AV-Comparatives ผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบแอนตี้ไวรัสได้ทำผลสำรวจแอปแอนตี้ไวรัสกว่า 250 แอปใน Google Play เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการตรวจจับไวรัส และพบผลลัพธ์ว่ามีเพียงไม่ถึงครึ่งเท่านั้นที่สามารถทำงานได้อย่างที่ควรจะเป็น
สำหรับแอปแอนตี้ไวรัสที่ทำการสำรวจ 250 แอปนี้ ทาง AV-Comparatives ได้ทดลองนำแอปอันตรายกว่า 2,000 แอปโยนเข้าไป พบว่ามีเพียงแอปแอนตี้ไวรัสเพียง 80 แอปเท่านั้นที่สามารถตรวจจับแอปอันตรายได้ 30% หรือมากกว่า และไม่มี false alarm ส่วนแอปที่เหลือคือไม่ผ่านเกณฑ์การวัดข้อนี้ ซึ่งหมายถึงว่าตัวแอปใช้งานไม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ AV-Comparatives ยังรายงานอีกว่าผลการทดสอบยังพบด้วยว่าแอนตี้ไวรัสบางตัวบล็อกแอปโดยใช้ระบบ whitelist คืออนุญาตให้แอปที่มีชื่อตามกำหนดเท่านั้นที่จะรันบนอุปกรณ์ได้ เช่นถูกโค้ดว่าให้เชื่อแพคเกจชื่อที่ขึ้นต้นด้วย com.adobe. หรือ com.facebook. ดังนั้นถ้าเปลี่ยนชื่อไวรัสตามนี้ แอนตี้ไวรัสก็ตรวจจับไม่ได้แล้ว
Peter Stelzhammer ซีโอโอของ AV-Comparatives ระบุว่า ในอดีตนั้น เราและคนอื่น ๆ จะพบแอปอันตราย, แอปที่ทำงานไม่ได้ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะเจอแอปแอนตี้ไวรัสปลอมด้วย ซึ่งการเจอแอปแอนตี้ไวรัสปลอมแบบนี้ หมายความว่าผู้ใช้จะต้องระวังทุก ๆ อย่างจริง ๆ
นอกจากนี้ จุดที่ต้องพึงระวังให้มากของแอปแอนตี้ไวรัส คือเรามักจะให้ความยินยอมในการเข้าถึงข้อมูลหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องอยู่แล้ว ดังนั้นถ้าเจอแอปปลอมขึ้นมาก็อาจถูกเก็บข้อมูลไปได้ง่าย ๆ และเก็บข้อมูลได้หลากหลายด้วย ตั้งแต่ข้อมูลทั่วไปตั้งแต่โมเดลของโทรศัพท์ ไปจนถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่สามารถใช้ยืนยันตัวตนได้
AV-Comparatives แนะนำให้ผู้ใช้ใช้งานเฉพาะแอปที่เป็นที่รู้จัก, มีชื่อเสียง และเป็นของแท้เท่านั้น ถ้าเป็นไปได้ควรทดลองแอปก่อนจะซื้อด้วย โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลการทดสอบดูได้จากที่มา
ส่วน Wired แนะนำว่า ไม่ควรติดตั้งแอปแอนตี้ไวรัสเลย เพราะจะเป็นการใช้ทรัพยากรจนหมดไวมาก และของที่ดูดีก็อาจจะโกหกก็ได้ ซึ่งการหลีกให้ห่างจากแหล่งโหลดแอป third-party ไว้ก่อนก็ถือว่าช่วยได้มากแล้ว
ที่มา - AV-Comparatives, Wired
ภาพจาก Pixabay
Comments
อ่านละก็นึกกลัว 250 ส... ที่เลือกมาจะใช้งานได้จริงไม่ถึงครึ่ง (ที่จ่ายไป)
ไม่เกี่ยวกับข่าว แต่ตัวเลขมันพาไป
ถ้าอันนั้น เราทำอะไรไม่ได้ครับ เว้นแต่เราจะออกมาต่อต้านพร้อมอาวุธทั่วประเทศเหมือนตอนคอมมิวนิสต์ล่มช่วงปลาย 80 หรือรอเวลาที่รัฐสภาล่มสลาย แล้วเราปกครองกันเองหละครับ เมื่อนั้นหละครับ สวรรค์
ส่วน AV บนมือถือ ไม่เคยใช้เลย หนักเครื่อง และเวลาใช้ก็ไม่เคยเข้าหน้าเว็บเสี่ยงหรือโหลดแอบเถื่อนอยู่แล้ว ก็ปลอดภัยดีเลยทีเดียว
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
สิ่งที่ควรจะทำมากกว่าการมานั่งบ่นหลังคียบอร์ด แต่ไม่ได้ทำกันก็คือ
ไม่ควรไปลงประชามติรับร่างรธน.ตั้งแต่แรกครับ
พวกที่ทำได้ดีเป็นพวกที่ทำ antivirus PC มาก่อนทั้งนั้นเลย