ประเทศจีนประกาศกฎใหม่ คุมเข้มการเล่นเกมของเยาวชน อายุต่ำกว่า 18 ปี จากเดิมอนุญาตให้เล่นได้ 1.5 ชั่วโมงในวันธรรมดา และ 3 ชั่วโมงในวันหยุด เหลือ 1 ชั่วโมงในวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ช่วง 20.00 น. ถึง 21.00 น. เท่านั้น เท่ากับเยาวชนอาจได้เล่นเกมแค่ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เป็นส่วนใหญ่
แม้ Tencent หนึ่งในบริษัทเกมที่ใหญ่ที่สุดในจีน จะใช้ระบบสแกนใบหน้าเข้ามาคุมเวลาเล่นเกม และยังปรับมาตรการให้เยาวชนเล่น Honor of Kings (RoV) ได้แค่ 1 ชั่วโมงในวันธรรมดา และ 2 ชั่วโมงในวันหยุดก่อนหน้านี้ ก็ยังไม่เพียงพอให้รัฐลดความเข้มข้นของนโยบายได้
รัฐบาลเตรียมบังคับใช้กฎนี้ด้วยการให้บริการเกมออนไลน์ทั้งหมดต้องเชื่อมกับระบบต่อต้านการเสพติดของรัฐ ผู้สมัครเล่นเกมต้องลงทะเบียนโดยใช้ชื่อและนามสกุลจริงเท่านั้น และหน่วยงานรัฐจะตรวจสอบระบบจำกัดเวลาเล่น และระบบซื้อของในเกมของบริษัทเกมต่างๆ อย่างเข้มงวดมากขึ้น รวมถึงจะขอความร่วมมือกับผู้ปกครองและโรงเรียนเพื่อบังคับใช้มาตรการใหม่นี้
ประเทศจีนมองว่าปัญหาเด็กติดเกม เป็นปัญหาที่กำลังบ่อนทำลายอนาคตของชาติ ก่อนหน้านี้เคยออกกฎจำกัดการเล่นเกมของเยาวชนและคนทั่วไปมาหลายครั้ง รวมถึงเคยมีสื่อในสังกัดรัฐบาลจีน เขียนบทความระบุว่าเกมเป็นเหมือนสิ่งเสพติดอีกด้วย คงต้องติดตามต่อว่ามาตรการนี้จะส่งผลต่อหุ้นบริษัทเกมในประเทศจีน หรือตลาดเกมในประเทศจีนอย่างไรบ้าง
ภาพจาก The Noun Project
Comments
ฝั่งคนทำเกมเดือนร้อนไหมเนี่ย ทำมาแต่ user เล่นได้น้อยลงต้องแย่งตลาดดุเดือดขึ้นอีก
แต่สงสัยที่รัฐบาลจีนสั่งห้ามๆ นี่ทำเพื่อให้คนไปทำไรให้ด็กพัฒนาชาติหรือเตรียมกองกำลังสู้รบในอนาคตเปล่าเนี่ย
รัฐบาลประเทศเขาแค่กลัวทุกอย่างที่มีอิทธิพลเหนือประชากรมากๆ กลัวว่ามันจะท้าทายพรรคคอมมิวนิสต์นั่นแหละในการชี้นำประชาชน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม ตั้งแต่วัฒนธรรมต่างประเทศ ดารา นักธุรกิจ ไอดอล แฟชั่น รสนิยม เทรนด์ทุกๆ อย่างที่จะจินตนาการออก ถ้าตราบใดที่มันเริ่มมีอิทธิพลก็จะโดน neutralize ทันที
ผมว่าดีนะ แต่เกณฑ์อายุสูงไป น่าจะสัก 12 - 15 และควรจะจำกัดวันละ 1 ชม. วันธรรมดา และ 2 - 3 ชม.ในวันหยุด
Much WoW เลยทีเดียว
เห็นด้วย....เผื่อสุขภาพและอนาคตของตัวเด็กๆเอง
กฏนี้อาจส่งผลดีต่อผู้ที่ชื่นชอบเล่นเกมในเวลากลางคืน ไม่ต้องรอหลังเที่ยงคืนเพื่อไม่เจอหน้าพวกเขามากมายอีกต่อไป
พี่แจ๊ก หม่า เผลอด่าประธานสี ทีเดียวยล้มทั้งทั้งกระดานเลย นะครับ สงสัยลืมไปว่ายังเป็นคอมมิวนิตอยู่ น่าสงสารแกจริงๆ
ผมว่าสามชั่วโมงมันน้อยไปนะ
ถ้ามีวันหยุดนักขัตฤกษ์ก็ได้ 4 ครับ 55
วงการ e-sports จะเป็นไงนะแบบนี้ นักกีฬาหลายๆ คนนี่น่าจะซ้อมหนักตั้งแต่ยังไม่เกิน 18
นั้นซิครับ วงการนี้จีนก็เป็นตัวเป้งหลายเกมอยู่ แบบนี้จะได้จังหวะฉายแสงกันอย่างไงละเนี้ย
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
เอาเวลาไปห่วงตัวเองก่อนดีกว่าไหม เรายังสู้จีนไม่ได้เลย ไม่ต้องมาเป็นห่วงเป็นใยแทนจีนว่า ว๊ายตายแล้ว เด็กมันจะฝึกยังไง แค่ 3 ชม.
ห่วงตัวเองก็เรื่องหนึ่ง ไม่ได้ห่วงจีนแต่แสดงความเห็นต่อเรื่องประเด็นเรื่องที่เกิดก็เรื่องหนึ่ง
อย่าคิดเอาเองว่าผมไม่ได้ห่วงคนไทย ตัวแทนไทยซิครับ ผมก็แค่แสดงความเห็นตามประเด็นหัวข้อเท่านั้น ถ้าคุณอยากแตกประเด็นอื่น ก็ควรแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นธรรมไม่คิดแทนคนอื่นว่า เขาห่วง หรือไม่ห่วงคนไทย
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
e-sports จีน ส่วนใหญ่คือเด็กโต ไม่ใช่บัก..น้อย ที่เป็นนักแข่ง e-sports ฉะนั้น การจำกัดเวลาให้พวก บัก..น้อย ไม่กระทบต่อ e-sports และเมืออายุถึง อยากจะเป็นนักแข่ง e-sports ที่โน่นเขามีโรงเรียนฝึก ฝึกอย่างจริงจังอีกที
แล้วถ้าไม่ฝึกแต่เด็กจะเก่งหรอครับ ทักษะเหมือนพวกฟุตบอลอะ ตอนเด็กไม่ฝึกจะมาเก่งตอนโตได้หรอ อันนี้สงสัย
นึกถึง Rekkles ของฝั่ง League of Legend ที่ผลงานดีตั้งแต่อายุ 16-17 จนได้เซ็นสัญญา
ผมว่าถ้าถึง 18 คือเริ่มช้าไปแล้วล่ะ ทั้งๆที่วงการ esport จีนก็ใหญ่และผลงานดี
ไม่จำเป็นต้องฝึกแต่เล็ก เด็กควรใช้เวลาให้มันสมควรแก่วัย การเป็นนักแข่ง e-sports คุณต้องอยู่ในระเบียบวินัยสูง และต้อง วิเคาะห์เกมการเล่นออกมาให้ได้ ชนะด้วยสาเหตุอะไร แพ้ด้วยสาเหตุอะไร ถ้าคุณไม่เข้าใจ รร e-sports คุณก็จะเถียง แต่ถ้าคุณเห็น รร e-sports ในจีน คุณก็จะเข้าใจว่า มันไม่เหมาะกับเด็ก
ปัญหาคือเริ่มตอน 18 มันจะหาคนเก่งได้ยากขึ้นมากๆครับ เหมือนกันทุกวงการแหละ ถ้าเขามองว่ามันคุ้มที่จะแลกกันระหว่างอุตสาหกรรมเกม กับสิ่งที่เขาคิดว่าดีกับเยาวชน ผมก็เคารพในการตัดสินใจนะ แค่มองว่ามันจะเหมือนโดนบอนไซเฉยๆ
เอ่อ จำเป็นสิครับ
ก่อนคุณจะเข้าไปอยู่ในทีมที่เข้มข้นขนาดนั้นได้ คุณต้องเริ่มพัฒนาฝีมือจนถึงระดับนึงก่อนไง ไม่ใช่ทุกคนเริ่มจาก 0 แล้วเข้าทีมไปฝึกเลยสักหน่อย
สมมติทีมบอกต้องอายุเกิน 18 ปี ถึงจะสมัครเข้าทีมได้ เด็กอายุ 19 มาสมัคร 2 คน คนนึงมาจากจีน เล่นเกมสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เรียกได้ว่าต้องมาเริ่มฝึกใหม่ อีกคนนึงมาจากไทย เล่นเกมทุกวันมาตั้งแต่อายุ 15 คิดว่าเค้าจะรับคนไหนเข้าทีมอ่ะครับ
ประเทศจีนมีประชากรเยอะมากนะครับ มันต้องเจอพวกที่เล่นในเวลาน้อยแต่ก็เก่งเทพมากๆ (วัดกันที่ระดับเดียวกัน) แล้วพออายุถึงก็คัดตัวเข้าทีมอีกที
เกมมิ่งคือยาฝิ่น /shfh
โอ้โห โหดโฮกเลย อันเก่าที่ว่าวันละ ชม. วันหยุด 2-3 ชม. น่าจะกำลังดีละนะ อันใหม่นี่จบเลย วงการเกมคงสะเทือนหนักเลย
เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!
จริงครับ อันเก่าผมว่าก็ moderate ดีอยู่แล้ว เป็นชั่วโมงสำหรับพักผ่อนต่อวัน เสาร์อาทิตย์ก็ได้เยอะหน่อย
เล่นวันละชั่วโมงครึ่งนี่ยังไม่เรียกว่าติดเกมด้วยซ้ำ
กลายเป็นว่าคนที่ได้อานิสงฆ์คือคนเล่นเกมนอกจีนที่ไม่ต้องมาเจอคนเล่นจากจีน
แต่ถ้ามองอีกแบบ นี้คือการออกกฎตามใจรัฐบาลและคิดแทนประชาชนมากเกินไปนะผมว่า
ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว
เศรษฐกิจจีนตอนนี้มาจากการบริโภคในประเทศ เห็นหลายๆ นโยบายมันจะลดการบริโภคลงจนไปกระทบเศรษฐกิจหรือเปล่า คือพรรคคิดว่าดีแล้วเพราะจริงๆ มีรัฐวิสาหกิจมากินรวบแบบสังคมนิยม?
I need healing.
เหมือนตัดตลาดที่บูมในประเทศไปหมดเลยล่ะ
- กวดวิชาจากที่บูมในจีนปรับให้ไม่แสวงผลกำไร
- เริ่มออกมาปกป้องไม่ให้มี 996 จากเดิมที่เงียบ ๆ
- มาต่อที่ธุรกิจเกมที่เพิ่มข้อบังคับให้มากขึ้นไปอีก
แง่หนึ่งมันก็ดีต่อประชาชนแต่ในอีกด้านนี่ธุรกิจอื่นที่กำลังบูมในจีนคงเริ่มหนาว ๆ ร้อน ๆ กันเพราะไม่รู้ว่าตัวเองจะเป็นรายต่อไปหรือปล่าว
ห้ามเกม พร้อมกับ ห้ามสถาบันติว
แล้วจะให้เด็กทำอะไรหว่า?
ทบทวนบทเรียนเองที่บ้าน??
เด็กจะหันไปบริโภคซีรี่ส์ละคร จนโดนแบนไปอีกวงการ??? ?
ออกมาเตะบอลกันครับ ฮ่าๆ
ก่อนหน้านี้แบนละครแนวพีเรียดน้ำเน่าวังหลังตบตี ไปแล้วรอบหนึ่งครับ
คงอยากให้เด็กย้อนอดีตไปเป็นเด็กวัดฝึกกำลังภายใน ไม่ก็อยากให้เด็กสนใจกีฬาแบบโหดๆของจีนที่ฝึกกันโหดมากเพราะเด็กรุ่นใหม่คงไม่ค่อยสนใจเพราะมีตัวเลือกมากขึ้น
ภาพชูสามนิ้วนี่เกี่ยวข้องกับเนื้อข่าวตรงไหนมั้ยครับ
เกมแบบ Hunger Games ก็ได้แค่สามชั่วโมงต่อสัปดาห์ เหมือนกันครับ .... เดี๋ยวนะ
น่าจะแค่ล้อ 3ช.ม.นะครับ
นี่มัน role model ชัดๆ
น้อยจัง น่าจะกำหนดเป็นขั้นบันได
ต่ำกว่า 15 ตามกฎที่ว่า
15-18 วันศุกร์ 2 ชม ส-อา วันละ 2-3 ชั่วโมง ไรงี้
ถึงนโยบายช่วงนี้จะดู....ใช้คำว่าอะไรถึงจะดีเนี่ย งี่เง่าจะโดนเป็นคำหยาบมั้ยนะ ล้าสมัยละกัน
แต่ผมก็อยากเห็นนะว่านโยบายล้าสมัยแบบนี้จะแก้ปัญหาโลกเสรีได้จริงมั้ย หรือจะเป็นการเร่งระเบิดเวลาให้กับคนรุ่นใหม่กันแน่
ถ้าจะมีประเทศไหนในสมัยนี้ที่จะพิสูจน์เรื่องนี้ได้ ก็คงเป็นจีนนี่แหละ
กลับกัน ผมกลับสงสัยว่าโลกเสรีเขาแก้ไขปัญหานี้อย่างไรมากกว่า?
เด็กต่ำกว่า18 เล่นเกมออนไลน์ไม่น่ามีเล่นแค่ประเทศจีนประเทศเดียว
ผมหาเรื่องจำกัดเวลาในการเล่นเกมออนไลน์ไม่เจอ แต่เรื่องเรทติ้งตามอายุ นี่เหมือนก็ค่อนข้างได้ผลดี? เทียบเคียงจากเรื่องข้อกำหนดอายุในการเล่น SNS นะ เหมือนจะบังคับได้ค่อนข้างดี?
โลกเสรีเค้าให้ผู้ปกครองเป็นคนคุมครับ
แล้วผู้ปกครองคุมอยุ่ไหมครับ เด็กรุ้จักแบ่งเวลาไหม หรือผู้ปกครองก็ปล่อยเสรีอยากเล่นก็เล่นไป
ก็คือโลกเสรีไงครับ ดูแลกันเอง บ้านไหนดูแลได้ก็ดีไป บ้านไหนไม่ได้ก็เละๆหน่อย ไม่มีการบังคับจาก รบ.
ประเด็นน่าจะอยู่ที่ว่า โลกเสรี มีปัญหาเด็กติดเกมมากน้อยแค่ไหน ในเมื่อให้ผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลเอง โดยไม่มีกฎหมายเข้าห้ามโดยตรงแบบจีน?
เท่าที่ค้นๆ ไม่มีกฎหมายห้ามโดยตรง แต่มีทางอ้อม พวกระบบเรทติ้งจำกัดอายุในการเล่นเกมแบบเข้มงวด(เข้มงวดในแง่ของการซื้อขาย แต่ไม่ได้ทำระบบสแกนหน้าขนาดจีน) หรือกฎหมายคุ้มครองเด็ก ที่จะจำกัดอายุเด็กต่ำกว่า13ในการใช้ SNS และมีข้อจำกัดต่างๆมากมาย แบบที่เคยมีดราม่าดาราไทย โวยเพราะโดนปิดIGลูกเล็กตัวเอง แต่โดยรวมกฎหมายที่มีมันก็อ้อมมากๆ
ถ้าทุกบ้านหรือส่วนใหญ่ดูแลเด็กดี จนเกิดปัญหาน้อยได้จริง เราก็ต้องหาจุดร่วมว่าทำไมเขาถึงทำได้ เพื่อเป็นตัวอย่างในด้านดีหรือเปล่า?
ถ้าเทียบกับฝั่งยุโรป ก็คิดว่าอยู่ครับ คนโซนนั้นเน้นสอนเรื่องความรับผิดชอบให้เด็กตั้งแต่เล็กๆ ทั้งต่อตัวเองและต่อผู้อื่น ไม่ได้หมายความว่าเด็กไม่ติดเกม 100% แต่จากที่สัมผัสกับคนโซนนั้น เค้าไม่ได้มีปัญหานี้เป็นปัญหาระดับชาติแบบโซนบ้านเราน่ะครับ เด็กจะเล่นก็เล่นไป แต่งานการต้องเรียบร้อย หรือไม่พ่อก็พาทำกิจกรรมเจ๋งๆสนุกๆกว่าเล่นเกมซึ่งมีอยู่เยอะแยะเลย
มันไม่ใช่แค่ให้ใครคุม คุมโดยอะไร มันต้องรากมาตั้งแต่พื้นฐานทางสังคม การศึกษา ตั้งแต่รุ่นพ่อรุ่นแม่ว่าโตมายังไง มีแนวความคิดยังไง แนะนำสั่งสอนลูกแล้วออกมาเป็นแบบไหน
เปลี่ยนจากเกมเป็นอย่างอื่นแทนสิครับ แล้วดูว่าการออกกฎบังคับแบบนี้มัน make sense มั้ย
เปลี่ยนเป็นเด็กเอาแต่ดูทีวี, เล่นกีฬา, อ่านหนังสือการ์ตูน, หมกตัวอยู่แต่ในห้อง
ไม่มีเกมก็ใช่ว่าปัญหาจะหายไปถูกมั้ยครับ
ยังนึกไม่ออกครับว่ามีนโยบายไหนที่ได้ผลจริงๆ (โดยไม่พึ่งผู้ปกครอง) นะ เพราะว่าปัญหาหลักๆที่เจอกันมากน่าจะเป็นเด็กเล่นเกินเวลา หรือแบ่งเวลาไม่ถูก ซึ่งต้นเหตุเลยก็คือผู้ปกครองไม่ว่างหรือไม่สนใจดูแลนี่แหละ
เรื่องเรตติ้ง/ข้อกำหนดอายุนี่ผมคิดว่าไม่ค่อยได้ผลเท่าไหร่ จากประสบการณ์ตรงของหลานที่หาวิธีเลี่ยงกันง่ายๆ แต่เจอแม่จับได้ง่ายๆเหมือนกัน 5555
ดูแล้วประเทศที่ผู้ปกครองว่างหรือสนใจจะดูแล ก็น่าจะเป็นประเทศที่ค่าครองชีพสูง การศึกษาสูง Work Life Balance ดีแบบยุโรปเหนือ หรือประเทศที่มี Social Sanction กลายๆจากสังคมที่เข้มงวดแบบเกาหลีรึญี่ปุ่น (ซึ่งสองประเทศนี้ก็ยังมีปัญหาเด็กติดเกมอยู่ดีจากการหนีสังคมที่เข้มงวดแทน แต่มากขนาดไหนไม่แน่ใจ)
การจะทำให้ประเทศไปถึงจุดนั้นได้ก็จำเป็นต้องมีรากฐานทางสังคมที่ดีซึ่งเกิดจากการส่งต่อหลายรุ่น ถ้าเด็กรุ่นใหม่เกิดภาวะสะดุดขึ้นมาก็อาจต้องใช้เวลานานขึ้นกว่าเดิม
ประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาที่ผู้ปกครองจำเป็นต้องทำงานหนัก หรือค่าเฉลี่ยการศึกษายังไม่สูงมากพอ ตอนนี้ก็คงมีทางเลือกเดียวคือพัฒนาประเทศไปให้ถึงระดับนั้นเพราะมีแค่ตัวอย่างเดียวที่ทำสำเร็จ
แต่ถ้าจีนทำโมเดลนี้แล้วดันสำเร็จ ก็แปลว่าวิธีล้าสมัยแบบนี้อาจเป็นตัวเลือกที่มีประสิทธิภาพในบางเงื่อนไขก็ได้
ให้พูดตรงๆ ผมไม่ได้ชอบโมเดลที่จีนทำนัก(คือให้ไปอยู่ก็คงไม่ไป) แต่ก็อยากเห็นจีนทำเพื่อพิสูจน์ว่ามันเป็นไปได้รึเปล่านั่นแหละครับ
......พูดแบบนี้ไม่ดีกับประชากรจีนเลยวุ้ย
เรื่องเรทติ้ง น่าจะเป็นเรื่องการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดมากกว่า เพราะเด็กเมกา ถ้าจะหลบเลี่ยงมันก็เลี่ยงได้เช่นกัน แต่เท่าที่เห็นปัญหาค่อนข้างน้อย
จริงๆผู้ปกครองสำคัญสุดอย่างที่ว่า แต่มันก็ต้องหลายๆอย่าง นอกจากเรื่องค่าครองชีพ ก็ต้องมีกฎหมายช่วยกำกับดูแล แต่เป็นในแง่กฎหมายคุ้มครองเด็ก เช่นของเมกา ห้ามปล่อยเด็กเล็กโดยไม่มีผู้ดูแล ที่คนไทยที่ไปที่นั่นดราม่ากันบ่อยๆว่าปล่อยเด็กรอในรถตอนลงไปซื้อของแป๊บเดียว โดนจับโดนปรับได้ไง หรือดราม่าล่าสุดเรื่อง SNS ที่กำหนดการใช้ของเยาวชน(ที่เกิน13แล้วแต่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)แต่เป็นในแง่ห้ามคนนอกเข้ามาดูหรือส่งข้อความหาโดยตรง จำกัดเฉพาะครอบครัว เพื่อลดการหลอกลวงเยาวชนทางอ้อม
จริงๆแนวทางแบบจีน โซเวียตเคยทำมาหมดแล้ว แต่ไม่ได้ผล จนต้องแตกประเทศ แต่ว่ายุคนี้อาจจะไม่เหมือนกับยุคนั้น แม้การสื่อสารจะไวขึ้นจนรับข่าวสารได้มากขึ้น แต่กลับกันการควบคุมดูแลอย่างเข้มงวดก็ทำได้ง่ายขึ้น เช่นระบบsocial credit ที่ทำให้พลเมืองจีนกลัวที่จะทำอะไรนอกลู่นอกทางเพราะโดนจับตาตลอดเวลา?
ส่วนนึงที่คิดว่าจีนต่างกับโซเวียตมากๆ คือการปรับใช้ทุนนิยมมาสร้างคุณภาพชีวิตให้คนในประเทศได้ดีกว่ามากครับ
ไม่รู้จะจำได้มั้ย แต่เราเคยคุยกันประเด็นนึงว่าถ้าประชาชนอยู่ดีกินดีแต่ไร้เสรีภาพ กับประชาชนไม่มีจะกินแต่เสรีภาพเต็ม คนจะเลือกอยู่แบบไหน(ถ้าไม่มีทางเลือกให้หนีไปประเทศที่มีทั้งสองอย่าง) ซึ่งตอนนั้นก็ไม่ได้สรุปกัน เพราะไม่มีตัวอย่างที่เป็นจริงเลย
ตอนนี้ผมลุ้นให้จีนไม่สะดุดขาตัวเองล้มไปก่อน เพื่อพิสูจน์ว่าถ้าคุณภาพชีวิตดีมากๆโดยไร้เสรีภาพ คนจะเลือกปลดแอกตัวเองกันมากขนาดไหน รัฐจะคุมประชาชนได้นานขนาดไหน หรือสังคมจะวิวัฒน์ไปในรูปแบบที่เรานึกไม่ออก
เห็นด้วยเรื่องเลี้ยงคนในชาติดีกว่าครับ ถ้าท้องอิ่มก็จะไม่เรียกร้องอะไรมาก แต่ผมก็มองว่าด้วยตัวระบบแบบศูนย์รวมเองมันไม่พร้อมจะปรับเปลี่ยนตามกระแสโลกที่เปลี่ยนไปอย่างทันท่วงที
เอาแค่ตอนนี้พอเจอtrade war อันนี้ก็อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนเหมือนกัน จากโรงงานของโลกผลิตของมาแข่งเจ้าเดิมได้ แต่ไม่มีIP เป็นของตัวเอง พอทะเลาะกัน จะผลิตเองแยกเด็ดขาดก็ติดเรื่องสิทธิบัตรยุบยับหมด ต่อให้ทำขายแต่ในประเทศได้มันก็ไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงคนในชาติ รวมไปถึงจีนเองแทบไม่มีทรัพยากรในประเทศ ต้องส่งไปยึดอาณานิคมทางการค้าผ่านทางเงื่อนไขเงินกู้กับแถวแอฟริกา และน่าจะรวมถึงอัฟกานิสถานด้วย ที่ว่ามีแร่หายาก แต่จริงๆสัดส่วนก็ไม่ใช่สัดส่วนการผลิตใหญ่ของโลก ตอนนี้ product champion ตัวใหม่ของจีนคือรถไฟฟ้า ก็ต้องรอดูว่าจะขายตปท.ได้มากแค่ไหน
รวมไปถึงการกระชับอำนาจ ในยุคที่ข้อมูลข่าวสารแพร่ได้ง่าย จากฝันของคนจีนรุ่นใหม่ที่สร้างตัวจากstartup ในธุรกิจต่างๆ(เคยเห็นคำประมาณนี้ในเพจซิงหัวที่เนื้อหาคล้ายๆคำขวัญ American dream)ถ้าทำลายลงไป มันก็เหมือนโยนความฝันของคนจีนรุ่นใหม่ออกไปหมด แม้จะปิดแค่ไหนมันก็ไม่มิด ถ้าถึงจุดที่คล้ายๆตอนปฎิวัติวัฒนธรรมแล้วจบด้วยความล้มเหลว ก็อาจจะเจอจุดแตกหักอีกจุดของประวัติศาสตร์จีนเอง
ยังไม่นับปัจจัยภายนอกแบบโควิท ซึ่งผมคิดว่ามันสะสมความไม่พอใจจนอาจก่อสงครามกับนานาชาติได้ ถ้าจัดการกับการเมืองระหว่างประเทศไม่ดีพอ โดยเฉพาะที่เพจสถานทูตชอบลงข่าวไปโบ้ยว่าเกิดจากชาติอื่นลอยๆ
นโยบายออกมาแล้ว รอดูผลงานละกัน 10-20ปี ว่าประเทศเค้าจะเป็นยังไง
ควรห้ามไปเลยดีกว่าจะงดเหลือ 1 ชม.ทำไม
การเล่นเกมทั่วไปตามบ้าน กับการเข้าค่ายอบรม esport มีความแตกต่างกันหรือไม่ เพราะยัไง esport ค่ายใหญ่ก็จะมีระบบอบรมแบบเดียวกับกีฬาทั่วไปที่รับเด็กเข้าสังกัดตั้งแต่ยังอายุน้อยแล้วค่อยคัดเลือกลงแข่งเมื่ออายุครบกำหนด ซึ่งการเล่นเกมทั่วไปกับการเล่นเกมในค่ายอบรมฯมันต่างกันอยู่นะ
The Dream hacker..
แล้วเกมออฟไลน์ไม่ควบคุมใช่มั้ยครับ
เรื่องนี้ตัวเด็กอาจจะไม่แฮปปี้ ..แต่ใครที่เป็นพ่อ-แม่คน จะแฮปปี้มากๆ
นั่นเท่ากับว่า เด็กจะอยู่กับครอบครัวมากขึ้น ทำกิจกกรรมในครอบครัว และบุคคลอื่นมากขึ้น ไม่เป็นเด็กเก็บตัว รวมถึง สายตาก็จะพังน้อยลงด้วย เพราะไม่ต้องมานั่งจ้องนั่งเพ่งจอเล็กๆ จนทำให้สายตามีปัญหาตั้งแต่อายุยังน้อย
ปกติเด็กก็ควรจะมีพัฒนาการด้านร่างกายมากกว่าการที่จะต้องมานั่งจ้องจออยู่แล้วนะครับ เป็นผลดีที่ผู้ปกครองชอบมากว่านะ
แต่นั่นเป็นการคุมเฉพาะเกมออนไลน์ แต่เกมออฟไลน์ก็คงต้องเป็นที่บ้านคอยคุมกันเองแล้วล่ะครับ
จริงๆ ถ้าพ่อแม่มีเวลาดูแลลูก ก็น่าจะจัดการบริหารการเล่นเกมของลูกได้อยู่แล้วนะครับ หลานผมพ่อแม่เขาให้เล่นเกมหรือเล่นมือถือ/tabletได้ หลังทำการบ้าน ทำงานบ้านเสร็จแล้ว วันละแค่ 1ชั่วโมงเท่านั้น(ตอนเล็กๆนี่ได้แค่ครึ่งชั่วโมง)วันหยุดเพิ่มให้เป็นสอง แต่มาเจอเรียนออนไลน์นี่แหละ จำต้องให้ใช้มากขึ้น เพราะสภาพบังคับ
แต่ถ้าไม่มีเวลาดูแล อันนี้แหละอาจจะชอบ เพราะเด็กแอบเล่นเองไม่ได้ โดนรบ.ห้ามเล่น แต่ก็ใช่ว่าผู้ปกครองจะมีเวลาให้กับลูกอยู่ดี เพราะมันย้อนไปแต่แรกว่า พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลลูก เลยปล่อยให้เล่นเกมเองตามลำพังหรือเปล่า?
แถมส่วนใหญ่ที่เด็กเล่นเองได้ ก็เพราะผู้ปกครองหลายๆคน โยนมือถือ/tablet ให้เด็กหาไรทำเองเงียบๆ ไม่ให้กวนเวลาทำงาน หรืออยู่คนเดียวได้โดยไม่งอแง?
กลับกัน พอเด็กเล่นเกมไม่ได้ จะกลายเป็นกลับมากวนผู้ปกครอง แล้วผู้ปกครองก็หาวิธีแก้ไขเช่นสมัครaccountแทนหรือเปล่า?
และจริงๆสมัยนี้ต่อให้เล่นเกมออนไลน์ไม่ได้ ถ้าผู้ปกครองไม่ดูแล เด็กก็นั่งดูyoutube caster เกมอะไรไปเรื่อยแทนอยู่ดี ซึ่งจริงๆน่าหวาดเสียวตรงที่ไม่ล็อคเรทติ้งอายุของเครื่องด้วยซ้ำ อาจจะไปเจอสื่ออะไรที่เกินวัยง่ายกว่า(หลายคนไม่ทราบว่า youtube app/playstore ล็อคอายุแบบparental controlได้)
บ้านที่พ่อแม่มีเวลาทำกิจกรรมกับครอบครัว น่าจะดูแลเรื่องนี้ได้เองอยู่แล้ว ส่วนบ้านที่พ่อแม่ไม่มีเวลาหรือไม่มีคุณภาพ ตอนนี้เด็กเล่นเกมไม่ได้ ทำกิจกรรมกับครอบครัวก็ไม่ได้ คิดว่าจะไปทำอะไรครับ 555
ปัญหานึงที่ผมเห็นว่า เกมออนไลน์มี แต่ออฟไลน์ไม่มีคือ
"หยุดเล่นกลางครันไม่ได้"
ซึ่งมีผลทำให้จะเรียกให้เด็กทำอะไรซักอย่าง
หรือ ถึงเวลาเข้าเรียนออนไลน์แล้ว
เด็กจะเล่นต่อให้จบตาก่อน
ซึ่ง ออฟไลน์จะไม่ค่อยมีปัญหานี้
เพราะจะหยุดเพื่อมาเล่นต่อเมื่อไหร่ก็ได้