YouTube ยังเผชิญกับปัญหาคลิปเนื้อหาไม่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้เป็นคลิปที่เกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก กรณีล่าสุดเป็นการแทรก "ฉากสอนฆ่าตัวตาย" ลงในการ์ตูนสำหรับเด็ก และสามารถเล็ดลอดการตรวจจับไปขึ้น YouTube Kids ที่พ่อแม่ไว้ใจให้ลูกๆ เปิดดูได้ด้วย
Dr. Free N. Hess ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยออนไลน์ของเด็ก พบคลิปการ์ตูนเด็กที่ใช้ตัวละครจากเกม Splatoon (เป็นคลิปที่ทำโดยแฟนๆ ไม่ใช่การ์ตูนอย่างเป็นทางการ) บน YouTube และ YouTube Kids เมื่อดูการ์ตูนไปตามปกติจนถึงนาทีที่ 4:44 ก็มีผู้ชายคนหนึ่งปรากฏตัวขึ้นมาบนจอ และสอนวิธีการกรีดแขนเพื่อฆ่าตัวตายเป็นเวลาสั้นๆ เพียงไม่กี่วินาที จากนั้นก็ตัดเข้าฉากการ์ตูนตามปกติเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ความน่าสนใจคือคลิปนี้อยู่บน YouTube มานานพอสมควรแล้ว และมีคนรีพอร์ตปัญหาไปยัง YouTube แต่ก็ไม่เกิดผลใดๆ จึงคาดว่าผู้สร้างคลิปนี้จงใจใช้ฉากในการ์ตูนเพื่อเล็ดลอดการตรวจจับของ YouTube เมื่อผู้ตรวจสอบได้รับการรีพอร์ต เข้าไปตรวจคลิปดูก็เห็นเป็นการ์ตูนปกติ จึงไม่ได้ดำเนินการอะไร (ปัจจุบันคลิปถูกลบไปแล้วหลังเป็นข่าวดัง)
เหตุการณ์เกิดในวินาทีที่ 40 ตามคลิปด้านล่าง (ที่ถ่ายจากหน้าจอมาอีกที)
นอกจากนี้ Hess ยังยกตัวอย่างวิดีโอที่ไม่เหมาะสมอื่นๆ เช่น การทำวิดีโอจากเกม Minecraft จำลองฉากกราดยิงในโรงเรียน ฯลฯ การ์ตูนเหล่านี้มีกราฟิกสวยงามสำหรับเด็ก ดูเผินๆ อาจไม่มีพิษมีภัย แต่จริงๆ แล้วเนื้อหาภายในคลิปอาจใช้ถ้อยคำหยาบคาย หลอกลวง หรือมีฉากไม่เหมาะสมอย่างฉากยิงกันหรือฆ่าตัวตายได้
ที่มา - Pedimom, Pedimom, Washington Post
อีกกรณีหนึ่งที่ใช้เทคนิคคล้ายๆ กันและเกิดขึ้นช่วงไล่เลี่ยกันคือ Momo Challenge ซึ่งเป็นภาพรูปปั้นผู้หญิงครึ่งคนครึ่งนก ตาปูดโปน หน้าตาดูน่ากลัวในแกลเลอรีของประเทศญี่ปุ่น
ภาพนี้ถูกนำมาใช้เป็นมีมชื่อ Momo Challenge (โดยเจ้าของรูปปั้นไม่เกี่ยวอะไรด้วย) เพื่อชักชวนให้คนบนโซเชียลทำอะไรเสี่ยงๆ รวมถึงทำร้ายผู้อื่นหรือตัวเอง และการทำภารกิจไม่สำเร็จ หรือบอกเรื่องนี้กับผู้อื่นจะเกิดผลเสียตามมาต่อผู้ชมคลิป (เนื้อหาอาจดัดแปลงไปตามมีมแต่ละอัน แต่โครงเรื่องหลักเป็นแนวนี้)
Momo Challenge เริ่มแพร่หลายในปี 2018 และกลับมาอีกครั้งในช่วงนี้ วิธีการคล้ายกับกรณีข้างบนคือ คลิปการ์ตูนที่ใช้ตัวละครดังๆ อย่าง Splatoon, Fortnite หรือ Peppa Pig ถูกดัดแปลงให้แทรกหน้าของ Momo เข้ามาในบางช่วง และบอกให้เด็กๆ ทำสิ่งที่อันตรายอย่าง เข้าไปในครัว เปิดแก๊ส หรือหยิบมีดมาปาดคอตัวเอง โดยขู่ว่าห้ามบอกพ่อแม่ มิฉะนั้นพ่อแม่จะเกิดอันตราย
คลิป Momo Challenge รอบใหม่สามารถเล็ดลอดขึ้น YouTube Kids และมีรายงานจากโรงเรียนในอังกฤษว่าพบคลิปนี้แพร่หลายในหมู่เด็กๆ ซึ่งมีเด็กจำนวนมากเกิดความกลัว
อย่างไรก็ตาม โฆษกของ YouTube ยืนยันว่าไม่พบคลิปเหล่านี้ในช่วงหลัง แต่ก็ย้ำว่าให้รีพอร์ตเพื่อให้ทีมงานของ YouTube สามารถลบคลิปได้ทันที
We want to clear something up regarding the Momo Challenge: We’ve seen no recent evidence of videos promoting the Momo Challenge on YouTube. Videos encouraging harmful and dangerous challenges are against our policies.
— YouTube (@YouTube) February 27, 2019
ที่มา - Vox, Rolling Stone
Comments
อาชญากรรมไซเบอร์ชัด ๆ
รูปด้านล่างนี่ทำผมเกือบเอามือต่อยจอคอม
หลอนเกิ้น
ชั่วร้ายมากเอาน้องหมึกมาเล่นแบบนี้ได้ไง
แต่อีรุปล่างทำเอาผมตกใจตอนไถหน้าจอลงมาเหมือนกันนะ
รูปล่างเอาออกได้ไหม หลอนเกิน
เอาออกละครับ ตอนแรกก็ชั่งใจอยู่นานว่าจะใส่ดีมั้ย
วิดีโอที่ YouTube Kids แสดงขึ้นมาก็ใช่ว่าจะดีซะหมด บางอันก็ไม่ได้เรื่องเลย ที่อยากได้จริงๆ คือแสดงเฉพาะวิดีโอในช่องที่ subscribe ไว้เท่านั้น
แบบนี้จะรู้หรอว่ามีช่องอะไรบ้าง และควร sub ช่องไหน
หาเอาเองครับ ชัวร์สุด ... ทุกวันนี้ผมใช้ Youtube (ไม่ได้ใช้ Kids) แล้วถ้ามันขึ้นวิดีโอจากช่องที่ผมดูแล้วไม่โอแค่ ก็กด Not interested ไป ก็พอช่วยได้ วิดีโอที่ขึ้นมาโดยรวม ดีกว่า Kids เยอะครับ
เค้าหมายถึงว่า ถ้าจะแสดงผลเฉพาะวีดีโอที่ซับไว้เท่านั้น เวลาเปิดมาครั้งแรกที่ยังไม่ได้ซับช่องไหน จะให้มันขึ้นอะไรให้ดูครับ ถ้ามันไม่แสดงผลช่องที่ไม่ซับเลย
เรื่องนี้พ่อแม่ช่วยได้นะ ไม่ยากด้วย
มีปากก็ถามลูกได้ ว่าลูกชอบดูอะไร เดี๋ยวพ่อแม่ซับให้ เลือกช่องที่น่าเชื่อถือ
อ่าวมาไม่ทัน ใครแคปทัน เปิดวาปที
ดูในลิงก์ Rolling Stone ได้เลยครับ
ไม่น่ากดตามไปเลย ?
ดูแล้วกลับนึกวิธีที่ใช้กับ Youtube Porn day สมัยก่อนแฮะ
นึกถึงหนัง fight club เลย แต่ของจริงน่ากลัวกว่าหนังอีก?
Happiness only real when shared.
...
Happiness only real when shared.
สงสัยว่าเงื่อนไขที่คลิปจะไปโผล่ใน YouTube Kids นั้นมีอะไรบ้าง เพราะถ้าเป็นผมจะตั้งเงื่อนไขว่า
1. คลิปจะต้องมาจากช่องที่สามารถยืนยันตัวตนของเจ้าของได้เท่านั้น (เผื่อมีปัญหาอะไรจะได้หาคนรับผิดชอบได้)
2. ก่อนที่จะเอาคลิปไปแสดงใน YouTube Kids ช่องต้องเซ็นตกลงสัญญาดังต่อไปนี้
2.1 คลิปจะต้องไม่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเด็ก
2.2 หากคลิปมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม และปัญหาดังกล่าวเกิดจากฝั่งเจ้าของช่อง ระบบจะลบทั้งช่องทิ้ง และริบเงินที่ยังไม่จ่ายที่ได้จากยอดดูจากคลิปดังกล่าว รวมถึงฟ้องร้องในส่วนที่จ่ายไปแล้วด้วย
https://www.bbc.com/news/technology-47393510
จากลิ้งค์ BBC บอกว่า Momo Challenge เป็นเรื่องที่ hoax นะครับ
ซ้ำ
That is the way things are.
สงสัยว่าแล้วทอมแอนเจอรี่ อันนี้ดูใน youtube kid ได้มั้ยครับเนี่ย เพราะว่ากันตรงๆ เรื่องนี้สอนเรื่องการฆาตกรรมคู่แค้นกันตลอดเลย ทั้งเอาอาวุธขว้างใส่ เอาปืนยิง วางกับดัก ฯลฯ
ผมสงสัยแบบเม้นท์บนและเป็นเรื่องที่ผมสงสัยมาตลอด
การ์ตูนที่เราดูน่าจะควรแยกหน่อยว่าเป็นการ์ตูนเด็กสำหรับเด็กหรือการ์ตูนเด็กสำหรับผู้ใหญ่
โอเคแหละ พวก ชินจังจอมแก่น หรือ Happy Tree friends นี่การ์ตูนผู้ใหญ่แน่ๆ
แต่การ์ตูนที่ฉายๆอยู่ในช่อง Cable ทุกวันนี้เวลาผมเห็นหลานผมดูผมก็เกิดข้อสงสัยมากมายว่านี่การ์ตูนกำลังสอนอะไรเด็กๆอยู่ อย่างการ์ตูน Tom&Jerry หรือ Oggy ที่เป็นแมวกับแมลงสาบ นี่ก็มีแต่ทุบตีกัน ทำหยาบคาย เด็กๆดูก็สนุกสนานหัวเราะขำขันกับการได้เห็นตัวการ์ตูนแกล้งกันรังแกกันทำรุนแรงใส่กัน หรือการ์ตูนหลายๆเรื่องก็สอนให้เด็กๆ Bully กันเบาๆ อย่างล้อเลียนคาแรกเตอร์อื่น ว่า เจ้าเตี้ย, เจ้าอ้วน, เจ้าแหย อะไรแบบนี้
ผมอาจจะโลกสวยเกืนไปก็ได้ แต่ผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ หรือคนอื่นเค้าไม่รู้สึกกันนะ
ตามยุคสมัยครับ แนวคิดการทำการ์ตูนในแต่ละยุค ก็มีแตกต่างไปบ้างตามเวลาที่ผ่านไป อันนี้พอเข้าใจได้ แต่อันนี้ก็ต้องอยู่ที่วิจารณญานของผู้ออกอากาศและผู้ชมด้วยครับ ต้องแยกแยะจุดประสงค์ว่าทำมาเพื่ออะไรด้วยนะครับ และต้องระบุด้วยว่าเหมาะกับเด็กวัยไหน อารมณ์แบบไหน และถ่ายทอดอะไรไปให้เด็กด้วย
อย่าง Tom and Jerry ก็มีตอนช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เลยนะครับ แนวคิดการ์ตูนก็มาจากคนทำในสมัยนั้น บางตอนก็เหยียดสีผิวด้วยซ้ำจนต้องมา Remake หรือ Edit ก็มีนะ ส่วนบางเรื่องก็คงต้องกลับไปถามเจ้าของผลงานและผู้กำกับที่ทำออกมาว่า ทำไปเพื่ออะไร มีจุดประสงค์และจงใจใส่ความรุนแรงหรือไม่ เพราะอะไร เป็นต้น
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว