ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือแบงก์ชาติ ชี้ ผู้ให้บริการต้องขอความยินยอมจากลูกค้าก่อนที่จะนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ โดยต้องทำเป็นระบบ opt-in หรือการได้รับคำตอบตกลงยินยอมจากลูกค้าแล้ว เริ่มบังคับใช้ต้นปี 2563
จากเดิมที่ถ้าลูกค้าไม่ตอบ เท่ากับตกลงยินยอมให้ข้อมูลนั้น มาตรฐานใหม่จะกลายเป็นลูกค้าต้องให้ความเห็นชอบอย่างชัดเจน รวมทั้งให้ระบุวัตถุประสงค์การใช้ให้ชัดเจน และหากเป็นวัตถุประสงค์เพื่อการตลาดจะต้องแจ้งชื่อผู้ที่จะนำข้อมูลไปใช้ให้ชัดเจนด้วย
ที่มา - ธนาคารแห่งประเทศไทย
Comments
แหม่...ดีครับ ด่วนเลยครับ
บางธนาคาร... สีม่วง ...ยังไม่มีให้เลือกยินยอม ไม่ยินยอม เลยครับ
ไม่ยินยอม ไม่ให้เปิดครับ
ไม่ยินยอมก็เปิดไม่ได้ครับ เคยเจออยู่ พนักงานบอกให้ติ๊กเลย ไม่งั้นเขาจะบอกใช้ไม่ได้ ไอ้เราก็ไม่มีเวลามาเถียงหรือหาข้อมูลมายันนะ
ผมไปเปิดบัตรล่าสุดขีดคร่อมไม่ยินยอมเลยนะครับ (ไม่มีช่องให้เลือก) พนักงานก็รับเอกสาร ได้บัตรเรียบร้อยดี
lewcpe.com, @wasonliw
ผมก็ได้เช่นกัน แต่พนักงานก็บอกเหมือนกันว่าถ้ายินยอมจะขอได้ง่ายกว่า ทั้งที่ในเอกสารบอกไม่มีผลต่อการอนุมัติ
แต่ใครจะรู้ล่ะว่าเพราะอะไร
ผมเคยทำบัตรไม่ผ่านครั้งนึง สอบถามสาเหตุไปก็ไม่ได้คำตอบ
กราบบบบบ น่าจะตื่นตั้งนานแล้ว
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
หวังว่าจะไม่ใช่แค่สิ่งที่เขียนอยู่ในกระดาษแต่ไม่มีการกวดขันจริงจังนะ
แบงค์ชาติควรจะออกกฏ บังคับให้ถามแยกและห้ามบังคับให้กดยอมรับเหมารวม
ตอนนี้เท่าที่ดูเกือบทุกเจ้า(ยกเว้น scb) แอบยัดใส้ ซ่อนไว้ใน term of service ข้อหลังๆกันทั้งนั้น
สำหรับบัตรเครดิต ต้องออกกฏถึงพนักงานขายด้วยว่า ถ้าลูกค้าถามให้ตอบเหมือนกันว่าเป็นการสมัครใจ ไม่มีผลต่อการอนุมัติ ถ้าตัวแทนละเลยถือว่าผิด
ปัจจุบันผมถามไปมีแต่ถ้ายินยอมจะของ่ายขึ้น
สำหรับผม ต่อให้ไม่ยินยอมตอนนี้ คงไม่ทันละ
ตอนนี้บริษัทประกัน บริษัทบัตรเครดิต มีเบอร์โทรผมกันหมดแล้วมั๊ง
ใช้ Whoscall block ตลอด
ส่วนข้อมูลพวกรายได้ ส่วนใหญ่ผมจะเขียนหลอกๆไว้
จริงๆ ก็คือปรับล้อไปกับ พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคลที่จะมีผลปีหน้าเฉยๆ รึเปล่า?