นาวาอากาศเอก อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ในรายการ เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand ประจำวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2564 ประเด็นข้อมูลผู้ป่วยหลุด
น.อ. อมร ระบุว่าข้อมูลมาจากโรงพยาบาลของรัฐแห่งเดียว และขอยังไม่เปิดเผยชื่อโรงพยาบาล โดยเป็นระบบบริหารจัดการข้อมูลภายใน โรงพยาบาลยืนยันว่าฐานข้อมูลมีขนาด 3.7GB จริง เป็นข้อมูลที่ใช้เพื่อป้องกันการสับสนในการจัดการแพทย์และการรักษา
ภาพจาก pexels
น.อ. อมร ขยายความต่อว่าตัวเลข 16 ล้าน เป็นตัวเลขของตารางข้อมูล 16 ล้านเรคคอร์ด (16 ล้านช่อง) ไม่ใช่ 16 ล้านคน ส่วนข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคนไข้ มีจริง “ประมาณ 10,000 เรคคอร์ด” หรือ “เบื้องต้นน่าจะไม่เกิน 10,000 คน” มีข้อมูลชื่อคนไข้ หมายเลขคนไข้ แพทย์ประจำตัว ไม่มีหมายเลขบัตรประชาชน และระบุแค่ว่าอยู่ในวอร์ดไหน
สำหรับสถานการณ์ข้อมูลปัจจุบัน น.อ. อมร ระบุว่าเบื้องต้นโรงพยาบาลได้เอาระบบที่เป็นปัญหาออกจากการใช้งานแล้ว หน่วยงานมีการตรวจสอบและพูดคุยกับทางทีมไอทีของโรงพยาบาลแล้ว และไม่มีการเรียกค่าไถ่กับโรงพยาบาล
ที่มา - LIVE เจาะลึกทั่วไทย Inside Thailand 07 ก.ย. 64 (เริ่มนาทีที่ 39:00)
Comments
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ตัวเลข ปัญหาคือมันไม่ควรหลุดไหม?
มี Backup หรือยัง
ต้องถามว่า มีไฟล์วอลไหม และถามอีกว่า hardening เป็นหรือเปล่า
ต้องถามว่าเปิด port 3306 ออก internet ป่าวเหอะ
คือแล้วเขาจะตามคนร้ายมั้ยฮะ หรือว่าเห็นว่ามันยากกว่าแบนเวบเลยปล่อยเลยตามเลย
ระบุว่าเบื้องต้นโรงพยาบล >> ระบุว่าเบื้องต้นโรงพยาบาล
uhh
“ไม่เป็นไร เรามี Backup ข้อมูลไว้แล้ว”
ไม่เป็นไรครับ เราซื้อข้อมูลคืนมาแล้ว
หลุดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ 1 คนก็เรื่องใหญ่แล้วเฮ้ย
เดียวนี้ โรงพยาลชอบโดนกันนะ หลายๆ ที่ก็เห็นโดนกัน
เอกชนก็ทำ pdpa กันแทบตายมาเป็นปีๆ ....
The Dream hacker..
นาวาเอก --> นาวาอากาศเอก
เป็นทหารอากาศครับ
เดี๋ยวนะ ต่อให้ไม่มีเลขประชาชน แต่มีชื่อ HN AN วดปเกิด เนี่ยก็ระบุตัวตนได้แล้วนะ แต่คนแก่ พูดตรง ๆ คือรหัสปลดล็อกอย่างหน้าจอโทรศัพท์ หรือแอปธนาคาร ก็ใช้ วดปเกิด กันทั้งนั้น มันจำง่าย
Cyber security นี่ต้องเป็นทหารเหรอครับถึงจะเก่ง
รบออนไลน์ยังขนาดนี้ รบจริงคงไม่ต้องพูด ศัตรูรู้การเคลื่อนไหวหมด