BlueDot บริษัทสตาร์ตอัพจากแคนาดาที่พัฒนาระบบแจ้งเตือนโรคระบาดด้วย Big Data สามารถแจ้งเตือนการระบาดของไวรัสอู่ฮั่นได้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม ก่อนหน่วยงานของทางการหลายวัน (CDC ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเตือนวันที่ 6 มกราคม, WHO ประกาศเตือน 9 มกราคม)
อัลกอริทึมของ BlueDot ใช้การสแกนข่าวสารในภาษาต่างประเทศ 65 ภาษา (ในที่นี้รวมเว็บบอร์ดและบล็อก), ข้อมูลจากเครือข่ายโรคพืชและสัตว์ รวมถึงประกาศจากหน่วยงานรัฐบาลของประเทศต่างๆ จากนั้นส่งต่อให้นักระบาดวิทยา (epidemiologist) วิเคราะห์อีกชั้นว่าข้อมูลถูกต้องไหมในเชิงวิทยาศาสตร์
ตัวอย่างหน้าจอของ BlueDot
Kamran Khan ซีอีโอของ BlueDot ให้สัมภาษณ์กับ Wired ว่าหน่วยงานของรัฐบาลมักมีปัญหาข้อมูลข่าวสารล่าช้า ทำให้ BlueDot ใช้แหล่งข้อมูลอื่นๆ เพื่อหาสัญญาณเหตุการณ์ผิดปกติแทน เขาบอกว่า BlueDot ไม่ได้ใช้ข้อมูลจากโซเชียลมีเดียเพราะมีโอกาสผิดพลาดสูง แต่ใช้ข้อมูลการซื้อตั๋วเครื่องบิน เพื่อพยากรณ์ว่าคนจากอู่ฮั่นจะเดินทางไปที่ไหนต่อได้ ซึ่ง BlueDot ก็พยากรณ์ได้ถูกต้องว่าไวรัสจะระบาดไปยังกรุงเทพ โซล ไทเป โตเกียว
ตัวของ Khan เคยทำงานเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดในเมืองโตรอนโต และเคยผ่านประสบการณ์โรค SARS ระบาดในปี 2003 เขาจึงหาวิธีการติดตามการแพร่ระบาดของโรคที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ หลังจากนั้นเขาจึงตั้งบริษัท BlueDot ในปี 2014 โดยมีโมเดลธุรกิจคือขายรายงานการระบาดของโรคให้กับหน่วยงานต่างๆ เช่น โรงพยาบาล สายการบิน รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ
ที่มา - Wired
Comments
ระบบแจ้งแบบนี้ ถ้ามันไม่ได้ระบาดรุนแรงจริงๆก็แค่เงียบไว้ แต่ถ้ารุนแรงแบบที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ก็ค่อยออกมาประกาศ ทำไมระบบเหมือนหมอดูจังเลย ถ้าทายผิดก็จะเงียบแบบเนียนๆไปรอรอบใหม่ รัฐผมว่าไม่ล่าช้าหรอก แต่ตองยืนยันข้อมูลต่างหาก
ขอเห็นต่างนะครับ การวิเคราห์เชิงข้อมูลแตกต่างจากหมอดูมาก
ถ้าใช้ข้อมูลที่เชื่อได้จริงอัลกอรึธึมมีความแม่นยำมีโอกาสป้องกันได้ด้วย
ถ้าป้องกันได้แล้วเหตุไม่เกิดถือว่าพยากรณ์ผิดหรือไม่?
ผมว่าการป้องกันเหตุได้ไม่ถือว่าพยากรณ์ผิด
อืม ผมอาจสื่อแบบนั้นก็ได้ ช่างเถอะแก้ไม่ได้แล้ว แต่ไม่ค่อยชอบ แบบรอมานานมากเพิ่งมาบอกว่าตัวเองรู้นานแล้วแต่แรกก่อนเจ้าอื่นๆด้วย การประมวลผลนั่นนี่ แล้วรออะไรถึงเพิ่งมาบอกหน่ะสิครับ เลยลามเอาไปเทียบหมอดู เหมือนรอผลเกิดก่อนเพื่อความมั่นใจค่อยออกตัว
ที่ผมจะสื่อคือไม่ใช่เชิงวิเคราะห์หรือพยากรณ์ถูกหรือผิดอย่างเดียวหรอกครับ ปัจจัยเฉพาะมันเยอะยิ่งเป็นการคาดการณ์การกระทำของรัฐบาลจีน แต่เป็นเรื่องการเตือนได้รวดเร็วที่เขาเอามาแสดงกันว่าเร็วกว่าที่อื่น ยิ่งเตือนล่วงหน้าได้ล่วงหน้าก่อนได้ไกลเท่าไหร่ ยิ่งได้เครดิตเยอะ
ซึ่งโปรแกรมมันได้ Alert ไปแล้วตั้งแต่วันสิ้นปี แต่ยังไม่เอามาประกาศเพราะถ้าออกตัวตอนนั้นจะเป็นอย่างไรน่ะสิครับ บางอย่างการที่ แอคชั่นเร็วเกินไปมันก็ส่งผลเสียต่ออะไรบางอย่างได้เช่นกัน เช่นเศษฐกิจจะทรุดหนักไปอีกถ้ารีบออกแอคชั่นไปเลย เลยผ่านมาเกือบเดือนแล้วถึงค่อยมาบอกว่าตัวเองรู้นานแล้วเกือบเดือนและเร็วกว่าที่อื่น
และเรื่องนี้ถ้าเอาความแม่นยำ มันขึ้นอยู่กับการควบคุมของจีนที่เดาการกระทำยากด้วยเพราะรัฐบาลเขามีอำนาจเต็ม แทบจะทำอะไรก็ได้ เช่น ออกกฎคนจะเดินทางออกนอกประเทศชาวอู่ฮั่นและใกล้เคียง หรือทั้งมณทลเลยต้องไปตรวจโรค ตรวจเลือดหรือตรวจสุขภาพอย่างละเอียด แล้วเอาใบรับรองที่ออกมาไม่เกินกี่วัน ไปประกอบการซื้อตัวการเดินทางออกนอกพื้นที่ได้อะไรแบบนี้ อัลกอลิทึมที่เช็คการซื้อตั๋วเครื่องบินของชาวอู่ฮันจะแม่นยำลดลงทันที ว่าจะระบาดไปในต่างประเทศ มันอาจทำให้ประเทศปลายทาง เพิ่มมาตราการป้องขั้นขึ้นไปสูงเกินโดยไม่จำเป็นก็ได้ จะพาให้โดนด่าจากทั่วโลกหนักไปอีก เพราะเศษฐกิจก็แย่พออยู่แล้ว สรุปเลยต้องมาออกตัวตอนนี้สำหรับเรื่องนี้
ซึ่งในความเห็นส่วนตัวผม CDC และ WHO เพิ่งมาประกาศเตือนเขาอาจได้ข้อมูลมาก่อนแล้วสักพักแล้วก็ได้ แต่ต้องรอตรวจสอบอีกทีประประเมินเรื่องผลกระทบหลังการประกาศช้าไปหรือเร็วไปด้วยก่อนจะประกาศเป็นทางการ ไม่อย่างงั้นอาจจะเกิดวุ่นวายมากโดยไม่จำเป็นได้
บริษัทนี้ยังไม่มีโครงการส่งข้อมูลสู่สาธารณชนโดยตรงครับ (แต่อาจมีในอนาคต)
BlueDot’s reports are then sent to public health officials in a dozen countries (including the US and Canada), airlines, and frontline hospitals where infected patients might end up. BlueDot doesn’t sell their data to the general public, but they are working on it, Khan says.
ว่าง่ายๆคือใครอยากรู้ก่อน ต้องไปเป็นลูกค้า และถ้ารู้สึกว่ามันไม่แม่นยำ ก็เลิกเป็นลูกค้า
ถ้าดูแค่ข่าวนี้ อันนี้ผมก็เห็นด้วยกับจขกท.นะ
เหมือนหมอดูพูดถูกครั้งเดียว ทุกคนออกมาแซ่ซ้องความอเมซิ่งนี้ เพราะเขาออกมาตีฆ้องร้องป่าวหลังจากมัน mainstream แล้ว safe แล้วที่จะออกมา ถ้าผิดก็แค่อยู่เงียบๆไป (อันนี้มีแต่ได้ไม่มีเสีย)
ถ้าหากมีข่าวว่า start up นี้พยายามสุดตัวในการไป convince ทุก party ว่ากำลังจะมีโรคระบาด อันนี้ค่อยน่าตื่นเต้นหน่อย เพราะแปลว่าเขามั่นใจและกล้า stand behind prediction ของมันมาก
เขาแจ้งเตือนเฉพาะลูกค้าเขาครับ เพราะหารายได้จากการขายรายงาน ถ้าไม่จ่ายเงินก็ไม่ได้รายงาน
ส่วนสื่อไปสัมภาษณ์นั่นเป็นเรื่องทีหลังแล้ว
+100
ผมเชื่อ data ไม่เชื่อหมดดู ปัดโถ่
ใช้ข้อมูลจากสถิติและการวิเคราะห์แล้วบอกว่าเป็นหมอดู เป็นความเห็นที่ไม่โสภาสถาพรเลยครับ
ในระดับสตาร์ทอัพ ถ้าใช้วิธีแบบที่คุณคิดจริงๆ รับรองไม่ได้เกิด เพราะการโฆษณาตัวเองแบบที่คุณว่า เมื่อระบบคาดการณ์ผิดมันก็จะพิสูจน์ตัวระบบเองนะครับ
ที่สำคัญคือมีคนช่วยกรองข่าวอีกระดับนึง แบบนี้เรียกหมอดู?
โปรไฟล์ CEO
จบแพทยศาสตร์บัณฑิต University of Toronto
เรียนต่อเฉพาะทาง Fellow of The Royal College of Physicians of Canada
จบสาธารณสุขมหาบัณฑิต Columbia University
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ประจำภาควิชาโรคติดเชื้อ University of Toronto
หมอดูต้องโปรไฟล์ ขนาดนี้เลย ถถถ
ไว้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อพิจารณาแต่ไม่ใช่ทั้งหมด อย่างตอนผมเรียนมหาลัยผมยังเห็นอาจารย์ของผมซื้อเหรียญควอนตัมราคาเป็นหมื่นอยู่เลย แต่อาจารย์เขารวยกว่าผมมากสำหรับเขาคงเหมือนเงินแค่บาทสองบาทมั้ง ได้ตัดความรำคาญที่เซลมายัดเยียดขายด้วย
BigData = หมอดู หมดกัน สิ่งที่เรียนมา 555
เอาจริง ๆ หมอดู ก็เป็นวิชาสถิติแขนงนึงนะครับ
แค่มันอธิบายเหตุผลไม่ได้เท่านั้นเอง 555
ผมตกข่าวอะไรหรือเปล่าครับ หมอดูมาเกี่ยวอะไรกับไวรัสอู่ฮั่น
ผมเข้าใจเม้นแรกนะ เข้าไม่ได้บอกว่าการวิธีการทำงานเหมือนหมอดู เข้าใจตั้งแต่อ่านเม้นแรกละโดยไม่ต้องอ่านที่เจ้าของมาตอบ
ของเรารู้ล่วงหน้าก่อนเดือนนึง