SWIFT ผู้ดูแลเครือข่ายการส่งคำสั่งระหว่างธนาคาร ประกาศความสำเร็จในการทดสอบเชื่อมโยงเครือข่ายโอนเงินท้องถื่น เข้ากับระบบโอนเงินข้ามประเทศ SWIFT gpi เปิดทางให้การโอนเงินระหว่างประเทศทำได้ในเวลาที่สั้นลงมาก อยู่ในระดับต่ำกว่าหนึ่งนาที
การทดลองที่ประกาศออกมามี 3 ชุด ได้แก่
SWIFT gpi เป็นเครือข่ายรุ่นปรับปรุงของ SWIFT ที่มีข้อกำหนดการประมวลผลการโอนเงินที่สั้นลง (ต่ำกว่า 1 วัน) และตัวโปรโตคอลเปิดทางให้ติดตามคำสั่งได้ตลอดเวลาว่าอยู่ในสถานะใด โดยตัวเลขล่าสุดมีการโอนเงินผ่าน SWIFT gpi ถึงวันละ 300,000 ล้านดอลลาร์แล้ว
ที่มา - จดหมายข่าว SWIFT
ภาพหน้าจอ gpi Observer ซอฟต์แวร์เสริมสำหรับมอนิเตอร์การทำงานของ SWIFT gpi
Comments
RIP Ripple XRP
ซึ่งก็ไม่มีใครสนใจว่ามันจะ "decentralize" ไหม ขอแค่โอนเร็ว ไม่แพง ทุกคนก็มีความสุข
lewcpe.com, @wasonliw
เพราะเหรียญพวกนี้นี่แหละที่ทำให้เกิดการแข่งขัน SWIFT เป็นเสือนอนกินมานานพอละ
อ่านแล้วถึงกลับกลั้นขำตอนตีสาม
ส่วนที่แข่งจริงๆ นี่ไม่มีเหรียญเลยครับ มีแต่ messaging ที่เริ่มเข้ามาแข่งขันบ้าง (น้อยมาก แต่มีตัวตนในตลาด)
ส่วน XRP นี่เข็นมานาน ไม่มีใครเอาด้วย
lewcpe.com, @wasonliw
XRP นายทำหน้าที่ของนายสำเร็จแล้ว
ทำให้ SWIFT ขยับตัวปรับปรุงประสิทธิภาพได้
//จากนั้นธนาคารก็ใช้ SWIFT ต่อไป
ในอดีตทำไมบริการโอนเงินพวกนี้ถึงมีกระบวนการที่ช้าอะครับ
มันติดที่เทคโนโลยี หรือ stack ที่ใช้ หรือติด policy อะไรครับ
ทั้งสองอย่างเลยครับ
อยากรู้ว่าติด policy ประมาณไหนครับ
จริงๆมันช้าเพราะต้องทำตามกฏป้องกันการฟอกเงิน (AML/CFT Transaction Screening) และกฏควบคุมเงินตราต่างประเทศ (Foreign Exchange Control) เป็นหลัก
แบงค์ไหนทำธุรกรรมข้ามพรมแดนเยอะ ยิ่งต้องเอาจริง เพราะเวลาโดนUSหรือแบงค์ชาติตรวจเจอว่าหลุดทีนี่โดนปรับแทบล้มละลาย (คิดว่าเป็นวิธีหาเงินเข้ารัฐ เวลาจนๆก็มาตรวจ)
คือแบงค์จะมีรายชื่อคนที่ห้ามทำธุรกรรมเป็นพันคน หลากหลายเชื้อชาติ เวลาเงินวิ่งมาพร้อมชื่อผู้โอน ต้องตรวจว่าอยู่ในรายชื่อนั้นไหม
ทีนี้นึกภาพชื่อคนไทยสะกดเป็นภาษาอังกฤษ สะกดได้ตั้งหลายแบบ แบงค์จะทำแค่ดู exact match กับชื่อที่มีก็ไม่ได้ ถือว่าไม่รัดกุมพอ ต้องดูชื่อคล้ายด้วย
ทีนี้นึกภาพคนชื่อโหล ชื่อคนโอนดันไปซ้ำกับคนที่ติด black list แบงค์ต้องพิสูจน์ทราบก่อนว่า ชื่อตรง แต่เป็นคนเดียวกันหรือเปล่า ถ้าเป็นคนละคนก็ต้องรับเงินเข้ามาให้ลูกค้าตัวเอง ถ้าดันใช่คนใน black list ก็ต้องปฏิเสธรายการหรืออายัดเงิน แล้วแต่กรณี
ที่ว่ามาข้างบนนี้ ต้องใช้ judgement ล้วนๆ ต้องติดต่อประสานงานกับคน มันเลยช้า
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับกฏระเบียบควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินที่ประเทศปลายทางอีกด้วย เช่น โอน USD ไปพม่า ธนาคารที่พม่าอาจจะต้องตรวจสอบเอกสารบางอย่างว่า เงินนี้มีที่มา เช่นบริษัทผู้รับเงินมีการส่งออก แล้วก็เลยมีการโอนเข้ามาจ่าย เป็นต้น ยิ่งนานเข้าไปใหญ่กว่าเงินจะเข้าบัญชี
ส่วนมากเคส PoC (Proof of Concept) ที่ทำได้ near real-time คือมันมักจะมีข้อจำกัดหลายๆอย่างซ่อนอยู่ ถึงทำได้แบบนั้น (เช่น มีการตกลงผู้รับและผู้จ่ายไว้ล่วงหน้า ทำให้ไม่ต้องทำ fuzzy name screening ไม่ต้องตรวจเอกสาร จำกัดวงเงินขนาดเล็กเพื่อลดความเสี่ยงการฟอกเงิน etc.)
ชีวิตจริงไม่ง่าย และไม่ได้ขึ้นอยู่ว่าใช้อะไรเป็นตัวกลางส่งข้อมูล จะ SWIFT จะ DLT โดนกฏพวกนี้หมด
ขอบคุณครับ แล้วตอนนี้ swift ทำได้ไม่ถึง 1 นาที กฎที่ว่ามามันถูกยกเลิกหรือยังไงครับ
ไม่ถูกยกเลิกครับ ก็ยังโดนอยู่ แต่มีตัวเทคโนโลยีประกอบอื่นๆ ที่เอามาทำให้มันเร็วขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกในส่วนของระบบตรวจสอบให้ทำงานได้เร็วมากขึ้น แต่ในระดับโอนเงินจำนวนมากๆ ก็ยังใช้เวลาอยู่ จะมากน้อยก็แล้วแต่ปัจจัยที่สมาชิกข้างบนบอกครับ ซึ่งไม่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเลย
ขอบคุณครับ สงสัยต้องหาอ่านเยอะๆ แล้วว่าอะไรที่ทำให้มันเร็วขึ้นได้ ที่ไม่ใช่เทคโนโลยี
ในหนังเก่าๆ เห็นโอนเงินกันเป็นล้านๆ ก็หลายนาที พระเอกต้องต่อสู้เพื่อหยุดการโอนเงิน ถ้าสมัยใหม่นี่คงไม่ทันซินะฮ๋าๆ
มุกนี้บางประเทศยังใช้ได้ครับ
แถวๆ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผลไม้ส่งออกที่โดนตีกลับเป็น ทุเรียน สินะคับ
คงต้องมาแนว DDOS, SQL Injection แทน ให้มันช้าลง หรือสั่งย้อนหลังการโอนเสร็จหละมั้ง ถ้าหักดิบแลยก็แฮคปิดระบบการสื่อสารที่ใช้โอนเงินทั้งหมด ถ้าเป็นในหนังนะ
ของจริงเป็นยังไงไม่ทราบ แต่ไม่น่าจะง่ายเหมือนในหนัง
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
จริงๆ ปัจจุบันเงินจำนวนเยอะๆ ก็ไม่ได้เร็วครับ มันผ่านขั้นตอนธนาคารของแต่ละประเทศเพื่อตรวจสอบอีกหลายอย่าง
Rip xrp
Free React Native template ครับ