะไรก็ตาม ก็ให้ประชาชนตัดสินแล้วโหวตเอา ส่วนภาษีก็เก็บตามปกติ แล้วเอามาใช้งานในหน่วนงานที่ผมบอก ที่แนวทางจะมาจากประชาชนจริงๆ ไม่ต้องผ่านนักการเมืองเลย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ต้องโหวตทุกเรื่องไหมครับ แล้วแบบนี้ มันจะเร็วได้ยังไงครับ คนกี่ล้านคน
เอาแค่ประชามติอย่างเดียวก็ล่อไปหลักร้อยล้านแล้วนะครับ ผมว่าขืนทำอย่างคุณว่าคนก็ไม่ต้องทำอะไรกันพอดี
ผมว่า เราสร้างระบบที่ประชาชนตรวจสอบได้ ทำให้ประชาชนเข้าถึงเมื่อต้องการได้จะดีกว่าครับ
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่สุดโต่งนะสำหรับตอนนี้ แต่คิดว่าในอนาคตจะเป็นจริง แต่ตอนรี้ยังเร็วไปครับ
ถ้าถามผมผมชอบครับ กับการกำหนดอนาคตด้วยตัวเอง
Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project
ก็ไม่ต่างอะไร ประชาชนก็จะผ่านการชี้นำจากผู้นำความคิดต่างๆ ไม่ต่างจากนักการเมืองอยู่ดี เสียเวลา เสียงบประมาณไปกับการโหวต และวิสัยทัศกระจัดกระจาย
จริงครับ เผลอๆจะชักจูงกันโหดกว่าที่เป็นอยู่
มีอยู่พรรคนึงที่มีแนวคิดแบบนี้ คือให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผมชอบนะ แต่กฎหมายที่จะมาสนับสนุนน่าจะเกิดยาก เพราะคงทำให้อำนาจของส.ส.ลดลงเยอะเลย
ขับรถหลวง เวลางานหลวง ไปหาเสียงในนามแคนดิเดตพรรค ชิลๆ
ถ้าเป้นพรรคอื่นคงโดนยุบ
เดี่ยวยุบพรรคกันง่ายจริง
มีด้วยเหลอ มีที่มาใหมครับ ถ้ามีจริงผิดวินัย ควรโดนไล่ออก
ช่วงนี้พบประชาชน เกือบทุกวันอยู่แล้วครับ แต่เขาอ้างว่าทำในนามนายก และก็ไม่ใช่การหาเสียง ทั้งที่ตัวเองเป็นแคนดิเดตพรรค
พปชร.แถลงว่าเป็นรถที่ประมูลมาปี 59 แต่ไม่ได้ลบตราออกครับ
อีกพรรคเป็นนอมินีชิว ๆ แถมแตกเป็นพรรคย่อย ๆ ก็ไม่เห็นโดนยุบเหมือนกันเลยครับ
Savelongkong
lol 55555555555
เราจะเลือกตั้งไปทำไมในเมื่อเลือกไป ก็รู้ผลอยู่แล้วว่าใครจะได้กลับมาเป็นนายก หรือว่าเหตุผลจริงๆคือ เลือกไปเพราะจะได้ ได้รับความชอบธรรม ว่ามาจากเสียงปชช. + สว 250 เสียงที่ผ่านประชามติจากเสียงปชช(เมื่อไร)
กำจัดประโยค "ไม่ได้เลือกมา" กับสร้างความชอบธรรมครับ
ผมมองไกลกว่านั้น ถ้าไม่ได้อยู่ในอำนวจ 44 อำนาจก็จะลดลงเรื่อยๆ มีมีสิทโดนตรวจสอบ โดนขึ้นศาลเข้าคุกได้ถ้าทำผิด อำนาจไม่มีทางอยู่ได้ตลอด
ผมเกรงว่าถ้าสมมติท่านผู้นำได้กลับมา ก่อนวันรับตำแหน่งก็แค่ประกาศต่ออายุม. 44 หรือแปลงเป็อย่างอื่นที่ใกล้เคียงแล้วก็อ้างนู่นนั้นนนี่ เพราะตรสบใดที่มีม.44 ก่อนฟมดอำนาจก็ตราอำนาจใหม่อะไรก็ได้
ถ้าคิดแบบนั่นก็ไม่ต้องทำไรละครับ รอวันอำนาจหมด แต่ประเทศรอไม่ได้ละครับ พังเละเทะหมด รบ ไหม่ ถ้าเข้ามา
กว่าจะทำงานได้ ต้องมานั่งไล่แก้กฏหมายที่บิดเบี้ยวที่ออกโดย คสช อีก
ก็ลองเอากฎหมายและรัฐธรรมนูญปี 2542 กลับมาใช้ใหม่ก็น่าจะดี
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ไปๆมาๆ เหมือนกฎหมายนี้ผูกกับผลการกระทำ คือ
1) ไม่เกิดความเสียหายก็ไม่เป็นไร
2) ความเสียหายต่อบุคคล ก็ให้ไปฟ้องหมิ่นประมาทเอาเอง
3) ต้องความผิดตามที่ระบุเท่านั้น