Tags:
Node Thumbnail

ทางการจีนได้ออกคำสั่ง กำหนดให้ธุรกิจการศึกษาแบบกวดวิชา ที่เป็นวิชาหลักในหลักสูตรการศึกษา ต้องจดทะเบียนเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไร และไม่มีการออกใบอนุญาตใหม่เพิ่มเติม คำสั่งนี้ส่งผลกระทบต่อกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีการศึกษาหรือ EdTech ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพหมวดที่มาแรงโดยเฉพาะในจีน โดยในคำสั่งมีรายละเอียดหลายประเด็น เช่น ห้ามนำบริษัทจดทะเบียนเข้าตลาดหุ้น ห้ามระดมทุนจากนักลงทุนต่างประเทศเพิ่มเติม ไปจนถึงการกำหนดค่าธรรมเนียมการสอน

เหตุผลของคำสั่งดังกล่าว เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการเรียนกวดวิชาของผู้ปกครองในจีน

คำสั่งนี้ทำให้ราคาหุ้นของบริษัทด้าน EdTech ของจีน ทั้งที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกงและสหรัฐ ปรับลดลงในช่วงที่ผ่านมา อาทิ New Oriental, Scholar Education, Koolearn Technology, TAL Education และ Gaotu Techedu

ที่มา: Reuters [1], [2] ภาพ Gaotu Techedu

alt="Gaotu Techedu"

Get latest news from Blognone

Comments

By: tom789
Windows Phone
on 26 July 2021 - 15:08 #1217388

รุนแรง

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 26 July 2021 - 15:08 #1217389

นารวม model สินะครับ ผมก็ไม่เข้าใจว่าระบบของเขาเป็นยังไง แต่บ้านเรามันทุเรศเกินน่ะ

ขอแซะหน่อยสิ (ก็รู้อยู่เนอะ) จ่ายเงินค่าสอบไปแล้วพอจะขอดูเฉลยกลับต้องจ่ายเงิน แล้วดูได้อย่างเดียว (ห้ามถ่าย) ไม่มีเฉลยอะไรให้ดู พอโทรไปถามว่าทำไมไม่เฉลย (โน่น นานปีถึงจะให้ตีพิมพ์เฉลย อนุญาตให้เป็นรายๆ) ก็ตอบว่าติดเรื่องข้อกฎหมาย ทำแบบนี้มาเป็นสิบกว่าปี ยิ่งกว่าแดนสนธยา หาความโปร่งใสอย่างไรได้?

และขอแซะโรงเรียนหน่อยนะครับ ที่ไวนิลยกยอเด็กหน้าประตู ไม่อายบ้างเหรอครับทั้งที่เค้าตะลอนๆไปโรงเรียนกวดวิชา?

By: zyzzyva
Blackberry
on 26 July 2021 - 15:27 #1217394

ห้ามแสวงหาผลกำไร เฉพาะวิชาที่ถููกบรรจุเป็นหลักสูตรหลัก ถ้าวิชาอื่นๆที่เป็นวิชาเลือก(อาจจะเช่นวิชาสอนเล่นเปียโน) ก็สอนแบบเอากำไรได้อยู่ แต่จะมีโรงเรียนไหนเลี่ยงบาลีเพื่อเอากำไร เช่นสอนวิชาคณิตศาสตร์ภายใต้ชื่อวิชาคิดเลขเร็วอะไรแบบนี้รึเปล่า

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 26 July 2021 - 16:26 #1217401 Reply to:1217394
tekkasit's picture

บริษัทจีนอาจจะไม่อยากเสี่ยง รัฐบาลจีนไม่ค่อยประนีประนอมตอนจะลงดาบธุรกิจที่ไม่ทำตามระเบียบ ถ้าดันไปตีความต่างกับรัฐ โดนเล่นไม้โหด จะได้ไม่คุ้มเสียเอา

By: ปาโมกข์
iPhoneAndroidWindows
on 26 July 2021 - 15:36 #1217395
ปาโมกข์'s picture

ชอบนโยบายนี้นะ
กวดวิชาไทยนี่แพงมาก
แถมเรียนทุกวัน ไม่มีวันหยุด
ถ้าไม่เรียนก็กลัวไม่ทันเพื่อน
ครูโรงเรียนใหญ่ๆก็ไปสอนกวดวิชากันแทบทุกคน

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 26 July 2021 - 16:15 #1217398 Reply to:1217395
KuLiKo's picture

แล้วผมไปเรียนกวดวิชากับคุณครูที่โรงเรียน แกเฉลยข้อสอบซะแทบจะเกลี้ยง

ตอนนั้นดันไม่รู้สึกอะไร มานั่งคิดตอนนี้ว่าเออ เราก็เป็นส่วนหนึ่งของความทุเรศนี้เหมือนกัน

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 26 July 2021 - 16:41 #1217402
TeamKiller's picture

ใครรวยก็ขัดขาสักหน่อย

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 26 July 2021 - 16:48 #1217403 Reply to:1217402
nessuchan's picture

รวยบนความลำบากของผู้อื่นก็น่าขัดอยู่นะครับ

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 26 July 2021 - 17:29 #1217409 Reply to:1217403

ผู้อื่นนี้คือใคร

By: Drkaze on 26 July 2021 - 19:09 #1217415 Reply to:1217409

นักเรียนและผู้ปกครองไงครับ จีนเค้าเล็งเห็นแล้วว่าของพวกนี้ทำให้ต้นทุนการมีลูกมันสูงขึ้นทำให้คนไม่อยากมี เลยควบคุม เหมือนบ้านเราแหละ ค่าใช้จ่ายสูง เศรษฐกิจไม่ดี สิ่งแวดล้อมแย่ ใครจะอยากมีลูก

By: ravipon
iPhoneWindows
on 26 July 2021 - 19:50 #1217419 Reply to:1217415
ravipon's picture

แล้วสุดท้ายต้นทุนการมีลูกมันลดลงจากการควบคุมไม่ให้โรงเรียนสอนพิเศษทำกำไรหรอครับ?
สุดท้ายก็ไม่ได้ห้ามให้มีการสอนพิเศษ แค่ห้ามไม่ให้มีกำไร กับไม่ออกใบอนุญาตเปิดโรงเรียนเพิ่ม
แล้วมันก็น่าจะไม่ได้ effect พวกพวกที่สอนตัวต่อตัวด้วยรึเปล่าครับ?
สุดท้ายแล้วจำนวนเก้าอี้ในโรงเรียน/มหาวิทยาลัย ที่มีน้อยกว่าจำนวนนักศึกษามันก็บีบให้มีการแข่งขันกันอยู่ดี ซึ่งสุดท้ายแล้วมันก็ไปทำให้เกิดต้นทุนอยู่ดีแหละครับ
ส่วนตัวมองว่ามันแก้ปัญหาไม่ตรงจุดแหละครับ เหมือนดีดนิ้วลบคนทิ้งไปครึ่งจักรวาลอะไรประมาณนั้นแหละครับ

By: Drkaze on 26 July 2021 - 19:12 #1217416 Reply to:1217409

.

By: xenatt
ContributorWindows PhoneRed HatSymbian
on 27 July 2021 - 07:17 #1217443 Reply to:1217409
xenatt's picture

ผู้อื่น คือ บ่แม่นเจ้าของ


Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 27 July 2021 - 09:02 #1217450 Reply to:1217403
TeamKiller's picture

ปัญหาน่าจะเป็นที่ระบบการศึกษาหรือเปล่าครับ ทำไมต้องไปสอนข้างนอกงี้ หลักสูตรไม่ดีไรงี้เปล่าเหมือนไทยอะครับ

By: miyano2005
AndroidUbuntuWindows
on 26 July 2021 - 18:42 #1217412
miyano2005's picture

สมัยนี้มีอินเตอร์เน็ต น่าจะลดความจำในการเรียนพิเศษไปได้เยอะ แต่ก็ก็ไม่ได้ลดเลย...

By: Drkaze on 26 July 2021 - 19:07 #1217414

อยากให้เลิกการกวดวิชาจริงๆ มันคือความเลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะวิชาเฉพาะ พวกวาดรูป สถาปัตย์ ก่อนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ยิ่งแย่ ให้เด็กไปจ่ายเงินหาเรียนวิชานอกหลักสูตรกันเอาเอง คนรายได้น้อยเค้าจะทำได้หรือ
แถบสแกนดิเนเวีย ยุโรป ไม่ต้องติวคนเค้าก็มีคุณภาพได้

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 26 July 2021 - 23:19 #1217432

ผมไม่เห็นด้วยกับการให้เด็กเรียนพิเศษมากเกินไป แต่ก็ต้องยอมรับว่ามาตรฐานการสอนแต่ละโรงเรียนมันไม่เท่ากันจริงๆ

ไม่นับเคสที่ ครูไม่สอนในโรงเรียน แล้วบังคับให้เด็กไปเรียนพิเศษกับครูนอกเวลา โดยจะสอนแนวข้อสอบให้นะ อันนี้ถือว่าทุจริตมากกว่า

แต่เคสแบบอ.ในโรงเรียนสอนไม่รู้เรื่อง แต่เด็กไปเรียนพิเศษแล้วรู้เรื่อง อันนี้โทษกันยาก อาจจะเป็นที่ตัวเด็กหรือตัวครูก็ได้

หรือแม้แต่เคส ที่ข้อสอบเข้ามหาลัย ใช้ความรู้จากเนื้อหาที่จะสอนในวิชาพื้นฐานปี1 คือเนื้อหามันเลยม.ปลายทั่วไป ยกเว้นจะเก่งจนพิสูจน์ทฤษฎีบท ที่มักไม่ได้สอนละเอียดได้เอง

พูดตรงๆ สมัยผมเองก็entranceผ่านเพราะเรียนพิเศษ ลองคอร์สentหลายวิชา เพราะบางวิชาที่เรียนในห้องทำข้อสอบย้อนหลังยังแทบไม่ได้ พอเข้ามหาลัย ได้คุยกับเพื่อนที่ได้อันดับต้นๆของประเทศในแต่ละวิชา ก็เรียนพิเศษมาเข้มข้นทั้งนั้น อาจจะยกเว้นบางคนที่เก่งสุดๆ เรียนแค่ในห้องเรียนแล้วไปอ่านเองได้โดยไม่ต้องเรียนพิเศษข้างนอกเลย(คนนี้สอบได้คะแนนรวมที่1ประเทศยุคผมและได้ A ช้วนตอนปี1หมอริมน้ำ)แต่ก็คงมีคนไม่มากที่ทำได้แบบนั้น

และเทคนิคการสอนของครูผู้สอนก็มีผลเยอะมาก ที่บอกไปว่าผมเองentผ่านเพราะเรียนพิเศษ เพราะตอนม.ปลายไม่เข้าใจพื้นฐานบางเรื่องบางวิชาจริงๆ แต่พอมาเจอเพื่อนอีกคนตอนเรียนมหาลัย ลองคุยกันเล่นๆกลับอธิบายสิ่งที่เคยสงสัยได้แบบเข้าใจง่ายมาก จนหลายๆเรื่องที่เคยคิดไม่ออกตอนม.ปลายจนต้องไปท่องสูตรลัด ก็กลับเข้าใจได้ง่าย ว่ามันแค่นี้เองถ้าเริ่มถูกจุด เพื่อนคนนี้ปัจจุบันเป็นรศ.ไปละ อิจฉาเด็กที่มีโอกาสได้เรียนพิเศษกับแกจริงๆ(แกรับจ็อบสอนพิเศษclassเล็กๆตอนเรียนมหาลัยนิดหน่อย)

ถึงจะบอกว่า ยุคนี้แล้ว ให้อาจารย์ดังๆอัดวิดิโอลงyoutube สอนก็ได้แล้ว ดีกว่าสมัยเสียเงินไปเรียนในห้องด้วยวิดิโอเทปเยอะ (หรือชีทสรุปอาจารย์ดังๆขายกันแสนแพงเมื่อก่อน)แต่มันก็ยังขาดเรื่องการสอบถามตัวต่อตัวเช่นกัน เด็กแต่ละคนมีข้อสงสัยไม่เหมือนกัน

ตรงนี้แหละเป็นความเหลื่อมล้ำแบบหนึ่งหรือเปล่า? แต่ถ้าตัดออกไปไม่ให้เหลื่อมล้ำ จะกลายเป็นลดความรู้องค์รวมไปไหม?

ผมเองเห็นด้วยว่าการกวดวิชาบางลักษณะ เช่นท่องสูตรลัด หรือเอาแนวข้อสอบมาเน้น(โดยเฉพาะบางที่เหมือนเอาข้อสอบหลุด หรืออาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการออกข้อสอบมาสอน?)แบบนี้มันก็ก้ำกึ่งว่าเรียนเพื่อรู้ กลายเป็นจ่ายเงินเพื่อผ่าน?

อยากไม่ให้เด็กเรียนพิเศษ ก็ทุ่มงบพัฒนาโรงเรียนให้มาตรฐานการสอนใกล้เคียงกัน หรือเปลี่ยนแนวการออกข้อสอบเป็นการวิเคราะห์มากขึ้น(แต่ถ้าเด็กไม่เข้าใจพื้นฐานจากการเรียนในโรงเรียนก็ยิ่งทำไม่ได้?)

หรือวิชาเฉพาะบางอย่างถ้าโรงเรียนไม่สอนแนวมาเลย ก็ยากที่จะสอบได้นะ อย่างสถาปัตย์ เคยอ่านตอนเพื่อนสอบ คือถ้าไม่เรียนรู้เอง(ส่วนใหญ่ก็ไปลงคอร์สศิลปะข้างนอกเอง)เด็กสายวิทย์ไม่มีทางทำข้อสอบได้ด้วยความรู้พื้นฐานในโรงเรียนม.ปลายทั่วๆไปเลยก็ว่าได้ แค้่ทฤษฎีสีแบบเข้มข้น หรือการวาดperspectiveแบบต่างๆ ผมไม่รู้สมัยนี้เรียนกันไหม แต่สมัยผมไม่มีในวิชาพื้นฐานทั่วไป(บางอย่างมีในวิชา(บังคับ)เลือก ที่บางคนก็เลือกไม่ได้)

ต่ออีกนิดเข้าใจว่า ส่วนกลางเองก็ปรับเปลี่ยนการสอบเข้ามหาลัย จากการเน้นวิชาพื้นฐานจนต้องกวดวิชาแบบสมัยentrance แต่ไปเพิ่มส่วนวิชาเฉพาะทางสาขาวิชา แต่ก็กลายเป็นว่า วิชาพวกนี้ไม่มีสอนในม.ปลายทั่วไป ก็ต้องไปเรียนกวดวิชาเฉพาะทางอยู่ดีหรือเปล่า? รวมไปถึงเรื่องpoftfolio ที่บ้านเราดูจะไปเน้นเรื่องที่ไม่เกี่ยวโดยตรงกับที่จะเรียนเท่าไร ก็เข้าใจว่าค่อยๆปรับเปลี่ยนกันไป

By: zyzzyva
Blackberry
on 28 July 2021 - 22:13 #1217630 Reply to:1217432

คุณ Fourpoint มีความคิดเห็นนึงกำลังข่มขู่คุณในเฟซบุคนะครับ ลองอ่านคอมเมนต์ในสเตตัสนี้ดูครับ
https://www.facebook.com/warat.karuchit/posts/4812214142127520
เขียนว่า "นอกจากช่องวันแล้ว
สมาชิกคนนึงที่มีนามแฝงภาษาอังกฤษว่า สี่จุด ที่อยู่ในเว็บ Blognone ก็ทำตัวเป็นวงในแบบเดียวกับในภาพแหละครับ
ผมอยากกระชากโม่งรายนี้มานานแล้วแต่ท่าทางจะยาก"

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 July 2021 - 21:15 #1217751 Reply to:1217630
hisoft's picture

?

By: ECOS
Windows
on 27 July 2021 - 04:27 #1217438
ECOS's picture

แก้ปัญหาปลายเหตุตามเคยตามสไตล์จีน (แบบเดียวกับลูกคนเดียว ฯลฯ)

การเติบโตของการกวดวิชา มันแสดงถึงความเหลื่อมล้ำของระบบการศึกษา และปัญหาของระบบการสอบและคัดเด็กของภาครัฐที่ชัดเจนมาก

ยกตัวอย่างประเทศแถวนี้
เพราะคุณภาพการสอนของ รร.ในประเทศไม่เท่ากัน และโดยรวมไม่ค่อยดี
แต่ข้อสอบกลับยาก และไม่สัมพันธ์กับการสอนในรร. เด็กเลยเลยต้องไปเรียนเสริม
มีความต่างของมหาวิทยาลัยมากจนเด็กเทไปแย่งที่กัน

วิธีแก้: ทำให้ข้อสอบยากขึ้น หลักสูตรยากขึ้น
ผลลัพธ์: การเรียนเสริมนอกห้องเรียนยิ่งจำเป็นขึ้นอีก

วนลูป

วิธีที่จะแก้ปัญหานี้คือทำให้คุณภาพการสอนทั่วประเทศมีความใกล้เคียงกัน
ลงทุนในมหาวิทยาลัยหลายๆแห่งในแต่ละภูมิภาคให้โดดเด่นใกล้เคียงกัน หรือมีเฉพาะทาง
ปรับการสอบ การสอน และหลักสูตรให้สอดคล้องกัน
มันต้องให้เด็กที่อ่านหนังสือตามหลักสูตรทำคะแนนได้สูงเหมือนคนเรียนเสริม ไม่ใช่ทำไม่ได้ถ้าไม่เรียนเสริม

ไปๆมาๆผมบ่นประเทศไหนกันนะ
พอดีอยู่ในวงการ เลยอิน 555

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 27 July 2021 - 09:23 #1217452 Reply to:1217438
KuLiKo's picture

เป็นกำลังใจให้ครับ

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 27 July 2021 - 10:54 #1217471 Reply to:1217438

ถ้าพวก .... มันระลึกได้ว่าเนื้องหาในการสอบควรเน้นทักษะชีวิตของเด็กจริง ๆ ป่านนี้คงไม่มานั่งหา Precision+Accuracy หรอกครับ และก็คงไม่บ่นว่าทำไมเด็กทำคะแนนแย่ด้วย

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 27 July 2021 - 22:28 #1217543 Reply to:1217438
big50000's picture

คุณภาพการศึกษาที่ใกล้เคียงกันนี่เป็นไปได้ยากมาก ๆ แม้แต่ประเทศที่การศึกษาดีที่สุดในโลก การศึกษายังไม่เท่ากัน

จริง ๆ แล้วปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้นด้วยซ้ำ สิ่งที่เป็นปัญหาจริง ๆ คือการศึกษาที่ยังไม่เข้าใจศักยภาพและความถนัดของผู้เรียนต่างหาก ด้วยความที่เราพากันเชื่อถืออะไรที่มันเป็นรูปธรรมมากเกินไป ทั้งคะแนนสอบ สถิติ และการประเมินเชิงปริมาณ แม้แต่กับเรื่องที่เป็นเจตคติและทัศนคติ คนที่ใช้ทักษะเชิงนามธรรมและอารมณ์ได้ดีก็ซวยในระบบการศึกษารูปแบบนี้ไปโดยปริยาย โดยเฉพาะคนที่มีทักษะเกี่ยวกับความจรรโลงใจ สายสื่อสาร งานศิลป์ต่าง ๆ ที่หลักการมันไม่ตายตัวอยู่แล้ว (แต่อาจจะมี pattern บางอย่างที่ใช้ร่วมกันหน่อยเพื่อให้ทุกคนชอบผลงานเหล่านั้น ตามหลักการที่มีการศึกษามาแล้ว) ประเทศที่การศึกษาดีทื่สุดตอนนี้ต่างก็หลีกเลี่ยงการประเมินนักเรียนเป็นผลทางสถิติแล้ว แล้วหันไปมุ่งนั้นผลสัมฤทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียนเองมากกว่า

By: 9rockky
AndroidIn Love
on 27 July 2021 - 06:29 #1217439

ประเทศไทยควรใช้ระบบ GED เป็นพื้นฐาน
ไม่ต้องมีโรงเรียน ทำเป็นศูนย์การเรียนรู้แทน
พอสอบเทียบจบ เอกชนก็รับเข้าไปปั้นต่อเหมือนค่ายเพลงเกาหลีเลย
เคยเสนอให้คนในกระทรวงศึกษา บอกปัดว่าไม่เหมาะกับวัฒนธรรมไทย(wtf?) ไม่ค่อยอยากจะพูดแรง ผมกำลังจะไปเตะชามข้าวที่คุณกระดิกหางกินกันอย่างเอร็ดอร่อยรึเปล่า ยิ่งช้าเด็กไทยเสียโอกาสไปเท่าไหร่ กสพท.หน่วยงานที่ผูกขาดการรับนักเรียนเข้าเรียนหมอก็กีดกันเด็กสอบเทียบ บังคับให้เรียนในระบบ(ห่วยๆ)ถ้าอยากเป็นหมอในไทย เราจึงได้เห็นระบบโซตัสในโรงเรียนแพทย์ หรือแม้แต่อาจารย์แพทย์ที่หนีคนไข้มาไล่eปูว์ แม้แต่ระบบสาธารณสุขไทยที่กำลังจะล่มสลายก็เกิดจากการผูกขาดอำนาจโดยมีความเชื่อมโยงกับหมอแก่ๆพวกนี้

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 27 July 2021 - 10:52 #1217470
zerocool's picture

ผมเชื่อว่านี่เป็นก้าวที่ผิดพลาดของจีน

เด็กไปเรียนพิเศษเพราะครูที่โรงเรียนปกติสอนไม่เก่ง สอนไม่รู้เรื่อง แต่ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยมันยาก มันต้องแข่งขัน

แทนที่คุณจะสนับสนุนให้ครูพื้นฐานในระบบเก่งขึ้น กลับไปจำกัดความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของครูกวดวิชาที่เก่งกว่า สุดท้ายแล้วเด็กไม่มีทางเลือกก็ต้องอยู่กับครูในระบบ แทนที่เด็กจะได้ความรู้บางอย่างที่ตัวเองไม่เข้าใจ ก็กลายเป็นว่าเด็กต้องปล่อยให้ความไม่เข้าใจนั้นคงอยู่ต่อไป

ตกลงเด็กได้หรือเสีย ?


That is the way things are.

By: norius on 29 July 2021 - 21:04 #1217747 Reply to:1217470

“จำกัดความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ของครูกวดวิชาที่เก่งกว่า” ?