คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อให้สรรพากรสามารถเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากบริการของบริษัทไอทีต่างชาติได้ เช่น Netflix, LINE, Facebook, Spotify
สาระสำคัญของการแก้ไขประมวลรัษฎากร คือการแก้ไขนิยามของคำว่า "สินค้า" จากเดิมที่ไม่รวมสินค้าที่ไม่มีรูปร่างและส่งมอบกันผ่านอินเทอร์เน็ต ให้เพิ่มบทนิยามว่าด้วยบริการอิเล็กทรอนิคส์ ที่ส่งมอบสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ส่วนผู้ให้บริการที่เข้าข่ายจะเสียภาษี (ทั้งให้บริการคนไทยและคนต่างประเทศในไทย) จะต้องมีรายได้ในไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
ลำดับต่อไปจะส่งร่างแก้ไข พ.ร.บ. ฉบับนี้ให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยคณะรัฐมนตรีคาดว่ากระทรวงการคลังจะสามารถจัดเก็บภาษีได้เพิ่มประมาณปีละ 3,000 ล้านบาท
ที่มา - ข่าวสด
Comments
มันก็กลายเป็นต้นทุน แล้วสุดท้ายคนที่จ่ายก็คือพวกเรา T_T
จริงๆแล้ว เขาก็จะเก็บคนไทยอย่างพวกเราแหละครับ
สถานะปัจจุบัน แค่ หลุดรอด เลยยังไม่โดนเก็บ
ซึ่งถูกต้องแล้วครับ คือคนดำเนินกิจการในต่างประเทศต้องไม่ได้ส่วนลดภาษี VAT ฟรี ขณะที่คนที่เปิดกิจการในไทยกลับต้องจ่าย VAT (ซึ่งก็ถ่ายทอดมาที่ค่าบริการของเราเหมือนกัน)
การไม่มีภาษีแบบตอนนี้ ผมอยากทำบริการอีเมล ค่าบริการผมสูงกว่ากูเกิล 7% ทันที เพราะเสีย VAT
lewcpe.com, @wasonliw
อ่านความเห็น lew แล้วกระจ่างเพิ่มเลยครับ
แต่ที่เจ็บปวด+น้อยใจคือมีคนเคยบอกว่าคนอย่างเราไม่เสียภาษี
ผมว่ามันไม่ทำให้ค่าบริการสูงขึ้นนะครับ ปกติผมเห็นราคาที่ขายก็แค่บอกยังไม่รวม VAT กันอยู่แล้ว ไม่ต้องตั้งราคาบวก VAT ก็ได้ครับ แล้วมาบอกอีกทีตอนอยู่ในใบเสร็จ ซึ่งพอมาถึงตอนนั้นแล้วน้อยคนจะกดยกเลิกครับเพราะเข้าใจอยู่แล้วว่าจ่าย VAT ยิ่งระดับ Business กว่าจะดีลกันได้แค่ราคา VAT นี้ไม่ใช่ปัญหาเลย บริษัทที่เข้า VAT ร้อย% ขอให้หาบริษัทที่มี VAT ด้วยซ้ำครับเพราะบริษัทที่ไม่มี VAT ทำบัญชีค่าใช้จ่ายยากแล้วยิ่งงานมูลค่าสูงๆยิ่งต้องมี
ผมว่ามันรัฐแค่เห็นว่าตรงนี้มีคนใช้เยอะถ้าคิด VAT ก็จะเป็นรายได้ใหม่ที่ประชาชนมาจ่ายให้รัฐก็เลยจะตั้งท่าทำเฉยๆไม่ต้องคิดอะไรซับซ้อนแทนรัฐเลย...
อันนี้มีข้อถกเถียงกันเยอะครับ ว่าราคาสุดท้ายจะขึ้นไหม หรือธุรกิจจะแบกรับไว้เอง หลายประเทศเวลาค่อยๆ ขึ้นทีละ 1% ก็อาจจะพบว่าราคาขายปลีกไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่พอเพิ่มทีละ 3-4% ก็อาจจะบอกราคาก่อน VAT แยกทำให้ราคาเพิ่มขึ้นเลย
ถ้าบอกราคาไม่รวมแล้วไป surprise ตอนหลัง มันจะมีคนยกเลิก cart แน่ๆ ครับ กี่ % คงต่างไปแต่ละประเภทบริการ แต่รวมๆ คือธุรกิจเหมือนกันอยู่ไทยอยู่นอก มันควรมีภาระเท่ากันในราคาปลีก ส่วนต้นทุนภาษีรายได้นี่ยังพอเข้าใจได้
lewcpe.com, @wasonliw
ผมขอเถียงคุณ lew ครับ VAT หรือ Value-added tax หรือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (gst goods and services tax ในบางประเทศ) ออกแบบเพื่อเก็บภาษีจากผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการโดยให้ผู้ขายหรือผู้ให้บริการในประเทศเป็นผู้นำส่งรัฐ ซึ่งการประกาศเก็บ VAT จากสินค้าหรือบริการใดๆ มันเป็นการเก็บจากเรา ๆ ครับ มันควรจะบอกรัฐให้ช่วยเหลืองดเก็บ vat ในกิจการที่จะสู้กับต่างชาติ ไม่ใช่ช่วยกันทำให้ค่าครองชีพของประชาชนสูงขึ้น แต่อยากให้ประชากรในประเทศมีค่าแรงต่ำ ๆ เพื่อดึงธุรกิจต่างชาติให้มาลงทุน คือผมว่ามันซ้ำเติมคนไทยมากขึ้นเรื่อย ๆ ครับ
ปล.ถ้าใครจะเถียงผมว่า Netflix และ บริการสตีมมิ่งต่าง ๆ ไม่ใช่สิ่งจำเป็น ประชาชนไม่จำเป็นต้องเข้าถึง รัฐไม่ควร subsidize แสดงว่าท่านไม่ทันโลกครับ
เราอ้างว่าจำเป็น แล้วไม่เก็บภาษีไปทุกอย่างไม่ได้ครับ ไม่งั้นประเทศคงเหลือแต่ภาษีเหล้ากับเงินกองสลาก
lewcpe.com, @wasonliw
เราต้องมีสิทธิต่อรองภาษีได้ครับ ที่รัฐบอกเก็บภาษีบริษัทต่างชาติแต่จริง ๆ แล้วเป็นการเก็บภาษีประชาชนไทยเพิ่ม ถ้าเรายอมง่าย ๆ ไปเรื่อย ๆ ผมเชื่อว่า VAT 10% ต้องมาแน่ครับ และจริง ๆ แล้วการลดภาษีเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีกว่าการทำนโยบายเอาภาษีมาแจกคืนอีกครับ ไม่ต้องมีโอเวอร์เฮดในการตรวจสอบ ไม่เสี่ยงคอรัปขั่น และผมว่าอัตราการเก็บภาษีในประเทศเราตอนนี้ก็สูงขึ้นเรื่อยจนรายได้ประชากรโตไม่ทันแล้วครับ
ซึ่งถ้าภาครัฐมีโครงการเป็นรูปธรรมหรือมีการศึกษาเรื่องรายได้ประชากรต่อค่าครองชีพมาแสดงให้เห็นเพื่อสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าจ่ายไปจะมีอะไรดีบ้าง ผมก็อยากจ่ายอยากสนับสนุน แต่เดี๋ยวนี้องคาพยบของราชการทำตัวเป็นเหมือนมาเฟียแย่งกันเก็บค่าคุ้มครองส่งหัวหน้าใหญ่ ใครเก็บได้มากก็จะได้ความเอ็นดูมาก ส่วนประชาชนไทยต้องช่วยตัวเองกัน ถ้ารัฐไม่เปลี่ยนให้ดีขึ้นผมก็ไม่เห็นด้วยครับ
ราคาจะเพิ่มหรือไม่เพิ่มก็อยู่ที่ผู้ขายล่ะครับ (ส่วนมากจะเพิ่ม)
แต่ที่ surprise ตอนเห็นราคาที่ต้องจ่าย เพราะเราดันไปชินกับการตั้งราคาไม่รวมภาษีซึ่งทำให้เราสับสน
แต่ถ้าลองเปลี่ยนเป็นตั้งราคา/โปรโมทตามราคาที่ต้องจ่ายจริง ผมว่าคงไม่มี reply ต่อกันยาวแบบนี้หรอก
ทุกบริษัทที่โดนเก็บก็มีต้นทุนหมดนั่นแหละ
งงครับ
ทุก ๆ วันนี้ สำหรับนิติบุคคล และบุคคลธรรมดาที่ลงโฆษณากับ Google กับ Facebook เพื่อทำธุรกิจก็โดนเก็บภาษีกันรัว ๆ อยู่แล้วนะครับ ที่มา: https://www.itax.in.th/media/%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%86%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B8%B2-facebook/
https://www.rd.go.th/publish/33475.0.html
ดังนั้นถ้าคุณทำธุรกิจอยู่แล้ว คุณต้องเสียภ.พ.36 และความจริงจะว่า เป็นต้นทุนก็ไม่ได้ครับ เพราะ ภาษี ภ.พ. 36 สามารถนำมาเป็นภาษีซื้อ ดังนั้นหากคุณจ่าย VAT อยู่แล้ว และถ้าเป็นนิติบุคคลก็ เอาภาษีซื้อ - ภาษีขาย = ส่วนต่างที่ต้องจ่ายกรมสรรพากรกันไป ส่วนบุคคลธรรมดาคุณก็สามารถนำมายอดรวมทั้งภาษีมาหักค่าใช้จ่ายตอนคิดภาษีรายได้บุคคลธรรมดาได้ครับ มันอาจจะใช้นะครับ ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจจำพวก B2C เพราะคุณต้องคิด VAT ถอยหลัง ไม่งั้นลูกค้าไม่ซื้อของแน่นอน ดังนั้นต้นทุนคุณก็จะเพิ่มขึ้นครับ... แต่ถ้าคุณอยู่ในธุรกิจพวก B2B อันนี้คุณต้องคิด VAT เดินหน้าเป็นธรรมดาอยู่แล้ว ก็ผมก็งงว่า คุณก็จ่าย VAT รายเดือนน้อยลงหรือเท่าเดิม มันเป็นต้นทุนตรงไหน?
พรบ.นี้เกิดขึ้นเพื่อโยนภาระของคนหักภาษีจากแทนที่เป็นภาระของผู้ซื้อ ก็จะกลายเป็นภาระของผู้ให้บริการที่อยู่ต่างประเทศจะต้องเป็นผู้หักภาษีและนำส่งครับ แน่นอนถ้าต้องนำส่งภาษีนั้นก็หมายความว่า ต้องมีสำนักงานตัวแทนของบริษัทผู้ให้บริการนั้น ๆ ในประเทศไทยเพื่อทำธุรกรรมกับกรมสรรพากรครับ...ซึ่งมันจะมีค่าใช้จ่ายจิปาถะที่กรมสรรพากรจะเข้ามาเล่นกับบริษัทพวกนี้ครับ...
****ส่วนบุคคลธรรมดา"ที่ไม่ได้ใช้ในการทำธุรกิจ" เช่นพวก Netfix หรือ Spotify หรือ YouTube Music ก็ต้องลุ้นกันครับว่า ผู้ให้บริการจะบวกเพิ่มหรือไม่? แต่ส่วนตัวผมคิดว่าไม่นะ... เพราะมันกลายเป็น"ธรรมเนียม" ของสังคมไทยไปแล้ว ที่ซื้อของอะไรถ้าบวกภาษีเพิ่มก็จะบอกว่า ไม่เอาภาษีได้ไหม? หรือไม่งั้นก็ไม่ซื้อ... สุดท้ายคนขายก็ไปเปิดบิลถอย VAT กันที่หลัง ดังนั้นแทนที่ไปแอบเปิดบิลทิ้ง สู้เปิดใบกำกับภาษีแล้วถอย VAT กันให้เห็นไปเลยว่า ข้าสปอร์ตยอมจ่าย VAT ให้จบนะ แค่นี้ขนหน้าแค้งไม่ร่วง...
ผมว่าที่เป็นประเด็นก็คือบุคคลธรรมดานี่ล่ะ
ส่วนที่บอกว่า Brand จะยอมถอย VAT ให้นี่ค่อนข้างเห็นน้อยมากๆ
(ไม่นับการตั้งราคารวม VAT เป็นราคาขายแล้วเปิดบิลถอย VAT นะ)
คงต้องมองอีกยาวๆ ว่าจะมาไม้ไหนกันแน่ อิอิ
บริษัทพวกนี้ไม่ยอมลดกำไรหรอก VAT 7% ก็ผลักมาที่ผู้ใช้งาน เช่น Netflix 349 บาท/เดือน บวก VAT เป็น 373.43 บาท
VAT มันคือ ภาษีที่ผู้บริโภค ต้องจ่ายอยู่แล้วนี่ครับ ??
VAT ผู้บริโภคเป็นคนจ่ายเข้ารัฐครับ คนขายมีหน้าที่รวบรวมเอาไปส่งให้เท่านั้น
ส่วนที่หัก VAT ไปแล้วก็จะเอาไปคิดเป็นเงินได้ ส่วนของคนขายจะถูกหักภาษีจากตรงนั้นต่างหาก เป็นคนละส่วนกันครับ
ประเด็นคือความสามารถในการแข่งขันครับ
การไม่เก็บ vat บ ข้ามชาติ ทำให้ส่วนต่างต้นทุนต่างกับ บริษัทในไมยทันที 7%
มี BOI ให้ต่างชาติก็น่าจะงดภาษีสำหรับกิจการที่แข่งขันกับบริษัทข้ามชาติเพื่อจะได้ไม่เป็นภาระค่าครองชีพของประชาชนก็ดีนะครับ
แก้ไขร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ?
อิเล็กทรอนิคส์ => อิเล็กทรอนิกส์
มีผู้ผลิตบ้านเรากังวลว่า จะต้องส่ง VAT/GST หลายต่อ
รีบๆ เสียภาษีแล้วก็กรุณาออกใบเสร็จแบบเต็มให้ด้วย
4.กำหนดห้ามไม่ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียน ที่ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศออกใบกำกับภาษี
https://businesstoday.co/business/09/06/2020/แพลตฟอร์ม/
ทำไมถึงห้ามออกใบกำกับภาษีหละ มันก็ไม่ได้ต่างอะไรจากการซื้อของแบบปกตินี่ครับ
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
กลายเป็นว่ารัฐได้ VAT สองรอบ อะไรxนั่น...
ก็งงๆว่าอยู่ๆจะรายได้เพิ่ม 3,000 ล้านได้ไง แบบนี้เองสินะ..
สมกับเป็นคณะรัฐมนตรีที่ไม่เข้าใจหลักการของกฎหมายจริงๆ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
คิดแบบโลกแคบมากๆ (ซึ่งรัฐบาลอาจจะคิดจริงๆ ก้ได้นะ)
บางทีอาจจะเป็นการชงเอา Single Gateway กลับมาเหมือนกันเรื่อง CPTPP ที่เป็นตัวต่อยอดของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองพันธุ์พืช ก็ได้นะ ถถถถถ
ยังงงว่าจะไล่เก็บยังไง ถ้าบ.ไม่ได้จดทะเบียนหรือมีสาขาในไทย และไม่ได้มีฐานลูกค้าไทยเป็นหลัก
เช่นผมไปซื้อของจากเวบamazon japan งี้ หรือสมัคร พรฮับ งี้ เกรงว่าถ้าระบบมันซ้ำซ้อนยุ่งยาก หลายๆเจ้าอาจ block ไม่ให้คนไทยเข้าถึงหรือสมัครได้โดยเฉพาะการblock bin บัตรเครดิตจากประเทศไทยเลยมากกว่า..
"จะต้องมีรายได้ในไทยเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี" = เสียเฉพาะเจ้าที่ จดทะเบียนในไทย
ปิดโอกาสการรับชมหรืออุดหนุนของพวกนั้นไปโดยปริยาย น่าเบื่อมาก
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
บุคคลธรรมดาอาจจะยากหน่อย แต่ถ้าเป็นบริษัท อย่างพวกบริษัทโฆษณา บังคับให้ผู้ซื้อเป็นคนไปไล่จ่ายได้ครับ
กรณีของบุคคลธรรมดาจะคล้ายๆ เวลาเราสั่งของจากต่างประเทศเข้ามา ติดด่านศุลกากร ต่อให้สินค้าชิ้นนั้นๆ ไม่เสียภาษีนำเข้าก็เสียภาษี VAT ผมซื้อชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ไม่มีภาษีนำเข้าก็เสีย VAT เรื่อยๆ
กรณีสินค้าดิจิทัลนี่ยากหน่อยตรงมันไม่มีด่านศุลกากร แต่มีกฎแบบนี้บังคับกับบริษัทได้แน่ๆ
lewcpe.com, @wasonliw
ประเด็นคือบ.ต้นทางเขาจะสนใจจะยื่น vat ให้เราไหมน่ะสิครับ
กรณี amazon jp ก็ขายเพลงแบบ digital ครับ ยังไม่นับผู้ให้บริการอีกหลายเจ้า เช่น Mora (ขายเพลง hi-res) ที่ไม่มีกระทั่งหน้าเวบภาษาอังกฤษด้วยซ้ำ
ถ้าเขาไม่ยื่นให้เรา จะบังคับได้อย่างไร? แล้วรัฐจะลงโทษบ.นั้นได้อย่างไร? หรือสุดท้ายคือปิดกั้นไม่ขายให้คนไทย หรือคนที่จ่ายเงินให้บัตรเครดิตจากประเทศไทยไปเลยง่ายดี?
อันนี้ว่าเฉพาะกรณีบริการที่ไม่ได้มุ่งเน้นขายให้คนไทยนะครับ ถ้าตั้งใจขายให้คนไทย ขนาดมาทำตลาดในไทย ก็คงมีการจัดตั้งสาขา หรือแผนกด้านนี้โดยเฉพาะ
กรณีสินค้านำเข้ามันตรวจสอบจากด่านศุลกากรได้ แต่กรณีซื้อบริการแบบdigital จะตรวจอย่างไร?
มันไม่มีเหตุผลที่จะไม่ทำครับ เขาแค่ทำหน้าที่เก็บเงินทางคนใช้ใช้ไปส่งรัฐ เขาไม่มาแลกเพื่อมีปัญหากับรัฐเรื่องแค่นี้หรอกครับ ตลาดไทยกำไรที่ได้จากไทยมันมากพอ ที่ไม่มีเหตุผลจะไม่ทำ เงินก๋ไม่ใช่เงินเขาเก็บจากคนใช้
ประเด็นผมอยู่กับบริการ ที่ไม่ได้เน้นตลาดไทยไงครับ อย่างตัวอย่างที่ผมยกมา เวบ Mora นี่ไม่มีภาษาอังกฤษ แต่เป็นแหล่งขายเพลง Hi-Res เจ้าใหญ่ มีเพลงญี่ปุ่น 96KHz เยอะมาก ขนาดหน้าเวบยังไม่มีภาษาอังกฤษ คงไม่คิดจะนำส่งvat ให้ไทย
ก็มีคำถามว่า แล้วรัฐไทยจะบังคับหรือตรวจสอบยังไง ว่าเจ้าไหนนำส่งvatไทยบ้าง? นอกจากเจ้าใหญ่ๆที่มีสาขาในไทย
หรือแย่กว่านั้น ถ้ารัฐไทยติดต่อไป แล้วบ.เขามองว่า ไม่คุ้มค่าที่จะเสียเวลานำส่งvat ไทย ก็อาจจะตัดสินใจblock บริการคนไทยไปเลยนั่นแหละ
ป.ล. มีประเด็นเรื่อง ถ้าเราเสีย vat ที่ประเทศต้นทางแล้ว ยังต้องเสีย vat ที่ประเทศปลายทางให้ซ้ำซ้อนอีกไหม เช่นตัวอย่างเวบญี่ปุ่นที่ผมยกมา บางเจ้าคิด vat ญี่ปุ่น(ตอนนี้10%)รวมไปด้วยแล้ว ยกเว้นบางเจ้าถ้าระบุที่อยู่ไทย จะไม่คิด vat
น่าจะเลือกเฉพาะเจ้าที่รู้จัก ใช้งานกันแพร่หลายครับ
เว็บเฉพาะกลุ่ม สรรพากรคงไม่มานั่งสนใจครับ
กฎหมาย ถ้าไม่ได้เขียนเว้นให้ หรือระบุเจาะจง ก็ต้องบังคับใช้ทุกคนครับ (ในประเทศนะ)
แปลกใจที่บางความเห็นพูดเหมือนไม่อยากให้เก็บ ทั้งๆที่บริษัทพวกนี้มาหากินในไทย ขนเงินกลับประเทศตัวเอง คนมีอคติก็จะมองเป็นคติวันยังค่ำ ดูอย่าง grab สิ ไม่ต้องทำไร หักจากร้านค้าเหนาะๆ 30% อีกอย่าง บริษัทไทย นอกจากเก็บ vat เค้ายังต้องเสียภาษีรายปี เฉพาะส่วนที่เป็นกำไรอีก 15%บ้าง 30% บ้าง เหมือน ภงด91 ของเรา ถามว่าตอนนี้พวกนี้เสียมั้ย แล้วก็ยังพากันชื่นชม ไม่อยากให้เก็บ ปวดตับกับพวกอคติบังตาพวกนี้จริงๆ
+1 ครับ รวมถึงเว็บพนันออนไลน์ด้วยทีขนเงินออกนอกปนะเทศปีละหลายๆล้าน
รู้สึกว่าตอนนี้ จะจ่ายภาษีที่ประเทศปลายทางนะครับ
... แต่ก็มีคนเลี่ยงภาษี โดนไปเปิด บ. ที่ เมอมิวด้า / double Irish with Dutch
samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo
พวกนั้นเป็น "ภาษีรายได้" คิดจากกำไร (ซึ่งก็เลี่ยงกัน) แต่ถ้า VAT (หรือ GST ตามแต่ละประเทศ) คิดจากราคาขาย น่าจะเสียที่ประเทศผู้ซื้อหมดนะครับ
lewcpe.com, @wasonliw
มี 1 ความเห็นที่เหมือนไม่อยากให้เก็บ หลังจากฟังคำอธิบายแล้วก็เข้าใจ
ส่วนอันอื่นมีแต่ให้เก็บ บางอันถามว่าจะบังคับใช้อย่างไร
?
ผมว่าประกาศแล้วแต่บังคับใช้ยากเพราะว่าอย่าลืมเวลาเราทำธุรกรรมออนไลน์ สัญญามันไม่ได้เกินในไทยครับอย่าง Steam เกิดที่ ลักเซมเบิร์ก แต่ตอนนี้น่าจะเปลี่ยนแล้วทุกบริษัทมีทีมกฎหมายคอยหาทางเลี่ยงภาษีหมด แล้วยิ่ง VAT ต้องไปหาทางเรียกเอาเพราะหลาย บ.ไม่มีสาขาในไทย
ที่ทำได้น่าจะเป็น เฟซบุ๊ค Line พวกนี้
ผมหาร่างที่ว่าไม่เจอในเว็บ ครม. นะครับ เจอแต่ในเว็บสรรพากร
อ่านคร่าวๆ ก็อดสงสัยไม่ได้ว่าทำไมให้เก็บภาษี แต่ดันไม่ให้ออกใบกำกับภาษีให้เป็นระบบหว่า? กลัวจะใช้เบิกราชการ/หน่วยงานฯ ได้แล้วซิกแซกแบบเดิมไม่ได้รึยังไง? ?
บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P
เก็บเท่ากัน ก็ยุติธรรม ดีกับธุรกิจในประเทศ
แต่สงสัยว่าถ้าผู้ขายในต่างประเทศเขาไม่จ่ายจะเป็นยังไง โดนบล๊อกไหม เช่น สมมุติซื้อเกมในผู้ให้บริการต่างประเทศไว้ก่อนแล้วผู้ขายเขาไม่ได้สนใจประเทศไทย ไม่ได้มาจดทะเบียนจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่ม อย่างนี้ ลูกค้าเก่าที่เคยซื้อเกมไว้ก่อนกฎหมายใหม่ จะโดนปิดกั้นบริการออนไลน์ไปด้วยหรือเปล่า
บริษัทต่างชาติจะเก็บยังไงเนี่ยสิ ถ้ามีสาขาในไทยยังพอจะบังคับได้ แต่ก็อาจเลี่ยงได้อยู่ดี
ถ้าเค้าไม่จ่าย รัฐไทยจะทำยังไง บล็อคการให้บริการหรอ หรือต้องฟ้องศาล แต่จะไปศาลไหนล่ะ
เห็นใจบริษัทสัญชาติไทยมากกว่า ปกติก็แข่งไม่ได้อยู่แล้วต้องแบกต้นทุนมากกว่าอีก
อย่างราคาเกมนี่พอ ๆ กับซื้อแผ่นเข้าใจว่ามี VAT อยู่แล้วซะอีก
หรือจริง ๆ แผ่นเกมบางอันก็ไม่ได้จ่ายภาษี?
อันนี้เห็นด้วยนะที่จะจัดเก็บเงินได้ไหลเข้ารัฐนำเงินมาพัฒนาประเทศต่อรึป่าวนะ ประชาชนคนไทยต้องเสียภาษีส่วนนี้อยู่แล้ว แต่อยู่ที่ว่าเจ้าของกิจการจะนำมาคำนวณอย่างไร จะบวกเพิ่มจากราคาเดิมไปเลย หรือจะยอมลดราคาลงมาแล้วบวกเพิ่มไปเพื่อขายในราคาเดิมแทน
เป็นขั้นตอนแรกของการเริ่มการเก็บภาษีจากกำไรของผู้ให้บริการหรือเปล่า? เพียงแต่ตอนนี้ทางกรมสรรพากรเริ่มเก็บเพื่อทำข้อมูลรายได้ที่เกิดขึ้นจากประเทศไทย แล้วค่อยเอาข้อมูลไปเจรจาเพื่อจัดเก็บภาษีของบริษัทต่างชาติเหล่านั้นอีกที
มันเป็นไปได้หรือเปล่าครับ?
เป็นขั้นตอนแรกของการเริ่มการเก็บภาษีจากกำไรของผู้ให้บริการหรือเปล่า? เพียงแต่ตอนนี้ทางกรมสรรพากรเริ่มเก็บเพื่อทำข้อมูลรายได้ที่เกิดขึ้นจากประเทศไทย แล้วค่อยเอาข้อมูลไปเจรจาเพื่อจัดเก็บภาษีของบริษัทต่างชาติเหล่านั้นอีกที
มันเป็นไปได้หรือเปล่าครับ?
เชื่อมือสรรพากรได้ ขอให้มีกฎหมายออกมาเท่านั้นแหละ ไม่ต้องกลัว เค้าเก็บทุกเม็ด ?
ควรเก็บมาตั้งนานแล้ว
รัฐยุคนี้เก็บทุกอย่างครับ ภาษีบ้านยังต้องจ่ายเลย เพื่อคนกลุ่มหนึ่งได้รับประทานกันอย่างเต็มที่
ปกติ Netflix ก็ยังรู้สึกว่าแพงหาคนมาแชร์แล้วแชร์อีก รอบนี้ราคาบวกไปอีก
VAT มันไม่ได้เก็บกับบริษัท แต่มันเก็บกับประชาชน ถ้าถามว่าบริษัทในประเทศจะได้แข่งขั้นได้งั้นถามว่า บริษัทในประเทศบริษัทในแข่งกับ Netflix บ้าง
จะเก็บกันทุกอย่างแล้ว ก็โปรเพิ่มเพดานภาษีอบายมุขด้วยของสรรพสามิตร์หน่ะ เหล้านี้กินกันแล้ว มีเรียงแทงกัน และมีผู้ไม่รู้เรื่องเคราะห์ร้ายตลอด เพิ่มภาษีไปเลย 300% เอาไว้ไปดูแลคนโชคร้ายจากพวกขี้เหล้าที่กินแล้วอาระวาด