หลังกล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope ถูกยิงขึ้นอวกาศเมื่อวันคริสต์มาส ก็ใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์ค่อยๆ คลี่ฉากกั้นแสงอาทิตย์ 5 ชั้น และกางกระจกทั้ง 3 ส่วนออกมาอย่างช้าๆ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้สร้างกล้องกังวลว่าถ้ามีความผิดพลาดใดๆ ขึ้นมาแม้นิดเดียว จะส่งผลให้โครงการมูลค่ามหาศาลล้มเหลวไปเลย
เมื่อคืนนี้ James Webb Space Telescope เสร็จสิ้นการกางกระจกชิ้นสุดท้ายเรียบร้อยแล้ว ทุกอย่างทำงานได้ดีอย่างที่คาดไว้ ตอนนี้กล้องอยู่ในสถานะที่เกือบพร้อมทำงานแล้ว ขั้นตอนที่เหลือคือให้กล้องเดินทางไปยังจุด Lagrange 2 ซึ่งใช้เวลาอีกประมาณ 14 วัน
ภาพกราฟิกของ NASA แสดงหน้าตาของกล้องเมื่อทำงานเต็มรูปแบบแล้ว
#NASAWebb is fully deployed! ?With the successful deployment & latching of our last mirror wing, that's:50 major deployments, complete.178 pins, released.20+ years of work, realized.Next to #UnfoldTheUniverse: traveling out to our orbital destination of Lagrange point 2! pic.twitter.com/mDfmlaszzV
— NASA Webb Telescope (@NASAWebb) January 8, 2022
#NASAWebb completed all of its major deployments & is ready for its next steps! #UnfoldTheUniverse More ? https://t.co/n9v3La32ic pic.twitter.com/rEFW26lpaI
— NASA HQ PHOTO (@nasahqphoto) January 8, 2022
วิดีโออธิบายการคลี่ฉากและกางกระจกของ James Webb Space Telescope
Comments
อยากเห็นภาพแรกเร็วๆแล้ว
ผมตามดูในเว็บนาซ่าทุกวัน เห็นสำเร็จก็ดีใจด้วย
โครงการมหากาพย์ยาวนานเหลือเกิน
การเดินทางไป L2 นี่ผมว่าน่ากลัวกว่าขั้นตอนการกางอีกนะครับ ?
ประมาณ 8 ปีก่อน เหมือนผมเคยเขียนบน JuSci (ที่โดนลบหายไปแล้ว) ว่าจริงๆ Lagrange Point, Trojan asteroid, Einstein Cross ทั้งหมดนี่ควรจะโดนเรียกว่า Gravitational Wave ที่แรงดึงดูด มันไม่ใช่แค่ดูด มันผลักได้ด้วย เมื่อ In-phace (ดูด) กับ Out-Phase (ผลัก) เพราะงั้น จุด L4 , L5 จะเป็นจุดที่ ดูดเศษอุกกาบาตเอาไว้ แล้ว L2 จะเป็นจุดที่ แทบไม่มีอุกกาบาตเลย เพราะงั้น L2 ค่อนข้างปลอดภัยระดับนึงเลยนะครับ ยกเว้นซวยจริงๆ ถึงจะโดน ถ้าเอาแบบชัด ๆ ก็ลอง Search คำว่า Jupiter Trojan asteroid ดูนะครับ
JWST ทำอะไรที่เป็นครั้งแรกในอวกาศเยอะหลายอย่างก็จริง แต่การเข้า L2 เคยมียานอวกาศหลายลำเข้าไปโคจรแล้วครับ
เช่นยาน WMAP ที่ทำแผนที่ CMB
กล้องเฮอร์แชล
ปัจจุบันก็ยังมียาน Gaia ของยุโรปอยู่ตรงนั้นมาหลายปีแล้ว
เพราะงั้นขั้นนี้ผมว่าไม่น่ากังวลนักแหละ
ขอบคุณทั้งสองความเห็นครับ ผมก็ยังกังวลขั้นเดินทางมากกว่าอยู่ดี ?
ขั้นเดินทางมันแค่พุ่งไปตรงๆแบบไม่ได้ใช้เชื้อเพลิง(เพราะในอวกาศไม่มีอะไรขวางและไม่มีแรงต้านอากาศ) แค่หลบดวงจันทร์ตอนแรกนิดเดียว แล้วรอไปบูสเข้าวงโคจรรอบๆ L2 ที่หลังแค่นั้น ณ ปัจจุบันที่กางกระจกหลักแล้ว JWSTก็เดินทางไปได้ 70-80% ของระยะทางL2 แต่เหลือระยะเวลาเดินทางอีก50% ที่ไม่เท่ากันเพราะความเร็วลดลงเรื่อยๆ เข้าใจว่าความเร็วจะเป็น 0 ที่ L2 พอดี (ความเร็วและระยะทางเทียบกับโลก).
ปล. L2 เป็นเป็นจุดที่สมดุลของแรงดึงดูดโลกกับดวงอาทิตย์เท่ากัน แต่เป็นแบบไม่สเถียร(unstable) เหมือนการวางดินสอด้วยปลายแหลม ถ้าตั้งตรงจริงๆไม่มีอะไรรบกวนก็จะตั้งได้ แต่ถ้าผิด/เคลื่อนไปนิดเดียวก็จะหลุดจากจุดดสมดุลทันที อันนี้เป็นเหตุผลที่ทำให้JWST ใช้วงโควรรอบๆL2แทน
ยังเหลือการ calibrate กระจกหลักทั้ง 18 ชิ้นแล้วก็กระจกรองอีกชิ้นนึง แล้วก็ต้องทำความเย็นให้ได้ถึงจุดที่กำหนด แต่ขั้นตอนที่เหลือถ้ามีปัญหาก็อาจจะไม่ถึงกับล่มทั้งโครงการแค่ภาพที่ได้อาจจะคุณภาพไม่ดีพอ
ตอนกลาง นี่ความเร็วเท่าไหร่หรอครับ? ใครพอมีข้อมูลมั้ย
(ลองไปหาข้อมูลปัจจุบันมา) 0.2mi/s ราวๆ 0.32km/s
กลัวที่สุดก็ตอนกางนี่แหละ insertion ยังไม่เท่าไรนะ
ขนาดด้านยาวที่สุดของกล้องตัวนี้คือ 6.5 เมตร ผมเข้าใจถูกมั้ยครับ
6.5m ขนาดศก.กระจกหลักครับ
ถ้าเอายาวสุดก็ขนาด sun shield ราวๆ 20m นิดๆ
ขอบคุณครับ เหมือนบ้านเคลื่อนที่
sunshield ขนาดประมาณสนามเทนนิสครับ
้เช็คเว็บนี้อยู่ทุกวัน
https://jwst.nasa.gov/content/webbLaunch/whereIsWebb.html?units=metric
โล่งใจไปเยอะหลังกาง sun shield กับ tensioning เสร็จแล้ว
ขั้นตอนกระจกรองกับกระจกหลักที่เพิ่งเสร็จไปไม่น่ากลัวเท่า ก็ผ่านมาด้วยดี
เหลือขั้นใหญ่ๆแค่สองอย่างแล้วคือ calibrate กระจก กับ insertion เข้า L2 ซึ่งไม่น่าเป็นปัญหาใหญ่
ไปเร็วอยู่นะ แปบเดียวครึ่งทางแล้ว ปีนี้คงส่องเห็นอะไรเจ๋งๆเยอะ แทบจะรอติดตามภาพแรกงามๆไม่ไหวแล้ว
ดีใจ
..: เรื่อยไป
ผมก็ตามข่าวอยู่ทุกวันนะ ไม่คิดว่าจะมีคนสนใจอยู่ใน blognone ด้วย