ยุทธศาสตร์ของ Xbox หลังจากนี้ค่อนข้างชัดเจนว่าต้องการรื้อแนวทางการจัดจำหน่ายและนำเสนอเกมในแบบเดิม ๆ ที่ผ่านมา จากทั้งแนวคิดเรื่องการ "เล่นที่ไหนก็ได้" แทนที่จะผูกอยู่กับแค่คอนโซลหรือพีซีและ "จ่ายค่าสมาชิกทุกเดือนเพื่อเล่นเกมใหม่" แทนที่การจ่ายเงินเพื่อซื้อเกมใหม่ ผ่านทาง Game Pass และ xCloud
แนวทางดังกล่าวของ Xbox เรียกได้ว่าสวนทางกับแนวทางของ PlayStation อย่างสิ้นเชิง (บทวิเคราะห์สงครามเกมยุคหน้า กลายเป็น PS5 vs Xbox Game Pass) ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลเรื่องการเป็นเจ้าของแพลตฟอร์ม, การเป็นเจ้าของคลาวด์ไปจนถึงเงินทุนก็ตาม ฝั่ง PlayStation ก็หนีไม่พ้นจะถูกตั้งคำถามว่าจะรับมืออย่างไรกับยุทธศาสตร์นี้ ไม่ว่าจะในระยะสั้นหรือระยะยาว
James Ryan ซีอีโอและประธาน Sony Interactive Entertainment พูดถึงเรื่องนี้เอาไว้สั้น ๆ (น่าจะครั้งแรก) กับ Washington Post เขายืนยันว่าแนวทางของ PlayStation (ที่เน้นเอ็กคลูซีฟ) ไม่ได้เพอร์เฟ็ค แต่มันก็เป็นแนวทางของเราและเราก็ชอบที่จะแตกต่างจากคนอื่น แม้จะเล็กน้อยก็ตาม โดย Ryan ยอมรับ (อย่างถ่อมตัว) ว่า SIE มี 4-5 สตูดิโอเกมที่ดีที่สุดในโลกอยู่ในมือ
นอกจากนี้เขายังยืนยันด้วยว่า PlayStation 5 จะรองรับเกม PlayStation 4 ได้ถึง 99% และก็คาดหวังว่าคอนโซลเจนที่แล้วน่าจะยังอยู่ (มีเกมใหม่รองรับ / ชุมชนนักเล่นเกมยังแอคทีฟ) ไปอีก 3-4 ปี เขาเชื่อว่าผู้เล่นจำนวนมากจะย้ายมาสู่ PlayStation 5 แต่ก็จะมีผู้เล่นอีกหลายสิบล้านคนที่ยังคงเล่น PlayStation 4 อยู่
ที่มา - Washington Post
Comments
ครับ รอเล่น FF16Bละ
อยากให้เกม PS4 ที่เล่นบน PS5 ได้ มี Update ตัดพวก 'ฉากโหลดฉาก' ออกไปจัง ไหนๆ ก็มี SSD แล้ว
(พวกการรอดช่องแคบๆ เพื่อโหลดฉากต่อไป)
ขยายความคำว่าฉากโหลดฉากหรือยกตัวอย่างเพิ่มเติมได้มั้ยครับ
ตัวอย่างแบบในรูปประกอบบทความนี้ครับ เป็นธรรมดาของเกมยุค PS4 XBOX One เพราะ HDD ช้า load asset ไม่ทัน https://www.pushsquare.com/news/2020/05/gap_squeezing_in_ps5s_unreal_engine_5_demo_was_not_a_disguised_loading_screen_says_epic
ไม่คุ้มหรอกครับที่จะแก้ไขแบบนั้น
ผมว่าถึงแม้เกมใหม่ ๆ ที่ไม่ใช่ลงเฉพาะ PS5 เท่านั้น ยังไงก็คงต้องคงฉากโหลดเกมไว้อยู่ แต่บน PS5 จะใช้เวลาโหลดแว๊บเดียว เพราะถ้าหากจะทำแบบลงหลาย platform บางเครื่องจะไม่ได้โหลดได้ไวเหมือน PS5
ถือว่าเป็นจุดแข็งที่พัฒนาให้ทัดเทียมไม่ง่ายเลย
ใจคอไม่ดี กลัวเกมที่เล่นประจำเป็น 1% เหลือเกิน