เราทราบกันดีว่าระบบสาธารณสุขในไทยค่อนข้างมีปัญหา ไม่ว่าจะเรื่องการขาดแคลนบุคลากร การขาดแคลนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการบริการ ผู้ป่วยก็มากระจุกกันอยู่ที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ในกรุงเทพฯ นำมาสู่ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล แพทย์และพยาบาลทำงานหนักอีกต่อหนึ่ง
H Lab ตั้งขึ้นมาโดยมีเป้าหมายเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่โรงพยาบาล แพทย์ พยาบาล และคนไข้กำลังประสบพบเจอ แม้หลายปัญหาจะต้องการการแก้ไขในเชิงโครงสร้างระบบสาธารณสุข แต่อีกหลายปัญหานั้นสามารถแก้ไขด้วยการแก้ไขเชิงระบบที่เป็นโซลูชันของ H Lab
แต่เป้าหมายระยะยาวที่ต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไข้และบุคลาการทางการแพทย์ให้ดีขึ้นก็ยังคงอยู่ ทำให้บริษัทต้องการทีมงานอีกจำนวนมาก เพื่อมาช่วยสร้างโซลูชันและเครื่องมือที่นำไปสู่เป้าหมายดังกล่าว
จุดเริ่มต้นของ H Lab ต้องย้อนกลับไปราว 6-7 ปีที่แล้ว โดยเริ่มต้นจากแล็บที่ตั้งขึ้นเพื่อแก้ปัญหาให้โรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งโจทย์ของแต่ละแห่งก็จะแตกต่างกันไป
คุณกมลวัทน์ สุขสุเมฆ ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ H Lab ที่จบวิศวกรรมอุตสาหการ เล่าว่าในช่วงแรกเป็นการนำแนวคิดด้าน industrial engineering และ system engineering เข้าไปแก้ปัญหาให้กับโรงพยาบาล
แต่อุปสรรคตอนนั้นคือ ข้อมูลที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ยังมีน้อย จึงใช้เวลามากในการเข้าไปช่วยปรับปรุงระบบ รวมถึงการขยายผลไปใช้ต่อกับโรงพยาบาลอื่น ๆ ทำให้ตัดสินใจก่อตั้งบริษัท H Lab ในปี 2017 ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีความคล่องตัวมากกว่า สามารถทำออกมาเป็นโซลูชันเพื่อขยายไปให้โรงพยาบาลจำนวนมากได้
คุณกมลวัทน์ สุขสุเมฆ ซีอีโอและผู้ก่อตั้ง H Lab
H Lab จึงเป็นทั้งบริษัทที่ปรึกษาสำหรับแก้ปัญหากระบวนการทำงานในโรงพยาบาล และบริษัทเทคโนโลยีที่พัฒนาโซลูชันระบบการให้บริการสำหรับโรงพยาบาล ช่วยให้แพทย์และ พยาบาลจัดการคิวการรักษา สื่อสารกับคนไข้ จัดการความหนาแน่นในโรงพยาบาล ไปจนถึงระบบวิเคราะห์แนวโน้มที่คนไข้ที่เข้ามาใช้บริการ เพื่อการจัดสรรบุคลากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลิตภัณฑ์ของ H Lab ตอนนี้มีอยู่ 4 ตัวหลัก ๆ
ปัจจุบัน H Lab เป็นที่ปรึกษาให้กับโรงพยาบาลมากกว่า 20 แห่ง และให้บริการโซลูชันซอฟต์แวร์กับโรงพยาบาลรัฐที่ใหญ่ระดับประเทศ 2 แห่ง ให้บริการคนไข้ไปแล้วกว่า 5 ล้านคน ช่วยคืนเวลาให้บุคลากรทางการแพทย์รวมกันแล้วกว่า300,000ชั่วโมงการทำงาน
เป้าหมายถัดไปของ H Lab คือการทำ Resource management กล่าวคือ H Lab มีข้อมูลคนไข้จาก MANA อยู่แล้ว (แน่นอนว่าคนไข้ต้องอนุญาตก่อน) H Lab ก็สามารถนำอาการเจ็บป่วยไปช่วยค้นหาโรงพยาบาลและแพทย์เฉพาะทางในโรคนั้นๆ ที่มีคิวว่างตรงกัน หรือคนไข้คนไหนมีความจำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์อย่างเครื่อง CT Scan ก็จะช่วยหาโรงพยาบาลที่ว่างให้ คุณกมลวัทน์เล่าว่าเคยเจอกรณีที่คนไข้ต้องรอคิวแค่อัลตร้าซาวด์นานถึง 8 เดือน การจับคู่ทรัพยากรที่เหมาะสม จะช่วยลดเวลารอคอยตรงนี้ลงได้อีกมาก
เมื่อ H Lab มีเป้าหมายเรื่องการแชร์ข้อมูล ปัญหาคือโรงพยาบาลในไทยยังไม่ได้มีมาตรฐานการเก็บข้อมูลคนไข้ที่เป็นมาตรฐานกลาง ต่างคนต่างเก็บในรูปแบบที่ต่างกันไป H Lab จึงพัฒนามาตรฐานข้อมูลตามแนวทางของสำนักพัฒนามาตรฐานระบบข้อมูลสุขภาพไทย (สมสท.) เพื่อให้การรับส่งข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลเกิดขึ้นได้จริงในบ้านเรา
"Stay hungry; stay humble" คือ motto ของ H Lab ที่อยากให้ทุกคนมีพลัง เป็นน้ำครึ่งแก้วและมีความกระหายความรู้ตลอดเวลา เพื่อพัฒนาให้โซลูชันออกมาดีที่สุด สามารถเรียนรู้ได้จากทุกคน ไม่ว่าจะเป็นแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลและคนไข้
H Lab จะส่งทีมพัฒนาไปสัมผัสปัญหาหน้างานจริงในโรงพยาบาล เมื่อเห็นปัญหาด้วยตัวเองแล้ว นักพัฒนาจะเข้าใจและใส่ใจมากยิ่งขึ้นว่าสิ่งที่พวกเขากำลังสร้าง ก็เพื่อแก้ปัญหาที่พวกเขาไปประสบมา
แนวคิดการเข้าอกเข้าใจคนอื่นหรือ empathy เป็นอีกหนึ่งแนวคิดหลักของ H Lab ไม่เพียงแต่เข้าใจบุคลากรโรงพยาบาลเท่านั้น แต่การเข้าอกเข้าใจเพื่อนร่วมงานก็เป็นสิ่งจำเป็น อย่างเช่นดีไซเนอร์และนักพัฒนาควรเข้าใจกระบวนการทำงานและวิธีคิดของกันและกัน เวลาออกแบบหรือทำงานของตัวเอง จะได้เข้าใจและทำให้เพื่อนร่วมงานทำงานง่ายขึ้น
กระบวนการทำงานของทีมอยู่ในรูปของ Agile และ Squad ที่รวมเอาพนักงานจากหลาย ๆ ฝ่าย เช่น Business Analyst, User Experience และ Developer มาทำงานร่วมกัน
คุณกมลวัทน์บอกว่าอยากได้คนที่มีลูกบ้าอยู่ในตัวเอง ไม่กลัวความผิดพลาด เป็นคนลงมือทำ กล้าคิดกล้าทำกล้าแสดงออก เพราะนวัตกรรมจะเกิดไม่ได้ถ้ายังอยู่ในกรอบเดิม ๆ ที่สำคัญคือเข้าใจคนอื่น เข้าใจตัวเองและมี empathy
ออฟฟิศของ H Lab อยู่ที่ Safebox Office บนถนนบรรทัดทองตรงข้ามสวนจุฬา 100 ปี ใกล้กับ MRT หัวลำโพงและ BTS สนามกีฬาแห่งชาติ
นีรนุช ลิมปนาวรวงศ์ (นุช)
UI Designer
คุณนีรนุชดีไซน์เนอร์ประจำ H Lab บอกว่าบรรยากาศการทำงานที่นี่นั้นช่วยให้ตัวเองดึงศักยภาพออกมาได้มาก เพราะบริษัทมีแนวคิดเสมอว่าคนที่จะตัดสินผลงานการออกแบบของเราคือ ผู้ใช้งาน คือลูกค้า ไม่ใช่หัวหน้า ไม่ใช่ซีอีโอ นอกจากนั้นยังรู้สึกว่าตัวเองมี empathy มากขึ้นมาก ๆ เพราะเราต้องดีไซน์จากการไปสัมผัสผู้ใช้งานจริง ๆ เนื่องจากเราไม่สามารถนั่งเทียนหรือคิดแทนว่าคนใช้จะเป็นแบบไหนได้อีกต่อไป
“ประทับใจที่สุดคือรู้สึกว่างานดีไซน์ของเราได้แก้ปัญหาของผู้ใช้งานจริง ๆ เพราะการออกแบบไม่ได้เกิดจากความชื่นชอบของตัวเองหรือบริษัทเพียงอย่างเดียว แต่มาจากผู้ใช้งานเป็นหลัก”
อิทธิพล ถิระสัตย์ (มิก)
Senior Full-Stack Developer
คุณอิทธิพล Developer มือฉมังของบริษัท ผู้พัฒนาระบบจัดการผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินได้บอกกับเราว่า ประทับใจการทำงานที่เป็นระบบ มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน และนึกถึงเพื่อนร่วมงานเสมอ นอกจากนี้ในบริษัททุกคนเป็นกันเอง ไม่หวงตัวไม่หวงวิชา แต่ตอนทำงานก็เต็มที่กันตลอด มีปัญหาหรือคำถาม คนอื่นจะพยายามหาคำตอบมาให้ เลยรู้สึกว่าอยากเก่งขึ้นเรื่อย ๆ
“ความท้าทายของงานคือสิ่งที่เราทำต้องทำให้คนไข้ แพทย์ และพยาบาลมีชีวิตที่ดีขึ้น”
สมัครงานที่ H Lab!
ตอนนี้เรากำลังมองหาเพื่อนร่วมงานอีกหลายตำแหน่งทั้งฝั่ง Developer และทีม Business
คลิกที่ Blognone Jobsเพื่อดูรายละเอียดและสมัครงานหรือส่งอีเมล์พร้อมแนบ Resume มาได้ที่ recruit@hlabconsulting.com
Comments
?
ตอนนี้เรากำลังมองหาเพื่อนร่วมงานอีกหลายตำแหน่งทั้งฝั่ง Developer และทีม Business
คลิกที่ "Blognone Jobs" เพื่อดูรายละเอียด หรือส่งอีเมล์พร้อมแนบ Resume มาได้ที่ recruit@hlabconsulting.com เลยนะคะ :)
โอ้ววววว
บริษัทแนวนี้น่าสนใจดีนะ
เกมสล็อต
บริษัทแบบนี้เข้าท่าครับ ชื่นชมคนับผม เกมสล็อต
IMBMS (Indian Medical Business Management System) is one of the most active retail suppliers providing thorough supply of various personal care products. We believe in distributing the utmost genuine and trusted range of skin whitening products & fairness cosmetics and whitening night creams throughout the nation.
Skin whitening injection
Finding the right place to play can be challenging. but with our help You won't have to worry about service quality. and focusing on what is most important Have fun playing! คาสิโนออนไลน์ เครดิตฟรี