ช่วงหัวค่ำวันนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope ถูกยิงขึ้นสู่อวกาศเรียบร้อย โดยจรวด Ariane 5 ของหน่วยงานอวกาศยุโรป (ESA) จากประเทศเฟรนช์เกียนา หลังจากตัวกล้องแยกตัวจากจรวด Ariane 5 ก็กางแผงโซลาร์ เพื่อรับพลังงานจากแสงอาทิตย์แล้ว
โครงการ James Webb Space Telescope (JWST) ถูกเริ่มคิดมาตั้งแต่ปี 1996 โดยตอนนั้นใช้ชื่อว่า Next Generation Space Telescope หรือ NGST (ได้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า James Webb ในปี 2002) เท่ากับว่าใช้เวลาถึง 25 ปี กว่าจะได้ยิงขึ้นสู่วงโคจรจริงๆ
Here is that moment, preserved for posterity! #UnfoldTheUniverse #NASAWebb pic.twitter.com/p5KpZGVB1C
— NASA Webb Telescope (@NASAWebb) December 25, 2021
Here it is: humanity’s final look at @NASAWebb as it heads into deep space to answer our biggest questions. Alone in the vastness of space, Webb will soon begin an approximately two-week process to deploy its antennas, mirrors, and sunshield. #UnfoldTheUniverse pic.twitter.com/DErMXJhNQd
— NASA (@NASA) December 25, 2021
#NASAWebb is safely in space with its solar array drawing power from the Sun! Its reaction wheels will keep the spacecraft pointed in the right direction so that its sunshield can protect the telescope from radiation and heat: https://t.co/NZJ7sSJ8fX#UnfoldTheUniverse pic.twitter.com/s4nfqvKJZD
— NASA Webb Telescope (@NASAWebb) December 25, 2021
หลังจากกล้อง James Webb ถูกยิงขึ้นอวกาศเรียบร้อยแล้ว ในระยะถัดไปกล้องจะค่อยๆ กางแผ่นบังรังสีจากดวงอาทิตย์ (sunshield) ซึ่งใช้เวลาประมาณ 5.5 วัน และหลังจากนั้นจะกางกระจก ซึ่งใช้เวลาประมาณ 14 วันนับจากขึ้นสู่อวกาศ (ดูสถานะการกางแผงโซลาร์ แผ่นบังรังสี และกระจกได้จาก เว็บไซต์ของ NASA)
กล้องจะใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 วัน เป็นระยะทาง 1.5 ล้านกิโลเมตร ไปยังจุด Lagrange Point 2 (L2) ที่อยู่ด้านหลังของดวงจันทร์ ซึ่งเป็นจุดที่แรงโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ สมดุลกับแรงหนีศูนย์กลางพอดี เป็นจุดที่วงโคจรค่อนข้างมีเสถียรภาพ เหมาะกับการวางดาวเทียม สถานีอวกาศ หรือกล้องโทรทรรศน์อวกาศ (ดูตำแหน่งปัจจุบันของ JWST แบบเรียลไทม์ได้จาก เว็บไซต์ของ NASA, รายละเอียดเรื่องกำหนดการของ JWST)
หมายเหตุ: กล้อง Hubble ในปัจจุบันอยู่ในระดับวงโคจรต่ำ (low earth orbit) ประมาณ 600 กม. จากโลก มีข้อเสียคือถูกโลกบังได้ง่ายกว่า แต่มีข้อดีคือขึ้นไปซ่อมได้ง่ายกว่า
กรณีของกล้อง JWST เป็นกล้องที่มีภารกิจจับรังสีอินฟราเรดจากอวกาศภายนอก จึงเหมาะกับจุด L2 ที่โดนดวงจันทร์และโลกบังแสงจากดวงอาทิตย์ให้พอดี ช่วยให้กล้องไม่ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ และจับรังสีอินฟราเรดได้ดีขึ้น (กล้อง JWST ยังมีแผ่นบังรังสีของตัวเองด้วยอีกชั้น ตัวกล้องฝั่งที่อยู่หลังแผ่นบังรังสีจะมีอุณหภูมิ -233 องศาเซลเซียส)
เมื่อกล้องไปถึงจุด L2 เรียบร้อย จะใช้เวลาทดสอบและปรับแต่งอุปกรณ์ต่างๆ ให้เข้าที่ เป็นเวลาทั้งหมด 6 เดือน และเริ่มปฏิบัติการถ่ายภาพอวกาศมาให้เราดูกัน ช่วงอายุการใช้งานของ JWST ตั้งเป้าให้อยู่ได้นานอย่างน้อย 10 ปี
ที่มา - NASA
Comments
นั่งดูอยู่เหมือนกันครับ
เรื่องอายุการใช้งานนี่เห็นว่าขึ้นอยู่กับฟิวส์เลย
อายุมัน up to 10 years
เทคโนโลยีข้างในอัพเกรดตามยุคสมัยเปล่านะ กว่าจะได้ปล่อยขึ้นนานมาก
ขั้นแรกผ่านไปแล้ว
ยังเหลือต้องลุ้นอีก 29 วัน กว่าจะเสร็จหมดทุกขั้นตอน
ไกลมากกกกกก ไม่เคยรู้เลยว่ามันไปไกลขนาดนั้น แบบนี้จะมีการอัปเกรดแบบฮับเบิลได้บ้างมั้ย เสียแล้วซ่อมได้มั้ยครับ
ไม่มีน่าจะมีนะครับ ขนาดฮับเบิลซึ่งอยู่ Lower Earth Orbit (LEO) ได้ผ่านการ Maintenance Service ไปถึง 4 รอบ ตอนนั้นใช้กระสวยอวกาศในการขึ้นไปซ่อม หลังจากนั้นก็ไม่มีแผนการไปที่ฮับเบิลอีก เพราะไปลำบากมากครับ (ขนาดตอนซ่อมครั้งที่ 4 ยังต้องใช้แผนกู้ภัย เตรียมกระสวยอวกาศอีกลำไว้ Standby กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินด้วย [ตอนนั้นถ้าจะไป ISS จากฮับเบิลนั้นยากมาก ความสูงต่างกันตั้งร้อยกว่ากิโลเมตร แถมอยู่ห่างจากจุดตัดกันอย่างไกลโข])
ไม่ต้องพูดถึง L2 ครับ ไกลกว่าดวงจันทร์อีก (หรือไม่แน่ถ้า Lunar Gateway เสร็จ อาจจะมีการไปทำ Maintenance ก็ได้)
ไม่มีการซ่อมครับ หลังจากดีพลอยอุปกรณ์ทุกอย่างเรียบร้อย พวกตัวกล้องหรือแผ่นชิลด์ต่างๆ จะมีการตรวจสอบขั้นสุดท้ายจากศูนย์ควมคุมอีกรอบครับ
ถ้า ok ก็ไป L2 เลย แล้วก็จะไม่ได้กลับมาอีกแล้ว
มันถึงมีอายุการใช้งานแค่ 10ปีครับ คือถ้าฟิวส์หมดอายุเมื่อไรก็ทิ้งเลย เปลี่ยนไม่ได้
ปล...ระยะทางมันไกลว่าดวงจันทร์ตั้ง 4 เท่าครับ ตัวกล้องมันถูกเทสอยู่ 5 ปีได้มั้ง จนมั่นใจว่าจะทำงานได้ตามที่คิดจริงๆ เพราะถ้าปล่อยออกไปแล้วจะแก้อะไรไม่ได้แล้ว
L2 คืออะไรครับ
แก้ไข ไปหาเจอละ
ที่ดู timeline นี่พวก shield , ตัวกระจกรับภาพ ไปสั่งทำงานที่ระหว่างทางไป L2 เลยนะครับ ไม่ได้จอด parking orbit เทสหมดแล้วเดินทางต่อ
ผมเขียนผิดครับ จริงๆ มันจะมีจุดหลังที่จากเสาสื่อสารออกมาอะครับ ที่ศูนย์ควบคุมยังสามารถควบคุมหรือแก้ไขตัวกล้องได้อยู่ ยังจะสามารถ pause ไม่ให้มันดีพลอยได้ ก่อนที่จะเริ่มเดินทางไป L2 แล้วดีพลอยจริงๆ
ผมสงสัยอย่างเดียวเลยทำไมไม่ deploy ทุกอย่างให้เสร็จว่ากลไกลที่เคลื่อนไหวใช้งานทำงานปกติ แล้วค่อยย้ายตัวเองไป L2 ตัว JWST เองไม่ได้ Shield หรือ fairing หุ้มป้องกันตัวเองระหว่างเดินด้วย ถ้าเจอหินฝุ่นอวกาศไปก็ค่าดูไม่ต่างกันเท่าไรเลย
การเข้าวงโควจรเพิ่มความซับซ้อนให้ภารกิจและเพิ่มความเสี่ยงมากกว่าการดำเนินการระหว่างทางครับ
แล้วก็โอกาสเจอฝุ่นหรือสเก็ดดาวเป็นไปได้น้อยมาก ถ้าอุปกรณ์ลอยอยู่ในวงโคจรโลกน่าห่วงมากกว่าเพราะขยะอวกาศเยอะมาก
ยานอวกาศมันจอดไม่ได้น่ะครับ
ตอนที่ 2nd stage booster kick JWST ออกจากโลกตรงไปที่ L2 กล้องก็ทำได้แค่ลอยไปเรื่อยๆด้วยความเร็วที่ลดลงช้าๆจากแรงโน้มถ่วงของโลกที่ยังทำงานอยู่
แล้วพอถึง L2 JWST ก็จะจุดไอพ่นตัวเองปรับความเร็วอีกนิดหน่อยเข้า L2
ถ้าทิ้งยานไว้ก่อน เช่นโคจรรอบโลก กางให้เสร็จแล้วค่อยไปจะไม่สามารถทำได้ครับ
เพราะ 2nd stage ของจรวดไม่สามารถติดค้างอยู่กับกล้องได้ตามการออกแบบ กล้องต้องแยกตัวตามขั้นตอน
ถ้าจะให้เข้าวงโคจรและค่อย kick ตัวเองออกไป ในยุคปัจจุบันก็ยังไม่มีจรวดที่มีกำลังขับและขนาด fairing ใหญ่พอสำหรับ JWST ให้ใช้งานอีก (ตัวอย่างยานที่ทำได้ เช่นยานอพอลโล)
ไม่มีซ่อมนะครับ ฮับเบิ้ลก็ไม่มีซ่อม ทุกวันนี้ก็ใช้ทั้งที่มันเสียๆ นั่นแหละ
I need healing.
ขอบคุณทุกคนครับ
สู่ความเวิ้งว้างอันไกลโพ้น
เก๋ตรงวงโคจร L2 นี่แหละ คิดได้ยังไง ใช้แรงอะไรยึดให้มันหมุนได้แบบนั้น
เห็นชื่อ Lagrange point นึกถึงกันดั้ม วงโคจรไกลมาก
โคโลนี่กรุงเทพ ของ ดับเบิ้ลโอ ก็อยู่ที่ L3 นี่นะ
ไหงไปซะไกลงั้นล่ะครับ
I need healing.
อันนี้พึ่งจะรู้นะเนี่ย!? มีบอกในเรื่องมั้ยครับหรืออยู่ในพวกหนังสือ
สงสัยต้องดูอีกรอบ (หาเรื่องดูซ้ำไปงั้นแหละ 555)
เป็น Novel แยกออกมาเป็น OO P ที่มา
เสียใจมาก ไม่ได้ดูตอนที่จรวดผ่านไทย ?