จากก่อนหน้านี้ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่าอาการติดเกมเป็นอาการผิดปกติทางจิตประเภทหนึ่ง (ICD-11) นั้น ศาสตราจารย์ Andrew Przybylski ผู้อำนวยการวิจัยของสถาบันอินเตอร์เน็ตแห่งมหาวิทยาลัย Oxford (Oxford Internet Institute) ผู้ร่วมเขียนงานวิจัย "Investigating the Motivational and Psychosocial Dynamics of Dysregulated Gaming" ได้เก็บข้อมูลกับกลุ่มเด็กและผู้ปกครอง 1,000 คน พบว่าเด็กมักใช้เกมเป็นงานอดิเรกและสิ่งที่ช่วยหลีกหนีจากความจริงมากกว่าจะได้รับผลกระทบด้านลบจากสื่อประเภทนี้ งานวิจัยนี้ได้ออกมาแย้งกับ ICD-11 ที่ทางองค์การอนามัยโลกได้ประกาศไปเมื่อเร็ว ๆ นี้
ศาสตราจารย์ Andrew กล่าวว่า ICD-11 นั้นไม่ได้ทำบริบทชีวิตของเด็กในการศึกษามาเป็นส่วนประกอบและงานวิจัยของศาสตราจารย์ Andrew ก็ไม่พบหลักฐานว่าเกมมีส่วนเกี่ยวข้องกับความเจ็บป่วยทางจิตหรือความบกพร่องทางพฤติกรรมแต่กลับพบว่าพฤติกรรมการเกมนั้นสะท้อนและเติมเต็มความต้องการทางใจของผู้เล่นแทน
ภาพจาก Shutterstock
จากการรายงานของผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมและการแสดงออกต่อสังคมของเด็กที่ถูกศึกษา นักวิจัยพบหลักฐานเพียงเล็กน้อยเชื่อมโยงระหว่างการเล่นเกมอย่างหนักกับพฤติกรรมที่ไม่ดีของเด็ก ซึ่งศาสตราจารย์ก็เห็นว่าหลักฐานที่ได้จากการศึกษาตอนนี้ไม่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเกมเป็นอาการผิดปกติทางจิตได้
ด้านด็อกเตอร์ Netta Weinstein อาจารย์อาวุโสจาก University of Cardiff School of Psychology ผู้ร่วมเขียนวิจัยนี้ กล่าวว่าเขาอยากให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพใส่ใจปัจจัยเสริมเกี่ยวกับความพอใจทางจิตใจและความยุ่งเหยิงในชีวิตประจำวันมีผลต่อพฤติกรรมของคนส่วนน้อยที่ติดเกมและจำเป็นต้องมีส่วนร่วมในเกมมาก ๆ อย่างไรบ้าง
การศึกษาพบเด็กส่วนมากเล่นเกมอย่างน้อยหนึ่งเกมทุกวัน แต่มีน้อยกว่าครึ่งในกลุ่มที่เล่นเกมทุกวันนี้มีอาการติดหรือเล่นเกมเกิน 3 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ทีมวิจัยภาคสนามของศาสตราจารย์ Andrew Przybylski ก็เสนอว่าตอนนี้หลักฐานบ่งชี้ทางวิทยาศาสตร์ก็มีน้อยเกินไป และคาดว่าต้องขอความร่วมมือจากบริษัทผู้พัฒนาเกมเพื่อช่วยให้เข้าถึงแก่นของปัญหาเรื่องนี้
ก่อนหน้านี้ด็อกเตอร์ David Zendle จาก York St John University ก็เคยร้องขอต่อสภาอังกฤษให้บริษัทเกมแบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของในเกมเช่น loot box เพื่อช่วยให้การศึกษาเรื่องดังกล่าวชัดเจนยิ่งขึ้นเช่นกัน
ที่มา : GamesIndustry.biz
Comments
มันก็พูดยากนะเรื่องนี้ แค่ปกติการตีขอบเขตของความป่วยทางจิตก็ยากอยู่ละ
That is the way things are.
ป่วยทางจิต สำหรับผมหมายถึงการทำงานของสมอง และสารเคมีในสมองผิดปกติเท่านั้น
ไม่อย่างนั้นเพศที่ 3 ก็คงถือเป็นคนป่วยทางจิตไปด้วย
เห็นด้วยครับ ถ้าแค่พฤติกรรมติดอะไรซักอย่างที่มันเป็นปกติของมนุษย์ ติดมากๆจะเป็นอาการป่วยทางจิตได้หรือเปล่าไม่แน่ใจแต่มันไม่น่าต้องนิยามการติดเกมขึ้นมาเป็นอะไรพิเศษเพราะมันแค่เครื่องมืออย่างนึง ยกเว้นถ้ามันมีผลเฉพาะเรื่องทำให้สารเคมีในสมองผิดปกติอะไรงี้
เก็บข้อมูลยังไง 1000 คน ให้เขากรอกเอกสาร ติ๊กถูกๆ หรือเปล่า ถ้าแบบนี้ผมว่าบางครั้งมันได้ข้อมูลไม่จริง หลายๆคนติ๊กมั่วๆเอาไม่ได้อ่าน
คุณกู้ Coolerist ตั้งวงสนทนาเรื่องนี้ไว้ดีมากครับ
ตั้งแต่ศัพท์บัญญัติ จนถึงข้อขัดแย้งในการวินิจฉัย
https://youtu.be/G0MXG1BIy68
เคยเจองานวิจัยช้างกับป่า 2กลุ่มลงพื้นที่เดียวกัน
กลุ่มนึงบอก ช้างทำลายป่า ให้ออกกฎล่าช้างได้
อีกกลุ่มนึงบอก ช้างช่วยถางป่า ทำให้สัตว์อื่นอยู่ได้ ให้ออกกฎห้ามล่าช้าง
ทำให้มีข้อครหาว่าวิจัยตามใบสั่ง
ตั้งแต่นั้นมา ก็ไม่ค่อยให้น้ำหนักงานวิจัยซักเท่าไหร่
เอามาอ่านได้แต่อย่าอินมาก
(-.-')/
เอาคลิปเด็กหยิบมีดจะไปฟันแม่ให้ Oxford ดูดีไหม
เป็นปัญหาเรื่องการควบคุมอารมณ์ของเด็กแต่ละคนมากกว่า ลองเปลี่ยนให้เด็กชอบเล่นบอล ถ้าแข่งแพ้ก็อาจจะชกต่อยคู่แข่งแทนอยู่ดี ผมว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับเกมเลย
บอลก็เป็นเกมกีฬานะครับ ?
บอลช่วยแก้อาการกระหาย กระวนกระวาย อยาก... ได้ด้วยนะครับ
//O-Net ปีหนึ่งในอดีต