Stanford University
Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) หน่วยงานศึกษาวิจัยด้าน AI ของมหาวิทยาลัย Stanford ออกรายงานประจำปีดัชนีด้าน AI - Artificial Intelligence Index Report 2024 ซึ่งเป็นปีที่ 7 ของรายงานนี้ รวบรวมข้อมูลพัฒนาการของ AI จากแหล่งต่าง ๆ รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น
ประเด็นที่สำคัญในรายงานปีนี้มีหลายอย่าง ซึ่งรวบรวมมาดังนี้
ทีมวิจัยจาก Stanford Medicine รายงานถึงการทดลองใช้ GPT-4 มาช่วยร่างข้อความสำหรับแอปต่างๆ ที่แพทย์แพลพยาบาลใช้งาน โดยข้อความทั้งหมดเจ้าหน้าที่ต้องมาตรวจสอบก่อนส่งอีกครั้ง
การทดลองครั้งนี้มีแพทย์และพยาบาลเข้าร่วม 162 คน ทดสอบเป็นเวลา 5 สัปดาห์ และเนื่องจากมีแอปที่เจ้าหน้าที่ต้องใช้งานหลากหลาย แอปที่รองรับ GPT-4 จริงๆ คิดเป็น 20% ของการตอบข้อความทั้งหมดของเจ้าหน้าที่ ข้อความมีหลากหลาย เช่น คนไข้ถามอาการข้างเคียงของยา, หรือการรักษาอาการเบื้องต้น
ผลทดสอบไม่พบว่าเวลาการตอบข้อความเปลี่ยนแปลงมากนัก แต่เมื่อนำผลทดสอบความรู้สึกว่างานหนัก หรือความเหนื่อยล้าจากการทำงาน หลังใช้งาน GPT-4 ช่วยลดคะแนนทั้งสองตัวลงได้ แสดงให้เห็นว่า GPT-4 น่าจะช่วยลดโหลดงานของเจ้าหน้าที่ลงได้บางส่วน
ทีมวิจัยจากสถาบัน Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด รายงานถึงผลทดสอบการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ในกลุ่ม LLM ว่าแม้จะมีข่าวว่า LLM สามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างน่าทึ่งแต่ก็มีความผิดพลาดสูง ต้องระมัดระวัง
ทีมงานทดสอบการใช้งาน LLM โดยใช้โมเดล 4 ตัว ได้แก่ GPT-4, Claude 2.1, Mistral Medium, และ Gemini Pro เฉพาะ GPT-4 นั้นสร้างแอป retrieval augmented generation (RAG) ครอบอีกชั้นเพื่อทดสอบ โดยวัดว่าเวลาที่ LLM เหล่านี้ตอบคำถามแล้ว สามารถสร้างคำตอบโดยมีการอ้างอิงอย่างถูกต้องหรือไม่
Donald E. Knuth ปรมาจารย์แห่งวงการคอมพิวเตอร์ และผู้เขียนหนังสือชุด The Art of Computer Programming (ที่ปัจจุบันยังเขียนไม่จบ!) มีธรรมเนียมจะออกมาบรรยาย Christmas Lecture ให้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ซึ่งเขาบรรยายแบบนี้ติดต่อกันมา 30 ปีแล้ว (มีเว้นไปช่วงปี 2020-2021 จากสถานการณ์โควิด)
ศูนย์วิจัยโมเดล AI ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Center for Research on Foundation Models หรือ CRFM) ร่วมกับหน่วยงานวิจัยของ MIT Media Lab และ Princeton เปิดตัวดัชนีความโปร่งใสของโมเดล AI ที่เรียกว่า Foundation Model Transparency Index
ดัชนี Foundation Model Transparency Index ให้คะแนนโมเดล AI ขนาดใหญ่ของบริษัทต่างๆ ในเรื่องความโปร่งใสของกระบวนการสร้างโมเดล เริ่มตั้งแต่ข้อมูลที่ใช้เทรน การจ้างแรงงานเพื่อแปะป้ายให้ข้อมูลที่เทรน ความโปร่งใสของตัวโมเดล ความเสี่ยงในการใช้งาน มาตรการความปลอดภัย ฯลฯ รวม 13 หมวด
ผลออกมาว่าโมเดล Llama 2 ของ Meta ได้คะแนนอันดับหนึ่ง 54/100 จากปัจจัยการเป็นโมเดลโอเพนซอร์ส ส่วน GPT-4 ของ OpenAI อยู่อันดับสามที่คะแนน 47/100 โดยทำคะแนนหมวดความสามารถ (capabilities) ได้สูงสุด
ทีมวิจัย Stanford Internet Observatory ระบุพบโพสต์เกี่ยวกับการล่วงละเมิดเด็ก (CSAM) จำนวนมากใน Mastodon แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียกระจายศูนย์
ในการศึกษาครั้งนี้ ทีมวิจัยพบ 112 เซิร์ฟเวอร์ (instance) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ CSAM จาก 325,000 โพสต์บน Mastodon ในเวลาเพียง 2 วัน และพบเนื้อหาจำนวน 554 โพสต์ที่มีแฮชแท็กหรือคีย์เวิร์ดที่กลุ่มผู้ล่วงละเมิดทางเพศมักใช้ทางออนไลน์ อ้างอิงจาก Google SafeSearch
Xerox ประกาศบริจาค Palo Alto Research Center (PARC) หน่วยงานปฏิบัติการวิจัยที่มีประวัติยาวนาน ให้กับสถาบันวิจัยที่ไม่แสวงหากำไร SRI International ซึ่ง Xerox บอกว่าการแยกหน่วยงานวิจัยนี้ออกไป เพื่อให้บริษัทโฟกัสกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นธุรกิจหลัก ขณะที่ Xerox ก็ทำข้อตกลงความร่วมมือกับ SRI ในด้านงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
PARC เป็นหน่วยงานวิจัยของ Xerox ก่อตั้งในปี 1970 มีผลงานวิจัยจำนวนมาก และหลายอย่างส่งผลต่อโลกคอมพิวเตอร์จนถึงปัจจุบัน เช่น เมาส์, GUI หรือ ส่วนติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก, จอภาพแบบบิตแมป, ภาษาโปรแกรมเชิงวัตถุ (OOP), Ethernet, เลเซอร์พรินเตอร์ และอื่น ๆ อีกมาก
ถึงแม้ OpenAI เปลี่ยนมาใช้แนวทางปิด ไม่เปิดเผยรายละเอียดของโมเดล GPT-4 และฝั่งกูเกิลเองก็ยังค่อนข้างระมัดระวังในการปล่อย Bard ทีละนิด แต่โลกเราก็ยังมีโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (Large Language Model หรือ LLM) ตัวอื่นให้ใช้งาน โดยเฉพาะ LLaMA ของ Meta ที่เปิดตัวในเดือนกุมภาพันธ์ 2023 ซึ่งเป็นโอเพนซอร์ส ใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPLv3 และเปิดทางให้หน่วยงานวิจัยมาขอชุดข้อมูลที่ใช้เทรนไปศึกษาได้
ตัวอย่างก่อนหน้านี้คือ Nebuly AI สร้าง ChatLLaMA แบบโอเพนซอร์ส ใช้โมเดล LLaMA ของ Meta เป็นฐาน
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด นำโดย Eric Anthony Mitchell นักศึกษาปริญญาเอกด้าน AI ประกาศว่าประสบความสำเร็จในการดักจับข้อความที่สร้างจาก ChatGPT หรือโมเดลสร้างข้อความ large language models (LLMs) แบบเดียวกัน
อัลกอริทึมนี้ถูกตั้งชื่อว่า DetectGPT ใช้เทคนิคประเมินความเป็นไปได้ของข้อความจาก AI ว่าจะถูกสร้างขึ้นจากพื้นที่เฉพาะของโมเดล ซึ่งสามารถคำนวณได้จากฟังก์ชันคณิตศาสตร์ (log probability function)
ทีมผู้สร้างบอกว่าอัลกอริทึม DetectGPT สามารถตรวจจับข้อความจาก AI โดยไม่จำเป็นต้องถูกเทรนมาก่อนว่าข้อความจาก ChatGPT เป็นอย่างไร และไม่จำเป็นว่าข้อความจะถูกใส่เทคนิค watermark ระบุว่ามาจาก AI ด้วย
Stanley Qi ผู้ช่วยศาสตรจารย์ด้านวิศวกรรมพันธุกรรมมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดและทีมงาน นำเสนองานวิจัย CasMINI ระบบการตัดต่อพันธุกรรมที่ใช้โปรตีนสั้นกว่า CRISPR ลงครึ่งหนึ่ง เปิดทางให้ใช้เทคนิคนี้สร้างกระบวนการพันธุกรรมบำบัด (gene therapy) แบบใหม่ๆ
CRISPR เดิมนั้นใช้ยีน Cas9 หรือ Cas12 เป็นตัวตัดต่อพันธุกรรม โดยทั้งสองแบบมีความยาวโปรตีนประมาณ 1000-1500 กรดอมิโน แต่ CasMINI นั้นมีความยาว 529 กรดอมิโน
กระบวนการสร้าง CasMINI ตั้งต้นจากยีน Cas12f ที่พบในสัตว์เซลล์เดียว โดยมันมีความยาวเพียง 400-700 กรดอมิโนเท่านั้น แต่ไม่สามารถตัดต่อพันธุกรรมมนุษย์ได้ ทีมวิจัยปรับแต่งโปรตีนประมาณ 40 จุดเพื่อพยายามให้ใช้กับมนุษย์ได้ในที่สุด
Samsung โดย Samsung Advanced Institute of Technology (SAIT) และ Stanford University ประกาศความสำเร็จร่วมกันในการพัฒนาเทคโนโลยี OLED ความละเอียดสูงสุดถึง 10,000 พิกเซลต่อนิ้ว (ppi) โดยนำเทคโนโลยีมาจากเทคโนโลยีที่ใช้ผลิตแผงโซลาร์แบบบางมาก ๆ
สำหรับวิธีการพัฒนาจอ OLED นี้ คือทีมพัฒนาใช้ฟิล์มเพื่อกำจัดแสงขาวระหว่างเลเยอร์ที่มีการสะท้อนกลับ โดยหนึ่งชิ้นเป็นเงินและอีกชิ้นทำมาจากวัตถุสะท้อนที่มีพื้นผิวเป็นลูกฟูกระดับนาโน เรียกว่า optical metasurface ที่สามารถเปลี่ยนคุณสมบัติการสะท้อนและทำให้แสงสะท้อนผ่านพิกเซลได้ ดีไซน์ลักษณะนี้ทำให้ใส่พิกเซลความหนาแน่นสูงเข้าไปได้มากกว่าในจอ RGB OLED บนมือถือ แต่ไม่ส่งผลต่อแสงในระดับเดียวกับที่เห็นจากทีวี OLED บางรุ่น
Chan Zuckerberg Biohub ทีมวิจัยด้านการแพทย์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยชีวะการแพทย์ของมหาวิทยาลัย UC Berkeley, Stanford และ UCSF โดยมีเงินทุนสนับสนุนจาก Mark Zuckerberg และภรรยา Priscilla Chan
ล่าสุด Mark Zuckerberg เปิดเผยว่า CZBiohub ได้พัฒนาและออกแบบเครื่องช่วยหายใจของตัวเอง เพื่อช่วยแก้ปัญหาเครื่องช่วยหายใจขาดแคลน โดยการพัฒนาเริ่มต้นมาได้ 2-3 สัปดาห์แล้วและจะเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในเร็ว ๆ นี้
ที่มา - Mark Zuckerberg
หลังตรวจพบเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัยติด COVID-19 และนักเรียนอีกสองคนต้องกักตัวเองเพราะอาจเข้าข่ายติดเชื้อ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดจึงออกประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ว่าจะเปลี่ยนคลาสเรียนไปเป็นแบบออนไลน์ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ส่วนข้อสอบในภาคเรียนฤดูหนาว ช่วงสองสัปดาห์สุดท้ายของเทอม ก็จะถูกแจกเป็นแบบ take-home โดยมหาวิทยาลัยจะยังเปิดทำการอยู่ แต่จะยกเลิก Admit Weekend หรือช่วงสุดสัปดาห์เปิดบ้าน และการทัวร์มหาวิทยาลัย รวมทั้งโครงการส่งนักศึกษาไปเรียนต่างประเทศที่ถูกพักไว้ก่อนหน้านี้ ก็จะถูกยกเลิกเช่นกัน
ปัญหาของปัญญาประดิษฐ์และอคติของอัลกอริทึม มักถูกยกขึ้นมากล่าวในวงวิชาการ และเริ่มที่จะมีการถูกพูดถึงในวงสาธารณะทั่วไป (เช่น กรณีที่นักทฤษฎีสื่อออกมาเรียกร้อง) แต่การศึกษาในด้านนี้ก็ยังมีงานที่ปรากฎออกมาไม่ชัดเจนมากนัก
จุดนี้ทำให้มหาวิทยาลัย Stanford ประกาศเปิดตัว "สถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีมนุษย์เป็นศูนย์กลาง" หรือ Institute for Human-Centered Artificial Intelligence (HAI) เพื่อศึกษาเรื่องนี้จริงจัง
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา Apple และมหาวิทยาลัย Stanford ออกมาแถลงเปิดเผยผลวิจัยร่วมกันที่เรียกว่า Apple Heart Study ที่ศึกษาร่วมกันมาตั้งแต่พฤศจิกายน 2017 โดยยืนยันว่า Apple Watch สามารถช่วยบ่งบอกและแจ้งเตือนผู้สวมใส่ว่ากำลังมีความผิดปกติของหัวใจอยู่
การศึกษานี้เก็บตัวอย่างจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 4 แสนคน โดยเข้าร่วมผ่านทาง iPhone และใช้ Apple Watch เป็นอุปกรณ์ (มีเฉพาะรุ่น Series 1, 2 และ 3 ไม่รวมรุ่น 4) ตัวนาฬิกาจะทำการตรวจจับการเต้นของหัวใจเป็นระยะ และจะมีการแจ้งเตือนเจ้าของหากตรวจเจอการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ จากนั้นจะถูกแนะนำให้ติดต่อแพทย์ในโครงการ และจะถูกตรวจอีกรอบด้วย ECG แบบพกพานานสูงสุด 1 สัปดาห์
ผลการศึกษาที่ออกมาระบุว่า
เมื่อวันที่ 16 มีนาคมที่ผ่านมาในงานประชุมวิทยาลัยแพทย์โรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกาประจำปีนี้ (American College of Cardiology 2019) มีการแถลงผลการวิจัยเกี่ยวกับความแม่นยำในการตรวจหาภาวะหัวใจเต้นผิดปกติชนิด AF (Atrial Fibrillation) ซึ่งพบว่ามีความแม่นยำสูง1 เมื่อเทียบกับ เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกพาที่เรียกว่า ECG patch ในคนจำนวน 2,161 คน
งานวิจัยดังกล่าวเรียกกันว่า The Apple Heart Study เป็นความร่วมมือในการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัย Stanford บริษัท American Well และ บริษัท Apple ดำเนินงานวิจัยผ่านระบบ Telemedicine
วันนี้ที่โรงแรมแชงกรีลา กรุงเทพ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) โดยฝ่าย Ananda UrbanTech และ ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แถลงข่าวร่วมกันเปิดตัวโครงการ "How Cambridge Berkeley Stanford do Tech Transfer" ซึ่งเป็นโครงการจัดการประชุม เพื่อเรียนรู้การถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาให้กับบุคลากรและนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
หลายคนคงจะรู้จัก endorphin ดีว่าเป็น "ฮอร์โมนแห่งความสุข" แต่อาจจะไม่คุ้นชื่อ cortisol ซึ่งเป็น "ฮอร์โมนแห่งความเครียด" เท่าใดนัก ถึงจะฟังดูเป็นเรื่องไม่ค่อยน่าพิศมัยเพราะเกี่ยวกับความเครียด แต่ฮอร์โมนตัวนี้บอกอะไรเกี่ยวกับสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของคนเราได้หลายอย่าง ทั้งเรื่องสภาพความล้าของร่างกาย หรือสภาพความหม่นหมองทางอารมณ์ ด้วยเหตุนี้ทีมนักวิจัยจาก Stanford จึงคิดพัฒนาเซ็นเซอร์วัดระบบ cortisol สำหรับใช้งานกับอุปกรณ์สวมใส่
ทีมวิจัยจาก Stanford พัฒนางานวิจัยการใช้แสงเลเซอร์เพื่อตรวจสอบวัตถุที่อยู่หลังผนังทึบแสง โดยอาศัยการปล่อยแสงเลเซอร์ให้ตกกระทบวัตถุและวิเคราะห์แสงที่สะท้อนกลับมายังเซ็นเซอร์
ทว่าการใช้วิธียิงแสงเลเซอร์ไปตกกระทบวัตถุและตรวจจับแสงสะท้อนโดยตรงนั้นเรียกได้ว่าไม่ได้แตกต่างจากเทคโนโลยี LIDAR ที่มีใช้งานอยู่แล้วในปัจจุบัน หากแต่สิ่งที่ทีมวิจัยทำกันนั้นแตกต่างยากยิ่งขึ้นไปอีกขั้น พวกเขาใช้ฉากกั้นทึบแสงวางกั้นกลางระหว่างเครื่องยิงลำแสงกับวัตถุ จากนั้นก็ยิงลำแสงเลเซอร์ให้ตกสะท้อนผนังอ้อมฉากกั้นไปตกกระทบวัตถุเป้าหมายที่ซ่อนอยู่หลังฉาก
นักวิจัยจาก MIT และ Stanford ร่วมกันทำการทดสอบโปรแกรมวิเคราะห์ใบหน้าจาก 3 บริษัทใหญ่ พบว่าล้วนแล้วแต่ให้ผลการทำงานที่ดีกับภาพใบหน้าผู้ชายเหนือกว่าภาพใบหน้าผู้หญิง ทั้งยังทำการวิเคราะห์ภาพใบหน้าคนผิวขาวได้ดีกว่าภาพใบหน้าคนผิวสีด้วย
ทีมวิจัยได้ทำการทดสอบโปรแกรมวิเคราะห์ใบหน้าของ Microsoft, IBM และ Face++ โดยใช้ภาพใบหน้าบุคคลต่างๆ จำนวน 1,270 ภาพ ซึ่งทีมวิจัยได้ทำการคัดเลือกภาพใบหน้าของผู้คนที่มีสิผิวคล้ำแตกต่าง โดยปรึกษาแพทย์ผิวหนังเพื่อทำการแบ่งภาพใบหน้าออกเป็น 6 กลุ่มตามความเข้มของสีผิว (อิงตามมาตรวัดโทนสีผิว Fitzpatrick) และได้ผลการทดสอบที่น่าสนใจดังนี้
Stanford ได้เผยแพร่งานวิจัยด้านการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยชื่อว่า CheXNet ซึ่งสามารถวิเคราะห์ภาพถ่าย X-ray ทรวงอก และตรวจหาอาการโรคปอดบวมได้ดีกว่านักรังสีวิทยาด้วย
ทีมวิจัยซึ่งนำโดย Andrew Ng ได้สร้างอัลกอริธึมปัญญาประดิษฐ์แบบ deep learning และใช้ข้อมูลภาพถ่าย X-ray ทรวงอกกว่า 112,000 ภาพ มาเทรนให้กับ CheXNet โดยนอกจากมันจะสามารถตรวจสอบโรคปอดบวมแล้ว CheXNet ยังสามารถตรวจสอบอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ในช่องอกได้อีก 13 โรค
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพัฒนาระบบวิเคราะห์ภาพ CheXNet ที่เป็น deep learning ลึกถึง 121 ชั้น วิเคราะห์ภาพเอ็กซ์เรย์ปอดโดยฝึกจากฐานข้อมูล 112,120 ภาพ (ชุดข้อมูล ChestX)
CheXNet สามารถตรวจพบโรค 14 โรคจากภาพเอ็กซ์เรย์ ChestX ได้ดีกว่าระบบอัตโนมัติอื่นที่เคยมีการพัฒนามาก่อนหน้านี้ ความแม่นยำต่ำสุดคือ Infiltration สามารถตรวจได้ถูกต้อง 72.04% แต่ก็ยังดีกว่างานวิจัยก่อนหน้านี้มาก
ทีมวิจัยทดสอบภาพเอ็กซ์เรย์ตัวอย่างอีก 420 ภาพกับรังสีแพทย์ 4 คนที่มีประสบการณ์ทำงาน 4, 7, 25, และ 28 ปี พบว่าเมื่อ CheXNet และแพทย์วิเคราะห์ภาพด้วยข้อมูลเท่าๆ กัน (เห็นภาพด้านหน้าอย่างเดียว, ไม่รู้ประวัติคนไข้) CheXNet มีความสามารถในการวิเคราะห์ภาพได้แม่นยำกว่า
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford เปิดเผยความสำเร็จในการฝึกปัญญาประดิษฐ์ โดยใช้เครือข่าย Deep Learning ให้สามารถแยกแยะเซลล์ผิวหนังที่มีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็ง
นักวิจัยได้ฝึกสอนโครงข่ายประสาทเทียมด้วยรูปถ่ายรอยโรคบนผิวหนังที่ได้รับความเสียหายจากโรคกว่า 2,000 โรค ทั้งหมดกว่า 129,000 รูป ก่อนจะนำอัลกอริทึมไปทดสอบการวิเคราะห์การแยกแยะเซลล์ผิวหนังที่ปกติกับเป็นเซลล์มะเร็งกับแพทย์ผิวหนัง ปรากฎว่าอัลกอริทึมสามารถระบุเซลล์ผิวหนังได้ถูกต้องเทียบเท่าหรือเหนือกว่าแพทย์ผิวหนังชั้นนำด้วยซ้ำไป
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Stanford เปิดเผยผลการวิจัยที่สามารถคิดค้นแบตเตอรี่ที่ดับไฟได้ด้วยตัวเอง หากเกิดลัดวงจรหรือโอเวอร์ฮีทขึ้นมา ด้วยสารหน่วงไฟ (Fire Retardant) ที่ชื่อว่า Triphenyl Phosphate (TPP)
สาร TPP จะถูกฝังไว้อยู่ในโพลีเมอร์เชลล์ ที่อยู่ภายใต้แบตเตอรี่อีกที ซึ่งหากอุณหภูมิของแบตเตอรี่สูงขึ้นมาถึงระดับหนึ่ง โพลีเมอร์จะละลายและปล่อยสาร TPP ออกมา โดยนักวิจัยกลุ่มนี้ได้พูดถึงการทดลองวิธีอื่นๆ เพื่อป้องกันแบตเตอรี่ลุกไหม้ด้วย แต่ทุกวิธีก่อนหน้านี้ล้วนแล้วแต่ลดประสิทธิภาพของแบตเตอรี่ หรือป้องกันได้ไม่ดีเท่าที่ควร
Samsung คงดีใจเมื่อนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดทำตัวดับไฟขนาดเล็กบรรจุในแบตเตอรี่ลิเธียม และจะทำงานอัตโนมัติด้วยการปล่อยสารหน่วงไฟออกมาเมื่ออุณหภูมิในแบตเตอรี่สูงเกินขีดจำกัด
ผลงานวิจัยปรากฏอยู่ในวารสาร Science Advances รายละเอียดเกี่ยวกับวัสดุตัวดับไฟเป็นลิเธียม ที่เคลือบด้วยโพลีเมอร์อีกชั้น ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวคั่นระหว่างแบตเตอรี่กับสารหน่วงไฟ ถ้าอุณหภูมิสูงแตะ 160 องศาจะทำให้โพลีเมอร์ละลาย และสารหน่วงไฟจะทำงาน จากการทดลองปฏิบัติพบว่าตัวดับไฟนี้สามารถดับความร้อนในแบตเตอรี่ลงได้ภายใน 0.4 วินาที
ผลงานวิจัยมีเป้าหมายที่ความปลอดภัยของแบตเตอรี่ลิเธียมบนยานพาหนะ แต่ก็เห็นได้ชัดว่าการระเบิดก็เกิดขึ้นได้บนโทรศัพท์มือถือเช่นกัน คณะวิจัยระบุว่าแบตเตอรี่สมัยนี้มีความหนาแน่นสูงขึ้น ปัญหาความปลอดภัยที่มาพร้อมแบตเตอรี่ก็เพิ่มขึ้นด้วย