ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 53) ตามที่กรมสรรพากรเสนอ หรือเรียกสั้นๆ ว่า "กฎหมาย e-Service"
เนื้อหาสำคัญของกฎหมาย e-Service คือเพิ่มนิยามของ
จากนั้นได้กำหนดให้ ผู้ประกอบการทั้งสองกลุ่ม (บริการ/แพลตฟอร์ม) จากต่างประเทศ ที่ให้บริการดังกล่าวในราชอาณาจักรไทยต่อผู้ใช้ในไทยที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการจดทะเบียน มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทยด้วย
กฎหมายนี้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา 10 กุมภาพันธ์ 2564 และมีผลบังคับใช้ 1 กันยายน 2564
ที่มา - กรมสรรพากร, กรมสรรพากร (2)
Comments
ไหนๆออกกฎแล้ว น่าจะเพิ่มไปเลยว่า ให้คงที่ค่าใช้บริการหลังกฏหมายมีผลบังคับใช้ อย่างน้อย 1 ปี ไม่งั้นผู้บริโภครับค่าใช้จ่ายไปเต็มๆ
อย่างของ Google ตอนนี้เขียนไว้เลยว่า หมายเหตุ: ราคาค่าบริการที่แสดงในเว็บไซต์ Google นั้นยังไม่รวม VAT
ดังนั้นก็ต้องตามนั้น
https://support.google.com/a/answer/1231283?hl=th
VAT มันก็เก็บผู้บริโภคอยู่แล้วนะครับ แต่ผู้ให้บริการเป็นคนเรียกเก็บและนำส่งให้
อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว
เป็นผมจะออกกฏบริษัทตัวเองว่าไม่มีนโยบายจ่ายภาษีให้รัฐบาลทหาร
ถ้าผมเข้าใจไม่ผิดคือบริการคุณก็จะไม่เก็บภาษีด้วยใช่มั้ยครับ
คือถ้าปัจจุบันคิด vat อยู่แล้วก็จะยกเลิกการคิด vat ?
มโน ว่าจะได้ออกกฏด้วย 555
คนธรรมดา มนุษยเงินเดือน มีรายได้ยังต้องจ่ายภาษีเลย
อันนี้รายได้มหาศาล
ก็คนธรรมดานี่ล่ะครับที่จ่ายภาษีครับ
บริษัทพวกนี้ไม่ได้จ่ายนะ เค้าแค่ทำหน้าที่ยื่นให้เฉย ๆ ภาษีไม่ได้หักจากค่าบริการหรือสินค้า แต่เป็นการคิดเพิ่มจากค่าใช้จ่ายที่ว่าครับ
VAT นี่สุดท้าย ผู้บริโภคจ่ายครับ
ถ้าแบบนีั ทุกๆบริษัทในบ้านเราก็ไม่ต้องจ่ายภาษี ก็ดีนะซิครับเพราะจะไม่เพิ่มภาระให้ผู้บริโภค
ภาษีมันมีหลายส่วนครับ แต่ในข่าวนี่เราพูดถึง VAT กันอยู่ครับ มันคือภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้บริโภคเป็นคนจ่ายครับ ส่วนบริษัทก็จ่ายภาษีจากรายได้ไปครับ
คนใช้บริการจ่ายครับ
vat ก็ชัดเจน ว่าเก็บกับผู้บริโภค คนซื้อใช้งานคนสุดท้ายเป็นผู้จ่าย
ก็เข้าใจได้นะ คือระบบให้บริการในไทย แต่จะไม่จ่ายภาษีมันก็ไม่ได้หรอก
ส่วนตัวใช้บริการหลายๆ อย่างในสิงค์โปร์ ที่ไม่มีให้บริการในไทย ใช้ที่อยู่ในสิงค์โปร์ ยังโดนภาษีของสิงค์โปร์บวกเข้าไปเลย
อีกอย่าง การที่ผู้ให้บริการภายนอกประเทศไม่มีภาษีมาควบคุม ทำให้การให้บริการของคนไทยที่เปิดแข่งในประเทศเสียเปรียบด้านภาษี มันกลายเป็นการแข่งขันที่ไม่เท่าเทียม และทำให้เราขาดผู้เล่นในประเทศไป
อยากได้ความเท่าเทียม ก็ต้องจ่าย
ส่วนที่ว่าจ่ายแล้วค่าบริการจะขึ้นไม่ขึ้นขึ้นเยอะขึ้นน้อย ผู่ใช้บริการจะเลือกเองว่าจะใช้ต่อ หรือไปใช้ช่องทางอื่นแทน
ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรทำและก็สามารถทำได้แล้ว ก็โอเค ถือว่าไปได้อีกก้าวนึงและ จะได้หลุดพ้นกับการที่โดนกินฟรีสักที ก้าวต่อไปก็คงเก็บภาษีนิติบุคคลตรง ๆ ตัวเลย บ ในไทยก็จะได้ไม่โดนเอาเปรียบ ถือว่าดีสนับสนุน
มันต่างจาก ภพ 36 ยังไงอะครับ
ภ.พ.36 คืออะไร แล้วใครคือผู้มีหน้าที่ยื่นแบบภ.พ.36
ภ.พ. 36 เก็บกับ "นิติบุคคลไทย" ที่ไปซื้อบริการจากผู้ให้บริการต่างประเทศครับ
ส่วนอันนี้ให้ผู้ให้บริการต่างประเทศ เก็บภาษี "คนทั่วไป" ที่ไปใช้บริการแล้วนำส่งสรรพากรครับ
อ่อ ขอบคุณครับ
ดีแล้ว
มันก็ควรจะเป็นแบบนั้นแหละ ผู้ประกอบการในไทยเสียแต่ต่างชาติไม่เสีย ถ้าปล่อยอย่างนี้ต่อไปผู้ประกอบการไทยก็คงเจ๊งกันหมด
จริงๆมันควรเก็บต่างชาติแพงกว่าด้วย แน่นอนว่าในระยะแรกค่าบริการมันก็คงแพงขึ้นแบบที่หลายคนกลัว แต่ในระยะยาวมันก็จะมีหลายเจ้าเข้ามาแข่งขันกันรวมถึงผู้ประกอบการไทยที่เสียน้อยกว่าด้วย
เก็บยังไงครับ จากต่างประเทศแพงกว่าคนไทย ไม่เข้าใจ
ผมก็ไม่เชี่ยวชาญเรื่องภาษีเหมือนกันครับ ส่วนตัวคิดว่ามันก็ควรจะมีแบบคล้ายๆภาษีนำเข้าอะไรแบบนี้ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันต้องทำยังไง
แต่ตอนนี้อย่าว่าแต่เก็บมากกว่าเลย แค่เก็บภาษีให้เท่าๆกับผู้ประกอบการในประเทศยังยากเลยครับ อย่างพวกภาษีเงินได้อะไรพวกนี้ ไม่ใช่แค่ไทยแต่หลายๆประเทศก็กำลังพยายามเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน
เก็บมากเกินไปก็เลยเทเมืองไทย? มันก็จะเปิดโอกาสให้เจ้าอื่นๆเข้ามาแข่งในไทย ไม่ว่าจะจากต่างชาติหรือจากไทยเองก็ตาม (แบบเดียวกับเคส Google ที่ขู่ออสเตรเลียก็มี Microsoft Bing ก็รอเสียบอยู่) และซักวันอาจจะเติบโตจนไปแข่งในตลาดโลกเลยก็ได้
ผมคิดว่าน่าจะเป็นภาษีมูลค่าเพิ่มนะครับ เลยงงว่า ทำไมเก็บไม่เท่ากัน เพราะไม่ใช่ภาษีจากการดำเนินงาน
ภาษีเกี่ยวกับสินค้าและบริการมี 3 แบบ
1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีที่เก็บเพิ่มจากมูลค่าสินค้า
2.ภาษีนำเข้า = ตรงตัวคือสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศ
3.ภาษีสรรพสามิต = ใช้กับสินค้าที่ทำลายสุขภาพ
เอาจริงๆ ภาษีนำเข้า มันมีมาเพื่อป้องกันสินค้าประเภทเดียวกันในประเทศโดนสินค้าต่างประเทศราคาถูกมาตีตลาด เช่น ข้าวหรือสินค้าเกษตรอื่นๆคือตัวหลักๆเลย แต่หลังๆมีใช้เป็นเครื่องมือการต่อรองระหว่างประเทศ ไม่ก็ตอนรัฐบาลประเทศนั้นๆหมดเงิน แต่ก็อีกแหล่ะว่าส่วนนี้จะขึ้นมันไม่ง่ายเพราะฝั่งประเทศที่โดนขึ้นเขาก็โต้ตอบเราได้ ประเทศเราเน้นส่งของทำแบบนั้นคือฆ่าตัวตาย
และลองไปเก็บภาษีกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สิ เหมือนประเทศฆ่าตัวตายชัดๆเลยหล่ะ เพราะผลิตเองไม่ได้ คนใช้งานจะลดลงการใช้บริการอื่นๆที่เป็นดิจิตัลก็จะลดลง บริการต่างๆของบริษัทไทยที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับตรงนี้ก็กระทบไปด้วย แล้วมันจะเป็นโดมิโน่ไปเอง
และภาษีนำเข้าต่างจากภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่แล้วที่เก็บแบบเท่าเทียม ไม่มีประเทศไหนเก็บ VAT ไม่เท่ากันครับ ถ้าจะกีดกันทางการค้าก็จะไปทำที่ภาษีนำเข้า แบบที่สหรัฐกับจีนทำกันอยู่ในตอนนี้ และสินค่ารูปแบบดิจิตัลยังทำกันไม่ได้ครับ แต่มีความพยายามจะเก็บภาษีเงินได้จากบรฺิษัทโดยตรงแม้จะจดทะเบียนอยู่ต่างประเทศต่างหาก ซึ่งไม่เกี่ยวกับภาษี 3 ตัวข้างต้น
สรุปคือเก็บ VAT แบบนี้แหล่ะดีแล้วถ้าจะอยากเก็บ แต่ส่วนอื่นถ้าไปแตะ มีปัญหาแน่นอน ยกเวินจะเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทนั้นๆได้ก็อีกเรื่อง
ดีแล้วล่ะไม่งั้นผู้ประกอบการในไทยเสียเปรียบ
งี้ต้องรีบเติม psn ละ ขี้นราคาแน่ๆ
psnรวมvatอยู่แล้วครับ เพราะงั้นราคาไม่น่าเปลี่ยน
เอ่อ... สุดท้ายเค้าก็มาเก็บที่พวกเราครับ platform ไม่ได้เดือดร้อนอะไรเลย
สมมติถ้ามีบริษัทไทยในวงการนี้ด้วย ถ้าตามกฎหมายก่อนหน้านี้บริษัทไทยจะต้องมีรวม vat แต่บริษัทต่างชาติไม่ต้องมี vat จะส่งผลให้ค่าบริการของบริษัทไทยสูงกว่าต่างชาติ
1.8 ล้าน/ปี นี้รู้สึกจะต่ำไปหน่อย แทนที่จะลดเหลือมล่ำ อาจจะหยุดยั้งการพัฒนาแทน
ไม่น่าจะมีขั้นต่ำด้วยซ้ำ
เท่าเทียม..ให้จ่ายเท่ากันหมด
VAT ในไทยก็เก็บขั้นต่ำที่ 1.8 ล้านบาทต่อปีครับ ก็ใช้มาตรฐานเดียวกัน
เก็บ VAT ผมเห็นด้วย เพราะเป็นธรรมกับช่องทางจำหน่ายอื่นๆ แต่อยากให้ต่อยอดไปถึงเก็บภาษีเงินได้จากบริษัทเหล่านี้ด้วย
ซึ่งผมมองว่า อันนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลทั่วโลกต้องจับมือกัน เพราะอาจจะต้องพัฒนาโปรโตคอลบางอย่างเพิ่มเข้าไปที่ระดับเครือข่ายเลย
..: เรื่อยไป
เห็นด้วยเลย
ช่องโหว่ภาษีเงินได้นี่แก้ยาก
พวก บ.ใหญ่ ก็เลือกไปตั้งในประเทศที่เก็บภาษีเงินได้น้อยๆ
แล้วกินรวบ ทั่วภูมิภาคตรงนั้น/ทั่วโลก
ถ้ารบ.ไม่ร่วมมือกัน ดันแข่งกันลดภาษีเพื่อดึง บ.ให้มาตั้งสาขา
สุดท้ายอาจจะมีแค่ประเทศเดียวที่ได้ 0.01%
และประเทศอื่นไม่ได้เลย
อาจเป็นหนึ่งในเหตุผลที Google ยังไม่เปิด super chat ในไทย
ตีอไปคงมีคูปองลดภาษีประจำเดือน เช่น
11.11
12.12
สงสัยว่าประเทศอื่นเค้าทำกันแบบนี้ไหม
ทำครับ เคยหาอ่านข่าว หลายๆ service พยายามไปตั้ง server ไว้ในประเทศหรือพื้นที่ที่ยังมีช่องว่างทางกฏหมายพวกนี้อยู่ด้วยครับ
สุดท้าย ก็เป็นลูกค้าที่ต้องจ่าย รัฐแค่ อยากได้เงินเพิ่มเท่านั้นแหละ
จากเดิม 199 ก็จะกลายเป็น 213 บาท
มีโอกาสน้อยมาก ที่ ผู้ประกอบการ จะคงราคาเดิมไว้แล้ว หากรายได้ของตัวเองไปจ่ายภาษี
VAT มันก็ให้ผู้ใช้จ่ายอยู่แล้วนะครับ
รัฐไหนๆ ก็ต้องอยากได้เงินเพิ่มอยู่แล้วไหมครับ?
VAT ไหนๆ ก็ไม่ได้เอารายได้ไปจ่ายภาษีอยู่แล้วนะครับ แค่บ้านเราผู้ขายมักใช้วิธีออกแบบราคาแบบพิมพ์ราคารวม VAT มาแล้วได้เลขกลมๆ อีกที
ยังมีอีกหลายร้อยหลายพันคนครับ ที่ไม่เคยเข้าใจว่า VAT คือ ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการที่เป็นคนจ่ายและไม่เคยเข้าใจว่า VAT คือภาษี
โดยเฉพาะกลุ่มโปรฝั่งรัฐบาล ที่ชอบมาอ้างว่า ไม่ได้จ่ายภาษีจะไปด่ารัฐบาลทำไม
ถึงบอกว่าจ่าย VAT ก็จะบอกว่าจ่ายน้อยกว่าเค้าอยู่ดีครับ
ซึ่งถ้าไล่กันจริงๆ ผมว่าก็ไม่หรอก มีทั้งจ่ายมากกว่าจ่ายน้อยกว่าเสมอๆ กันนั่นแหละ
เอาจริง ๆ มันเหมือนมีข้อกำหนดเมื่อก่อนว่าให้หักจากราคาสินค้ามั้ง (ผมก็ไม่ชัวร์) ต่างกับในต่างประเทศที่ให้คิดแยกออกจากราคาสินค้าครับ
มันมีข้อดีนะ คือลูกค้าไม่ต้องพกเหรียญเยอะ เวลาซื้อมักจะได้ราคากลม ๆ แล้วก็รู้เลยว่าต้องจ่ายเท่าไหร่ แทนที่จะต้องมานั่งคิดภาษีเพิ่มเอง (แล้วพวกคนขายเขาก็ไปคิดเป็นยอดกลม ๆ ทีเดียว มันไม่ลำบากมาก)ในขณะที่ในต่างประเทศจะต้องคำนวนเพิ่ม แล้วเงินทอนเศษเหรียญจะเยอะมาก
VAT ก็เอาเงินลูกค้านั้นล่ะจ่ายครับ
ที่นี้มันส่งผลต่อแผนการตลาดหน่อยๆ กล่าวคือกลยุทธ์การตลาดสามารถทำให้ผู้ขายตั้งราคาจูงใจผู้บริโภคได้ อาทิราคา 1500(รวมVATด้วย) กับอีกจ้าว(1500ไม่รวมVAT)
แน่นอนว่าฝั่งที่รวมVATไปจะได้กำไรน้อย แต่อาจจะขายของได้ปริมาณมากขึ้น ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการแล้วว่าจะเลือกแบบไหน
อย่างอุปกรณ์ไอทีหลายชิ้นตอนนี้ผมเลือกซื้อตรงเลย ไม่ผ่านพวก shoppee lazada แล้วที่ราคาแพงกว่าแม้เป็นร้าน offical มาตั้ง mall เอง
เมื่อวานเพิ่งจัด ex drive ราคารวมvat+จัดส่งฟรี ถูกกว่าบนเว็บ shoppee 300ร้อย หลังจากเห็นราคาเบ็ดเสร็จ
ได้เงินมาก็ต้องจ่ายภาษี จะใช้เงินออกไปก็ต้องจ่ายภาษี
เก็บตรงนี้แล้วขอลดหย่อนเพิ่มได้ไหม ค่าใช้จ่ายต้องลด 150,000 แล้ว
:D
พูดถึง VAT แล้วนึกถึงกรณีนึง อันนี้นอกเรื่องครับ มีคนรู้จักเขาทำบริษัท แล้วเค้าดันไปจ้างสำนักบัญชีที่ไหนทำสักที่นึงทำบัญชีให้ แล้วบัญชีคนที่ว่าก็แจ้งว่าต้องส่ง VAT ด้วย
ก็จ่าย VAT ไปปีนึงเป็นเงินจำนวนมากอยู่
ทีหลังได้มาคุยกันก็บอกเค้าไปว่า นายไม่ได้มีหน้าที่ส่ง VAT เพราะไม่ใช่คนที่ขายสินค้าให้ลูกค้าโดยตรง เพราะว่าจริง ๆ เค้าทำงานส่งให้อีกบริษัทนึงในต่างประเทศแล้วเขาเอาไปขายต่อ สินค้าที่ขายไม่ใช่การขายปลีก แต่เหมือนเป็นการรับจ้างผลิตมากกว่า ดังนั้นมันไม่ได้เข้าข่ายการขายสินค้ารีเทล ซึ่งอันนี้จริง ๆ แค่จ่ายภาษีรายได้นิติบุคคลก็ครบแล้ว ไม่รู้ว่าทำไมไอ้สำนักบัญชีมันถึงมั่วให้ส่ง VAT ด้วย
ไอ้ที่ส่งไปแล้วก็คงเอาคืนไม่ได้ (ฮา)
โอ้โห อันนี้มารู้ทีหลังเจ็บปวดเลย
น่าจะตีความเรื่องคำว่า "ลูกค้า" ผิดหน่ะ แล้วก็เจอกันประจำด้วยครับ
สำนักบัญชีมันควรจะรู้เรื่องอะไรแบบนี้อยู่แล้วนะครับ รู้สึกมีเงื่อนงำ
บางที บ. ที่จ้างสำนักบัญชีเค้าก็ไม่บอกรายละเอียดเรื่องลักษณะของงานว่าเป็นแบบไหน อย่างที่เคยได้ยินมา บ. จ้างสำนักบัญชีให้ทำบัญชีให้ แต่ให้แค่ยอดรายได้แต่ละไตรมาสมา ไม่แจงว่าแต่ละไตรมาสได้เงินจากไหนบ้างครับ
ฟ้องได้ไหมครับนี่
ฟ้องก็ได้ แต่มันจะเรื่องใหญ่ ได้คุ้มหรือเปล่าต้องดู ค้นไปค้นมากลายเป็นขาดส่ง ลากข้อมูลบัญชีออกมาหมดกลายเป็นโดนเพิ่มเข้าไปอีก เผลอๆ นำสืบไปมา บริษัทที่ว่าจ้างเองให้ข้อมูลไม่ครบ กลายเป็นเงิบยกฟ้อง เผลอๆ สรรพากรของตรวจสอบย้อนหลังอีก เหนื่อยหลายรอบเรื่องไม่จบ
ปล. พูดรวมๆ นะไม่ได้หมายถึงเคสนี้เคสเดียว
ถ้าจะฟ้องต้องฟ้อง บ. ทำบัญชีครับ เพราะก่อนยื่น บ. เจ้าของบัญชีต้องตรวจสอบอีกรอบว่าถูกต้องหรือไม่ และปกติการยื่น บ. เจ้าของบัญชีต้องยื่นด้วยตนเองครับ
อ่านแล้วก็ยังงๆว่ารายได้จากการขาย App หรือ In-App จะเข้าข่ายไหม?
https://support.google.com/googleplay/android-developer/answer/138000?hl=en
เข้าข่ายข้อแรกครับ
ไม่ชอบ vat ตรงที่คือ เราต้องรอให้ รัฐอิ่มก่อน เราถึงจะได้กิน
ยังไม่อ่าน แต่เค้าจะบังคับใช้ยังไงนะครับ อย่าง google หรืออะไรที่มีนิติบุคคลในไทยก็คงพอคุยได้ แต่พวกที่ไม่มีเค้าจะทำยังไงหว่า
แบน จนกว่าจะมาเจรจา ในประเทศ