dtac เป็นโอเปอเรเตอร์อีกรายที่ประกาศทดสอบเทคโนโลยี 5G ในประเทศไทย โดยกำหนดพื้นที่ 2 แห่งคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเขต EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา (พื้นที่เดียวกับ AIS ซึ่งเป็นพื้นที่ทดสอบ 5G ที่กำหนดโดย กสทช.)
พันธมิตรของ dtac ในการทดสอบได้แก่ TOT (ทดสอบเสาสัญญาณอัจฉริยะหรือ smart pole), CAT (ทดสอบ IoT โดยใช้เซ็นเซอร์วัดฝุ่น PM2.5) ส่วนอุปกรณ์เครือข่ายมีใช้ทั้ง Ericsson, Huawei, Nokia
รายละเอียดเรื่องการทดสอบมีดังนี้
ความร่วมมือในการทดสอบ 5G ระหว่าง 3 องค์กร คือ ดีแทค ทีโอที และ CAT เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในส่วนของ 1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resource sharing) ทั้งอุปกรณ์โครงข่ายและคลื่นความถี่ต่างๆ 2.การนำความรู้มาร่วมกัน (Knowledge sharing) โดยการนำความรู้ความเชี่ยวชาญโทรคมนาคมของแต่ละฝ่ายมาแบ่งปันและต่อยอดการทดสอบร่วมกัน และ 3. การแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกัน (Experience sharing) ทำให้แต่ละฝ่ายไม่ต้องเริ่มต้นใหม่แต่สามารถนำประสบการณ์ที่ได้มารวมกันเพื่อพัฒนาไปข้างหน้า รวมถึงศึกษาถึงข้อจำกัดและอุปสรรคทั้งในด้านเทคโนโลยีและระเบียบข้อกฎหมายต่างๆ
สำหรับดีแทคได้ยื่นดำเนินการขอนุญาตทดสอบ 5G ต่อ กสทช เป็นที่เรียบร้อย ทั้งข้อเสนอในการใช้คลื่นความถี่ และการทดสอบทั้งแบบ Standalone (SA) ซึ่งเป็นการทดสอบโดยใช้เฉพาะคลื่น 5G และ Non-Standalone (NSA) หรือการทดสอบการทำงานของเทคโนโลยี 5G ร่วมกับ 4G โดยดีแทคจะทดสอบทั้ง การทดสอบในห้องปฎิบัติการ (Lab Testing) ก่อนนำสู่การทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง และการทดสอบในสภาพแวดล้อมจริง (Live Environment Testing เช่น พื้นที่บริเวณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สยามสแควร์ เป็นต้น และรวมถึง การทดสอบทางไกล (Remote Testing) เป็นการทดสอบโดยเชื่อมต่อสถานีฐาน 5G จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปยังโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่หลัก (Core Network) ต่างพื้นที่ ในโครงการทดสอบ 5G EEC ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศรีราชา เพื่อใช้ทดสอบกรณีใช้คลื่น 5G ต่างพื้นที่ร่วมกัน ตัวอย่างเช่นการรักษาผ่านทางไกล หรือสมาร์ทเฮลธ์แคร์(Smart Healthcare) เป็นต้น
ดีแทคได้จัดทำโซลูชั่น “ฟาร์มแม่นยำ” เพื่อเตรียมพร้อมสู่ 5G ที่สามารถปลดล็อกมูลค่ามหาศาลให้แก่เกษตรกรของประเทศไทยได้ ซึ่งทำให้เห็นได้ว่าการทำเกษตรกรรมยุคใหม่จะต้องใช้ประโยชน์ของดิจิทัลและความสามารถของ 5G มาต่อยอดเพื่อทำรายได้เพิ่มมากขึ้น และยังเตรียมยกระดับสู่โซลูชั่นฟาร์แม่นยำ (Precision Farming) แบบเรียลไทม์ด้วยการใช้โดรน 5G ต่อไป
นางอเล็กซานดรา ไรช์ ซีอีโอของ dtac ยังเรียกร้องให้ กสทช. จัดทำแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum roadmap) ก่อนการจัดสรรคลื่นความถี่ 5G ด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าจะจัดสรรคลื่นย่านต่างๆ อย่างไรบ้าง เนื่องจากบริการ 5G ต้องใช้คลื่นหลายย่านและใช้ช่วงกว้างคลื่นอย่างน้อย 100 MHz ดังนั้นภาคเอกชนต้องการวางแผนล่วงหน้าว่าจะลงทุนอย่างไร
ที่มา - dtac
Comments
DTAC x TOT …..
รอดูคอมเม้นแนว "ทำให้ใช้งานได้เท่าชาวบ้านก่อนเถอะ"
ผมว่าถ้ามาจากมุมผู้ใช้จริงอย่างผม พูดตรงๆ นะว่าใช่ และควรทำตั้งน่นแล้วด้วย ซึ่งก็เห็นผลแล้วที่ความนิยมลดลง โดน True หรือแม้แต่ CAT 4G แซงไปแล้วตอนนี้
ผมจะพูดแนวนี้ สัญญาณมีแต่ไม่โหลดก็มี แต่ยังใช้อยู่เพราะเกิดไม่บ่อยนัก ไม่ค่อยมีปัญหากับผมมากด้วย
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
CAT 4G ก็คือทรูไงครับ… หรือแคทเค้ามีคลื่นที่เอามาให้บริการ 4G เองแล้ว?
ก็ตลกดีนะครับ คลื่นของ True แต่สามารถบริหารจัดการและจัดสรรได้ดีกว่า DTAC ซะงั้น แทนที่จะพอๆ กับ TRUE ที่คนบ่นเรื่องสัญญาณตลอด
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
3G(850 MHz) true ร่วมใช้กับ CAT
4G(2100 MHz, 1800 MHz) CAT ร่วมใช้กับ true
4G(900 MHz) เฉพาะ true
April Fool ใช่ไหมครับ Dtac เล่นใหญ่มากเลย
ไป 5G เลย หมดเรื่อง 4G เลิกทำแล้วหรอ ฮ่าๆ
การบริการ และ ระบบภายใน องค์กร ดีหรือยัง