Tags:
Node Thumbnail

Tesla ประกาศความสำเร็จในการติดตั้ง Powerpack ชุดใหม่ โดยครั้งนี้เป็นการติดตั้งที่สถานีรถไฟโอซาก้าในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้เป็นพลังงานสำรองฉุกเฉินและลด peak demand ของการใช้พลังงาน

Tesla ระบุว่าทางบริษัทได้ติดตั้ง Powerpack ทั้งหมด 42 ยูนิต 7MWh ซึ่งทางบริษัทระบุว่า Powerpack ชุดนี้ให้พลังงานมากพอที่จะย้ายรถไฟและผู้โดยสารไปยังสถานีที่ใกล้ที่สุดภายใน 30 นาทีหากเกิดเหตุการณ์ระบบไฟฟ้าล้มเหลว

นอกจากนี้ Tesla ยังระบุว่าโครงการนี้เป็นโครงการพัฒนาระบบเก็บพลังงานที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย และตัวฮาร์ดแวร์ทั้งหมดถูกติดตั้งในเวลาเพียง 2 วันเท่านั้น

ที่มา - Engadget, @tesla (Twitter)

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: sakura
ContributorWindows PhoneSymbian
on 27 March 2019 - 23:58 #1103522

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้ดีขึ้นโดยเฉพาะช่วงที่ใช้ไฟเยอะๆ ลดการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่ม คุ้มค่ากว่า สร้างเร็วกว่า

By: IDCET
Contributor
on 28 March 2019 - 09:06 #1103546 Reply to:1103522

ปัญหาคือ มันเป็นตัวเก็บไฟ เก็บประจุ มันมีวันเสื่อมเร็วกว่าโรงไฟฟ้าเยอะ เวลาเปลี่ยนทีก็แพงเอาเรื่องนะ

ผมว่าลงทุนโรงไฟฟ้ายังคุ้มกว่าในตอนนี้ ส่วนของ Tesla ก็เป็นเหมือน UPS ขนาดยักษ์ตามเมืองนั่นหละครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: darkleonic
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 28 March 2019 - 10:51 #1103565 Reply to:1103546
darkleonic's picture

UPS ยักษ์แบบนี้เหมาะกับเมืองใหญ่ที่ peak กันบ่อยๆสั้นๆ ต้องการความเร็วแหละครับ กว่าจะ Start โรงไฟฟ้ามาเพิ่มเศรษฐกิจเสียหายไปหลายร้อยล้าน


I need healing.

By: tanapon000 on 28 March 2019 - 11:04 #1103567 Reply to:1103546
tanapon000's picture

เหมาะใช้กับรถไฟฟ้านะ เพราะรถไฟฟ้าใช้ไฟไม่ต่อเนื่องจะloadมากตอนเร่ง และใช้คงที่ต่อไปจนเบรกอาจจะได้ไฟคืน แต่โรงไฟฟ้าต้องผลิตไฟต่อเนื่องแม้จะไม่มีโหลดก็ตาม การมีupsขนากยักษ์เป็นการลดpeekค่อนข้างดี โรงไฟฟ้าไม่ต้องผลิตไปให้ถึงpeakตลอดเวลาผลิตแค่ maintenance พอ ช่วงpeekก็ให้แบตจ่ายไฟไป ไม่ต้องทิ้งทรัพยากรโดยปล่าวประโยชน์

By: waroonh
Windows
on 28 March 2019 - 11:41 #1103572 Reply to:1103546

ไฟฟ้ากำลัง มันเป็นประมาณนี้นะครับ
บ้าน A, B, C, D มีแอร์ เหมือนกัน แต่ละตัวกิน 1500w/ช.ม. ห้องเย็นแล้ว กิน 300w
เปิดแอร์พร้อมกัน = กร๊าฟจะกระชากแบบนี้ 6,000w -> 1,200w (Peak 6,000w)
เปิดแอร์เรียงเวลากัน = 1,500w -> 1,800w -> 2,100w -> 2,400w -> 1,200w (Peak 2,400w)

กรณีแรก ถ้ามีโรงไฟฟ้าแค่ 3,000w ก็ หม้อแปลงระเบิด ไฟดับกันทั้งภาค แต่กรณีที่สองจะรอด
ก็แสดงว่าต้องมีโรงไฟฟ้า 6,000w + safety factor ก็ลงทุนไป หรือเดินเครื่องใช้น้ำมันดีเซลช่วยตอน Peak เผาน้ำมันทีเดือนละ 3 ล้านลิตร แล้วจ่ายค่า FT กันไป
ถ้ามี UPS ใน power grid มันช่วยได้จริงๆ นะ แต่มันแพงตอนลงทุนครั้งแรก กับตอนเปลี่ยน cell batt นั่นแหละ

By: lancaster
Contributor
on 28 March 2019 - 12:37 #1103576 Reply to:1103572

+1 ครับ โรงไฟฟ้ามันไม่ได้ start/shutdown กันง่ายๆ เลยไม่สามารถรองรับ load วูบวาบได้เหมือน ups ยักษ์ครับ

By: deargerous
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 28 March 2019 - 22:30 #1103618 Reply to:1103576
deargerous's picture

โรงไฟฟ้าบางชนิดก็ start Stop เร็วครับ เช่น gas turbine​, microtubine, HYDRO, fuel cell
และโรงไฟฟ้าแบบนี้ใหญ่จะให้เดินเครื่องแบบ SPINNING RESERVED​ คือ เดินไว้ระดับต่ำพร้อมที่จะเร่งเครื่องเมื่อความต้องการเพิ่มขึ้นทันทีทันใด

By: Kittichok
Contributor
on 28 March 2019 - 20:30 #1103602 Reply to:1103572

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลครับ

ส่วนนี้คือหน้าติดตามปริมาณใช้ไฟฟ้าของประเทศไทย

By: tuttap
Android
on 28 March 2019 - 09:51 #1103555
tuttap's picture

ผมว่า ดีนะครับ เร็วดี นิ่ง ดีด้วย ส่วนเรื่อง ราคา บำรุงรักษา ก็ ต้องผลิตเองทดแทน