ปกติแล้วบริษัทให้คำปรึกษาด้านไอทีส่วนใหญ่ (IT consultancy) มักให้บริการเฉพาะด้านเทคโนโลยี จะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน เน็ตเวิร์ค ซอฟต์แวร์ไปจนถึงฮาร์ดแวร์ แตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท
แต่สิ่งที่ ThoughtWorks ให้บริการลูกค้ามีมากกว่านั้น เพราะรวมถึงการโค้ชชิ่งด้านกระบวนการทำงานและวิธีคิดของพนักงาน ไปจนถึงโมเดลธุรกิจใหม่ ที่ดิจิทัลเข้ามามีบทบาทมากขึ้น
ThoughtWorks เป็นบริษัท IT Consultancy จากสหรัฐอเมริกา มีสำนักงานอยู่ใน 40 แห่งใน 15 ประเทศทั่วโลก ก่อตั้งในปี 1993 แต่เพิ่งเข้ามาตั้งบริษัทในไทยเมื่อปี 2016 นี้เอง
สิ่งหนึ่งที่ ThoughtWorks เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก คือเป็นแกนหลักที่ผลักดัน Agile ในฐานะรูปแบบหรือกระบวนการในการทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์แบบใหม่ แทนที่รูปแบบ waterfall แบบเดิม เนื่องจาก Martin Fowler และ Jim Highsmith สองผู้สร้างกระบวนการ Agile ยังเป็นพนักงานของ ThoughtWorks จนถึงปัจจุบันนี้
ภาพจาก ThoughtWorks
คุณพีท เจียมศรีพงษ์ กรรมการผู้จัดการ (General Manager) ของ ThoughtWorks ประเทศไทย อธิบายอย่างง่าย ๆ ว่าหน้าที่ของ ThoughtWorks คือเข้าไปช่วยให้ธุรกิจของลูกค้าที่มีความเป็นแอนะล็อกให้เปลี่ยนผ่านมาสู่ความเป็นดิจิทัล (digital transformation)
ดังนั้นสิ่งที่ ThoughtWorks ทำในฐานะที่ปรึกษาด้านไอที จะไม่ได้ช่วยลูกค้าแค่เรื่องซอฟต์แวร์ในลักษณะรับ requirement มาแล้วส่งมอบให้ตามที่ลูกค้าต้องการ (delivery) แต่ยังเข้าไปช่วยในแง่กระบวนการและรูปแบบการทำงาน (enablement) ที่ส่งผลถึงกระบวนการตัดสินใจขององค์กรให้มีความ lean ตัดสินใจได้รวดเร็ว เพื่อให้องค์กรและธุรกิจของลูกค้า ก้าวขึ้นมาอยู่บนโลกดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่เครื่องมือและกลไกการทำงานไปพร้อมๆ กัน
คุณพีท เจียมศรีพงษ์, กรรมการผู้จัดการ, ThoughtWorks ประเทศไทย
ด้วยโมเดลการทำงานของ ThoughtWorks ที่ไม่ได้ส่งมอบแค่ซอฟต์แวร์หรือโซลูชันให้กับลูกค้า ทำให้ทีมนักพัฒนาของที่นี่ ไม่ว่าจะตำแหน่งไหนจะไม่ได้ทำงานแค่ไปรับ requirement จากลูกค้า กลับมาวางแผนประชุมแล้วนั่งเขียนโค้ด แต่จะมีโอกาสได้เข้าไปนั่งทำงานกับลูกค้าเหมือนเป็นทีมเดียวกัน เพื่อ แนะนำและร่วมแก้ปัญหาในแง่ของกระบวนการทำงานของลูกค้าด้วย
ดังนั้นชื่อเรียกตำแหน่งของพนักงาน ThoughtWorks จะพ่วงคำว่า Consultant ไปด้วย เช่น Developer Consultant, UX Designer Consultant เป็นต้น
โครงสร้างองค์กรจะเป็นแบบ flat เลย ต่อให้คนที่มีตำแหน่งสูงกว่า เช่น Lead Developer ก็ไม่ได้ดูแลหรือมีสิทธิสั่งงานใคร เพียงแต่ว่าพอตำแหน่งสูง ความคาดหวังด้านต่าง ๆ จะสูงกว่าเท่านั้นเอง กระบวนการทำงานจะแตกต่างกันไปตามแต่ละโปรเจ็ค ตามแต่ปัญหาของลูกค้าว่าต้องการแก้อะไร และเมื่อทำงานกันในโปรเจ็คทุกคนจะมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของตัวเอง มีการประชุม พูดคุย ช่วยเหลือหรือชี้แนะกัน แต่ไม่ได้มีใครเป็นคนนำ เปรียบเหมือนทีมฟุตบอลที่ช่วยกันเล่นแต่ต่างคนต่างมีหน้าที่ของตัวเอง
เนื่องจากกระบวนการทำงานของ ThoughtWorks ค่อนข้างแตกต่างจากบริษัทไอทีบริษัทอื่นๆ เพราะนักพัฒนาหรือวิศวกรซอฟต์แวร์มีปฏิสัมพันธ์ พบปะผู้คนค่อนข้างมาก รวมถึงได้แสดงความสามารถในการถ่ายทอดหรือสอนด้วย ดังนั้น ThoughtWorks จะไม่ได้คัดเลือกคนที่มีแค่ความสามารถ แต่ยังดูความเหมาะสมและเข้ากันได้กับองค์กรด้วย
ในอีกด้าน ThoughtWorks ยินดีรับเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์ทำงาน เพราะมีโครงการที่เรียกว่า ThoughtWorks University (TWU) เป็นเหมือนศูนย์บ่มเพาะและฝึกพนักงานใหม่ ตั้งแต่ hard skills พื้นฐานอย่างการเขียนโปรแกรม การทำงานแบบ Agile ไปจนถึง soft skills อย่างการพูดคุยเจรจาต่อรอง การดีลกับลูกค้า การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า การจัดการปัญหา (facilitate) เป็นต้น โดยพนักงานใหม่จะถูกส่งไปเข้าโครงการ TWU ร่วมกับพนักงาน ThoughtWorks จากประเทศอื่นๆ เป็นเวลา 5 สัปดาห์ในประเทศอินเดียและจีน
ThoughtWorks มีประกันสุขภาพให้สำหรับพนักงานซึ่งครอบคลุมถึงครอบครัว อย่างสามีภรรยาและลูก รวมทั้งมีงบสำหรับพัฒนาตัวเอง ไม่ว่าจะไปเทรนนิ่ง หรือซื้อหนังสือ
ThoughtWorks อยู่ที่ชั้น 19 อาคารฟอร์จูน ทาวน์ ตรงข้ามเซ็นทรัลพระราม 9 ติด MRT สถานีพระราม 9
คุณพัลลภ เชาว์พุฒิภุชงค์
ตำแหน่ง Software Consultant
คุณศอลาฮุดดีน เฉลิมไทย
ตำแหน่ง Lead Consultant
คุณศิริวัชร์ คุณาพร
ตำแหน่ง Software Consultant
Comments
อ่าน ต๊อดเวิ๊ค เป็น ทงเวิ๊ค อยู่ตั้งนาน รู้ว่าอ่านผิดตรงเห็นเสื้อพี่แว่น