เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมาในงานประชุมวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาประจำปีนี้ (American College of Cardiology 2019) มีการแถลงผลการวิจัยเกี่ยวกับความแม่นยำในการตรวจหาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิด AF (Atrial Fibrillation) ซึ่งพบว่ามีความแม่นยำสูง1 เมื่อเทียบกับ เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาที่เรียกว่า ECG patch ในคนจำนวน 2,161 คน
งานวิจัยดังกล่าวเรียกกันว่า The Apple Heart Study เป็นความร่วมมือในการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัย Stanford บริษัท American Well และ บริษัท Apple ดำเนินงานวิจัยผ่านระบบ Telemedicine
เจ้าของ Apple Watch Series 1 - 3 ที่มี watchOS version 4.0 ขึ้นไป และใช้มือถือ iPhone 5s ที่ใช้ iOS version 11.0 หรือใหม่กว่า สามารถเข้าร่วมงานวิจัยนี้ได้โดยง่ายเพียงแค่ ดาวโหลด App ชื่อ Apple Heart Study หลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว ถ้า Apple Watch ตรวจพบความผิดปกติในการเต้นของหัวใจจะแจ้งเตือนผู้ใช้และให้ติดต่อกับทางทีมแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ หลังจากนั้นทีมวิจัยจะจัดส่ง ECG patch สำหรับวัดค่า ECG ต่อเนื่องตลอดระยะเวลา 7 วันและนำผลที่ได้ไปใช้เทียบผลกับ Apple Watch
เนื่องจาก AF นั้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเพียงสั้นๆ ชั่วขณะหนึ่งแล้วส่วนใหญ่สามารถหายไปได้เองและเกิดขึ้นในคนจำนวนน้อย งานวิจัยนี้จึงต้องรวบรวมคนเข้าในงานวิจัยเป็นจำนวนมากถึง 419,297 คน ตลอดระยะเวลาเก็บข้อมูล มีคนที่ Apple Watch แจ้งเตือนการเต้นหัวใจผิดปกติเพียง 0.52% ผลวิเคราะห์ทางสถิติจึงคิดจากจำนวนคนที่ติด ECG patch จำนวน 2,161 เท่านั้น
ผลการวิจัยจึงเปรียบเทียบใน 2 ลักษณะ คือ
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการศึกษานี้ทำในคนสี่แสนกว่าคน แต่มีคนที่ระบบแจ้งเตือนเพียง 0.52% ของทั้งหมด และมีแค่ 2,161 คนเท่านั้นที่ได้ติด ECG patch เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมงานวิจัยจำนวนมากไม่ติดต่อกลับทีมวิจัยของ Stanford หลังจากได้รับการแจ้งเตือนจาก Apple Watch
ที่มา - FB:Wipat Phanthawimol, Conference website, Apple Heart Study, American Well
Comments
lewcpe.com, @wasonliw
จริงๆ อธิบายค่อนข้างยากครับสำหรับข้อสุดท้าย เพราะรูปแบบงานวิจัยนั้นจะส่ง ECG patch ตามไปทีหลังราวๆ 13 วัน AF ที่ Apple Watch ตรวจจับได้นั้นอาจจะไม่อยู่แล้วก็ได้ครับ ซึ่งผลที่ได้ในข้อนี้เป็น primary outcome งานวิจัยนี้ครับ ผมเข้าใจว่ามันสะท้อนภาพการตรวจเจอในชีวิตจริงของเราที่ต้องให้นาฬิกาเตือนก่อนถึงไปตรวจซ้ำที่ รพ.
ส่วนที่ทีมวิจัยเคลมว่าตรวจได้แม่นยำ (acuuracy) คือ ในกลุ่มที่ติด ECG patch อยู่ในระหว่าง 7 วันนั้น แล้วมีเกิด AF ซ้ำ Apple Watch ตรวจจับได้ 71% / 84% จะลองปรับเนื้อหาอีกทีนะครับ
ผมลบคำว่า "อย่างแม่นยำ" ออกนะครับ เพราะเป็นการไปแสดงประสิทธิภาพ (ทั้งที่ outcome ไม่ได้ยืนยันขนาดนั้น)
lewcpe.com, @wasonliw
ดาวโหลด => ดาวน์โหลด
สูง1 ?
Apple Watch1 ?
Positive Predictive Value หมายถึงถ้า Apple watch บอก Positive แล้ว โอกาสที่จะ Positive จริงๆ จากอุปกรณ์ที่เปรียบเทียบเป็นจำนวนเท่าไหร่
พอดีผลยังไม่ได้เขียนชัดๆ ส่วนตัวผมเลยไม่อยากฟันธงว่ามันแม่นจริงหรือไม่แม่น น่าจะต้องรอดูเปเปอร์ฉบับเต็มก่อนดีกว่า
แต่สิ่งที่ได้จากงานวิจัยนี้คือ การ Recruit คนผ่านทางแอพมือถือ ไม่สามารถ retain คนให้อยู่ในงานวิจัยได้เลยครับ (สงสัยคนที่กดมาเป็นแค่ความอยากลองชั่วครั้งชั่วคราว)
การศึกษาอันนี้เดินข้อมูลจากการรายงานความผิดปกติจาก Apple Watch
ถ้าไม่มีการรายงาน ก็จะไม่มีข้อมูลต่อจากนั้นว่าตกลงผู้ป่วยมีภาวะหัวใจเต้นผิดดจังหวะชนิด atrial fibrillation/flutter หรือไม่
การรายงานจึงมีเพียง positive predictive value ไม่มี negative predictive value นั่นแปลว่าไม่มีข้อมูลบอกเราว่าถ้า Apple Watch ไม่รายงานค่าผิดปกติ ผู้สวมใส่จะยังอยู่ในภาวะปกติ
ผมมองว่าการวิจัยขั้นต่อไปคือออกแบบการเก็บข้อมูลเพื่อให้เห็น sensitivity กับ specificity และ negative predictive value แน่นอนว่าควรทำแบบ two arm ครับ