Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

เมื่อคืนนี้ กล้องโทรทรรศน์อวกาศ James Webb Space Telescope (JWST) เดินทางไปถึงจุดหมายคือจุด Lagrange Point 2 (L2) ที่ห่างจากโลก 1.5 ล้านกิโลเมตร โดยหลังจากนี้ JWST จะโคจรอยู่รอบจุด L2 ไปเรื่อยๆ

การทำงานของ JWST หลังจากนี้จะใช้เวลาอีกราว 5 เดือนเพื่อ calibrate มุมของกระจกให้แม่นยำ (ระดับเกือบนาโนเมตร) และทดสอบอุปกรณ์วิทยาศาสตร์ต่างๆ แล้วค่อยเริ่มถ่ายภาพอวกาศมาให้เราดูกัน

No Description

แผนภาพอธิบายวิถีวงโคจรของ JWST ที่จุด L2

ที่มา - NASA

Get latest news from Blognone

Comments

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 25 January 2022 - 08:41 #1238425
btoy's picture

???


..: เรื่อยไป

By: animateex
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 25 January 2022 - 09:10 #1238428
animateex's picture

เป็นคุณลุงที่ต้องคอยลุ้นกันตลอดเวลา 5555

By: me.may.mine on 25 January 2022 - 09:15 #1238432
me.may.mine's picture

เป็นของสิ่งแรกที่เดินทางอย่างโดดเดี่ยวยาวไกลที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติเลยมั้งเนี่ย

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 25 January 2022 - 09:25 #1238434 Reply to:1238432
TeamKiller's picture

Voyager 1
Voyager 2
New Horizons

ก็ไปไกลแล้วนะครับ

https://voyager.jpl.nasa.gov/mission/status/

By: thedesp
WriterAndroidWindows
on 25 January 2022 - 09:42 #1238436 Reply to:1238432
thedesp's picture

No
https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_objects_at_Lagrange_points

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 25 January 2022 - 12:05 #1238457 Reply to:1238432

Voyager 1, 2 ไปนอกระบบสุริยะแล้วครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 25 January 2022 - 14:31 #1238489 Reply to:1238457
hisoft's picture

นอกระบบสุริยะ ในบางนิยามนะครับ ?

แต่นั่นก็สุดยอดแล้ว

By: ECOS
Windows
on 25 January 2022 - 12:44 #1238463 Reply to:1238432
ECOS's picture

1.5 ล้าน km นี่ถือว่าใกล้นิดเดียวน่ะครับ
ยานอวกาศสำรวจดาวเคราะห์ทุกลำไกลกว่านี้หมดเพราะระยะใกล้สุด (โลก-ดาวศุกร์) ก็เกือบ 50 ล้านกิโลเมตรแล้ว

By: b98se
AndroidWindowsIn Love
on 25 January 2022 - 13:07 #1238466 Reply to:1238432
b98se's picture

คำคม twitter

By: me.may.mine on 25 January 2022 - 14:19 #1238486 Reply to:1238432
me.may.mine's picture

ขอบคุณทุกท่านสำหรับความรู้และลิงค์ครับ ??‍♂️

By: 255BB
Android
on 25 January 2022 - 15:51 #1238494 Reply to:1238432

โลก-ดาวอังคารก็ไกล 300 กว่าล้านกิโลเมตรครับ
ยานวอยเอเจอร์นี่ forever alone ที่แท้ทรู เห็นว่าไปถึงออร์ตคลาวด์หรืออาจเลยไปแล้ว

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 25 January 2022 - 16:55 #1238502 Reply to:1238494
tekkasit's picture

ยังฮะ Oort Cloud อยู่ไกลอีกครับ ขอบใกล้สุดก็ประมาณว่าที่ราว 0.3 ปีแสง แต่ Voyage 1 ที่ว่าเป็นยานที่เดินทางเร็วที่สุดแล้ว ตอนก็ยังไม่ถึงระยะ 1 วันแสงดี

ก็น่าจะอีกราว 300-500 ปีครับกว่าจะแตะขอบ Oort Cloud เรียกว่าถ้าจะส่งไปสมัยอยุธยา ตอนนี้ก็กำลังจะถึงพอดี

By: 255BB
Android
on 26 January 2022 - 06:35 #1238558 Reply to:1238502

อ่อ ครับ ขอบคุณครับ

By: darkleonic
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 25 January 2022 - 10:08 #1238442
darkleonic's picture

ทำไมผมรู้สึกน้ำตาจะไหล


I need healing.

By: zda98
Windows Phone
on 25 January 2022 - 10:12 #1238444

รอดูภาพประวิติศาสตร์

By: mindphp on 25 January 2022 - 11:19 #1238448

สุดยอดมากตั้งความแม่นได้ระดับเกือบ นาโนเมตร

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 25 January 2022 - 11:36 #1238450 Reply to:1238448
hisoft's picture

+1

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 25 January 2022 - 12:05 #1238458 Reply to:1238448

เป็นความอึ้งระดับวิศวกรรมเลยครับ สุดยอดมาก

By: Remma
AndroidWindows
on 25 January 2022 - 13:09 #1238467 Reply to:1238448
Remma's picture

เฉยๆนะครับ เครื่องฉายแสงที่ใช้ผลิตชิพก็ทำได้มาหลายสิบปีแล้ว

By: ECOS
Windows
on 25 January 2022 - 13:13 #1238469 Reply to:1238467
ECOS's picture

ต่างกันครับ
เครื่องฉายแสงลงชิพมันเป็นการโฟกัสแสงความยาวคลื่นสั้นลงไปในระดับนาโนเมตร
แต่ของ JWST มันเป็นการขยับเชิงกลในระดับนาโนเมตร ซึ่งทำได้ยากมากๆและไม่เคยมีการส่งอุปกรณ์เชิงกลที่ละเอียดก่อนขนาดนี้ขึ้นสู่อวกาศมาก่อน

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 25 January 2022 - 16:55 #1238503 Reply to:1238469
tekkasit's picture

+1

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 25 January 2022 - 11:36 #1238451
hisoft's picture

เย้

By: ECOS
Windows
on 25 January 2022 - 12:47 #1238464
ECOS's picture

นั่งลุ้นอยู่เมื่อตีสามที่ผ่านมา
ถึงขั้นตอนยากสุดจะเป็นตอนกาง sun shield แต่ถึงยังไงทุกขั้นตอนก็ลุ้นอยู่ดี

จากนี้ไปเหลือแค่ทดสอบอุปกรณ์ต่างๆให้พร้อม คงไม่ใช่ปัญหาเท่าไหร่แล้ว ต่อให้แย่ที่สุดก็ยังทำงานทางวิทยาศาสตร์ได้

ดีใจกับ NASA และดีใจกับวงการดาราศาสตร์-จักรวาลวิทยาของมนุษยชาติด้วย