Human Rights Watch เผยว่าได้ทำการทดสอบแอพที่เจ้าหน้าที่ในมณฑลซินเจียงใช้ในการระบุและแบ่งประเภทประชากรในบริเวณนั้นโดยแอพได้ใช้ข้อมูลจากทั้งกล้องวงจรปิดและระบบจดจำใบหน้าที่รัฐบาลใช้อย่างแพร่หลายในพื้นที่
Human Rights Watch พบว่า ตัวแอพได้แบ่งชนิดของประชากรไว้ 39 แบบ และถ้ามีคนไหนที่เข้าลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งใน 36 ชนิดนี้ เจ้าหน้าที่ก็จะติดตามบุคคลนั้นอย่างใกล้ชิดกว่าเดิม ประชาชนอาจพบว่าตัวเองอยู่ในรายการเฝ้าระวังถ้าเขามีพฤติกรรมเก็บเงิน รับเงินเพื่อไปสนับสนุนมัสยิด หรือมีการเผยแผ่ศาสนาอิสลามโดยที่รัฐไม่ได้อนุญาต คนที่กำลังจะเดินทางไปต่างประเทศหรือคนที่เพิ่งกลับจากต่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ แอพมีบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของประชากรมาก ทั้งศาสนา เชื้อชาติ ความสูง กรุ๊ปเลือดด้วย
เจ้าหน้าที่ยังได้รับการแจ้งเตือนผ่านแอพด้วยถ้า มีข้อมูลของคนที่เพิ่งถูกปล่อยตัวจากการกักกันโดยรัฐ หรือมีความเกี่ยวข้องกับคนที่ถูกตัดสินประหารชีวิต หรือแม้แต่คนที่เปลี่ยนจากสมาร์ทโฟนไปใช้โทรศัพท์อะนาล็อกก็จะถูกจับตามอง
Maya Wang นักวิจัยอาวุโสของ Human Rights Watch บอกว่า รัฐบาลจีนกำลังเฝ้าดูชีวิตของผู้คนในซินเจียงทุกแง่มุมของชีวิต รัฐบาลต่างประเทศควรเริ่มพิจารณามาตรการคว่ำบาตรและส่งเสริมการปกป้องความเป็นส่วนตัวของประชาชน
ภาพจาก Shutterstock
ที่มา - South China Morning Post
Comments
ดีว่าแถวๆ นี้ดีแต่ดูงาน แต่พอทำจริงๆ ไม่เหมือนกับงานที่ได้ไปดู
39 แบบ 36 ชนิด ?
ทุกชีวิตเราดูแล
คอมมิวนิสต์ผลิตมาเพื่อทำลายศาสนาและระบอบกษัตริย์
อันนี้เป็นที่คนใช้ครับ แต่มันสามารถทำให้อยู่ร่วมกันได้ โดยเฉพาะเรื่องศาสนา
ส่วนการทำลายระบอบกษัตริย์ ก็คงตามที่บอก เพราะได้ผลมาแล้วในรัสเซีย แต่จะเห็นผลเฉพาะตอนที่ไม่มีใครเชื่อถือกษัตริย์อีกต่อไป ระบบมีปัญหาเสียเองจึงถูกคอมมิวนิสต์โจมตีล้มล้าง และต้องการความเปลี่ยนแปลงครับ
ระบอบนี้ ถ้าใช้ในทางที่ถูกและประยุกต์ให้เข้ากับยุคสมัยได้ และสามารถทำให้เกิดความสงบ ก้าวหน้า ลดความขัดแย้งได้ มันจะระบอบที่ดีมากระบอบหนึ่ง โดยเฉพาะประชาชนที่ไม่ต้องมากังวลและทะเลาะการเมืองเลย ถ้าประเทศดีจริงๆ
แต่ในกรณีที่เป็นข่าว ผมว่ามันเกินไปสำหรับประชากรพวกเขานะ เผลอๆ ตั้งรกรากอยู่นานกว่าจีนจะเกิดด้วยซ้ำ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
ศาสนาและระบอบกษัตริย์ทำแบบนี้ไม่ได้หรือครับ
ใช้ทรัพยากรบุคคลคุ้มค่าดีนะครับ
อยากสอดแนมให้อ้างความปลอดภัย
ถ้าไม่ใช่เพื่อความปลอดภัย แล้วมันจะมีเรื่องอะไรอีกได้บ้างครับ
อันนี้ถามเพราะอยากรู้ครับ เพราะผมคิดว่ามันมีแค่เรื่องความปลอดภัยกับความมั่นคง
(ไม่ได้ถามแซะ)
อาจเป็นความสะดวกสบายได้อีกครับ แบบแสกนครั้งเดียวมีข้อมูลทุกอย่าง
จริงๆก็ดีนะครับ ถ้ามันปลอดภัย และกลุ่มคนที่ถือเทคโนโลยีไม่ยอมใช้ข้อมูลเพื่อตัวเองหรือคนรอบข้างจริงๆ จุดนี้ก็ความเชื่อใจกันล้วนๆ
ก็จริงนะ
ตอนออกแบบระบบเราต้องคิดว่า "ไม่มีใครเชื่อใจได้" และหาขั้นตอนมากรองไว้ครับ กรองตอนกระทำไม่ได้ก็ต้องทำให้เรียกดูได้ว่าใครเป็นคนกระทำ
อย่างบ้านเราก็ อ้างจะใด้ไม่ต้องเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก (อันนี้ คิดกลับจากยอดเงินฝาก ใครมีเงินเท่าไร่รู้หมดเลยนะ)
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
ทำไมไม่บอกสหรัฐบ้างมีหน่วยงานสอดแนมอย่างเป็นทางการแถมไม่เปิดเผยว่าสอดแนมใครและไม่มีใครตรวจสอบได้อีกต่างหาก
เคสสโนเดน นี่เพิ่งแก้กฎหมายไปเอง ห้ามสอดแนมพลเมืองสหรัฐฯ โดยไม่ได้อนุญาตจากศาลก่อน
ส่วนของจีน....ฟ้องใคร? ก็โดนอุ้มสิครับ
ค่ายแรงงานในซินเกียง...รออยู่
จากที่อ่านข่าวคือมีอำนาจสอดแนมได้เหมือนเดิม แต่จะขอข้อมูลจากเอกชนต้องขอหมายศาล
ที่มา https://www.dailynews.co.th/foreign/621036
FISC คือระบบ ศาลลับ United States Foreign Intelligence Surveillance Court ครับ
โดยปกติคือห้ามสอดแนมพลเมืองสหรัฐ ยกเว้นจะขออนุญาตผ่าน FISC ก่อน ซึ่งก็ตรงกับที่ผมพูดไปแล้วนะ ว่าไม่สามารถหว่านแหดักฟังโดยไม่ระบุเป้าหมาย หรือไม่มีการขออนุญาตจากศาลก่อน
https://en.wikipedia.org/wiki/United_States_Foreign_Intelligence_Surveillance_Court
ซึ่งจริงๆก่อนมีเคสสโนเดน NSA ใช้การดักฟังแบบหว่านแหโดยอ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นพลเมืองสหรัฐ จนมีประชาชนโวยวายและมีการแก้กฎหมาย ว่าห้ามหว่านแห
สิ้นสุดการเก็บข้อมูลโทรศัพท์เป็นวงกว้าง กฎหมายใหม่สหรัฐฯ มีผลนับแต่วันนี้
https://www.blognone.com/node/75313
NSA ประกาศหยุดการดักฟังข้อมูลพลเมืองสหรัฐฯ, หลังดักข้อมูลเกินกฎหมายอนุญาต
https://www.blognone.com/node/92029
สิ่งที่แตกต่างของสหรัฐกับจีนคือ คนจีนไม่มีสิทธิ์โวยวาย (ตามข่าวการอุ้มนักเคลื่อนไหวต่างๆของจีนได้ มีคนนึงโดนอุ้มที่เมืองไทย) แต่สหรัฐถ้าประชาชนรู้สึกไม่แฟร์ ก็โวยได้ และมีการแก้กฎหมายจริงๆ
ข่าวแรกคือข่าวเดียวกันที่ผมยกมาคือไม่ได้แก้กฎหมายเดิมเลย เพียงแต่จะขอข้อมูลจากเอกชนเช่นข้อมูลจากผู้ให้บริการเครือข่ายต้องขอหมายศาลไม่เหมือนแต่ก่อนที่เดินเข้าไปได้เลย
ข่าวที่ยกมาข่าวที่สอง NSA ประกาศหยุดการดักฟังข้อมูลพลเมืองสหรัฐฯ คิดว่าเป็นข่าวแค่แก้เกี้ยวของคดี สโนเดน เพราะอำนาจของกฎหมายเก่าที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงยังเยอะอยู่เหมือนเดิม แถมคนรายงานกับคนปฏิบัตที่มีเครื่องมือดักฟังดันเป็นคนเดียวกัน
ที่สหรัฐคงไม่ได้เรียกว่าโดนอุ้ม เห็นในข่าวเขาเขียนว่าโดนพาตัวไปเซฟเฮ้า
เรื่องพวกนี้มันก็มีเหตุผลที่ต้องมี ไม่ต่างจากจีน เพราะถ้าเมื่อใหล่ไม่มีแล้วเกิดเหตุขึ้นการแก้ปัญหาปลายเหตมันยากกว่า เป็นเหตุผลว่าทำไมต้องยังมีและกฎหมายพวกนี้ให้อำนาจมาก
ลองคิดดูว่าขนาดสโนเดนออกมาแฉยังแก้ไขได้แค่นี้ แล้วคิดว่าอำนาจเดิมที่มีไม่ได้แก้ไขจะหยุดการดังฟังโดยไม่เป็นธรรมได้หรือเปล่า แล้วประเทศต่างๆที่ถูกดักฟังหรือประชากรประเทศอื่นๆโดนดักฟังต่อไปจะเรียกร้องอะไรได้ ? ซึ่งองกรที่ออกมาเรียกร้องสิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่เห็นออกมาตอบโต้อะไร จนดูเหมือนเป็นเครื่องมือโจมตีมากกว่าสิ่งที่อยากให้คนอื่นเรียกตัวเองว่าเป็นอะไร
กฎหมายเดิมก็ห้ามการดักฟังพลเมืองโดยไม่ขอหมายศาลอยู่แล้วครับ แต่ NSA ใช่ช่องโหว่ของกฎหมาย อ้างว่าไม่รู้ว่าเป็นพลเมืองสหรัฐแบบหว่านแห
ทีนี้พอมีเคสสโนเดน ก็โวยวายผ่านรัฐสภาจนมีการแก้กฎหมาย ห้าม"หว่านแห" และถ้าจะดักฟังพลเมืองสหรัฐ ต้องขอผ่าน FISA เท่านั้น มันคือการแก้กฎหมายจริงๆครับ
สิ่งที่แตกต่างระหว่างสหรัฐกับจีน คือการปกครอง และอำนาจในการเรียกร้องของประชาชนครับ
ข่าวนักเคลื่อนไหวจีนโดนอุ้มมีมากมาย จู่ๆก็มีคดีอะไรเพียบ ของเมกาโวยวายจนต้องแก้กฎหมายนี่ไง มันต่างกันที่อำนาจในการตรวจสอบภาคประชาชนที่มีกับรัฐ เพราะสหรัฐมีรธน.ที่คำนึงถึงอำนาจของพลเมืองเป็นสำคัญ ในขณะที่จีนไม่ใช่ รบ.คอมฯอยู่เหนือประชาชนจีน
อย่างเคสสโนเดน คนเอาข้อมูลมาจริงๆคือแมนนิ่ง ก็ได้รับการเรียกร้องจนได้อภัยโทษคดีลักลอบนำข้อมูลลับมาเผยแพร่ ตรงนี้เกิดจากการเรียกร้องของประชาชนอีกนั่นแหละ
อ่านแล้วเหมือนโวยว่า
คุมเข้มขนาดนี้ก็ก่อการร้ายไม่ได้หนะสิ!!!
ชอบกล
ผมว่าเป็นเรื่องปกตินะครับ นึกภาพการทำงานทั่วๆไปของตำรวจทุกที่ทั่วโลกก็ต้องมีการเฝ้าระวังบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงที่จะก่ออาชญากรรมอยู่แล้ว แต่ทีนี้ตำรวจที่เป็นคนจริงๆมีน้อยไม่เพียงพอไง เลยเฝ้าระวังได้แค่คนที่เสี่ยงสูงมากๆเท่านั้น แต่พอมีระบบคอมพิวเตอร์มาช่วย ก็เลยสามารถเฝ้าระวังบุคคลที่มีความเสี่ยงลดหลั่นลงมาได้เพิ่มขึ้น แค่นั้นเอง ไม่ได้มีอะไรผิดปกติเลย
เฝ้าระวังคนทั้งมณฑล?
ก้มุสลิมทั้งมนฑล จะรุ้ได้ไงใครเปนใคร
ก็คิดแบบนี้ ถึงได้วุ่นวายไม่จบ
ถ้าเหมารวมง่ายๆแบบนี้ สมมติว่ามีคนไทยไปฆ่าคนตายที่ตปท. แสดงว่าคนไทยเป็นโจรฆ่าคนตาย เลยต้องเฝ้าระวังเหมือนกับโจรฆ่าคนตายทั้งประเทศ?
ผมว่าใช้ลอจิกล้วนๆ แบบที่ยกมาแบบนั้นไม่ได้ครับ มันต้องดูสถิติประกอบด้วย
ถ้าใช้ลอจิกแบบที่คุณยกมา + สถิติในสถานการณ์ของตม.เกาหลีใต้ คนที่มาจากไทยก็จะถูกสแกนและปฏิเสธการให้เข้าประเทศเยอะมาก เพราะตามสถิติแล้วคนไทยไปเป็นแรงงานเถื่อนกันเยอะมาก คนที่ไปเที่ยวจริงๆ ก็ได้รับผลกระทบไปด้วย
ส่วนสถานการณ์ที่ซินเจียงนี่ ผมไม่รู้ว่าในระดับข่าวภายในเค้ามีเหตุการณ์อะไรที่ไม่ได้เผยแพร่ในระดับนานาชาติบ้าง ก็เลยไม่รู้ว่าสถิติมันเป็นยังไง
สถานการณ์ทางภาคใต้ของไทย ชาวต่างชาติที่อยู่ไทยมาเป็นปีแต่ไม่รู้เรื่องเหตุการณ์ความรุนแรงเลยก็มีครับ
ฉะนั้น ผมคิดว่าการมอนิเตอร์คนแบบเหมารวมมันสมเหตุผลนะ ถ้าสถิติมันบ่งชี้อย่างชัดเจน
logics without fact หรือ feeling without logics ก็สร้างปัญหาได้พอกันครับ
การพุ่งเป้าตรวจตราเป็นพิเศษ ไม่แปลกครับ
แต่การ monitor ถึงขั้นชีวิตประจำวันแบบเหมารวม อันนี้ผิดปกติ
คุณยกตัวอย่าง ตม. อันนี้ก็ต้องเทียบแค่มีด่านตรวจ ถ้าเจอคนมลฑลนี้ ก็ตรวจสอบมากเป็นพิเศษ มันคือการตรวจเป็นครั้งๆ ไม่ใช่การติดตามตลอดเวลา แบบในข่าวนี้
ถ้าให้ยกตัวอย่างแบบสุดโต่งตามข่าว แบบคุณจะเข้าเกาหลี ต้องติดกำไล GPS ที่ข้อเท้า ที่บันทึกภาพและเสียงตลอดเวลา และtracking การเดินทาง เพราะเขากลัวคุณจะหนีไปทำงาน หรือทำผิดกฎหมาย คุณว่าคุณยอมรับได้ไหม?
การเหมารวมทำให้ปัญหาบานปลายครับ ลองยกระดับการติดตามแบบของจีนมาใช้กับ3 จชต.เมืองไทย ก็คงได้เกิดเหตุครั้งใหญ่แน่ๆ คุณคิดว่าควรทำเพราะคุณไม่รู้จักคนที่ 3จชต. ไม่มีใครเป็นญาติคุณ จะละเมิดสิทธิ์เขาอย่างไรก็ได้ แม้เขาจะไม่ใช่คนผิด?
ผมมีญาติทางฝ่ายแม่เกือบทั้งหมดอยู่ในพื้นที่ 3 จชต.พอดีเลยครับ แม่ผมเองก็เกิดแถวๆ นั้น ตายายเป็นคนจีน gen 2 ครับ (อันนี้บอกเอาฮาเฉยๆ นะ แต่เป็นเรื่องจริง)
ผมพยายามอ่านทั้งข่าวต้นทาง และข่าวในบล็อกนันว่ามีตรงไหนที่ระบุว่าตรวจสอบคนทั้งมลฑลตลอดเวลา แต่ผมหาไม่เจอครับ ผมเลยพยายามคิดดูว่าแม้จะไม่ได้ระบุในข่าว แต่ในทางปฏิบัติอาจจะเป็นแบบนั้นจริงก็ได้
ผมเลยพยายามคิดต่อว่ามันเป็นไปได้จริงในทางปฏิบัติรึเปล่าที่จะตรวจสอบคนทั้งมณฑลโดยใช้เทคโนโลยีช่วย ผมก็ยังคิดว่ามันยากอยู่นะครับ
ส่วนที่บอกว่า จะละเมิดอย่างไรก็ได้ แม้ไม่ใช่คนผิด อันนี้ผมอ่านทั้งจากต้นทาง และในข่าวนี้ ผมเข้าใจว่าจะมอนิเตอร์คนที่เข้าข่ายเท่านั้นนะครับ
ถ้าให้ผมตอบในมุมของการปกครองแบบเผด็จการ ผมว่าตัวอย่างสุดโต่งที่คุณยกตัวอย่างมา ideal สำหรับการปกครองแบบเผด็จการเลยครับ พับเรื่องสิทธิมนุษยชนเก็บไปก่อนเลย
แต่ผมไม่สามารถจินตนาการ และคิดวิเคราะห์ต่อจากตัวอย่างสุดโต่งได้อ่ะครับ มันไม่ตรงกับเนื้อหาของข่าว และผมไม่คิดว่าในเชิงปฏิบัติจะทำอย่างนั้นไปทำไมด้วย เพราะกระบวนการคัดกรองมันก็จบที่ด่านตม.ไปแล้ว เชื่อใจได้ระดับนึงว่ากลุ่มคนที่ผ่านด่านตม.ไปจะมีอัตราหลบหนีไปทำงานต่ำระดับนึง ก็เลยไม่รู้ว่าทำไมยังต้องเสียทรัพยากรไปติดกำไล บันทึกภาพและเสียงตลอดเวลา ฯลฯ อีก
พอยกตัวอย่างแบบสุดโต่งมา ผมก็ไม่รู้ว่าจะคุยกันไปทำไม ในเมื่อมันเป็น model ในจินตนาการที่ไม่ได้ตรงกับสถานการณ์จริงอ่ะครับ ถ้าผมโต้เถียงกับ model ในจินตนาการด้วย model ในจินตนาการ ไปๆ มาๆ มันจะกลายเป็นช่วยกันแต่ง fiction ไปรึเปล่าครับ
คือพยายามจะจินตนาการ และวิเคราะห์ตาม แต่มันไร้เหตุผลมากจนผมรวนอ่ะครับ (อันนี้เป็นข้อจำกัดของผมเอง)
แต่การกระทำของจีนกับกลุ่มเป้าหมายในซินเจียงนี่ผมยังวิเคราะห์ได้ว่าทำไปทำไม มีความคุ้มค่าในเชิงทรัพยากร ความเสี่ยง การปกครอง ความมั่นคง ฯลฯ ต่างๆ อย่างไร
ถ้าไม่รังเกียจ ช่วยยกตัวอย่างอื่นๆ ได้มั้ยครับ ผมจะได้มี input ไปคิดต่อเยอะๆ เผื่อได้มุมใหม่ๆ บ้าง ขอบคุณครับ
ข่าวมันบ่งบอกเพียงเล็กน้อยครับ ว่าทางการ เจาะจงเป้าหมายในการ monitor โดยแบ่งคนเป็ 39 ประเภท แต่ก็ไม่ได้บอกต่อว่า monitor ต่อยังไง
แต่จากข่าวอื่นๆ และเทคโนโลยีที่บ.ขนาดใหญ่ในจีนปล่อยมา เช่นการ monitor ผ่าน cctv 100% โดยใช้ face recognition เพื่อดึงข้อมูลคะแนนความประพฤติในการประเมินว่าจะมีสิทธิ์ในการเข้าถึงบริการจากภาครัฐหรือไม่ ก็ค่อนข้างที่จะเชื่อได้ว่า มีการ monitor ตลอดเวลา ผ่าน cctv ว่าคุณชื่ออะไร ไปที่ไหนบ้าง ทำธุรกรรมอะไร(เพราะของจีนผ่านระบบ cashless ส่วนใหญ่) หรือใช้มือถือทำอะไร(ที่ข่าวลงว่าจะยิ่งเฝ้าระวังคนเปลี่ยนไปใช้มือถือแบบเก่า เพราะมันดักฟังแบบ automatic ได้ยาก ไม่เหมือนมือถือ smartphone ที่ส่งข้อมูลกลับรัฐ ในระดับ firmware)
ส่วนเรื่องความขัดแย้งของซินเจียง ก็มีมานานแล้วครับเมืองที่นั่นเป็นเมืองชายแดน นอกด่าน จีนโบราณมีอำนาจบ้างสลับกันไปกับชนเผ่า เพิ่งสถาปนารัฐยุคหลังดูชื่อเองก็เพิ่งตั้งใหม่ (ซินเจียง แปลว่าเขตแดนใหม่) ประชากรหลักคือแขกขาว ใช้ภาษาอุยกูร์ของตัวเอง(คล้ายตุรกี)อักษรที่ใช้ก็อาหรับเลยนี่แหละ นับถืออิสลาม จีนพยายามใช้คลื่นมนุษย์ชาวฮั่นนับล้านคนไปตั้งรกรากเพื่อกลืนชาติจนมีปริมาณราวๆครึ่งนึง แต่ก็ยังไม่ค่อยสำเร็จ แม้ตั้งเป็นเขตปกครองพิเศษ แต่ก็มีการสั่งห้ามกิจกรรมทางศาสนามากมาย จนเกิดการต่อต้าน ก่อการร้าย กู้ชาติ ฯลฯ เป็นประจำ คือโดยพื้นฐานประชากรส่วนใหญ่ ไม่ใช่ชาวฮั่นเลย ชนิดว่าถ้าไม่พูดจีน ก็นึกว่าอยู่ตะวันออกกลาง
มีค่ายแรงงาน ที่เขาตั้งชื่อว่าค่ายฝึกฝนแรงงานไว้ปรับทัศนคติด้วย UNHCR เคยเข้าไปตรวจหลายหน แต่ยังไม่เจอความผิดปกติ(คงคล้ายๆค่ายของบ้านเรา...)
ซินเจียง เป็นแหล่งน้ำมันสำรองและก๊าซธรรมชาติแหล่งใหญ่ของจีนครับ ไม่มีทางปล่อยแน่นอน
ซินเจียงเคยเป็นหนึ่งในมลฑลที่ล้าหลังและคุณภาพชีวิตต่ำที่สุดของจีน สิบกว่าปีก่อน เคยมีคำกล่าวว่า ราวกับย้อนยุคไปห้าสิบปี ชาวซินเจียงที่ยากจน ก็พยายามอพยพออกจากประเทศเพื่อไปหาอนาคตใหม่ โดยมักมีญาติอยู่แถบตุรกีครับ(ที่เคยมาโดนจับแถวไทย)
แต่ได้ยินว่ายุคนี้จีนทุ่มงบประมาณไปเยอะ ก็น่าจะเจริญขึ้น
ตรงส่วนนี้
ผมเข้าใจว่าไม่ได้โดนเฉพาะคนในซินเจียงนะครับ ผมเชื่อว่าคนในซินเจียงน่าจะถูกมอนิเตอร์เยอะกว่านั้น เพราะสิ่งที่คุณ Fourpoint พูดถึงก็มีการใช้งานในปักกิ่งด้วย (ที่มีข่าวว่าข้อมูลหลุด)
ซึ่งถ้าเป็นการมอนิเตอร์เท่าที่เรารู้กัน ต่อกลุ่มที่เป็นกลุ่มผู้ต้องสงสัย และกลุ่มเฝ้าระวัง สำหรับผมยังรับได้อยู่ และผมเห็นด้วยนะครับ และผมเชื่อว่าอีกหลายประเทศก็กำลังตามมาในทิศทางนี้ด้วย เพียงแต่จะเปิดเผยขนาดไหนก็คงเป็นอีกเรื่อง (ซึ่งเป็นปกติทางการข่าว และการทูต ที่เอกสารรายงาน และปฏิบัติการจริงมักไม่ตรงกัน)
แต่เรื่อง MITM กับอินเตอร์เน็ตแบบ Great firewall / Single gateway นี่ไม่เห็นด้วยครับ
เท่าที่ทราบจาก...ถือว่าเป็นข่าวลือแล้วกัน
มีการ monitor ผ่าน cctv แบบ100%(ใช้ AI ระบุตัวตนจากภาพหน้า) ในหลายเมืองแล้ว ระบุได้ขนาดว่า คุณไปไหนมาได้ในแต่ละวันได้หมด และผ่านระบบยืนยันตัวตนอื่นๆ เช่นแม้แต่การใช้กระดาษชำระในส้วมสาธารณะ
ประเด็นคือคุณไม่มีทางรู้หรอกว่า เขาจับตาดูใครบ้าง จริงๆแล้วอาจจะจับตาดู"ทุกคน" แต่ออกข่าวว่าเฉพาะพวกต้องสงสัยก่อการร้ายเท่านั้น ให้คนทั่วไปยอมรับได้ และไม่มีใครคานอำนาจการตรวจสอบของรบ.คอมฯจีนเลย แถมด้วยเก็บข้อมูลทุกคนตลอดเวลา บางครั้งสิ่งที่คุณทำผิดเล็กๆน้อยๆ ก็อาจจะถูกยกมาเป็นคดีใหญ่ ตอนที่คุณเปิดตัวว่าขัดแข้งขัดขาเขา (นั่นคือเขาไม่ได้ลงโทษตอนคุณทำผิดทันที แต่เขาเก็บหลักฐาน ไว้เอาผิดเฉพาะตอนคุณต่อต้าน)
ถ้าคุณคิดว่าประชาชนทุกคนควรจะโดน"จับตา" โดยที่บอกว่า"ไม่ทำผิดก็ไม่ต้องกลัวอะไร" ก็แล้วแต่ครับ
จะว่าไปจีน นี่น่าจะเป็นตัวอย่างเมืองในนิยาย sci-fi หลายๆเรื่องที่เคยอ่านเลย อีกหน่อยคงฝัง chip ไว้ยืนยันตัวตนจริงๆ แค่บังคับดักฟังมือถือทุกเครื่องก็แย่แล้ว...
เอาตัวอย่างใกล้ตัวหน่อย 3จังหวัดชายแดนภาคใต้บ้านเราก็ได้ครับ ถ้าทหารตำรวจเรามีระบบแบบนี้ ก็ต้องคุมเข้มแบบนี้แหละครับ แต่ไม่มีไง ก็เลยได้แค่เฝ้าระวังเฉพาะพวกระดับกลุ่มผู้นำชุมชน ... หรือคุณคิดว่าไม่ควรเฝ้าระวัง?
ทุกคนที่ว่าละเมิด คืออยากเดินดีๆโดนระเบิดเละแบบที่ศาลพระพรหมหรอครับ คือผมไดม่ว่าเขาจะยอมเปลืองงบขนาดนี้ เพื่อสนองนีส หรือให้คนด่าเล่นเฉยๆหรอกนะครับ
ก็เพราะไปแทรกแซงความขัดแย้งของเขา ไฟเลยลามมาแบบนี้ไงครับ
ถ้าตามข่าวแต่แรกก็จะรู้ว่า ทางการไทย ส่งผู้ลี้ภัยชาวอุยกูรร์กลับจีน ทั้งๆที่มีประเทศที่สามรองรับอยู่แล้ว แถมมีหลายคนที่โดนส่งกลับแล้วโดนประหารชีวิต(จากคดีที่เขาอ้างมา แต่ดันไม่ได้ขอผ่านระบบส่งผู้ร้ายข้ามแดนปกติ แต่ใช้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างประเทศ น่าสงสัยไหม?) จนมีข่าวว่ากลุ่มหัวรุนแรงแก้แค้นทางการไทยเพราะเรื่องนี้
ผมไม่ชอบแนวคิดว่าต้องมี "ผู้เหนือกว่า" มาคอยสอดส่องกำกับ "ผู้ด้อยกว่า" แบบนี้เท่าไร แต่คิดว่าน่าจะมีหลายคนที่ชอบระบบแนว ๆ นี้
That is the way things are.
ผมไม่มองว่าเป็นผู้เหนือกว่านะ ผมมองว่าแนวๆ ผู้คุมกฎมากกว่า
คำถามพื้นฐานเลย ใครตรวจสอบผู้คุมกฎอะครับ?
ถ้าบอกว่าศีลธรรมล่ะก็จบเห่เลย...
พวกที่เชียร์อำนาจนิยมแบบนี้ เพราะตัวเองยังไม่โดนไงครับ และคิดว่าตัวเองจะ"โชคดี"ได้เป็นพวกเดียวกับผู้มีอำนาจตลอดไป
เห็นมาหลายคนแล้วที่ตอนหลังเปลี่ยนเป็น "โชคร้าย" กลับมาโดนระบบที่เผด็จการเอาเปรียบอย่างไม่มีทางสู้ ซึ่งมันก็สายไปเสียแล้ว