IBM เปิดตัวชิปประมวลผลควอนตัม (Quantum Processor) ตัวใหม่โค้ดเนม Eagle สามารถประมวลผลได้ 127 คิวบิต (qubit) ถือเป็นสถิติใหม่ของวงการควอนตัมที่ทำได้เกิน 100 คิวบิต และเอาชนะชิปรุ่นเดิมโค้ดเนม Hummingbird ที่ทำได้ 65 คิวบิต
IBM ระบุว่า Eagle ถือเป็นก้าวสำคัญที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมจะแซงหน้าคอมพิวเตอร์แบบคลาสสิคอย่างเห็นได้ชัดเจน สิ่งที่ Eagle พัฒนาขึ้นคือวิธีการวางเรียงคิวบิตแบบ 6 เหลี่ยม (hexagon) ที่ต่อยอดมาจากชิป Falcon รวมถึงการวางแพ็กเกจของชิปแบบ 3D ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ด้วย (ตามภาพ)
แผนการของ IBM คือจะออกชิปควอนตัมรุ่นหน้าโค้ดเนม Osprey ในปี 2022 (433 คิวบิต) และ Condor ในปี 2023 (1,121 คิวบิต)
IBM มีคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่เรียกว่า Quantum System One เปิดใช้งานมาสักระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดบริษัทยังโชว์ Quantum System Two รุ่นใหม่ที่จะออกมาในปี 2023 พร้อมชิป Condor ด้วย
ที่มา - ZDNet, Tom's Hardware
Comments
อยากใช้
ขอให้โชคดี
อยากได้สักเครื่อง แล้ว os พวกนี้มันเป็นไงนะ
ข้างในเป็นเพียงแผงควอนตัมในยูนิตอุณหภูมิศูนย์องศาสมบูรณ์ ส่วนสื่อสาร และคอมพิวเตอร์ธรรมดา
และมันใช้งานเหมือนคอมพิวเตอร์ทั่วไปไม่ได้
ทุกวันนี้ CPU ควันตัมสามารถใช้งานทั่วไปได้แค่ไหนแล้วครับ
I need healing.
ไม่มี เพราะขาดคุณสมบัติความเป็นเครื่องจักรทัวริง สำหรับตอนนี้แล้วเอาไว้เป็นหน่วยประมวลผลช่วย (co-processor) สำหรับงานเฉพาะทาง (อย่างมาก)
จีนกำลังพยายามทำให้ใช้งานทั่วไปได้
"เราออกแบบชิปตัวนี้ด้วย Autodesk Eagle" -- IBM ไม่ได้กล่าวไว้