F5 เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ระดับองค์กรที่คนทำงานดูแลโครงสร้างไอทีระดับองค์กรอาจจะรู้จักในฐานนะผู้ผลิต Load Balancer ชื่อดังจากความนิยมในตัว BIG-IP โดยเป็นสินค้าตัวแรกของบริษัทตั้งแต่ช่วงก่อตั้งกว่า 20 ปีมาแล้ว ขณะคนทำงานไอทีทั่วไปน่าจะได้ยินชื่อ F5 มากขึ้นเรื่อยๆ หลังจากบริษัทเข้าซื้อบริษัท NGINX ไปเมื่อปีที่แล้ว ผู้ผลิตเว็บเซิร์ฟเวอร์ชื่อดังที่เว็บจำนวนมากใช้งานกันมานาน
นอกจากชื่อที่เราได้ยินกันบ่อยๆ แล้วที่จริง F5 ยังสะสมซอฟต์แวร์ระดับองค์กรเข้าพอร์ตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้บริการขยายออกไปกว่าการเป็นบริษัท Load Balancer อย่างเดิมมาก และเมื่อต้นปีที่ผ่านมา F5 ประเทศไทยก็ได้คุณกิตติพงศ์ ทุมนัส เข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการประจำประเทศไทย (country manager) ในโอกาสนี้เราก็จะได้พูดคุยกับคุณกิตติพงศ์ถึงความท้าทายของการรับตำแหน่งในครั้งนี้
ที่จริงแล้วต้องบอกว่าเป็นโอกาส เพราะที่ผ่านมา F5 ทำได้ดีในตลาด ADC และ ความปลอดภัยโดยเฉพาะกลุ่มธนาคารและหน่วยงานรัฐ แต่พอเกิด COVID-19 แล้วเราก็มีโอกาสได้เข้าไปช่วยเหลือหลายองค์กรให้ได้ใช้งาน SSL VPN ของเรา เพราะสินค้าตัวนี้ที่จริงแล้วเราก็นับว่าเป็นที่หนึ่งมานานมีลูกค้าที่ใช้งานทั้งธนาคารและหน่วยงานรัฐ ในช่วง COVID-19 โดยเราให้ลูกค้าใช้งานได้ฟรี 45 วันและมีลูกค้าหลายรายใช้งานไปแล้ว ที่ผ่านมาเราก็ออก Campaign F5 SSLVPN สำหรับการ Work From Home ราคาพิเศษให้กับลูกค้าเพื่อช่วยเหลือกับช่วงโควิด-19
ลูกค้าของ F5 มักเป็นองค์กรที่ใช้งานมานานโดยเฉพาะในกลุ่มธนาคาร แต่คำถามที่ลูกค้าอาจจะถามกันมากคือเรามีอะไรมากกว่า Load Balancer บ้าง แต่ที่จริงแล้วเรามีสินค้ามากกว่า 20 ตัว โดยเราวางแนวทางการออกผลิตภัณฑ์ไว้ว่าจะให้บริการจากแอปไปจนถึงผู้ใช้ปลายทาง (end user) แนวทางนี้ทำให้องค์กรจำนวนมากใช้ประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ของเรากว้างขึ้นมาก ไม่ว่าจะเป็นบริการแบบ B2B, B2C, Retail ไปจนถึงกลุ่มโรงงาน (manufacturing) โดยเฉพาะการรักษาความปลอดภัยของแอปพลิเคชั่น
เราเข้าไปบอกตลาดว่าในระบบที่ดีนั้นการพัฒนาแอปเสร็จแล้วควรมีโซลูชั่นอะไรเข้ามาป้องกันแอปพลิเคชั่นให้ทำงานได้ต่อเนื่อง เช่น Web Application Firewall (WAF), Bot Protection, API Security การทำ High Availablity (HA) ให้กับแอป ไปจนถึงการ deploy แบบ multi-cloud
ยิ่งในปีที่ผ่านมาเราเพิ่มสินค้าในกลุ่ม Shape Security ที่ปกป้อง fraud (การฉ้อโกง)และ Anti-Bot ในระบบอีคอมเมิร์ชไม่ว่าจะเป็น B2C หรือ B2B การแนะนำให้ลูกค้าเห็นถึงภาพรวมของ F5 ให้ครบถ้วนก็นับเป็นงานสำคัญ
ผลิตภัณฑ์ของเราให้บริการด้านความปลอดภัยแอปพลิเคชั่นอยู่แล้ว แต่ความพิเศษของเราคือการทำงานร่วมกับผู้ผลิตรายอื่นๆ ในกรณีที่ลูกค้าต้องการใช้โซลูชั่นอื่นเพิ่มเติม ที่ผ่านมาลูกค้าหลายรายมีปัญหาว่าเมื่อเพิ่มโซลูชั่นความปลอดภัยเข้าไปแล้วทำให้ประสิทธิภาพบริการโดยรวมลดลลง บางครั้งเหลือไม่ถึงครึ่งของโหลดสูงสุดที่ออกแบบไว้ โดยเฉพาะในช่วงหลังที่ทราฟิกของเว็บทั้งหมดถูกเข้ารหัส โซลูชั่นแต่ละตัวต้องเข้ารหัสถอดรหัสใหม่ทุกรอบ แต่ F5 มีฟีเจอร์การถอดรหัส SSL Visibility ที่รับหน้าที่ส่งต่อทราฟิกให้กับโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยอื่นๆ โดยที่ประสิทธิภาพรวมของระบบไม่ได้ลดลง
อย่างตัว Shape Security เองที่เราบอกว่าเป็นการป้องกันการฉ้อโกง แต่ฟีเจอร์จริงๆ ของมันป้องกันการโจมตีได้หลากหลายกว่านั้นมาก นับตั้งแต่การป้องกันบอต, ป้องกันการดูดเว็บจากภายนอกเพื่อจับข้อมูลหรือชิงซื้อของช่วงลดราคาจนลูกค้าจริงซื้อไม่ได้ ไปจนถึงการป้องกันบัญชีลูกค้าบนเว็บของเราไม่ให้ถูกขโมยบัญชี
เราพูดถึงแนวทาง Code to Customer มานานจากการที่เราอยู่ตรงกลางแล้วมองเห็นว่า DevOps และ SecOps หลายครั้งทำงานอยู่มุมตรงข้ามกัน เพราะ DevOps ต้องการนำโค้ดขึ้นไปเจอกับผู้ใช้ให้เร็วที่สุด ขณะที่ SecOps บอกว่าต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจ มีกระบวนการควบคุมตามมาตรฐานและข้อกำหนดต่างๆ ตามมาตร
ฐานความปลอดภัยให้ครบถ้วน
F5 เองมีเครื่องมีเชื่อมแนวทางเหล่านี้ให้ครบทั้งหมด เมื่อแอปมีการนำโค้ดใหม่ขึ้นไป SecOps ยังมีความสามารถในการควบคุมความปลอดภัยได้ และฝั่ง DevOps ก็มองเห็นประสิทธิภาพแอปที่ขึ้นไปแล้วมีประสิทธิภาพดีอยู่หรือไม่
ลูกค้าจำนวนมากของเราใช้ผลิตภัณฑ์ของเราในรูปแบบ Appliance ที่ไปพร้อมกันทั้งเซิร์ฟเวอร์ แต่ที่จริงแล้วเรามีสินค้าในกลุ่มซอฟต์แวร์ที่ลูกค้าสามารถติดตั้งได้ทั้งในองค์กรเองและบนคลาวด์ ที่ผ่านมาเราก็สื่อสารไปยังลูกค้าว่าไม่ว่าจะซื้อรูปแบบไหนมาใช้งานประสิทธิภาพก็ไม่ได้ต่างกัน
จุดที่ต่างกันคือลูกค้ายังคงใช้ความชำนาญเดิม และชุดเครื่องมีอในการจัดการเดิมเข้าไปจัดการกับซอฟต์แวร์ของ F5 ได้ทั้งหมดไม่ว่าจะอยู่บนคลาวด์หรือในองค์กรเอง อันนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะลูกค้าจำนวนมากกังวลว่าการทำ Digital Transformation จะทำให้เข้าต้องหาบุคตลากรความสามารถใหม่ๆ หรือกระทั่งแยกทีมงานเป็นหลายทีม แต่ F5 ยืนยันว่าลูกค้ายังคงทำงานต่อเนื่องจากระบบเดิมได้แม้เปลี่ยนสภาพแวดล้อมไปก็ตาม ตอนนี้เองก็มีองค์กรขนาดใหญ่ที่ปรับตัวไปใช้คลาวด์แล้ว และยังใช้งาน F5 อยู่ หลายรายไปลองแบรนด์อื่นมาแล้วและก็พบว่าความต่างมันไม่คุ้ม
ปีที่แล้วเราก็มีการสำรวจตลาดว่าในประเทศไทยว่ารู้จัก NGINX หรือไม่เราก็พบว่านักพัฒนา 70-80% รู้จักหรือใช้งานกันอยู่แล้ว ก็นับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อแข็งแกร่งในวงการโอเพนซอร์ส
เราก็เตรียมจะเข้าไปบอกกับตลาดว่าสามารถใช้เวอร์ชั่นแอดวานซ์กว่านั้น คือ NGINX Plus ได้หากจะนำแอปพลิเคชั่นขึ้นไปทำงานในระดับองค์กร เพราะ NGINX Plus เอง มีฟีเจอร์เพิ่มเติมอย่าง API Security, Protect App, Load Balancing ที่แอดวานซ์ขี้น , NGINX Controller, หรือการทำ side car
อันนี้เป็นความท้าทายของผมในการรับตำแหน่งครั้งนี้โดยตรง เพราะในตลาดเองหลายคนไม่รู้ว่ามี NGINX Plus ก็เป็นเรื่องที่ต้องเข้ามาปรับความรับรู้ในตลาด โดยล่าสุดเราก็เตรียมจัดงานสัมมนาออนไลน์ในเรื่องนี้ ก็ขอเชิญทุกคนที่สนใจไปร่วมกันได้
ทาง F5 Networks ประเทศไทยกำลังจะจัดงานสัมมนาออนไลน์ภาษาไทย “NGINX App Delivery in the age of DevOps” ที่จะเล่าถึงการใช้ NGINX ในการพัฒนาแอปพลิเคชั่นสำหรับองค์กรในรูปแบบ DevOps ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมได้ในวันอังคารที่ 2 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00 – 15.30 น ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ทาง Zoom ฟรีสำหรับผู้สนใจทุกคน
และหลังจากนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 18 มิถุนายน 2563 เวลา 9:00 น. - 11:00 น. ทาง F5 ยังมีงานประชุมสัมมนาออนไลน์ ASEAN Customer Engagement Summit 2020 เป็นการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญและผู้นำ ด้านการพัฒนาแอปพลิเคชั่นมัลติคลาวด์มาให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพัฒนาแอปพลิเคชั่นสมัยใหม่ โดยอาศัยแนวทาง API, DevOps, Site Reliability Engineering, และ Microservices
งานบรรยายเป็นภาษาอังกฤษ ผู้สนใจดูตารางการบรรยายและลงทะเบียนร่วมงานได้ในเว็บไซต์ F5
Comments
ลิงก์ไม่ขึ้นครับ
Coder | Designer | Thinker | Blogger
ในฐานนะ => ในฐานะ
ลดลลง => ลดลง
มีเครื่องมีเชื่อม ?
จะทำให้เข้าต้องหา ?
บุคตลากร ?