ที่อังกฤษกำลังมีประเด็นศิลปินเรียกร้องความยุติธรรมจากค่ายเพลง ในการแบ่งรายได้จากสตรีมมิ่งให้เท่าเทียม จากการสอบสวนของคณะกรรมการด้านดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อและการกีฬา หรือ DCMS (Digital, Culture, Media and Sport) พบว่า ศิลปินได้ส่วนแบ่งรายได้จากสตรีมมิ่งแค่ 16% เท่านั้น ที่เหลือเป็นรายได้เข้าค่ายเพลง
BBC ฉายภาพให้เห็นเพิ่มเติมว่าเงินจากสตรีมมิ่งถูกแจกจ่ายไปที่ไหนบ้าง โดย Spotify จ่ายระหว่าง 0.002 ถึง 0.0038 ปอนด์ต่อการสตรีม 1 ครั้ง ในขณะที่ Apple Music จ่ายประมาณ 0.0059 ปอนด์ YouTube จ่ายน้อยที่สุดประมาณ 0.00052 ปอนด์ต่อการสตรีม 1 ครั้ง โดยรายได้ทั้งหมดเป็นของผู้ถือลิขสิทธิ์หรือค่ายเพลง แล้วเงินจึงถูกแจกจ่ายออกไปยังผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีราวๆ 13% เท่านั้นที่รายได้เข้ากระเป๋าศิลปิน
สำหรับอุตสาหกรรมดนตรี สตรีมมิ่งกลายเป็นหนึ่งในช่องทางรายได้หลัก มากกว่าการขายซิงเกิล และแผ่นเพลงแล้ว การสำรวจโดย Ivors Academy และ Musicians' Union พบว่าในปี 2019 นักดนตรีมืออาชีพ 82% สร้างรายได้จากการสตรีมน้อยกว่า 200 ปอนด์ ในขณะที่มีเพียง 7% ที่ทำเงินได้มากกว่า 1,000 ปอนด์
Julian Knight ประธานคณะกรรมการ DCMS กล่าวว่า ในขณะที่สตรีมมิ่งเพลงสร้างผลกำไรมหาศาลให้กับอุตสาหกรรมเพลง แต่ผู้ที่อยู่เบื้องหลังทั้งนักแสดง นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์กลับไม่ได้ผลประโยชน์มากเท่าที่ควร ทางออกคือต้องออกแบบระบบใหม่ แบ่งรายได้ให้ยุติธรรม
รายงานของคณะกรรมการบอกด้วยว่า สตรีมมิ่งได้ช่วยชีวิตคนทำเพลงจากปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีประเด็นต้องแก้ไขต่อ แนะนำรัฐบาลให้ออกกฎหมายเพื่อให้ศิลปินค่าตอบแทนจากสตรีมมิ่งที่เท่าเทียมกันกับค่ายเพลง โดยข้อเสนอของคณะกรรมการคือ
ที่มา - BBC
Comments
นักร้อฃถ้าร้องอย่างเดียว ได้น้อยก็คงไม่แปลก แต่ 14% ก็น้อยเกินไปอยู่ดี20% น่าจะดี
นักร้อฃถ้าร้องอย่างเดียว ได้น้อยก็คงไม่แปลก แต่ 14% ก็น้อยเกินไปอยู่ดี20% น่าจะดี
แล้วที่ค่ายเพลงต้องจ่ายเงินเดือนละ
ค่ายเพลงส่วนใหญ่ไม่ได้จ่ายเงินเดือนให้ศิลปินในสังกัดนะครับ หรืออาจจะหมายถึงพนักงานในออฟฟิศเค้าหรือเปล่า เอาจริงๆ ค่ายเพลงใหญ่ๆ นี่รายรับขูดรีดศิลปินแทบจะทุกช่องทางอยู่แล้วครับ ไม่ต้องกลัวค่ายจะไม่มีตังจ่ายเงินเดือนพนักงานเลย
ศิลปินรายเล็กหลายๆ คน รายได้จากส่วนแบ่งพวกนี้น้อยกว่าเงินเดือนอีกนะครับ
ถ้าขายแผ่น CD นักร้องได้กี่ % ?
นักร้อง ก็ไม่ต้องสังกัดค่ายได้ไหม ออกเพลงแล้วลงแอพไปเลย จะได้ไม่โดนหัก
ถ้าเป็นนักร้องที่ทำทุกอย่างด้วยตัวเองได้หรือมีเงินและคอนเนคชั่นพอที่จะสามารถจ้างคนหรือติดต่อสถานที่ต่างๆได้ ก็แยกตัวออกมาเป็นไร้สังกัดได้ครับ (เช่น แต่งเพลง ทำดนตรี อัดเสียง มิกซ์เสียง ทำ MV โปรโมต ฯลฯ)
ถ้าของ Spotify จะเอาเพลงลงแอพ ต้องผ่าน distributor ครับ Apple Music ก็คุ้นๆว่าจะเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้ก็มีบริษัทที่เป็น distributor เรื่องนี้โดยเฉพาะ ช่วยจัดการรายละเอียดต่างๆในการเอาผลงานลงแพลตฟอร์มได้ (บ้านเราก็ของ Fungjai) ช่วยให้ศิลปินไร้สังกัดได้เอาผลงานตัวเองมาลงแพลตฟอร์มง่ายขึ้น
แต่ส่วนใหญ่ศิลปินมักจะมองหาค่าย เพราะค่ายมี resource เยอะกว่า คือศิลปินแต่งเพลงเสร็จมันก็ยังไม่จบน่ะ มันมีกระบวนการตั้งแต่การบันทึกเสียง ทำการตลาด งานแสดงสดต่างๆ ถ้าทำเองแบบไร้สังกัด 100% แล้วจะให้ได้ระดับเดียวกับศิลปินในสังกัดมันยากมากครับ
ตราบใดที่คุณยังอยู่ในค่าย สัญญาใด ๆ มันเกิดตั้งแต่คุณตกลงกัน ในเมื่อคุณตกลงปลงใจไปแล้ว ก็เรียกร้องตามสมควร และถ้ารู้สึกไม่เป็นธรรม ก็จ่ายเงินฉีกสัญญา แล้วออกมาหากินเอง ก็ง่าย ๆ แฟร์ ๆ ไม่ได้ผิดที่ใคร ผิดที่คุณเองแหละ